ธงชาติเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติเดนมาร์ก
การใช้ ธงพลเรือนและธงเรือราษฎร์
สัดส่วนธง 28:34 (14:17) ถึง 28:37
ประกาศใช้ ค.ศ. 1625 (ธงชาติ)[1]
ค.ศ. 1748 (ธงการค้า)
ค.ศ. 1842 (ธงทหาร)
ค.ศ. 1854 (ใช้บนที่ดินส่วนบุคคล)
สืบทอดจากสมัยกลาง (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 13/14)
ลักษณะ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัดส่วนด้านยาว 6:2:9 สัดส่วนด้านกว้าง 6:2:6

ธงกางเขนนอร์ดิกสีขาวบนพื้นสีแดง ส่วนหัวของกางเขนอยู่ชิดกับทางด้านคันธง สัดส่วน: กว้าง 3:1:3 / ยาว 3:1:4.5 ถึง 3:1:5.25

ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
ชื่ออื่น Rigets flag — ธงราชอาณาจักร [เดนมาร์ก];
มีอีกชื่อว่า Splitflaget
การใช้ ธงราชการและธงเรือราชการ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 56:107
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
ชื่ออื่น ธงราชนาวี
สัดส่วนธง 70:107
ลักษณะ ลักษณะเหมือนธงราชการแต่ค่าสีต่างกันเเละสัดส่วนต่างกันเล็กน้อย

ธงชาติเดนมาร์ก หรือ "ธงแดนเนอบรอก" (เดนมาร์ก: Dannebrog, ออกเสียง: [ˈtænəˌpʁoˀ]) เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง มีรูปกางเขนแบบสแกนดิเนเวียสีขาวปลายจดขอบธง โดยที่ส่วนหัวของกางเขนนั้นอยู่ชิดกับทางด้านคันธง รูปกางเขนบนผืนธงดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาคริสต์ [2][3][4] ได้มีการนำไปปรับใช้ในธงของกลุ่มประเทศนอร์ดิก อันได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะแฟโร เช่นเดียวกับธงของกลุ่มเกาะเชตแลนด์และออร์คนีย์ของสกอตแลนด์ ในระหว่างที่ประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์รวมตัวเป็นสหภาพเดียวกันนั้น ธงแดนเนอบรอกยังได้ใช้เป็นธงชาติสำหรับนอร์เวย์ และยังคงมีการใช้ต่อมาโดยมีการดัดแปลงเล็กน้อย ตราบจนกระทั่งนอร์เวย์ได้เริ่มใช้แบบธงปัจจุบันในปี ค.ศ. 1821

ธงแดนเนอบรอกนับเป็นธงประจำรัฐชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งยังคงใช้อยู่โดยรัฐชาติที่เป็นอิสระ[1]

กำเนิดตามตำนาน[แก้]

ตามตำนานกล่าวว่ากำเนิดของธงแดนเนอบรอกเกิดขึ้นในยุทธการลินดันนิสเซ (Battle of Lyndanisse) หรือที่รู้จักกันในชื่อยุทธการวัลเดอมาร์ (เดนมาร์ก: Volmerslaget) ณ บริเวณใกล้เมืองลินดันนิสเซ (ปัจจุบันคือเมืองทาลลินน์) ในประเทศเอสโตเนีย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1219[5]

สถานการณ์การรบในวันนั้นเป็นไปอย่างเลวร้าย และความพ่ายแพ้ของชาวเดนมาร์กก็ดูจะชัดเจน อย่างไรก็ตามได้มีบาทหลวงชาวเดนมาร์กคนหนึ่งยืนดูการสู้รบอยู่บนเนินเขาเพื่อภาวนาต่อพระเจ้า ซึ่งนั่นหมายถึงว่ายิ่งบาทหลวงภาวนามากเท่าไร ชาวเดนมาร์กก็ยิ่งเข้าใกล้ชัยชนะมากขึ้นเท่านั้น ชั่วขณะหนึ่งนั้นเองเขาเกิดเมื่อยล้าและวางแขนของตนลง ชาวเดนมาร์กจึงเกิดความเสียเปรียบแล้วเข้าใกล้กับความพ่ายแพ้ทุกที บาทหลวงจึงจำเป็นต้องให้ทหาร 2 คนช่วยยกแขนของเขาขึ้นในการภาวนา และเมื่อชาวเดนมาร์กจวนจะได้ชัยชนะ ธงแดนเนอบรอกก็ได้ปลิวลงมาจากฟ้า และกษัตริย์เดนมาร์กได้รับผืนธงนั้นไว้พร้อมทั้งชูผืนธงให้กองทหารทั้งหมดได้เห็น กองทัพเดนมาร์กจึงเกิดขวัญกำลังใจขึ้นมาและสามารถเอาชัยจากการต่อสู้ครั้งนั้นได้ในที่สุด

ตำนานยังได้กล่าวอ้างว่า ธงแดนเนอบรอกเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าได้ประทานแก่ชาวเดนมาร์ก และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา ธงนี้จึงได้กลายเป็นธงประจำชาติและธงของกษัตริย์แห่งเดนมาร์กมาโดยตลอด

ธงแดนเนอบรอกปลิวลงมาจากท้องฟ้า ในการรบที่ลินดันนิสเซ วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1219 วาดโดยคริสเตียน ออกุสต์ โลเรนต์เซน เมื่อ ค.ศ. 1809

ไม่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ใดๆ ที่สนับสนุนตำนานดังกล่าว บันทึกตำนานฉบับแรกมีอายุย้อนหลังไปราว 300 ปี หลังจากยุทธการครั้งนั้น และบันทึกได้เชื่อมโยงกับตำนานไปยังการรบขนาดเล็กกว่าที่สมรภูมิเฟลลิน (ในภาษาเอสโตเนียเรียกว่า Viljandi) ในปี ค.ศ. 1208 ถึงแม้ว่าสถานที่เกิดเหตุจะยังคงอยู่ในเอสโตเนียก็ตาม แม้เรื่องราวของธงในการรบที่เฟลลินจะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สนับสนุนเช่นกัน แต่ก็เข้าใจได้ไม่ยากว่าเหตุใดสถานที่เล็กและไม่เป็นที่รู้จักอย่างเฟลลิน จึงถูกแทนที่ด้วยการรบขนาดใหญ่กว่าที่เรวาล (ทาลลินน์) จากการทำสงครามในเอสโตเนียของพระเจ้าวัลเดอมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (ครองราชย์ ค.ศ. 1202 – 1241)

เรื่องราวดังกล่าวนี้มีที่มาจากงานเขียนสองชิ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 16

งานเขียนชื้นแรกพบในเอกสาร "Danske Krønike" (พงศาวดารเดนมาร์ก) ของคริสเตียน เปเดอร์สัน (Christiern Pedersen) ซึ่งเป็นงานเขียนต่อยอดจากเอกสาร "Gesta Danorum" ของซักโซ กรัมมาติคุส (Saxo Grammaticus) เขียนขึ้นในช่วง ค.ศ. 1520 – 1523 เอกสารดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับการรบในเอสโตเนียของพระเจ้าวัลเดอมาร์ที่ 2 แต่มีความเกี่ยวข้องกับการรบครั้งหนึ่งในรัสเซียแทน เปเดอร์สันยังกล่าวว่าธงนี้ซึ่งร่วงลงมาจากฟ้าระหว่างการรบในรัสเซียของพระเจ้าวัลเดอมาร์ที่ 2 น่าจะเป็นธงผืนเดียวกับที่พระเจ้าเอริคแห่งพอเมเรเนียได้นำติดพระองค์ได้ด้วย เมื่อเสด็จออกจากประเทศของพระองค์เองหลังจากถูกถอดจากราชสมบัติในปี ค.ศ. 1440

งานเขียนชื้นที่สองเป็นบันทึกของนักบวชคณะฟรันซิสกันชื่อ เปตรุส โอไล (Petrus Olai) หรือเปเดอร์ โอลเซ็น (Peder Olsen) แห่งรอสกิลเด (Roskilde) เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1527 บันทึกดังกล่าวบรรยายถึงการรบในปี ค.ศ. 1208 ซึ่งเกิดขึ้นใกล้บริเวณที่เรียกว่า "เฟลิน" ("Felin") ระหว่างการทำสงครามในเอสโตเนียของพระเจ้าวัลเดอมาร์ที่ 2 ชาวเดนมาร์กในเวลานั้นพ่ายแพ้แล้ว แต่เมื่อมีผืนธงทำด้วยหนังลูกแกะซึ่งแสดงภาพกางเขนสีขาวปลิวลงมาในสนามรบ สิ่งนั้นก็ได้นำชัยชนะมาสู่ชาวเดนมาร์กอย่างปาฏิหาริย์ งานเขียนอีกชิ้นหนึ่งของเปตรุส โอไลที่มีชื่อว่า "Danmarks Tolv Herligheder" (ความวิเศษสิบสองประการของเดนมาร์ก) ในหัวข้อความวิเศษประการที่เก้า ได้เล่าเรื่องเดียวกันซ้ำอีกครั้งแทบจะเรียกได้ว่าคำต่อคำ อย่างไรก็ตาม มีอยู่ย่อหน้าหนึ่งได้แทรกเข้ามาโดยใส่เลขปีที่เกิดเหตุการณ์นั้นเป็น 1219

ไม่ว่าบันทึกเหล่านี้จะบอกเล่าเรื่องจริงจากมุขปาฐะในสมัยนั้น หรือเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ในปัจจุบัน

อนึ่ง เชื่อกันว่าชื่อเมืองทาลลินน์ เมืองหลวงของประเทศเอสโตเนียในปัจจุบัน ปรากฏขึ้นหลังจากการยุทธครั้งนั้นผ่านพ้นไปแล้ว เพราะชื่อดังกล่าวกลายมาจากคำว่า "Taani linn" ในภาษาเอสโตเนีย หมายถึงเมืองของชาวเดนมาร์ก

ความสืบเนื่องที่มีมาจากตำนาน[แก้]

การใช้ในประวัติศาสตร์[แก้]

การใช้ในสมัยใหม่[แก้]

การออกแบบ[แก้]

ค่าโทนสี และ แบบธง CMYK HEX Pantone RGB
HTML code R G B
ธงราชการ ("Splitflag") #E31836 186c 224 024 054
ธงราชนาวี ("Orlogsflag") #AC0234 194c 172 002 052
กางเขนนอร์ดิก #FFFFFF 255 255 255

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Oldest continuously used national flag". Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
  2. Jeroen Temperman. State Religion Relationships and Human Rights Law. Martinus Nijhoff Publishers. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31. Many predominantly Christian states show a cross, symbolising Christainity, on their national flag. Scandinavian crosses or Nordic crosses on the flags of the Nordic countries–Denmark, Finland, Iceland, Norway and Sweden–also represent Christianity.
  3. Carol A. Foley. The Australian Flag: Colonial Relic or Contemporary Icon. William Gaunt & Sons. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31. The Christian cross, for instance, is one of the oldest and most widely used symbols in the world, and many European countries, such as the United Kingdom, Norway, Sweden, Finland, Denmark, Iceland, Greece and Switzerland, adopted and currently retain the Christian cross on their national flags.
  4. Andrew Evans. Iceland. Bradt. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31. Legend states that a red cloth with the white cross simply fell from the sky in the middle of the 13-century Battle of Valdemar, after which the Danes were victorious. As a badge of divine right, Denmark flew its cross in the other Scandinavian countries it ruled and as each nation gained independence, they incorporated the Christian symbol.
  5. Evans, Andrew (2008). Iceland. Bradt Travel Guides. p. 27.

อ้างอิง[แก้]

  • Danmarks-Samfundet เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - several rules and customs about the use of Dannebrog
  • Dannebrog, Helga Bruhn, Forlaget Jespersen og Pios, Copenhagen 1949
  • Danebrog - Danmarks Palladium, E. D. Lund, Forlaget H. Hagerups, Copenhagen 1919
  • Dannebrog - Vort Flag, Lieutenant Colonel Thaulow, Forlaget Codan, Copenhagen 1943
  • DS 359:2005 ’Flagdug’, Dansk Standard, 2005

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]