ธงชาติยูเครน
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 28 มกราคม ค.ศ. 1992 (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918) |
ลักษณะ | ธงสองสี พื้นสีฟ้าและสีเหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอน |
ธงประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด (กองทัพยูเครน) | |
การใช้ | ธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงพื้นสีชมพูอมม่วง (สีดอกราสเบอรี่) กลางธงมีตราประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด |
ธงประจำกองทัพอากาศยูเครน | |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงพื้นสีฟ้า กลางธงมีตราประจำกองทัพอากาศยูเครน. |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 28 มกราคม ค.ศ. 1992 (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)[1] |
ลักษณะ | ธงพื้นขาว มีรูปกางเขนสีน้ำเงินขอบขาว-น้ำเงิน ที่ช่องมุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ. |
ธงเรือตรวจการณ์รักษาฝั่ง | |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงพื้นเขียว มีรูปกางเขนสีขาวขอบเขียว-ขาว ที่ช่องมุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ |
ธงชาติยูเครน (ยูเครน: державний прапор України; ถอดเป็นอักษรโรมัน: derzhavnyy prapor Ukrayiny) มีต้นกำเนิดจากธงชาติในสมัยการปกครองระยะสั้นๆ ของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในปี ค.ศ. 1918 โดยธงชาติในยุคนั้นเป็นธงสีฟ้า-เหลือง มีรูปสามง่าม (tryzub) ประดับอยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง เครื่องหมายดังกล่าวนี้ได้มีการเลิกใช้ในธงในสมัยรัฐยูเครนของรัฐบาลพาโบล สโกโรปาดสกี (Pavlo Skoropadsky) และ คณะไดเรกทอรี (ยูเครน: Dyrektoriya) ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศลำดับถัดมา ต่อมาในยุคของสหภาพโซเวียต พรรคบอลเชวิคได้เลิกธงเดิมและใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงสีแดง-ฟ้าในระยะต่อมา ธงสีฟ้า-เหลืองได้กลับมามีสถานะเป็นธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อยูเครนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1992
แบบธง
[แก้]กฎหมายของยูเครนระบุว่าสีของธงชาติยูเครนคือ "น้ำเงินและเหลือง" แต่หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ได้กำหนดสี โดยในตารางด้านล่าง สีจะตรงตามข้อกำหนดทางเทคนิค DSTU 4512:2006:
ระบบสี | สีฟ้า | สีเหลือง |
---|---|---|
ระบบสีแพนโทน[2] | 285 C | 108 C |
อาร์เอแอล | 5019 Capri blue | 1023 Traffic yellow |
RGB[2] | 58-117-196 | 249-221-22 |
CMYK[2] | 70-40-0-23 | 0-11-91-2 |
เลขฐานสิบหก | #0057b8 | #ffd700 |
สีที่ใช้ในเว็บ | #0066cc | #ffcc00 |
ข้อบังคับและธรรมเนียมปฏิบัติ
[แก้]สถานะทางกฎหมาย
[แก้]รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ มาตราที่ 20 ได้บัญญัติถึงธงชาติไว้ว่า “ธงชาติยูเครน เป็นธงสองแถบซึ่งมีความกว้างเท่ากันตามแนวนอน พื้นสีฟ้าและสีเหลือง” (ยูเครน: "Державний Прапор України — стяг із двох рівновеликих горизонтальних смуг синього і жовтого кольору." [3])
ธงสำหรับตกแต่ง
[แก้]ธงสำหรับตกแต่งมีการใช้ในทางสาธารณะ โดยสภาสูงสุดแห่งยูเครนเป็นผู้ใช้ธงชนิดนี้. หอประชุมในเมืองต่างๆมีการประดับธงชาติร่วมกับธงประจำเมือง รวมถึงบนถนนสาธารณะ; ในบางเมืองนั้นได้ประดับธงประจำเมืองสำหรับตกแต่งเพียงธงเดียว. อัตราส่วนของธงสำหรับตกแต่งมิได้กำหนดเป็นแบบแผน. เมื่อประดับธงสำหรับตกแต่ง แถบสีฟ้าจะต้องอยู่ทางซ้ายมือ ในกรณีที่ประดับกับเสาธงแถบสีฟ้าจะต้องอยู่ทางคันธงเสมอ.
วันธงชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติความเป็นมาของธงชาติ
[แก้]ธงประจำกองทหารคอสแซค (ค.ศ. 1651) |
ธงกองทหารคอสแซค |
สีซึ่งอยู่ในธงชาติยูเครนประกอบด้วยสีฟ้า หมายถึงท้องฟ้า และสีเหลือง หมายถึงสีทองของรวงข้าวสาลีในประเทศนี้ สีดังกล่าวนี้มีความเกี่ยวข้องกับชาวยูเครนมาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ก่อนจะมีการนำศาสนาคริสต์เข้ามาในยูเครน โดยปรากฏว่าในสมัยโบราณได้มีธรรมเนียมในการตกแต่งงานพิธีการในท้องถิ่นด้วยสีทั้งสอง เพื่อแทนความหมายของน้ำและไฟ[4] ในสมัยอาณาจักรเคียฟรุส สีเหลืองและสีฟ้ายังคงเป็นสีที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ต่อมาสีดังกล่าวนี้ก็ได้ใช้เป็นธงของราชรัฐฮาลึช-วอลฮือนียา (Halych-Volhynia) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 18 กองทหารคอสแซคได้ใช้ธงสีต่างๆ เป็นสัญลักษณ์อย่างแพร่หลาย อาทิ สีเหลือง-ฟ้า สีแดง-ดำ สีแดงเลือดหมู-เขียวมะกอก โดยเฉพาะ
ธงของลวีฟ และ ไฮลิช ระหว่างศึกแห่งกรุนวอลด์ |
ธงเหลือง–ฟ้า และธงแดง-ดำของเหล่าทหารคอสแซค ในงานจิตรกรรม "Reply of the Zaporozhian Cossacks" โดยอิลียา เรพิน (Ilya Repin), ค.ศ. 1880 - 1891 |
สมัยเอกราชระหว่าง ค.ศ. 1917 – 1920
[แก้]ภาพธงเหลือง–ฟ้าในโปสเตอร์สมัยสาธารณรัฐประชาชนยูเครน, บี.ชิพพิค (B.Shippikh), เคียฟ, ค.ศ. 1917 |
ธงสีเหลือง–ฟ้า ตราสามง่าม ธงประจำกองทัพกาลิเซียยูเครน ค.ศ. 1918 |
ธงชาติยูเครนสมัยต่างๆ |
---|
อาณาจักรฮาลีช-โวลฮีเมีย (Halych-Volhynia) |
แคว้นคอสแซคเฮตเมเนต (Cossack Hetmanate) |
สาธารณรัฐประชาชนยูเครน (ค.ศ. 1917 – 1918)[5] |
สาธารณรัฐประชาชนยูเครน (ธงนาวี; ค.ศ. 1917–1921) |
รัฐยูเครน (ค.ศ. 1918) สาธารณรัฐชาตินิยมยูเครนตะวันตก (ค.ศ. 1918 – 1919) คาร์ปาร์โต-ยูเครน (มีนาคม ค.ศ. 1939) รัฐบาลเฉพาะกาลยูเครน (มิถุนายน - กันยายน ค.ศ. 1941) |
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ค.ศ. 1919 – 1929). |
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ค.ศ. 1929 – 1937). |
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ค.ศ. 1937 – 1949). |
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ค.ศ. 1949 - 1992) |
ประเทศยูเครน (ตั้งแต่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1992) |
หลังการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ชาวยูเครนได้ใช้ธงทั้งสีฟ้า–เหลือง และ สีเหลือง–ฟ้า เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพระหว่างปี ค.ศ. 1917 - 1920
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีการประกาศใช้ธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการโดยสาธารณรัฐประชาชนยูเครนระหว่างปี ค.ศ. 1917 - 1918 ข้อมูลบางแห่งได้อ้างว่าสภาส่วนกลางของสาธารณรัฐประชาชนยูเครน (Tsentralna Rada) ได้ประกาศให้ธงเหลือง-ฟ้าเป็นธงชาติยูเครนเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1918[6] แต่แหล่งข้อมูลอีกแห่งระบุว่าไม่มีไม่มีสำเนาเอกสารของการประกาศดังกล่าว[7] หลักฐานที่แตกต่างออกไปอีกแห่งได้อ้างถึงธงของกองกำลังทางเรีอซึ่งใช้ธงพื้นสีฟ้าอ่อน-เหลือง[8] เป็นการระบุว่าธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการในเวลานั้นใช้สีฟ้าอ่อน-เหลืองด้วยเช่น[9]
ธงอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐชาตินิยมยูเครนตะวันตก และ รัฐยูเครนภายใต้การปกครองของพาโบล สโกโรพาดสกี ใช้ธงสีฟ้า-เหลือง ต่อมากลายเป็นโทนสีฟ้าอ่อน-เหลืองในสมัยของคณะไดเรกทอรีภายใต้การนำของเซเมน เพทลูรา (Semen Petlura)
ในบรรดาองค์กรของผู้อพยพชาวยูเครนนั้นได้มีการสนับสนุนให้ใช้ทั้งธงสีฟ้า-เหลือง และ ธงสีเหลือง-ฟ้า เป็นเครื่องหมายของพวกตน ในที่สุดจึงมีการยอมรับให้ใช้ธงสีฟ้าอ่อน-เหลือง เป็นสัญลักษณ์ของยูเครนจนกระทั่งได้มีการประกาศยอมรับจากรัฐบาลยูเครนในยุคนั้นอย่างเป็นทางการ
รัฐเอกราชระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต
[แก้]นับตั้งแต่ ค.ศ. 1920 ยูเครนตกอยู่ในความปกครองของสหภาพโซเวียตภายใต้ชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ธงของยูเครนในยุคนี้จึงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธงชาติของสาธารณรัฐโซเวียตแห่งอื่นในเครือสหภาพโซเวียตเช่นกัน กล่าวคือใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ ที่พื้นธงตอนมุมบนด้านคันธงมีอักษรซีริลลิกย่อนามประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะๆ ("УСРР" ระหว่าง ค.ศ. 1919 – 1929 และ "УРСР" ระหว่าง ค.ศ. 1929 – 1947) ในปี ค.ศ. 1937 จึงได้มีการเพิ่มสัญลักษณ์รูปค้อนเคียวไว้เหนืออักษรย่อนามประเทศด้วย
ในปี ค.ศ. 1947 สาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ ได้มีการแก้ไขธงชาติของตนเองใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เกิดความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยยูเครนได้เปลี่ยนธงเป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน มีรูปค้อนเคียวและดาวแดง ตอนล่างแบ่งเป็นแถบแนวนอนสีฟ้า กว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างธงโดยรวม
การกลับคืนสถานะธงชาติของธงฟ้า-เหลือง
[แก้]จากอิทธิพลของนโยบายกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา ของประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ทำให้บรรดาสาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ ภายใต้ความปกครองของสหภาพโซเวียตเกิดความรู้สึกชาตินิยมอย่างแรงกล้า จนกระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้รัฐในคายสมุทรบอลข่าน 3 รัฐ (ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, เอสโตเนีย) และยูเครนตะวันตก ซึ่งเป็นดินแดนที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตหลังสุดเกิดความกังวล บรรดาแคว้นดังกล่าวจึงร่วมกันพยายามฟื้นฟูเอาสัญลักษณ์ประจำชาติในอดีตกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยในปี ค.ศ. 1988 สภาโซเวียตสูงสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียได้เปลี่ยนตราแผ่นดินจากเดิมในสมัยโซเวียตเป็นตราที่เคยใช้ในสมัยก่อนการปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นแห่งแรก รัฐสภาของลัตเวียและเอสโตเนียก็ได้ทำการอย่างเดียวกันกับสภาลิทัวเนียเป็นลำดับถัดมาในเวลาไม่นานนัก
สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวไม่ช้าก็ได้ชักนำให้เกิดกระบวนการอย่างเดียวกันในยูเครนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยูเครนตะวันตกและในเคียฟ เมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ได้เกิดการเดินขบวนทางการเมืองเป็นระยะๆ โดยผู้ชุมนุมได้มีการชูธงสีฟ้า-เหลืองขึ้นเป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุม
เหตุการณ์ต่างๆ ในยูเครนได้เกิดขึ้นโดยลำดับดังต่อไปนี้
- 20 มีนาคม ค.ศ. 1990
- สภาประจำเมืองเตียร์โนปิล (Ternopil) ได้มีการลงมติให้ฟื้นฟูการใช้ธงสีฟ้า-เหลือง ตราสามง่าม (tryzub) และเพลงชาติยูเครนซึ่งมีชื่อว่า "Shche ne vmerla Ukrainy" ในวันเดียวกันนั้นธงสีฟ้า-เหลืองก็ได้ชักขึ้นเหนืออาคารของรัฐบาลในเคียฟแทนธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนเป็นครั้งแรก
- 28 เมษายน ค.ศ. 1990
- สภาจังหวัดลวีฟได้อนุมัติให้มีการใช้สัญลักษณ์ประจำชาติอย่างใหม่ภายในจังหวัด
- 29 เมษายน ค.ศ. 1990
- ธงสีฟ้า-เหลืองถูกชักขึ้นเหนืออาคารโรงละครในเมืองเตียร์โนปิลโดยไม่มีการชักธงของสหภาพโซเวียตเหนือธงดังกล่าว
- 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1990
- ได้มีการชักธงฟ้า-เหลืองอย่างเป็นทางการครั้งแรกเหนืออาคารสภาเคียฟ ที่จตุรัสไมดาน เนซาเลซนอสติ (Maidan Nezalezhnosti square) ถนนเครสชาตีค (Khreschatyk street)
หลังการประกาศเอกราชของยูเครนในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ธงชาติยูเครนสีฟ้า-เหลืองก็ได้ชักขึ้นในฐานะธงชาติรัฐเอกราชครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1991 ที่อาคารรัฐสภาของประเทศยูเครน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Volker Preuß. "Ukraine" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2002-12-30.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "vexilla mundi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-17. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ Constitution of Ukraine
- ↑ Geraldika.ru Флаг Украины
- ↑ Abbott, Peter; Eugene Pinak; Oleksiy Rudenko (2004). Ukrainian Armies 1914-55. Osprey Publishing. pp. 9, 13. ISBN 9781841766683. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
- ↑ State Symbols of Ukraine, Cabinet of Ministers of Ukraine, website.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-28. สืบค้นเมื่อ 2005-02-28.
- ↑ "Ukrainian Historical Journal, 1999, #4, ISSN 0130-S247" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-06.
- ↑ "Українське військо у ХХ-ХХІ сторіччі". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-06.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติยูเครน ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ธงในประเทศยูเครน - Vexillographia
- ธงราชการกองทัพในยูเครน เก็บถาวร 2013-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน