จอมโจรอัจฉริยะ
จอมโจรอัจฉริยะ | |
まじっく快斗 | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Magic Kaito |
แนว | สุขนาฏกรรม, อาชญากรรม |
มังงะ | |
เขียนโดย | โกโช อาโอยามะ |
สำนักพิมพ์ | โชงากูกัง วิบูลย์กิจ |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 5 เล่ม (รายชื่อตอนมังงะ) |
ซีรีส์ภาพยนตร์อนิเมะ | |
จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล | |
กำกับโดย | โทชิกิ ฮิราโนะ |
อำนวยการสร้างโดย | มาซาฮิโตะ โยชิโอกะ |
ดนตรีโดย | อัตสึชิ อูเมโบริ |
สตูดิโอ | ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
ฉาย | 17 เมษายน 2553 – 29 ธันวาคม 2555 |
ภาพยนตร์ | 12 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล 1412 | |
กำกับโดย | ซูซูมุ คูโด |
เขียนบทโดย | คูนิฮิโกะ โอกาดะ โทชิยะ โอโนะ |
ดนตรีโดย | ทากุ อิวาซากิ |
สตูดิโอ | เอ-1 พิกเจอส์ |
เครือข่าย | NNS (ytv) ทรูสปาร์ก (อนิเมะ) การ์ตูนคลับ[1] |
ฉาย | 4 ตุลาคม 2557 – 28 มีนาคม 2558 |
ตอน | 24 |
จอมโจรอัจฉริยะ (ญี่ปุ่น: まじっく快斗; โรมาจิ: Majikku Kaito) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแต่งโดยโกโช อาโอยามะ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โชงากูกัง (ญี่ปุ่น) และวิบูลย์กิจ (ไทย) เรื่องราวของคุโรบะ ไคโตะ เด็กมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้สานต่อความฝันของพ่อด้วยการปลอมตัวเป็นจอมโจรคิด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッド; โรมาจิ: Kaitō Kiddo) โจรผู้มีชื่อเสียง ปัจจุบันจอมโจรอัจฉริยะตีพิมพ์ออกมา 5 เล่ม โดยตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 จำนวน 2 เล่ม แล้วจึงตีพิมพ์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2537 อีก 1 เล่ม ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 จึงตีพิมพ์เล่มที่ 4[2] และในปี พ.ศ. 2560 จึงตีพิมพ์เล่มที่ 5[3]
ทั้งนี้จอมโจรคิดและตัวละครอื่น ๆ ในจอมโจรอัจฉริยะยังปรากฏใน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ซึ่งเป็นผลงานการ์ตูนอีกชิ้นหนึ่งของโกโช อาโอยามะที่ได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ[4]
ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (TMS Entertainment) ได้นำ จอมโจรอัจฉริยะ ไปทำเป็นอนิเมะจำนวน 12 ตอน ออกอากาศเมื่อปี 2553-2555 โดยจะอิงเนื้อหาจากมังงะ[1] ในไทยใช้ชื่อว่า จอมโจรอัจฉริยะ (ทรูสปาร์ก), เมจิกไคโตะ (การ์ตูนคลับ) และ จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล (ทีไอจีเอ)[5] ต่อมาเอ-1 พิกเจอส์ (A-1 Pictures) ได้นำมาทำเป็นอนิเมะโทรทัศน์จำนวน 24 ตอน ใช้ชื่อว่า เมจิกไคโตะ 1412 (ญี่ปุ่น: まじっく快斗1412) ออกอากาศช่วงปี 2557-2558 ในไทยใช้ชื่อว่า จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล 1412 เนื้อเรื่องจะต่อยอดและอิงเนื้อหาจากยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[1] ทั้งสองพากย์ไทยโดยทีไอจีเอ[6]
ที่มา
[แก้]ตัวละครจาก จอมโจรอัจฉริยะ ถูกดัดแปลงจากตัวละครจากเรื่องสั้น ลูแปง โจรขโมยหัวใจ ซึ่งโกโช อาโอยามะเคยเขียนไว้ก่อนหน้า[7] โดยจอมโจรคิด ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากอาร์แซน ลูแปงของมอริส เลอบล็อง ต่างจากคุโด้ ชินอิจิจากเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ซึ่งได้เชอร์ล็อก โฮมส์ของอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์เป็นตัวละครต้นแบบ[8]
เนื้อเรื่อง
[แก้]คุโรบะ ไคโตะซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่องเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่มีฝีมือในการเล่นมายากล ซึ่งได้รับการฝึกสอนจากคุโรบะ โทอิจิ ผู้เป็นพ่อ แต่ต่อมาพ่อของไคโตะประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตขณะแสดงมายากล กระทั่งแปดปีต่อมาหลังการเสียชีวิตของโทอิจิ ไคโตะได้พบห้องลับของพ่อจากการจับรูปของพ่อแล้วรูปก็พลิกกลับหลังที่ทำให้เขาได้พบห้องลับดังกล่าว และเมื่อเข้าไปก็เจอหมวกทรงสูงสีขาว สูทขาว พร้อมผ้าคลุม และแว่นตาขาเดียว จึงรู้ว่าแท้จริงแล้วพ่อของตนเป็นจอมโจรคิดและทราบอีกว่าพ่อของตนนั้นถูกฆาตกรรม เพื่อสืบหาศัตรูที่ฆ่าพ่อของตัวเอง เขาจึงรับบทเป็นจอมโจรคิดมาแต่นั้น เพื่อล่อให้ฆาตกรตัวจริงปรากฏตัวออกมา[5]
ทั้งนี้จอมโจรคิดจะเป็นโจรที่ช่ำชองด้านโจรกรรมและการแปลงโฉม ทั้งสามารถเลียนแบบน้ำเสียงของผู้ถูกปลอมตัวได้[9] ส่วนที่มาของชื่อ ปรากฏในมังงะเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน อธิบายว่า "คิด" (KID) มาจากรหัสอาชญากรว่า 1412 ต่อมาคุโด้ ยูซากุซึ่งเป็นนักเขียน ได้อ่านลายมือหวัด ๆ ของนักข่าวที่ลงเรื่องราวเกี่ยวกับโจรผู้นี้ จึงอ่านอย่างเล่นคำแล้วตั้งชื่อให้ว่า "คิด"[8]
ตามท้องเรื่องเขาที่เป็นจอมโจรนั้นจะถูกนาคาโมริ กินโซ พ่อของอาโอโกะซึ่งเป็นตำรวจตามจับกุมและประสบกับความล้มเหลวอยู่เสมอ ๆ ทั้งนี้บุคลิกของจอมโจรคิดในจอมโจรอัจฉริยะจะมีลักษณะตลก ยียวนกวนประสาท และซุ่มซ่ามจนผิดพลาดบ่อย ๆ ซึ่งต่างจากบุคลิกใน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ที่จอมโจรคิดจะมีลักษณะเคร่งขรึม ลึกลับ ซ้ำยังล่วงรู้ความลับของโคนันที่แท้จริงแล้วคือคุโด้ ชินอิจิ[10]
ตัวละคร
[แก้]ตัวละครหลัก
[แก้]- คุโรบะ ไคโตะ (ญี่ปุ่น: 黒羽 快斗; โรมาจิ: Kuroba Kaito) หรือ จอมโจรคิด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッド; โรมาจิ: Kaitō Kiddo) เป็นตัวละครเอกของเรื่อง ชื่อสกุล "คุโรบะ" แปลว่า "ปีกดำ"[11] ส่วนชื่อตัว "ไคโตะ" แปลว่า "ว่าว" และพ้องเสียงกับคำว่าไคโตะที่แปลว่า "โจร"[12] เป็นลูกชายของคุโรบะ โทอิจิ นักมายากลที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นจอมโจรด้วย กับมารดาชื่อคุโรบะ จิคาเงะ[6] ครั้นโทอิจิเสียชีวิตลง เขาจึงรับบทบาทเป็นจอมโจรคิดคนถัดมาเพื่อตามหาฆาตกรที่ฆ่าพ่อ[5] ตามเนื้อเรื่องเขารับความรู้ด้านมายากลจากบิดา[13] โกโช อาโอยามะอธิบายรูปลักษณ์ของจอมโจรคิดไว้ว่า "แว่บไปแว่บมาหาตัวจับยาก ห้าวหาญไม่มีใครเปรียบ หน้าตาหล่อเหลาหรือก็คือ "อาร์แซน ลูแปง" นั่นแหละครับ และก็ต้องเจ้าเล่ห์ด้วย..."[14] เขาสนิทสนมกับนาคาโมริ อาโอโกะ[15] ลูกสาวของสารวัตรนาคาโมริ กินโซ[16]
- นาคาโมริ อาโอโกะ (ญี่ปุ่น: 中森 青子; โรมาจิ: Nakamori Aoko) เป็นลูกสาวคนเดียวของนาคาโมริ กินโซ[16] ชื่อตัวมาจากคำว่า "อาโอะ" แปลว่า "สีน้ำเงิน"[17] เธอเรียนร่วมชั้นกับคุโรบะ ไคโตะและสนิทสนมกัน โดยที่ไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วเขาคือจอมโจรคิด[18]
- นาคาโมริ กินโซ (ญี่ปุ่น: 中森 銀三; โรมาจิ: Nakamori Ginzō) เป็นนายตำรวจตำแหน่งสารวัตร และเป็นบิดาของนาคาโมริ อาโอโกะ[16] เขาหมายตาที่จะจับจอมโจรคิดตามหน้าที่ โดยที่เขาไม่ทราบเลยว่าทั้งคุโรบะ โทอิจิ และคุโรบะ ไคโตะ ชายคนสนิทของลูกสาวเป็นโจร ทั้งนี้เขาเคยเฉลียวใจว่าไคโตะคือจอมโจรคิด แต่ด้วยไหวพริบไคโตะจึงเอาตัวรอดมาได้[19]
ตัวละครรอง
[แก้]- ครอบครัวและลูกน้อง
- คุโรบะ โทอิจิ (ญี่ปุ่น: 黒羽 盗一; โรมาจิ: Kuroba Tōichi) เป็นนักมายากลผู้มีชื่อเสียง และเป็นจอมโจรคิดคนแรก เขาสมรสกับคุโรบะ จิคาเงะ และเป็นบิดาของคุโรบะ ไคโตะ ตัวเอกของเรื่อง เขาร่ำเรียนมายากลต่าง ๆ จากเจมส์ ฮอปเปอร์ (ญี่ปุ่น: ジェームズ・ホッパー; โรมาจิ: Jēmuzu Hoppā) นักมายากลชื่อดังชาวอังกฤษ[14] จากคำบอกเล่าของจิอิ โคโนะสึเกะอธิบายว่า คุโรบะ โทอิจิน่าจะถูกฆาตกรรม[20] มีคำสอนที่เขาเคยสอนไคโตะบุตรชายซึ่งเป็นที่กล่าวถึงบ่อย ๆ คือ โป๊กเกอร์เฟซ คือ "การทำใบหน้าเรียบเฉยไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก เปรียบได้กับคนถือไพ่โป๊กเกอร์ในมือ"[21] ปัจจุบันแอบซ่อนตัวโดยหลอกให้ผู้คนเชื่อว่าตายไปแล้วเท่านั้น
- คุโรบะ จิคาเงะ (ญี่ปุ่น: 黒羽 千影; โรมาจิ: Kuroba Chikage) หรือ เลดี้ยี่สิบหน้า[22] (ญี่ปุ่น: 怪盗淑女; โรมาจิ: Kaitō Shukujo) หรือ แฟนธ่อมเลดี้ (อังกฤษ: Phantom Lady; ญี่ปุ่น: ファントム・レディ) เป็นภริยาของคุโรบะ โทอิจิ และเป็นมารดาของคุโรบะ ไคโตะ โดยชื่อ "จิคาเงะ" แปลว่า "พันเงา"[7] ในมังงะเธอปรากฏตัวแต่มิได้ระบุชื่อ ณ บ้านของไคโตะ ที่เธอออกมารับกระเป๋าของไคโตะที่ลืมไว้จากนาคาโมริ อาโอโกะ เบื้องต้นเธอทราบเป็นอย่างดีว่าสามีเป็นจอมโจรคิด และทราบด้วยว่าบุตรชายพบห้องลับของสามี[23] ก่อนสมรสเธอเคยเป็นโจรหญิงสมญาเลดี้ยี่สิบหน้าหรือแฟนธ่อมเลดี้มาก่อน ปัจจุบันอาศัยอยู่ในลาสเวกัส เดิมเธอประสงค์จะให้ไคโตะสานงานของโทอิจิต่อ แต่ภายหลังเธอกลับต้องการให้ไคโตะเลิกเป็นจอมโจรคิด[7]
- จิอิ โคโนะสึเกะ (ญี่ปุ่น: 寺井 黄之助; โรมาจิ: Jii Kōnosuke) เป็นอดีตผู้ช่วยของคุโรบะ โทอิจิและทราบว่าโทอิจิเป็นจอมโจรคิด[24] เขามีสโมสรบิลเลียตชื่อบลูพาล็อต[25]
- นาคาโมริ มิโดริโกะ (ญี่ปุ่น: 中森 碧子; โรมาจิ: Nakamori Midoriko) เป็นภรรยาของสารวัตรนาคาโมริ กินโซ และเป็นมารดาของนาคาโมริ อาโอโกะ ชื่อตัวมาจากคำว่า "มิโดริ" แปลว่า "สีเขียว" เป็นอัยการ
- บุคคลในโรงเรียนมัธยม
- ฮาคุบะ ซางูรุ (ญี่ปุ่น: 白馬探; โรมาจิ: Hakuba Saguru) เป็นนักสืบญี่ปุ่นที่ย้ายกลับมาจากลอนดอน[26] เข้ามาเรียนร่วมชั้นกับคุโรบะ ไคโตะ[27] ชื่อสกุล "ฮาคุบะ" แปลว่า "ม้าขาว"[28] บิดาเป็นตำรวจ ในมังงะเล่ม 3 ระบุว่าบิดามีตำแหน่งเป็นรองผู้บังคับการสืบสวน[29] ส่วนในมังงะเล่มที่ 5 ระบุว่าบิดาเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[30] ทั้งนี้เขามักจะบอกเวลาเป็นนาทีและวินาทีอยู่เป็นนิจ[26] จากการสันนิษฐานและหลักฐานต่าง ๆ ทำให้เขามั่นใจว่าคุโรบะ ไคโตะคือจอมโจรคิด[31]
- โคอิสึมิ อาคาโกะ (ญี่ปุ่น: 小泉 紅子; โรมาจิ: Koizumi Akako) เป็นแม่มดผู้มีเวทมนตร์ เธอย้ายมาเรียนร่วมชั้นเดียวกันกับคุโรบะ ไคโตะ และนาคาโมริ อาโอโกะ ชื่อตัวมาจากคำว่า "อากะ" แปลว่า "สีแดง"[32] เธอจะคิดอยู่เสมอว่า "ผู้ชายทุกคนบนโลกนี้เป็นทาสเราทั้งนั้น"[33] เธอมักใช้เวทมนตร์คาถาหรือแม้แต่เครื่องรางของขลังใส่คุโรบะ ไคโตะ เพราะต้องการให้เขามาตกเป็นทาสรักของเธอ[34] เธอทราบว่าไคโตะเป็นจอมโจรคิดและคอยให้ความช่วยเหลือในบางกรณี[35] ทั้งนี้เธอเป็นตัวละครที่ไม่ปรากฏใน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน โกโช อาโอยามะ ผู้เขียนกล่าวว่า "ในโลกของโคนันนั้นถือซะว่าไม่มีอาคาโกะก็แล้วกันนะครับ..."[7]
- โมโมอิ เคโกะ (ญี่ปุ่น: 桃井 恵子; โรมาจิ: Momoi Keiko) เดิมฉบับแปลไทยสะกดว่า เคย์โกะ[36] เป็นเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นและเป็นสหายคนสนิทของนาคาโมริ อาโอโกะ มีลักษณะเด่นคือสวมแว่นตา ผมสีน้ำตาลและมัดผมสองข้าง
- คนโนะ เอริกะ (ญี่ปุ่น: 紺野 エリカ; โรมาจิ: Konno Erika) ครูสอนวิชาคณิตศาสตร์[37] ปรากฏชื่อครั้งแรกในอนิเมะโทรทัศน์ จอมโจรคิด 1412 แต่ไม่ปรากฏชื่อในมังงะ ในมังงะตอน "อย่ายุ่งกับเค้านะ" เธอคือผู้อธิบายกติกาในประกวดสกีแฟนซีแก่นักเรียน[38]
- ฟูจิเอะ (ญี่ปุ่น: 藤江; โรมาจิ: Fujie) เป็นเพื่อนร่วมชั้นของคุโรบะ ไคโตะ ปรากฏในมังงะตอน "อย่ายุ่งกับเค้านะ" โดยเขาแอบหลงรักโคอิสึมิ อาคาโกะ และกล่าวตัดพ้อว่า "...ฉันไม่มันเอาไหนเลย ไม่หล่อแถมยังอ้วนอีก เล่นสกีก็ไม่เก่งด้วย ไม่คู่ควรกับคุณอาคาโกะสักนิด"[39]
- อาโซ่ เคจิ (ญี่ปุ่น: 麻生 圭二; โรมาจิ: Asō Keiji) ครูสอนวิทยาศาสตร์[40] ปรากฏในมังงะตอน "GHOST GAME" โดยปลอมเป็นผีหลอกนักเรียนที่ยังอยู่ในโรงเรียนยามวิกาล เพื่อลักลอบค้นคว้าเรื่องยาปลูกผม เนื่องจากหัวล้าน[41]
- โจรคนอื่น ๆ
- แมวดำ[42] (ญี่ปุ่น: 怪盗黒猫; โรมาจิ: Kaitō Kuro Neko) หรือ ชานัวร์[42] (ฝรั่งเศส: Chat Noir; ญี่ปุ่น: シャノワール; โรมาจิ: Shanowāru) เป็นโจรชาวฝรั่งเศส[43] แต่งกายชุดดำอย่างชุดไว้ทุกข์[44] ปรากฏในมังงะตอน "โกลเด้น อาย" ที่พยายามขโมยเพชรโกลเด้นอาย หรือ พลอยตาแมว ของแดน มิตสึอิชิ[45] (ญี่ปุ่น: ダン光石; โรมาจิ: Dan Mitsuishi) ตัวจริงของแมวดำคือ รูบี้ โจนส์[44] (ญี่ปุ่น: ルビィ・ジョーンズ; โรมาจิ: Rubii Jōnzu)
- ไนท์แมร์[46] (ญี่ปุ่น: ナイトメア; โรมาจิ: Naitomea) ปรากฏในมังงะตอน "ดาร์กไนท์" ที่พยายามขโมยต่างหูแบล็กโอปอลที่เรียกว่าดาร์กไนท์ หรือ อัศวินดำ ตัวจริงของไนท์แมร์คือ แจ๊ค คอเนลลี่ (ญี่ปุ่น: ジャック・コネリー; โรมาจิ: Jakku Konerī) ตำรวจสากล[47] เพื่อนำเงินไปรักษาลูกชายลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ชื่อเคนตะ คอเนลลี่[48] (ญี่ปุ่น: ケンタ・コネリー; โรมาจิ: Kenta Konerī) ซึ่งกำลังป่วย[49]
- เลดี้ยี่สิบหน้า (ญี่ปุ่น: 怪盗淑女; โรมาจิ: Kaitō Shukujo) หรือ แฟนธ่อมเลดี้ (อังกฤษ: Phantom Lady; ญี่ปุ่น: ファントム・レディ) ดูที่คุโรบะ จิคาเงะ
- คอร์โบ[50] (ญี่ปุ่น: 怪盗コルボー; โรมาจิ: Kaitō Korubō; ฝรั่งเศส: Corbeau) ปรากฏในมังงะตอน "มิดไนท์ครอว์" เป็นโจรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับจอมโจรคิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ แต่ต่างกันเพียงสีเพราะคอร์โบใช้สีดำแทนสีขาว และ "คอร์โบ" เป็นคำฝรั่งเศสแปลว่า "อีกา" เขาปรากฏตัวต่อหน้าจอมโจรคิดและประกาศว่าตนเป็นศิษย์ผู้น้องของคุโรบะ โทอิจิ และเขาจะขโมยเพชรมิดไนท์ครอว์ ตัวจริงของคอร์โบคือ แฮร์รี่ เนซึ[51] (ญี่ปุ่น: ハリー・根津; โรมาจิ: Harī Nezu) นักทำลายมายากลชื่อดังที่แฉวิธีการเล่นมายากลของนักมายากลต่าง ๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่าคอร์โบอาจปลอมตัวเป็นแฮร์รี่ เนซึก็ได้
- องค์กรปริศนา
- สเนค[52] (ญี่ปุ่น: スネイク; โรมาจิ: Suneiku) เดิมฉบับแปลไทยสะกดว่า สเน็ก[53] สมาชิกคนหนึ่งขององค์กรปริศนา ที่กำลังตามหาแพนโดร่า[54] (ญี่ปุ่น: パンドラ; โรมาจิ: Pandora) อัญมณีในตำนานที่มีพลังพิเศษ ในมังงะปรากฏครั้งแรกในตอน "บลูเบิร์ธเดย์"[55]
- หัวหน้าของสเนค (ญี่ปุ่น: スネイクの上司; โรมาจิ: Suneiku no Jōshi) เป็นหัวหน้าของสเนค แต่มิใช่หัวหน้าใหญ่ขององค์กร ไม่ทราบว่ามีชื่อตัวว่าอะไร ปรากฏในมังงะตอน "บลูเบิร์ธเดย์" ที่เขาใช้ให้สเนคไปขโมยบลูเบิร์ธเดย์มาเพราะคิดว่าเพชรนั้นคือแพนโดร่า[56]
- สไปเดอร์ (ญี่ปุ่น: スパイダー; โรมาจิ: Supaidā) หรือ กึนเทอร์ ฟอน โกลด์แบร์กที่ 2 (เยอรมัน: Günther von Goldberg II; ญี่ปุ่น: ギュンター・フォン・ゴールドバーグ二世; โรมาจิ: Gyuntā Fon Gōrudobāgu Hisei) นักมายากลที่มีชื่อเสียงระดับสากลและนักฆ่าระดับโลกที่เป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กร ซึ่งถูกส่งมาเพื่อสังหารจอมโจรคิด ปรากฏใน จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล แต่ไม่ปรากฏในมังงะ
การเผยแพร่
[แก้]หนังสือการ์ตูน
[แก้]จอมโจรอัจฉริยะแต่งและวาดภาพประกอบโดยโกโช อาโอยามะ ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสารโชเน็งซันเดย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 แต่หลังจากรวมเล่มมังงะประเภทจบในเรื่องได้เพียงสองเล่มก็ยุติการตีพิมพ์ของโชเน็งซันเดย์ในปีถัดมา เพราะผู้เขียนไปเอาดีกับการเขียนมังงะเรื่อง ไยบะ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตามลำดับ โดยให้จอมโจรคิดเป็นตัวละครรับเชิญในมังงะเรื่องหลังแทน[57] แต่ภายหลังเมื่อเสียงตอบรับดี ก็จะมีการปล่อยจอมโจรอัจฉริยะตอนใหม่ออกมาเป็นครั้งคราว ลักษณะเขียน ๆ หยุด ๆ เว้นระยะห่างค่อนข้างนาน โดยมีการตีพิมพ์มังงะเล่มที่ 3 ในปี พ.ศ. 2537 เล่มที่ 4 ในปี พ.ศ. 2550 การนี้โกโช อาโอยามะได้กล่าวว่า "ขอโทษนะครับที่ให้รอเล่ม 4 ตั้ง 13 ปี...ตอนแรกที่วาดเล่ม 1 นั้นอายุระหว่างไคโตะกับคนวาดยังต่างกันแค่ 4-5 ปี แต่ตอนนี้ช่องว่างระหว่างวัยกว้างขึ้นซะแล้ว...การสร้างเรื่องก็ยากขึ้นด้วย แต่ยังไงก็จะพยายามครับ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะ"[14] หลังจากนั้นก็มีการปล่อยมาเป็นตอน ๆ มีสองตอนตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2554[58] อีกสามตอนในปี พ.ศ. 2557[59] และอีกสามตอนในปี พ.ศ. 2560 ก่อนรวมเป็นเล่มที่ 5 ในปีเดียวกัน[3]
ในไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เดิมเคยสะกดชื่อเรื่องว่า จอมโจร..อัจฉริยะ!! และสะกดชื่อคุโรบะ ไคโตะว่า "ไคโต คุโบตะ" ตีพิมพ์ออกมาสองเล่ม[60] ปัจจุบันวิบูลย์กิจยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในไทยและมีจำนวน 5 เล่มเท่ากับของญี่ปุ่น[10]
- รายชื่อตอน
# | วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ | ISBN ต้นฉบับ | วันที่ออกจำหน่ายภาษาไทย | ISBN ภาษาไทย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | 15 เมษายน 2533[61] | 978-4-09-122081-3 | — | 974-218-510-7 | |
| |||||
2 | 15 ตุลาคม 2533[62] | 978-4-09-122082-0 | — | 974-218-510-7 | |
| |||||
ตอน "เซียนปะทะนักมายากล" เป็นตอนที่โกโช อาโอยามะทำสำหรับการ์ตูนโทรทัศน์ และไม่เคยตีพิมพ์ในนิตยสาร | |||||
3 | 15 กันยายน 2537[63] | 978-4-09-122083-7 | — | 974-218-510-7 | |
| |||||
4 | 16 กุมภาพันธ์ 2550[64] | 978-4-09-121005-0 | — | 974-218-510-7 | |
| |||||
5 | 18 กรกฎาคม 2560[3] | 978-4-09-121005-0 | มิถุนายน 2561 | 974-218-510-7 | |
|
รายชื่อตอนที่ยังไม่ได้รวมเล่ม
[แก้]- 37. "กรีนดราก้อน (ตอนต้น)" (ญี่ปุ่น: グリーン・ドラゴンの巻(前編); โรมาจิ: Gurīn Doragon no Maki (Zenpen))
- 38. "กรีนดราก้อน (ตอนกลาง)" (ญี่ปุ่น: グリーン・ドラゴンの巻(中編); โรมาจิ: Gurīn Doragon no Maki (Chūhen))
- 39. "กรีนดราก้อน (ตอนปลาย)" (ญี่ปุ่น: グリーン・ドラゴンの巻(後編); โรมาจิ: Gurīn Doragon no Maki (Kōhen))
การ์ตูนโทรทัศน์ตอนพิเศษ
[แก้]มีการผลิตรายการโทรทัศน์พิเศษสำหรับมังงะเรื่อง จอมโจรอัจฉริยะ เป็นอนิเมะ โดยการผลิตจะอิงเนื้อหาจากมังงะเป็นหลัก[1] กำกับโดยโทชิกิ ฮิราโนะ จากทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์นิปปอนช่วงปี พ.ศ. 2553-2555[65][66] อันเป็นช่วงเวลาฉาย ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ลายเส้นนั้นก็เป็นแบบเดียวกับเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[1] ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็น ยอดนักสืบจิ๋วโคนันตอนพิเศษ ทั้ง ๆ ที่ตัวเรื่องไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวเลยก็ตาม ออกอากาศครั้งแรก 17 เมษายน 2553[67]
ในไทยใช้ชื่อว่า จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล พากย์และจำหน่ายโดยทีไอจีเอ[5][6] ออกอากาศทางช่องทรูสปาร์ก ใช้ขื่อว่า จอมโจรอัจฉริยะ และทางช่องการ์ตูนคลับใช้ชื่อว่า จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล[1]
# | ตอน | ออกอากาศครั้งแรก |
---|---|---|
1 | ยอดนักสืบจิ๋วโคนันสเปเชียล: ความลับการกำเนิดจอมโจรคิด (名探偵コナンスペシャル 「怪盗キッド誕生の秘密」) | 17 เมษายน 2553[67] |
2 | ยอดนักสืบจิ๋วโคนันสเปเชียล: เดทที่แสนยุ่งเหยิงของจอมโจรคิด (名探偵コナン 夏の怪盗キッド祭り 「怪盗キッドの忙しいデート」) | 6 สิงหาคม 2554[68] |
3 | ยอดนักสืบจิ๋วโคนันสเปเชียล: เจ้าหญิงผู้ชื่นชอบมายากล (名探偵コナン 夏の怪盗キッド祭 「王女様はマジックがお好き」) | 13 สิงหาคม 2554[68] |
4 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียล: แม่มดที่ไม่ยอมหลั่งน้ำตา (怪盗キッドスペシャル 「魔女は涙をこぼさない」) | 24 กันยายน 2554[69] |
5 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียล: บลูเบิร์ธเดย์แห่งพรหมลิขิต (怪盗キッドスペシャル 「運命のブルーバースデー」) | 29 ตุลาคม 2554[70] |
6 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียล: รักที่ลานสกีในวันคริสต์มาสอีฟ (怪盗キッドスペシャル 「聖夜は恋するゲレンデで」) | 24 ธันวาคม 2554[71] |
7 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียลฤดูร้อน: คู่แข่งที่แสนงดงาม (夏の怪盗キッド祭り まじっく快斗「華麗なるライバルたち」) | 4 สิงหาคม 2555[72] |
8 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียลฤดูร้อน: ความลับของน้ำตาสีแดง (夏の怪盗キッド祭り 「レッド・ティアーの秘密」) | 11 สิงหาคม 2555[73] |
9 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียล: แม่มดกับนักสืบ และจอมโจร (怪盗キッドスペシャル 「魔女と探偵と怪盗と」) | 29 กันยายน 2555[74] |
10 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียล: โกลเด้นอายแห่งความทรงจำ (怪盗キッドスペシャル 「魔女と探偵と怪盗と」) | 3 พฤศจิกายน 2555[75] |
11 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียลฤดูหนาว: น้ำตาของคริสตัลมาเธอร์ (冬の怪盗キッドスペシャル 「涙のクリスタル・マザー」) | 22 ธันวาคม 2555[76] |
12 | จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาลสเปเชียลฤดูหนาว: น้ำตาแห่งรักของอัศวินดำ (冬の怪盗キッドスペシャル 「ダーク・ナイトに愛の涙を」) | 29 ธันวาคม 2555[77] |
การ์ตูนโทรทัศน์
[แก้]มีการผลิต จอมโจรอัจฉริยะ เป็นการ์ตูนโทรทัศน์ใช้ชื่อว่า ไคโตะคิด 1412 (ญี่ปุ่น: まじっく快斗1412) ผลิตโดยเอ-วันพิกเจอส์ (A-1 Pictures) เนื้อเรื่องจะต่อยอดและอิงเนื้อหาจากยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[1] และลายเส้นจะต่างออกไปจากที่ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เมนต์เคยผลิตในครั้งก่อน[1] ออกอากาศทางช่องนิปปอนเทเลวิชันเน็ตเวิร์กซิสเตม (NNS) ในปี 2557-2558[78] นอกจากนี้ยังเป็นรายการใหม่ของช่องครันชีโรล (Crunchyroll) ในอเมริกาเหนือ ออกอากาศตั้งแต่ตอนที่ 13[79]
ในไทยใช้ชื่อไทยว่า จอมโจรคิด 1412 พากย์และจัดจำหน่ายโดยทีไอจีเอ[6] ออกอากาศทางช่องการ์ตูนคลับ เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560[1]
# | ตอน | ออกอากาศครั้งแรก |
---|---|---|
1 | การกลับมาของจอมโจรคิด (蘇る怪盗KID) | 4 ตุลาคม 2557 |
2 | บลูเบิร์ธเดย์ (ブルーバースデイ) | 11 ตุลาคม 2557 |
3 | Hustler ปะทะนักมายากล (ハスラーVSマジシャン) | 18 ตุลาคม 2557 |
4 | ยอดนักสืบผู้มากับแสงสว่าง (名探偵は白日の下に) | 25 ตุลาคม 2557 |
5 | สิ่งที่เย้ายวนสีแดง (緋色の誘惑) | 1 พฤศจิกายน 2557 |
6 | Black Star (ブラックスター) | 8 พฤศจิกายน 2557 |
7 | คุโรบะ ไคโตะกับวันหยุดที่แสนวุ่นวาย (黒羽快斗の忙しい休日) | 15 พฤศจิกายน 2557 |
8 | การทำนายของผู้ใหญ่ (大人のおまじない) | 22 พฤศจิกายน 2557 |
9 | Phantom Lady ปรากฏตัว (怪盗淑女 登場) | 29 พฤศจิกายน 2557 |
10 | Phantom Lady และสมบัติของเรียวมะ (怪盗淑女と龍馬のお宝) | 6 ธันวาคม 2557 |
11 | คิด โคนัน และภาพลวงตาในสมบัติของเรียวมะ (KID コナンの龍馬お宝イリュージョン) | 13 ธันวาคม 2557 |
12 | คืนศักดิ์สิทธิ์กับจอมโจรคิดทั้งสอง (聖夜・二人の怪盗KID) | 27 ธันวาคม 2557 |
13 | ตัดใจไปจากเขาเถอะ (彼から手をひいて) | 10 มกราคม 2558 |
14 | Crystal Mother (クリスタル・マザー) | 17 มกราคม 2558 |
15 | ราชินีกับจอมโจร (王女と泥棒の即興劇) | 24 มกราคม 2558 |
16 | คิด ปะทะ โคนัน กับมายากลกลางเวหาที่แสนน่าอัศจรรย์ (KID VS コナン 奇跡の空中飛行) | 31 มกราคม 2558 |
17 | Green Dream (グリーンドリーム) | 7 กุมภาพันธ์ 2558 |
18 | Golden Eye (ตอนแรก) คำท้าของชานัวร์ (ゴールデン・アイ《前編》 黒猫の挑戦) | 14 กุมภาพันธ์ 2558 |
19 | Golden Eye (ตอนจบ) ศึกตัดสิน คิดปะทะชานัวร์ (ゴールデン・アイ《後編》 決着KIDvs黒猫) | 21 กุมภาพันธ์ 2558 |
20 | Dark Knight (ダーク・ナイト) | 28 กุมภาพันธ์ 2558 |
21 | คิด ปะทะ โคนัน เคลื่อนไหวในพริบตาใต้แสงจันทร์ (KIDvsコナン 月下の瞬間移動) | 7 มีนาคม 2558 |
22 | Red Tear (レッド.ティアー) | 14 มีนาคม 2558 |
23 | Midnight Crow (ตอนแรก) ชื่อนั้นคือจอมโจรคอร์โบ! (真夜中の烏 《前編》 その名は怪盗コルボー!) | 21 มีนาคม 2558 |
24 | Midnight Crow (ตอนจบ) ประจัญบาน สีขาวหรือสีดำ!? (真夜中の烏 《後編》 激突!白か黒か!?) | 28 มีนาคม 2558 |
เพลงประกอบ
[แก้]จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล
[แก้]
|
|
จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล 1412
[แก้]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล 1412 พร้อมออกอากาศทาง Cartoon Club". Detective Conan Thailand. 8 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ หนังสือจอมโจรอัจฉริยะเล่ม 4 จากอมาซอน (ญี่ปุ่น)
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Kaito Kid Vol 5" (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "6 ข้อที่คุณอาจไม่เคยรู้ โคนัน-จอมโจรคิด จาก ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน อ่านก่อนดูเดอะมูฟวี่ !". Major Cineplex. 5 ตุลาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-07. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 ""Magic Kaito" จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล". TigaTime. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Kaito KID : จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล". Metal Bridge. 17 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 184-185
- ↑ 8.0 8.1 "6 ข้อที่คุณอาจไม่เคยรู้ โคนัน-จอมโจรคิด จาก ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน อ่านก่อนดูเดอะมูฟวี่ !". Major Cineplex. 5 ตุลาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-07. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นานๆวาดที ผู้วาดโคนันกลับไปวาดจอมโจรคิดตอนใหม่". สนุกดอตคอม. 17 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 10.0 10.1 "ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน-จอมโจรKID 26-12-45". คัดสรรดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 71
- ↑ "รีวิวหนัง : 10 เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ของ จอมโจรคิด". โมโนแมกซ์. 21 มิถุนายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-11. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 15-19
- ↑ 14.0 14.1 14.2 โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 180
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 6
- ↑ 16.0 16.1 16.2 โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 42
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 115
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 120
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 107-110
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 63
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 100
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 13
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 18-20
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 31-33
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 172
- ↑ 26.0 26.1 โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 37
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 53-54
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 70
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 38-39
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 53
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 96
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 15
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 157
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 161-179
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 90-120
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 72
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 8
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 6-7
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 2
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 132
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2556, 28 มีนาคม). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 151
- ↑ 42.0 42.1 โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 105-106
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 104
- ↑ 44.0 44.1 โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 133
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 107
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 139-140
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 170
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 145
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 171
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 54
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2561, มิถุนายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 5). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 48
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 138
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2554, ??). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 59
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 177
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 135
- ↑ โกโช อาโอยาม่า (2558, 29 เมษายน). จอมโจรอัจฉริยะ (เล่ม 3). กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจ, หน้า 178
- ↑ "จอมโจรคิด ได้ทำเป็นอนิเมะแล้ว ฉายตุลาคมนี้". สนุกดอตคอม. 29 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "New 2-Part Magic Kaito Manga Starts This Month". Anime News Network. 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
- ↑ "Magic Kaito Manga Returns to Shonen Sunday For 3 Chapters". Anime News Network. 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
- ↑ "จอมโจรอัจฉริยะ". MaRynBooks. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Kaito Kid Vol 1" (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2013. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
- ↑ "Kaito Kid Vol 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2013. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
- ↑ "Kaito Kid Vol 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2013. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
- ↑ "Kaito Kid Vol 4" (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2013. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
- ↑ "Magic Kaito" (ภาษาญี่ปุ่น). Animax. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-05. สืบค้นเมื่อ April 18, 2010.
- ↑ "The Reminiscent Golden Eye". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ November 17, 2012.
- ↑ 67.0 67.1 まじっく快斗 (ภาษาญี่ปุ่น). Animax. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2553. สืบค้นเมื่อ January 7, 2014.
- ↑ 68.0 68.1 "Detective Conan: Kaito Kid's Summer Festival" (ภาษาญี่ปุ่น). Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ July 13, 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Kaito Kid Special: The Witch That Doesn't Shed Tears". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-08. สืบค้นเมื่อ October 8, 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Kaito Kid Special: The Fated Blue Birthday". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-21. สืบค้นเมื่อ October 26, 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Kaito Kid Special: In Love with Ski Slopes on Christmas Eve". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-11. สืบค้นเมื่อ December 18, 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The Brilliant Rival". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ August 4, 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The Brilliant Rival". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-24. สืบค้นเมื่อ August 9, 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Kaito Kid Special: The Witch, The Detective, and The Phantom Thief". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ November 17, 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Magic Kaito: The Reminiscent Golden Eye". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ November 17, 2012.
- ↑ "Magic Kaito: Crystal Mother's Tear". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-07. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
- ↑ "Magic Kaito: Tears of Love of the Dark Night". Yomiuri Telecasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
- ↑ "Magic Kaito 1412, Wolf Girl & Black Prince's Episode Counts Listed". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
- ↑ "Crunchyroll to Stream Magic Kaito 1412 Anime". Anime News Network. January 2, 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official YTV anime web site (ญี่ปุ่น)
- จอมโจรอัจฉริยะ (มังงะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- จอมโจรอัจฉริยะ (มังงะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- จอมโจรอัจฉริยะ (อนิเมะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ