ข้ามไปเนื้อหา

คันประทีป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คันประทีปที่สร้างขึ้นใหม่ของพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม สร้างโดยสถาบันพระวิหารแห่งประเทศอิสราเอล

คันประทีป หรือ เมโนราห์ (อังกฤษ: menorah, /məˈnɔːrə/; ฮีบรู: מְנוֹרָה mənōrā, ออกเสียง: [menoˈʁa]) เป็นเชิงเทียนเจ็ดกิ่งที่ระบุในคัมภีร์ฮีบรูและเอกสารโบราณในสมัยหลังว่าเป็นเครื่องใช้ในพลับพลาและในพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประติมานวิทยาของคันประทีปสามารถสืบย้อนไปถึงสิ่งแทนต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์[1] คันประทีปทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวยิวและศาสนายูดาห์ทั้งในดินแดนอิสราเอลและชาวยิวพลัดถิ่นตั้งแต่สมัยโบราณ[2] ในที่สุดก็กลายเป็นตราแผ่นดินของอิสราเอลหลังรัฐอิสราเอลก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1948

การสร้างและลักษณะปรากฏ

[แก้]

คัมภีร์ฮีบรู

[แก้]

คัมภีร์ฮีบรูระบุว่าพระเจ้าทรงสำแดงถึงแบบของคันประทีปแก่โมเสสและทรงอธิบายวิธีการสร้างคันประทีปดังนี้:[3]

31เจ้าจงทำคันประทีปอันหนึ่งด้วยทองคำบริสุทธิ์ จงใช้ค้อนเป็นเครื่องมือทำฐานและลำตัวคันประทีป สำหรับดอกคือฐานดอกและกลีบให้ติดเป็นเนื้อเดียวกับคันประทีป 32ให้กิ่งหกกิ่ง แยกออกจากลำคันประทีปข้างละสามกิ่ง 33แต่ละกิ่งที่ยื่นออกจากลำคันประทีปมีดอกเหมือนดอกอัลมอนด์สามดอก ทุกๆ ดอกจะมีฐานดอกและกลีบ 34และตรงลำคันประทีปนั้นให้มีสี่ดอกเหมือนดอกอัลมอนด์ ทั้งฐานดอกและกลีบ 35ใต้กิ่งทุกๆ คู่ที่ยื่นออกจากลำคันประทีปนั้น จะมีฐานดอกหนึ่งอัน 36ฐานดอกและกิ่งจะต้องเป็นเนื้อเดียวกับคันประทีป ให้ทุกส่วนเป็นเนื้อเดียวกันด้วยทองคำบริสุทธิ์โดยใช้ค้อนเป็นเครื่องมือ

37และเจ้าจงทำตะเกียงเจ็ดดวงสำหรับคันประทีปนั้น แล้วตั้งไว้บนยอดแต่ละกิ่งให้ส่องสว่างบริเวณหน้าคันประทีป 38ให้ทำตะไกรตัดไส้ตะเกียง และถาดใส่ตะไกรด้วยทองคำบริสุทธิ์ 39คันประทีปกับเครื่องใช้ทุกอย่างให้ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก 35 กิโลกรัม 40จงระวังทำสิ่งเหล่านี้ตามแบบที่เราแจ้งแก่เจ้าบนภูเขา[4]

หนังสือกันดารวิถี (บทที่ 8) เสริมว่าตะเกียงทั้งเจ็ดดวงส่องแสงไปด้านหน้าคันประทีป และเน้นย้ำว่าคันประทีปถูกสร้างตามแบบที่พระเจ้าทรงสำแดงแก่โมเสสบนภูเขาซีนาย[5]

คลังภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yarden, Leon (1971). The Tree of Light. Ithaca, N.Y. : Cornell University Press. ISBN 0-8014-0596-3.
  2. Birnbaum, Philip (1975). A Book of Jewish Concepts. New York: Hebrew Publishing Company. pp. 366–367. ISBN 088482876X.
  3. อพยพ 25:31 -40
  4. อพยพ 25:31-40 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
  5. กันดารวิถี 8:1 -4

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Fine, Steven. 2010. "'The Lamps of Israel': The Menorah as a Jewish Symbol." In Art and Judaism in the Greco-Roman World: Toward a New Jewish Archaeology. By Steven Fine, 148–163. New York: Cambridge University Press.
  • --. 2016. The Menorah: From the Bible to Modern Israel. Cambridge, MA: Harvard University Press, 2016.
  • Hachlili, Rachel. 2001. The Menorah, the Ancient Seven-Armed Candelabrum: Origin, Form, and Significance. Leiden: E.J. Brill.
  • Levine, Lee I. 2000. "The History and Significance of the Menorah in Antiquity." In From Dura to Sepphoris: Studies in Jewish Art and Society in Late Antiquity. Edited by Lee I. Levine and Ze’ev Weiss, 131–53. Supplement 40. Portsmouth, RI: Journal of Roman Archaeology.
  • Williams, Margaret H. 2013. "The Menorah in a Sepulchral Context: A Protective, Apotropaic Symbol?" In The Image and Its Prohibition in Jewish Antiquity. Edited by Sarah Pearce, 77–88. Journal of Jewish Studies, Supplement 2. Oxford: Journal of Jewish Studies.
  • Taylor, Joan E. (1995). "The Asherah, the Menorah and the Sacred Tree". Journal for the Study of the Old Testament. SAGE Publications. 20 (66): 29–54. doi:10.1177/030908929502006602. ISSN 0309-0892.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]