ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย
รัสเซีย |
ไทย |
ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย (รัสเซีย: Российско-таиландские отношения) เป็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับรัสเซีย (จักรวรรดิรัสเซีย, สหภาพโซเวียต และสหพันธรัฐรัสเซีย) ความสัมพันธ์เรื่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และซาร์นิโคลัสที่ 2 ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศยุติลงต่อมาได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ในวันที่ 12 มีนาคม 1941 ในฐานะสหภาพโซเวียต แต่ความสัมพันธ์ค่อนข้างที่จะเหินห่างและขาดสะบั้นเมื่อประเทศไทยประกาศเป็นสัมพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็นเพื่อมีจุดประสงค์หลักคือต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ภายในประเทศและได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์อีกครั้งในปี 1979 เมื่อพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ทำการเยือนสหภาพโซเวียต ต่อมาหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ไทยได้รับรองรัสเซียเป็นประเทศเอกราชในวันที่ 28 ธันวาคม 1991 ปัจจุบันรัสเซียมีสถานทูตที่กรุงเทพมหานคร และมีสถานกงสุลสองที่คือที่พัทยา และภูเก็ต ส่วนไทยมีสถานทูตที่มอสโก และมีสถานกงสุลสองที่คือที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และวลาดีวอสตอค ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกเอเปคและองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (รัสเซียเป็นรัฐสมาชิกและไทยเป็นคู่ค้า)
บันทึกการติดต่อครั้งแรกระหว่างรัสเซียกับสยามเกิดขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1863 เมื่อเรือ Gaydamak และ Novik เดินทางมาถึงกรุงเทพ จากนั้นจึงเกิดความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างครอบครัวชนชั้นสูงของไทยและจักรวรรดิรัสเซีย พร้อมการบันทึกมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจักรพรรดินิโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียไว้อย่างดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ โอรสองค์ที่ 43 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สมรสกับคัทริน เดสนิตสกี ซึ่งท่านพบกับเธอขณะศึกษาอยู่ในจักรวรรดิรัสเซีย[1]
การเปรียบเทียบ
[แก้]สหพันธรัฐรัสเซีย | ราชอาณาจักรไทย | |
---|---|---|
ตราแผ่นดิน | ||
ธงชาติ | ||
ประชากร | 147,003,104 คน | 68,863,514 คน |
พื้นที่ | 17,098,246 ตร.กม. (6,601,670 ตร.ไมล์) | 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์) |
ความหนาแน่น | 8.4 คน/ตร.กม. (21.8 คน/ตร.ไมล์) | 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์) |
เมืองหลวง | มอสโก | กรุงเทพมหานคร |
เมืองที่ใหญ่ที่สุด | มอสโก – 12,506,468 คน (เขตปริมณฑล 15,512,000 คน) | กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน) |
การปกครอง | ประชาธิปไตยกึ่งประธานาธิบดี | ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข |
ประมุขแห่งรัฐ | ประธานาธิบดี: วลาดีมีร์ ปูติน | พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
หัวหน้ารัฐบาล | นายกรัฐมนตรี: มีฮาอิล มีชุสติน | นายกรัฐมนตรี: แพทองธาร ชินวัตร |
ภาษาราชการ | ภาษารัสเซีย | ภาษาไทย |
ศาสนาหลัก | ||
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
|
จีดีพี (ราคาตลาด) | 1.610 ล้านล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 11,191 ดอลลาร์) | 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์) |
ค่าใช้จ่ายทางทหาร | 70 พันล้านดอลลาร์ | 5.69 พันล้านดอลลาร์ |
เศรษฐกิจ
[แก้]การค้าทวิภาคี
[แก้]ตัวเลขทางการของปริมาณการค้าที่เผยแพร่โดยสองประเทศขัดแย้งกัน
- ข้อมูลฝั่งไทยะระบุว่า การค้ากับรัสเซียใน ค.ศ. 2008 มีรายได้ถึง 2.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยมีดุลการค้าอยู่ที่ 1.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] รัสเซียส่งออกทรัพยากรแร่ ส่วนไทยส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร[2]
- ข้อมูลบริการศุลกากรของรัสเซียระบุว่า รัสเซียส่งออกให้ไทยใน ค.ศ. 2008 มีจำนวน 1.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้าถึง 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้รัสเซียมีดุลการค้าที่ 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] โดยรวม การค้ากับประเทศไทยเป็นการค้าต่างประเทศของรัสเซียเพียง 0.4%[3] สถานทูตรัสเซียในประเทศไทยรายงานว่า ประเทศไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของรัสเซียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้ซื้อเหล็กเฟอร์รัสจากรัสเซียรายใหญ่อันดับ 3 จากทั่วโลก[4]
ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ประกาศว่ารัสเซียให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนเป้าหมายในการเพิ่มการค้าทวิภาคีประจำปีจาก 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปเป็น 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2021 รัสเซียต้องการซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ข้าว ผลไม้ รถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์จากไทยเป็นหลัก รัสเซียต้องการเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย เนื่องจากนักลงทุนชาวรัสเซียจำนวนมากเข้ามาตั้งฐานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ระยอง[5]
การท่องเที่ยว
[แก้]ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางเขตร้อนที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ฝั่งรัสเซียโต้แย้งตัวเลขที่ทางการไทยให้ไว้ว่าสูงเกินจริง และทางการไทยโต้แย้งว่าตัวเลขที่รัสเซียให้มีจำนวนน้อยเกินไป:
- เจ้าหน้าที่รักษาชายแดนรัสเซียรายงานการเดินทางไปไทยใน ค.ศ. 2008 ที่ 259,000 คน (235,000 คนใน ค.ศ. 2007) โดยประเทศตุรกี จุดหมายปลายทางหลักที่มีผู้เดินทางมากที่สุด รายงานการเดินทางไป 2.2 ล้านคน[6] ข้อมูลรัฐบาลไทยระบุว่าจำนวนที่รัสเซียให้มีเฉพาะเที่ยวบินตรง ไม่นับนักท่องเที่ยวที่บินแวะพักที่อื่น[7] and reported 279,000 Russian tourists for 2007.
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรายงานชาวรัสเซียที่ "เดินทางแบบท่องเที่ยว" ไปยังพัทยาในมกราคม–มีนาคม ค.ศ. 2007 ที่ 456,972 คน (รวม 1.57 ล้านคน) นักวิจารณ์ชาวรัสเซียระบุว่าไทยนับรวม ค้างคืนในคืนโรงแรม และจำนวนนั้นควรหารด้วยตัวประกอบ 10 ถึง 11
ใน ค.ศ. 2018 มีชาวรัสเซียเดินทางมาไทยประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ค.ศ. 2017 ที่ 15% และมีชาวไทยเดินทางไปรัสเซียโดยเฉลี่ยต่อปีที่ประมาณ 20,000 คน[8]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ตราไปรษณียากร 22 รูเบิล ของรัสเซีย เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและรัสเซีย
-
ตราไปรษณียากร 1,500 รูเบิล ของรัสเซีย เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและรัสเซีย โดยเป็นรูปของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ด้านขวามือ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thaitrakulpanich, Asaree (22 August 2019). "DURIANS, 'ARROGANT' ENGLISHMEN: 19TH CENTURY RUSSIAN EXPLORER'S JOURNALS ABOUT SIAM". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "Thai-Russian Bilateral Relations: Statistics". Embassy of Thailand in Moscow. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
- ↑ 3.0 3.1 "Foreign trade of Russia by partner country (in Russian)". Federal Customs Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ "Trade and Economic Cooperation". Embassy of Russian Federation in the Kingdom of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ "Russia eager to see trade top $10bn with Thailand". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
- ↑ "Official statistics of Russian State Tourism Service, 2007-2008". สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Tayskaya Pattaya prevratilas..." sibterra.ru, January 22, 2008. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2012. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2009.
- ↑ Thaitrakulpanich, Asaree (20 June 2019). "RUSSIAN AMBASSADOR DENOUNCES SANCTIONS, URGES THAIS TO BUY MORE WEAPONS". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ในภาษารัสเซีย) Documents on the Russia–Thailand relationship at the Russian Ministry of Foreign Affairs
- St. Petersburg's Man in Siam: A.E. Olarovskii and Russia's Asian Mission, 1898-1905
- Natanaree Posrithong. (2011, May-Aug). The Russo-Siamese Relations in the Reign of King Chulalongkorn. ABAC Journal 31(2): 35-47.
- ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2516). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรุสเซียและประเทศไทยตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2542). ไทยกับการประชุมสันติภาพนานาชาติกรุงเฮกครั้งแรก ค.ศ. 1899. รัฐศาสตร์สาร. 21(2): 1-36.
คณะผู้แทนทางทูต
[แก้]- สถานทูตรัสเซียในกรุงเทพ เก็บถาวร 2015-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (ในภาษารัสเซียและไทย) สถานทูตไทยในมอสโก