สโมสรฟุตบอลสมุทรสงคราม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลสมุทรสงคราม Samut Songkhram Football Club |
---|---|
ฉายา | ปลาทูคะนอง |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2548 |
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสงคราม |
ความจุ | 6,000 คน |
เจ้าของ | บริษัท สมุทรสงคราม เอฟซี จำกัด |
ประธาน | สมชาย ตันประเสริฐ |
ลีก | เซมิโปรลีก |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก, อันดับที่ 2 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร |
สโมสรฟุตบอลสมุทรสงคราม เป็นสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นจากจังหวัดสมุทรสงคราม รู้จักกันในฉายา "ปลาทูคะนอง" พวกเขาเคยได้ร่วมเล่นในไทยลีกระหว่าง พ.ศ. 2551–2557 ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
ประวัติสโมสร
[แก้]สโมสรฟุตบอลสมุทรสงครามเริ่มก่อตั้งและลงแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายการโปรวินเชี่ยลลีก 2 ในปี 2548 โดยในฤดูกาลถัดมาปี 2549 สโมสรสามารถคว้าตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลโปรลีก ดิวิชั่น 2 ได้สำเร็จ และย้ายมาเล่นลีก ดิวิชั่น 1
ในฤดูกาล 2550 สโมสรสมุทรสงครามได้รับคาดหมายว่าจะเป็นทีมแรกที่จะตกลงไปสู่ระดับล่าง แต่แล้วทีมก็สร้างปาฏิหาริย์ จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 2 ของสาย บี ในศึกดิวิชั่น 1 และได้อันดับที่ 4 ในรอบสุดท้าย ทำให้ได้สิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศได้ในปี 2551
ฤดูกาล 2551 สโมสรได้เล่นในลีกสูงสุดเป็นฤดูกาลแรก และถูกคาดหมายว่าจะเป็นทีมแรกที่ตกชั้นลงไป เนื่องจากทุนในการทำทีมที่น้อยและนักเตะที่ถือว่าเป็นนักเตะเกรดสอง ขณะเดียวกันสโมสรได้เปลี่ยนโลโก้ของทีมจากปลาทูเป็นกลอง จึงทำให้แฟนบอลบางส่วนไม่พอใจและเรียกร้องให้กลับไปใช้โลโก้แบบเดิม เมื่อจบฤดูกาลทีมสมุทรสงครามสามารถคว้าอันดับที่ 7 มาได้จาก 16 ทีม และได้อันดับที่ 2 ของทีมที่มีพัฒนาการยอดเยี่ยมในทุกด้านรองจากชลบุรี โดยผู้ทำประตูสูงสุดของทีมคือ ทรงวุฒิ บัวเพ็ชร ที่ยิงใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ไป 7 ประตู
ฤดูกาล 2552 สโมสรแก้ไขปัญหาเรื่องโลโก้สโมสรโดยใส่ทั้งปลาทูและกลองลงไปในโลโก้ใหม่ของทีมและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามข้อกำหนดของ เอเอฟซี
ฤดูกาล 2556 เป็นปีที่ไม่พร้อมสำหรับสมุทรสงคราม เอฟซี ในช่วงก่อนเปิดฤดูกาลทางฝ่ายบริหารตัดสินใจไม่ส่งทีมเข้าแข่งขัน แต่จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ฝ่ายบริหารทีมชุดใหม่ได้ตัดสินใจส่งรายชื่อเข้าแข่งขันอีกครั้งในช่วงก่อนเปิดฤดูกาลเล็กน้อยทำให้มีเวลาเตรียมทีมน้อยกว่าทุกปี ด้วยความไม่พร้อมในหลายด้านทำให้ผลงานที่ออกมาอยู่ในโซนท้ายตาราง แต่สุดท้ายก็สามารถประคองตัวไม่ตกชั้น (ได้อันดับ 16)
ฤดูกาล 2557 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริหารสโมสรอีกครั้ง ชัยยะ บุญเจริญ ประธานบริษัท แม่กลอง สมุทรสงคราม จำกัด นั่งควบตำแหน่งประธานสโมสร อินทรโชติ บุญเจริญ เป็นผู้จัดการทีม โดยมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนเช่นเดิม ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกในการแข่งขันเป็น จีเอสอี สมุทรสงคราม เอฟซี
หลังจากการแข่งขัน โตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก 2557 ผ่านไปได้ 6 นัด ผลงานของทีม จีเอสอี สมุทรสงคราม เอฟซี ทำได้เพียง เสมอ 1 นัด และ แพ้ 5 นัด ทำให้หัวหน้าผู้ฝึกสอน สมชาย ชวยบุญชุม ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังเกมการแข่งขันกับ สุพรรณบุรี เอฟซี [1] และหลังจากนั้นไม่นาน จีเอสอี สมุทรสงคราม เอฟซี ได้แต่งตั้ง ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ เข้ามาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ [2] แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าผู้ฝึกสอน จีเอสอี สมุทรสงคราม เอฟซี ก็ยังไม่สามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ได้ โดย 5 เกมการแข่งขัน ภายใต้การคุมทีมของ ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ ทำได้เพียง ชนะ 1 นัด และ แพ้ 4 นัด ทำให้ผู้จัดการทีม อินทรโชติ บุญเจริญ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง โดยขยับให้ สมชาย ตันประเสริฐ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม [3] แต่ท้ายที่สุดสโมสรก็ต้องตกชั้นลงไปในดิวิชั่น 1 เมื่อจบการฤดูกาลที่อันดับ 20 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย
หลังจากตกชั้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 สโมสรได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนเป็น มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลสมุทรสงคราม-มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เอฟซี หรือ สมุทรสงคราม บีทียู เอฟซี และใช้สนามของทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีเป็นสนามเหย้าชั่วคราว ก่อนที่สนามจริง คือ สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสงคราม จะปรับปรุงเสร็จ[4] [5]
ในการแข่งขัน ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก ฤดูกาล 2565-66 สโมสรจบอับดันที่ 2 ได้เข้ารอบระดับประเทศ ต่อมาทางบริษัท ไทยลีก จำกัดได้แจ้งว่าสโมสรไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง ทำให้ต้องลงแข่งเซมิโปรลีกในฤดูกาลต่อมา[6]
ประวัติตราสัญลักษณ์
[แก้]-
ฤดูกาล 2550
-
ฤดูกาล 2551
รายชื่อผู้ฝึกสอน
[แก้]ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน
ชื่อ-สกุล | สัญชาติ | ช่วงเวลา | เกียรติประวัติ |
---|---|---|---|
ภานุพงษ์ ฉิมผูก | ฤดูกาล 2563–64 – พฤศจิกายน 2564 | ||
ชลทิศ กรุดเที่ยง | พฤศจิกายน 2564 – สิงหาคม 2565 | ||
ดามีอาน เบลล็อน | สิงหาคม 2565 – ธันวาคม 2565 | ||
เยิร์ค สเตนบรุนเนอร์ | ธันวาคม 2565 – เมษายน 2566 | รองชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 – โซนภาคตะวันตก (เข้ารอบระดับประเทศ) |
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก |
22 | 16 | 4 | 2 | 42 | 22 | 52 | อันดับที่ 2 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | ฌูนาตัน บือร์นาร์ดู | 9 |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนล่าง |
5 | 0 | 1 | 4 | 1 | 11 | 1 | อันดับที่ 6 |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BREAKING : ฉ่วยยกธงลาปลาทูหลังแพ้สุพรรณ
- ↑ "ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ " บนเส้นทางสร้างโค้ชฟุตบอล
- ↑ ด่วน!เสี่ยโชติโบกมือลาปลาทูเหตุทำทีมรั้งบ๊วยไทยลีก
- ↑ สมุทรสงครามฯ จับมือ ม.กรุงเทพธนบุรี ร่วมกันทำทีม
- ↑ "ยืนยัน สมุทรสงคราม เปลี่ยนชื่อเป็น สมุทรสงคราม บีทียู เอฟซี ใช้สนาม ม.กรุงเทพธนบุรี เป็นสนามเหย้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-04.
- ↑ ‘ปลาทูคะนอง’ช็อก โดนปรับหลุดวงโคจรบอลอาชีพ