อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พิกัด: 3°25′37″N 99°57′09″E / 3.4268227°N 99.95262249999996°E / 3.4268227; 99.95262249999996
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อุทยาน ร.2)
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
แผนที่
ที่ตั้งตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ประเภทชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
ผู้ก่อตั้งพระราชสมุทรเมธี (เจริญ ขนฺติโก)
เจ้าของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เรือนไทยภายในอุทยาน ร.2
รูปหล่อเงาะป่าและตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง "สังข์ทอง" พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร. ๒) อัมพวา สมุทรสงคราม

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อุทยาน ร.2 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ติดกับตลาดน้ำอัมพวา มีเนื้อที่ 11 ไร่ บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย ซึ่งที่บริเวณนี้มี ความสำคัญเพราะเป็นที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2

ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์มีสิ่งที่น่าสนใจ มีเรือนไทยหมู่ 5 หลัง ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย 4 หลัง จัดแสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ของร.2 เช่น พระแท่นบรรทมศิลปะจีน นอกจากนี้ยังแสดงความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัย ร.2 จัดแสดงอาวุธสงครามโบราณและข้าวของเครื่องใช้ของสตรีมีฐานะในอดีต เรือนไทยอีกหลังใช้เป็นสถานที่ซ้อมโขนละคร ในวันที่ 24 ก.พ. ของทุกปีจะมีการจัดแสดงโขนถวายหน้าพระที่นั่งในสวนของอุทยานฯ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2

มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้หอกลาง ประดิษฐานพระบรมรูป ร.2 และโบราณวัตถุ หอนอนชาย แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชาวไทย หอนอนหญิงแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงโบราณชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณห้องครัว และห้องน้ำ แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของชนชั้นกลาง นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้ง สวนพฤกษชาติ เป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดกว่า 140 ชนิด เช่น ยี่สุ่น ช้างโน้ม ทับทิมหนู สารภี และมีมะพร้าวพญาซอซึ่งเป็นพันธุ์หายากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้นำมาปลูกภายในอุทยานฯ

การเดินทางไปอุทยานฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 35 ถึงกิโลเมตรที่ 63 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 325 เข้าจังหวัดสมุทรสงคราม 6 กิโลเมตร ถึงบริเวณอุทยานฯ (มีป้ายบอกตลอดทาง) จากตัวเมืองมีรถประจำทางสาย บางนกแขวกผ่าน ขึ้นได้ที่ตลาดเทศบาลเมือง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

3°25′37″N 99°57′09″E / 3.4268227°N 99.95262249999996°E / 3.4268227; 99.95262249999996