รัฐเอกราชโครเอเชีย
รัฐเอกราชโครเอเชีย Nezavisna Država Hrvatska | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1941–1945 | |||||||||
รัฐเอกราชโครเอเชียในปี 1942 | |||||||||
เมืองหลวง | ซาเกร็บ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาโครเอเชีย | ||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก และ อิสลาม[1] | ||||||||
การปกครอง | ลัทธิฟาสซิสต์ รัฐพรรคการเมืองเดียว เผด็จการเบ็ดเสร็จ (1941–1945) ภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (1941–1943) | ||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||
• 1941–1943 | สมเด็จพระราชาธิบดีโทมิสลาฟที่ 2 แห่งโครเอเชีย[2] | ||||||||
โพกลาฟนิก | |||||||||
• 1941–1945 | อานเต ปาเวลิช | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• 1941–1943 | อานเต ปาเวลิช | ||||||||
• 1943–1945 | นิโคลา มานดิช | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||
• สถาปนา | 10 เมษายน 1941 | ||||||||
8 พฤษภาคม 1945 | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
1941 | 115,133 ตารางกิโลเมตร (44,453 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1941 | 6966729 | ||||||||
สกุลเงิน | NDH Kuna | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย เซอร์เบีย สโลวีเนีย | ||||||||
*Aimone, Duke of Spoleto accepted nomination on 18 May 1941, abdicated 31 July 1943 and renounced all claims on 12 October 1943.[2][3][4] Subsequently, the state was no longer a technical monarchy. Ante Pavelić became head of state, and his title as leader of the ruling Ustaše movement, "Poglavnik", officially became the title of the NDH head of state. |
รัฐเอกราชโครเอเชีย (โครเอเชีย: Nezavisna Država Hrvatska, NDH; เยอรมัน: Unabhängiger Staat Kroatien; อิตาลี: Stato Indipendente di Croazia) เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี[5][6][7] และอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยรัฐนี้ก่อตั้งขึ่นในวันที่ 10 เมษายน 1941 หลังบุกครองยูโกสลาเวียได้สำเร็จโดยรัฐนี้มีดินแดนคือในประเทศโครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, เซอร์เบีย และ สโลวีเนียในปัจจุบันโดยในยุคนี้ชาวเซิร์บ, ชาวยิว, ชาวโรมา, ประชาชนที่ต่อต้านฟาสซิสต์, ถูกจับเป็นจำนวนมากและส่งเข้าค่ายกักกันยาเชโนวัช.[8][9] รัฐดังกล่าวยังถูกปกครองโดยคนสองกลุ่ม คือ ชาวโครแอต และ ชาวบอสนีแอก โดยถือทัศนะคติ แนวคิด เกรตโครเอเชีย และ เกรตบอสเนีย เป็นทัศนะคติหลักตั้งของชาติ ซึ่งสองอุดมการณ์มีมุมมองต่อต้าน ชาวยิว และ ชาวเซิร์บ .
อุดมการณ์ร่วมชาวโครแอตและชาวบอสนีแอก
[แก้]ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวโครแอตและชาวบอสนีแอก ถูกปกครองภายใต้การปกครองของชาวเซิร์บ ใน ราชอาณาจักรยูโกสาเวีย ชาวเซิร์บนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โทด็อกซ์ ขณะที่ชาวบอสนีแอกนับถือศาสนาอิสลาม และชาวโครแอตนับถือคริสต์โรมันคาทอลิก แต่การปกครองโดยชาวเซิร์บ แสดงความไม่พอใจที่ก่อให้เป็นพลังของชาวมุสลิมและชาวคาทอลิก ในการก่อตั้งอุดมการณ์ร่วมชาวโครแอตและบอสนีแอก (Hrvati i Muslimani) หลังการแพร่หลายของลัทธิฟาสซิสต์ ระบอบนี้ได้ชักนำความเกลียดชังชาวเซิร์บ ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวยิว ทำให้เกิดแนวคิด การต่อต้านยิว = การต่อต้านชาวเซิร์บ การต่อต้านชาวยิวและเซิร์บ แพร่หลายจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลของรัฐเอกราชโครเอเชีย ได้จับชาวยิวและชาวเซิร์บ สู่การสังหารหมู่ ที่ ค่ายกักกันยาเชโนวัช.
การปกครอง
[แก้]รัฐเอกราชโครเอเชีย เป็นรัฐสองเชื้อชาติ สองศาสนา คือ ชาวคริสต์โครเอเชียน (Hrvati) และ ชาวมุสลิมบอสเนีย (Muslimani) การปกครองของรัฐนี้ถูกควบคุมโดยนาซีเยอรมันและอิตาลีพอสมควร ในลักษณะรัฐหุ่นเชิด แต่โครงสร้างการปกครอง ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ และ ระบอบพรรคการเมืองเดียว เน้นแนวคิดฟาสซิสต์ และ อุดมการณ์ร่วมชาวโครแอตและชาวบอสนีแอก โดยมี อันเท ปาเวลิช เป็นผู้นำ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ramet 2006, p. 118.
- ↑ 2.0 2.1 Rodogno, Davide; Fascism's European empire: Italian occupation during the Second World War; p.95; Cambridge University Press, 2006 ISBN 0-521-84515-7
- ↑ Pavlowitch, 2008, p. 289
- ↑ Massock, Richard G.; Italy from Within; p. 306; READ BOOKS, 2007; ISBN 1-4067-2097-6 [1]
- ↑ "Independent State of Croatia". Britannica Online Encyclopedia. Retrieved 8 September 2009.
- ↑ "Croatia เก็บถาวร 2009-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Microsoft Encarta Online Encyclopedia. Retrieved 8 September 2009.
- ↑ "Yugoslavia". Holocaust Encyclopedia. United States Holocaust Memorial Museum. Retrieved 8 September 2009. Archived 31 October 2009.
- ↑ "Jasenovac". Jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 3 June 2011.
- ↑ Pavlowitch, 2008, p. 34