โดนต์เซย์ยูเลิฟมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Don't Say You Love Me (M2M song))

"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี"
Two young teen girls on a purple couch, one lying prone and one sitting. Both are smiling.
ซิงเกิลฉบับสหราชอาณาจักร/ยุโรป
เพลงโดยเอ็มทูเอ็ม
จากอัลบั้มอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ และ เชดส์ออฟเพอร์เพิล
ด้านบี"The Feeling Is Gone"
วางจำหน่าย26 ตุลาคม 1999
บันทึกเสียง1999
แนวเพลงบับเบิลกัมป็อป[1]
ความยาว3:46
ค่ายเพลงแอตแลนติก
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
  • ปีเตอร์ ซิซโซ
  • จิมมี บราโลเวอร์

"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" (อังกฤษ: Don't Say You Love Me) เป็นซิงเกิลเปิดตัวของวงเอ็มทูเอ็ม ดูโอแนวป็อปจากนอร์เวย์ที่ประกอบด้วยสมาชิกคือ เมเรียน เรเวน และ มาริต ลาร์เซน เพลงออกอากาศครั้งแรกทางเรดิโอดิสนีย์ ก่อนที่จะออกอากาศอย่างเป็นทางการทางสถานีวิทยุอเมริกันและออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999 โดยยังบรรจุอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู ออกจำหน่ายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999 และยังอยู่ในอัลบั้มเปิดตัวของเอ็มทูเอ็มชุด เชดส์ออฟเพอร์เพิล (2000) นอกจากนั้นยังรวมอยู่ในอัลบั้มรวมเพลงของวงชุด เดอะเดย์ยูเวนต์อะเวย์: เดอะเบสต์ออฟเอ็มทูเอ็ม (2003)

เพลงได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวก ชัค เทย์เลอร์ จากนิตยสาร บิลบอร์ด เขียนไว้ว่า "น่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง" และสามารถเข้าถึงกลุ่มคนฟังทั้งวุ่ยรุ่นและรุ่นใหญ่ เพลงขึ้นอันดับ 2 ในนอร์เวย์, อันดับ 4 ทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์, อันดับ 16 ในสหราชอาณาจักร และอันดับ 21 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 ซิงเกิลได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐและออสเตรเลีย และยังคงเป็นเพลงฮิตที่สุดของเอ็มทูเอ็ม วงยังได้แสดงเพลงนี้ในตอนของรายการ วันเวิลด์, ท็อปออฟเดอะป็อปส์ และ ดิสนีย์แชนเนลอินคอนเสิร์ต มีมิวสิกวิดีโอที่คล้ายคลึงกันออกมา 2 ตัว โดยมีตัวหนึ่งมีภาพจาก โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู ด้วย

เบื้องหลังและการแต่งเพลง[แก้]

เมเรียน เรเวนและมาริต ลาร์เซนมาจากโลเรินสกูก เขตทางทิศตะวันออกของกรุงออสโล[2] ทั้งคู่พบกันตั้งแต่อายุ 5 ขวบ[3] และได้กลายมาเป็นเพื่อนรักกัน ทั้งคู่ค้นพบในความสนใจด้านดนตรีเหมือนกัน และเริ่มร้องเพลงด้วยกันรวมถึงแสดงในงานดนตรี[2][4] ได้ออกอัลบั้มสำหรับเด็กด้วยกันในฐานะคู่ดูโอ ชื่อชุด Synger Kjente Barnesanger (อังกฤษ: Sing Famous Children's Songs) ในปี ค.ศ. 1996 ภายใต้ชื่อวงว่า มาริตแอนด์เมเรียน[2] เมื่อลาร์เซนอายุ 11 และเรเวนอายุ 12 ปี[4] อัลบั้มได้การเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล สเปลมานไพรเซน[5] หลังจากออกอัลบั้มนี้พวกเธอก็เริ่มแต่งเพลงป็อปด้วยกันหลายเพลง[4] แล้วได้ส่งเดโมให้ค่ายเพลง หนึ่งในนั้นส่งไปยังแอตแลนติกเรเคิดส์ จนพวกเธอได้เซ็นสัญญาครอบคลุมทั่วโลกในปี ค.ศ. 1998[6] พวกเธอยังให้แฟนเพลงส่งชื่อวงใหม่ในการแข่งขัน มีหญิงคนหนึ่งแนะนำชื่อวงว่า เอ็มทูเอ็ม[3] เรเวนและลาร์เซนอายุ 14 และ 15 ปี ตามลำดับ ขณะกำลังบันทึกเสียงอัลบั้มเปิดตัวชุด เชดส์ออฟเพอร์เพิล รวมถึงซิงเกิลเปิดตัว "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี"[2][7]

ดนตรีและเนื้อร้องประพันธ์โดยเรเวน, ลาร์เซน, ปีเตอร์ ซิซโซ และจิมมี บราโลเออร์[8][9] ผลิตเพลงโดยซิซโซและบราโลเออร์ และผสมเสียงโดยทอม ลอร์ด-อัลเจ[2] เพลง "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" มีอัตราจังหวะ 4/4 เทมโปค่อนข้างช้า ด้วยจังหวะ 100 ครั้งต่อนาที[10] เรเวนและลาร์เซนแยกกันร้องนำในท่อนเวิร์ส 2 ท่อนแรก และร้องประสานเสียงด้วยกันในท่อนคอรัส[11] เกือบแทบทั้งเพลงท่อนเวิร์สมีคีย์ซีชาร์ปไมเนอร์ (C♯ minor) และท่อนคอรัสมีความสัมพันธ์ทางกุญแจเสียงกับคีย์ อีเมเจอร์ (E major)[10] คอรัสสุดท้าย เปลี่ยนคีย์มาเป็น เอฟชาร์ปเมเจอร์ (F♯ major)[10] เครื่องดนตรีหลักของเพลงประกอบด้วย เปียโนไฟฟ้าและกีตาร์โปร่ง[10] มีเสียงสะดุดที่ซ้อนทับในคอรัส ในลักษณะแบบเพลง "อืมม์บ็อป" ของวงแฮนสัน[11] คอรัสสุดท้าย ร้องซ้ำแบบบิดโน้ต (แอดลิบ) เป็นเสียงฉากหลังจนกระทั่งเพลงเบาลง[10]

เนื้อเพลงพูดถึง "การบอกกฎความสัมพันธ์ในระยะแรก เพลาลงและอย่าพูดว่าฉันรักเธอ จนกว่าเธอจะให้เวลาฉันและรู้จักฉันดีพอ"[8]จากความเห็นของนักดนตรีวิทยา จอน มิกเคล พรอช อัลวิก (Jon Mikkel Broch Ålvik) "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" คือเพลงทีนป็อปของคนที่มีเหตุผล[11] อัลวิกไม่ยอมรับการตีความอย่างผิวเผินที่เนื้อเพลง "ส่งสาส์นด้านศีลธรรม ให้งดเว้นเพศสัมพันธ์" เขาถกเถียงแทนว่า เอ็มทูเอ็ม "ส่งสัญญาณท่าทีว่า ให้พิจารณาและให้ความมั่นใจ แทนที่จะแสดงความเคร่งครัด[11] อาจอธิบายเพลงนี้ได้ว่าเป็นแนวบับเบิลกัมป็อป[1] ที่ดูคล้าย ๆ กับเนื้อเพลงของวงเกิร์ลกรุ๊ปหลายวงในคริสต์ทศวรรษ 1960 ขณะเดียวกันก็ได้รับอิทธิพลจากเพลงร็อกมากกว่าและแนวเพลงที่เขียนโดนักร้อง-นักแต่งเพลง มากกว่าเพลงทีนป็อปทั่ว ๆ ไป ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990[8][11]

ยังมีเนื้อเพลงที่แตกต่างกันเล็กน้อยระห่างฉบับในภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู กับฉบับที่ออกในอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล ในฉบับ เชดส์ออฟเพอร์เพิล มีท่อนร้องที่ว่า "then you start kissing me, what's that about?"[12] ส่วนในฉบับ โปเกมอน ใช้เนื้อร้อง "then you said you love me, what's that about?"[13] เมื่อถามว่าเหตุใดจึงเปลี่ยนเนื้อเพลง เอ็มทูเอ็ม ตอบว่า "ในฉบับ Pokémon คนจะคิดว่าไม่เหมาะสมที่จะให้มีการจูบในเนื้อเพลง เพราะเป็นเพลงสำหรับเด็ก เราคิดว่าการเปลี่ยนเนื้อแบบนี้ค่อนข้างงี่เง่า ฉบับดั้งเดิมใน เชดส์ออฟเพอร์เพิล คือสิ่งที่เราต้องการ"[14] เอ็มทูเอ็มไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ โปเกมอน มาก่อนจนกระทั่งได้รับเลือกให้มาทำเพลงประกอบ เพราะยังไม่ได้รับความนิยมในนอร์เวย์[14]

การออกขายและการปรากฏเพลง[แก้]

Marion Raven, a young brunette woman, playing a guitar on stage
เรเวน (ภาพถ่ายปี ค.ศ. 2007) และราเซนออกทัวร์ในสหรัฐและเอเชียเพื่อประชาสัมพันธ์ซิงเกิล

"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ปรากฏอยู่ในตอนที่ชื่อ "เดอะลิสต์" ของซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง เฟลิซิตี ที่ออกอากาศในสหรัฐเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และมีคนดูถึง 5 ล้านคน ได้ช่วยทำให้เพลงนี้เริ่มเป็นที่สนใจ[8][15] ต่อมา 10 ตุลาคม ปรากฏอยู่ในตอนของซีรีส์เรื่อง แจ็กแอนด์จิลล์ ชื่อตอน "มูฟวิงออน"[16] เพลงได้รับการเปิดออกอากาศทางเรดิโอดิสนีย์อยู่แล้ว ก่อนที่จะเปิดเล่นอย่างเป็นทางการในสหรัฐเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1999 โดยซิงเกิลออกจำหน่ายทั้งในรูปแบบซีดีและตลับเทป[15] ภายในเดือนนั้น มีสถานีวิทยุในรูปแบบยูเอสท็อป 40 มากกว่า 100 สถานีเล่นเพลงนี้[2] โดยในวันที่ 10 พฤศจิกายน เป็นเพลงที่ถูกขอมากที่สุดอันดับ 6 ทางสถานีวิทยุของนิวยอร์ก[17] เพลงยังปรากฏในช่วงเครดิตท้ายของภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู และบรรจุอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์และอัลบั้มออกในสหรัฐเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 โดย "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" เป็นเพลงเปิดตัวของอัลบั้ม[2] ซิงเกิลเข้าชาร์ตในสหรัฐเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน[2] โดยตอนนั้นมียอดส่งมากกว่า 400,000 ชุดไปยังร้านแผ่นเสียง[18]

แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในสหรัฐ แต่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 มีรายงานว่าซิงเกิลจะไม่ได้ออกขายในประเทศบ้านเกิดของวงที่นอร์เวย์จนในปีถัดไป วอร์เนอร์มิวสิกนอร์เวย์ต้องการที่จะรอให้ทั้งภาพยนตร์ โปเกมอน และอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ออกในยุโรปเสียก่อนเพื่อให้ได้การตอบรับอย่างเต็มรูปแบบจากการเปิดตัวหนัง[2] ซิงเกิลออกในสถานีวิทยุในนอร์เวย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน[19] และ 11 มกราคม ออกวางขายในนอร์เวย์และอีก 25 ประเทศในยุโรป อเมริกา เอเชีย และโอเชียเนีย และคาดไว้ว่าจะออกในประเทศที่เหลือในยุโรปในปลายเดือน[20] แม้จะยังไม่ออกขายในยุโรปแต่เพลงก็ถูกเปิดเล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุแล้ว[21] เพลงได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการออกอากาศบ่อยในเกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์[22] รวมถึงในอเมริกาใต้ ในปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 ที่เม็กซิโก ถือเป็นเพลงต่างชาติที่มียอดขายดีที่สุด และเป็นอันดับ 2 ของเพลงขายดีที่สุดหากรวมทั้งหมด[23] ต่อมา 12 มกราคม เพลงปรากฏในซีรีส์ เบเวอร์ลีฮิลล์, 90210 ตอน "เทนเทดเลิฟ"[24] เพลงออกขายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ในสเปนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์[20] และในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 มีนาคม โดยสังกัดอีสต์เวสต์เรเคิดส์[25] เพลงบรรจุอยู่ในอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล วางขายในยุโรป กลางเดือนกุมภาพันธ์และในสหรัฐวันที่ 7 มีนาคม[25] และยังบรรจุอยู่ในอัลบั้มรวมเพลงฮิต เดอะเดย์ยูเวนต์อะเวย์: เดอะเบสต์ออฟเอ็มทูเอ็ม[26]

การตอบรับ[แก้]

รอเบิร์ต คริสต์เกา นักข่าวดนตรีให้คำวิจารณ์ด้านบวก โดยเรียกเพลงนี้ว่าเป็นหนึ่งในเพลง "ซาบซึ้งอย่างไม่น่าทำได้" จากอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล โดย "สร้างมาตรฐาน" ให้กับเพลงที่เหลือของอัลบั้ม[27] ชัค เทย์เลอร์จากนิตยสาร บิลบอร์ด กล่าวว่าเพลงนี้จะดึงดูทั้งกลุ่มคนฟังวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดย "เดินไปในทาง ระหว่างป็อปบริสุทธิ์กับจุดปลายสุดของเพลงอะดัลต์ท็อป 40" เขายังบอกว่าเพลงนี้ "น่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง ทั้งจากเสียงร้องวัยรุ่นและท่อนฮุกที่มาโดนเต็ม ๆ"[8] ไมเคิล เพาเลตทาจากนิตยสาร บิลบอร์ด เช่นกัน เรียกเพลงนี้ว่า "นักร้องเพลงป็อปร็อกที่ติดต่อกันได้" และบอกว่า "สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดของเพลงนี้คือ เสียงร้องที่มีชีวิตชีวาจากการประสานเสียงของสาว ๆ"[9] ฮีเทอร์ ฟาเรส จากออลมิวสิก บอกว่าเพลงนี้ "เป็นเพลงป็อปหวาน ๆ แต่อยู่ในโลกแห่งความจริง"[28] มาเรียส ลิลเลเลียน ผู้บริหารจากสถานีวิทยุนอร์เวย์ เอ็นอาร์เค พี 3 พุดว่า "เพลงแต่งได้ดีมาก เป็นเพลงป็อปที่ผลิตออกมาดี พวกเธอทั้งยังเด็กและเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นศิลปินชาวนอร์เวย์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพลงยังเหมาะที่สุดกับกลุ่มคนฟังอายุ 10–16 ปี แต่ความเห็นของฉันคือ เพลงนี้ก็ไม่ทิ้งกลุ่มคนฟังที่อายุมากกว่า"[25] "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ได้รับการเสนอชื่อเป็นเพลงดีที่สุดแห่งปี 2000 จากรางวัลสเปลมานไพรเซน (Spellemannprisen) แต่พ่ายให้ "พรอพากันดา" (Propaganda) ของบริสเคบี (Briskeby)[29]

ในสหรัฐ "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" เข้าชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ที่อันดับ 72[30] ต่อมาไต่ชาร์ตสูงสุดอันดับ 21 และยังขึ้นชาร์ตอันดับ 40 ทั้งในชาร์ตละตินป็อปแอร์เพลย์และทรอพิคอลซองส์[31] ซิงเกิลขายได้ 39,000 ชุด ในสัปดาห์ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน[2] และขายได้ 580,000 ชุด ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000[32] ขึ้นชาร์ตที่อันดับ 2 ในนอร์เวย์และอันดับ 4 ทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[33][34][35] ยังติดท็อป 10 ในฟินแลนด์[36] ติดใน 20 อันดับแรกในแคนาดา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ สวีเดน และเนเธอร์แลนด์[37][38][39][40] ติดใน 40 อันดับแรกในอิตาลีและเบลเยียม[41][42] ติด 80 อันดับแรกในเยอรมนี ฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์[43][44][45] ได้รับการยืนยันแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐเมื่อ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1999[46] และในออสเตรเลียในปี 2000[47]

"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" เป็นเพลงที่ฮิตที่สุดของเอ็มทูเอ็ม และเป็นเพลงที่คุ้นหูที่สุดของวง ขณะที่ซิงเกิลถัดมา "มิรเรอร์มิรเรอร์" ติดท็อป 40 ในออสเตรเลีย[48] และแคนาดา และสูงสุดอันดับ 62 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100[31] "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ยังคงเป็นเพลงติดใน 40 อันดับแรกเพลงเดียวของวงในสหรัฐ และเป็นเพลงฮิตเพลงเดียวของวงในหลายประเทศ ยังเรียกเพลงนี้ว่าเป็นเพลง วันฮิตวันเดอร์[49] เมื่อถามถึงเพลงโปรดของวงใน ค.ศ. 2014 แอบบี เดวอราจากเอ็มทีวี ให้เพลงนี้ติดอันดับ 2 ของเธอในอันดับ "9 เพลงวันฮิตวันเดอร์จากวงเกิร์ลกรุ๊ปที่คุณต้องจดจำตอนนี้"[50] เจสซิกา บูทจากเกิร์ล.คอม (Gurl.com) ให้วงและเพลงนี้อยู่ในรายชื่อในปี 2012 ในหัวเรื่อง "ย้อนอดีต: 15 นักร้องสาววัยมัธยมที่คุณคิดถึง" และเรียกเพลงนี้ว่า "ติดหูอย่างน่าขัน"[51] เคตลิน คูเบรีย จากทีน.คอม (Teen.com) ให้วงและเพลงนี้ติดอยู่ในรายชื่อปี 2014 ในหัวเรื่อง "12 วงเกิร์ลกรุ๊ปที่คุณอาจลืมจากยุค 90/00 ที่ควรค่ากับการสละเวลา"[52] ในปี 2014 นาธาน จอลลีจากช่องแมกซ์ กล่าวว่า เพลงเป็น "เพลงป็อปเพลงหนึ่งที่ความสุขถือกำเนิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นเพลงสดุดีว่า 'ไปให้ไกล ๆ เลยเพื่อน'"[53]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

Raven and Larsen, two young teen girls, singing and playing guitar respectively
เรเวนและลาร์เซนแสดงในฉากจอภาพยนตร์ที่ชมจากรถ โดยมีข้าวโพดคั่วโปรยลงมา

มิวสิกวิดีโอกำกับโดยไนเจล ดิก ถ่ายทำระหว่าง 4 ถึง 6 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ที่มิชชันทิคิ จอภาพยนตร์ที่ชมจากรถในเมืองมอนต์แคลร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[54] ในวิดีโอนี้ราเวนร้องเพลงขณะอยู่ในรถกับเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ขณะที่ลาร์เซนร้องและเล่นกีตาร์หน้ารถอีกคัน ใช้ภาพตัดสลับเอ็มทูเอ็มร้องด้วยกันบริเวณจอภาพยนตร์ ผู้คนเต้นรำ ผู้ฉายภาพยนตร์ที่กำลังยุ่งอยู่กับอุปกรณ์ที่เสีย และคนขายขนมกับเครื่องทำข้าวโพดคั่วที่ล้นออกมา เมื่อข้าวโพดคั่วระเบิดออกมา เอ็มทูเอ็มยังคงแสดงอยู่ท่ามกลางผู้คนและมีข้าวโพดคั่วโปรยลงมา มีการใช้ปืนอัดอากาศให้เกิดไฟราวขนาดเท่า 200 ถุงขยะ ทำให้ข้าวโพดคั่วโปรยปรายสู่อากาศ[54] ในสหรัฐ มิวสิกวิดีโอนี้ออกฉายปฐมทัศน์ 24 ตุลาคม ทางช่องเดอะดับเบิลยูบีหลังซีรีส์ เซเวนท์เฮเวน[15] และเริ่มออกอากาศทางเดอะบอกซ์และมัชมิวสิก ต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999[55] ออกอากาศทางช่องเอ็มทีวี 15 พฤศจิกายน[2][18][56]

มิวสิกวิดีโอมี 2 ฉบับที่คล้าย ๆ กัน ฉบับแรกมีภาพจากหนังเรื่อง โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู เล่นอยู่บนจอภาพยนตร์ อีกฉบับหนึ่งมีภาพบนจอภาพยนตร์น้อยกว่า และแทนที่ภาพหนัง โปเกมอน ด้วยภาพเรเวนกับลาร์เซนร้องเพลง หรือคำว่า "M2M" และ "Intermission" บนจอภาพ ในฉบับ โปเกมอน มีการเซ็นเซอร์เนื้อเพลง ขณะที่อีกฉบับใช้เนื้อเพลงเหมือนกับในอัลบั้ม และฉบับ โปเกมอน มีบรรจุอยู่ในดีวีดีของภาพยนตร์ด้วย[57] ส่วนอีกฉบับบรรจุแถมในแผ่นโบนัสของ เดอะเดย์ยูเวนต์อะเวย์: เดอะเบสต์ออฟเอ็มทูเอ็ม[26]

แสดงสดและคัฟเวอร์[แก้]

Marit Laren, a young brunette woman, playing a guitar while singing
ลาร์เซน (รูปในปี 2009) แสดงสดเพลงนี้ในฐานะศิลปินเดี่ยว

ในการประชาสัมพันธ์ซิงเกิล เรเวนและลาร์เซน ออกทัวร์ 6 ที่ในศูนย์การค้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ[2] ระหว่าง 21 สิงหาคมถึง 2 ตุลาคม[58] ถือเป็นทัวร์แรกกับวงเอ็มทูเอ็ม[59] วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ก่อนที่ภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ จะออกฉาย เอ็มทูเอ็มแสดงสดเพลงนี้ที่ร้านวอร์เนอร์บราเธอส์สตูดิโอ บนถนนสายที่ 5 ในแมนแฮตตัน ต่อหน้าแฟนเพลงและสื่อมวลชนจำนวนมาก[15][17] ในการประชาสัมพันธ์ซิงเกิลนั้น เอ็มทูเอ็มยังออกทัวร์ที่สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น ก่อนที่จะกลับมายังนอร์เวย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน[19] พวกเธอแสดงเพลงในตอน "แบนด์ออนเดอะรัน" ของซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง วันเวิลด์ ที่ออกอากาศ 27 พฤศจิกายน[60] และวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2000 วงแสดงในรายการ ท็อปออฟเดอะป็อปส์[20][61][62] เอ็มทูเอ็มแสดงสดเพลงนี้ที่สวนสนุกเอปคอตของวอลต์ดิสนีย์เวิลด์ เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000[63] การแสดงสดครั้งนี้ มีการบันทึกเทปและปรากฏในตอนหนึ่งของรายการ ดิสนีย์แชนเนลอินคอนเสิร์ต เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่เน้นไปที่วงเอ็มทูเอ็มและบีบีแมก[64] จนเมื่อเพลงฮิต "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ได้รับความนิยมในระหว่างการแสดง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 วงแสดงเพลงอีกครั้งตอนอองคอร์ ร่วมกับเพลง "เอเวอรีติงยูดู" (Everything You Do) ต่อหน้าผู้ชม 4,000 คน ในคอนเสิร์ตเอ็มทูเอ็มที่กรุงกัวลาลัมเปอร์[22]

เรเวนและลาร์เซนหยุดการแสดงในฐานะเอ็มทูเอ็มในปี 2002 ทั้งคู่ออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว[1] ลาร์เซนแสดงเพลงนี้เดี่ยว ๆ ในฉบับคันทรี[65][66] ยังมีคู่ดูโอแนวป็อปสัญชาติฟิลิปปินส์ ที่ชื่อ คริสซีแอนด์เอริกกา นำเพลงนี้มาคัฟเวอร์ในปี 2009 กับอัลบั้มในชื่อวง[67]

รายชื่อเพลง[แก้]

ซิงเกิลในฉบับยุโรปมีเพลงหน้าบี คือเพลง "เดอะฟีลลิงอีสกอน" (The Feeling is Gone) หนึ่งใน 3 เพลงที่ไม่มีในอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล ฉบับอเมริกา[14] ส่วนฉบับมาตรฐานในสหรัฐมีเพลงบรรเลง โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ที่ชื่อ "มิวทูสไตรก์แบ็กสวีต" (Mewtwo Strikes Back Suite) ในหน้าบี[15]

ชาร์ตและการรับรอง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Nelson, Michael (มีนาคม 26, 2016). "30 Essential Max Martin Songs". Stereogum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Taylor, Chuck (27 November 1999). "Atlantic's M2M aims for kid, adult appeal". Billboard. Nielsen N.V. 111 (48): 15, 98.
  3. 3.0 3.1 "Sounds From the Big Room". The Sunday Mail. Brisbane. 30 June 2002. p. Brisbane.
  4. 4.0 4.1 4.2 Disney Channel in Concert: BBMak & M2M in Concert (Television program). Disney Channel. 29 April 2000.
  5. "M2Ms favoritt-gutter". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 30 December 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  6. "Biography". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2002. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  7. "Storsalg kan gi ny gullkontrakt". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มีนาคม 1, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Taylor, Chuck (30 October 1999). "New & noteworthy: M2M: Don't Say You Love Me". Billboard. Nielsen N.V. 111 (44): 19. สืบค้นเมื่อ 22 September 2015.
  9. 9.0 9.1 Paoletta, Michael (11 March 2000). "M2M: Shades of Purple". Billboard. Nielsen N.V.: 26.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Marit Larsen, Jimmy Bralower, Peter Zizzo, and Marion Raven (1999), Don't Say You Love Me (sheet music), musicnotes.com
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Ålvik, Jon Mikkel Broch (2014). "Don't Say You Love Me". Scratching the Surface: Marit Larsen and Marion Ravn: Popular Music and Gender in a Transcultural Context (Ph.D.). University of Oslo. pp. 47–55. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2016.
  12. M2M (7 March 2000). Shades of Purple (studio album). Atlantic Records.
  13. M2M (10 November 1999). Pokémon: The First Movie (soundtrack). Atlantic Records.
  14. 14.0 14.1 14.2 "M2M chats with fans on AllPop". Canoe.com. 3 April 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 "M2M Set to Thrill Fifth Ave. Throngs; NYC Flagship Warner Bros. Studio Store Performance to Mark Pokemon Album Release/Film Opening". Business Wire. ตุลาคม 28, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  16. Jack & Jill: Moving On (Television episode). The WB. 10 October 1999. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 15:41.
  17. 17.0 17.1 "Tar New York med storm". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). พฤศจิกายน 10, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  18. 18.0 18.1 "M2M selger hurtigst". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 17 November 1999. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  19. 19.0 19.1 "M2M tilbake i Norge". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). พฤศจิกายน 24, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  20. 20.0 20.1 20.2 "2000 News Archive". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2002.
  21. "Hjemme – men ikke lenge". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มกราคม 13, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  22. 22.0 22.1 Gerald, Chuah (10 December 2001). "Angels from Norway". New Straits Times (2nd ed.). p. 3.
  23. "M2M-eventyret fortsetter". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 27 May 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2017. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017.
  24. Beverly Hills, 90210: Tainted Love (Television episode). Paramount Domestic Television. 12 January 2000. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 4:33.
  25. 25.0 25.1 25.2 Arnesen, Jon (กุมภาพันธ์ 5, 2000). "M2M make their name via Atlantic". Music & Media. 17 (6): 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
  26. 26.0 26.1 Brown, Marisa. "The Day You Went Away: The Best of M2M". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  27. Christgau, Robert. "M2M". Robert Christgau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  28. Phares, Heather. "M2M: Shades of Purple". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  29. "Herborg ble Årets spellemann". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มีนาคม 2, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  30. Silvio, Pietroluongo (20 November 1999). "Hot 100 Spotlight". Billboard. Nielsen N.V.: 129.
  31. 31.0 31.1 "M2M: Awards". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  32. "Nedtur for M2M". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). พฤษภาคม 12, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  33. 33.0 33.1 "M2M – Don't Say You Love Me". ARIA Top 50 Singles. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  34. 34.0 34.1 "M2M – Don't Say You Love Me". VG-lista. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  35. 35.0 35.1 "M2M – Don't Say You Love Me". Top 40 Singles. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  36. 36.0 36.1 "M2M: Don't Say You Love Me" (in Finnish). Musiikkituottajat. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  37. 37.0 37.1 "Top RPM Singles: Issue 9690." RPM. Library and Archives Canada. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
  38. 38.0 38.1 "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  39. 39.0 39.1 "Nederlandse Top 40 – week 8, 2000" (in Dutch). Dutch Top 40. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  40. 40.0 40.1 "M2M – Don't Say You Love Me". Singles Top 100. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  41. 41.0 41.1 "M2M – Don't Say You Love Me" (in Dutch). Ultratop 50. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  42. 42.0 42.1 "M2M – Don't Say You Love Me" (in French). Ultratop 50. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  43. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ germancharts
  44. 44.0 44.1 "M2M – Don't Say You Love Me" (in French). Les classement single. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  45. 45.0 45.1 "M2M – Don't Say You Love Me". Swiss Singles Chart. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  46. 46.0 46.1 "American single certifications – M2M – Don't Say You Love Me". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  47. 47.0 47.1 "ARIA Charts – Accreditations – 2000 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  48. "M2M". australian-charts.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2015.
  49. "One-hit Wonder Wednesday: Don't Say You Love Me – M2M". MetroLyrics. สิงหาคม 10, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  50. Devora, Abby (กันยายน 25, 2015). "9 Girl Group One-Hit Wonders You Need To Remember Right Now". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2016. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  51. Booth, Jessica (20 June 2012). "Flashback: 15 Old-School Girl Singers We Miss". Gurl.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-04. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  52. Cubria, Kaitlin (2 March 2014). "12 Forgotten Girl Groups From the 1990s/2000s". Teen.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  53. Jolly, Nathan (ตุลาคม 10, 2014). "'90s News: Coolio Fought Boyz II Men, M2M Update, Hootie and the What now?". MAX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
  54. 54.0 54.1 Nigel, Dick. "DICKFILMS 1". Nigel Dick. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  55. "The Clip List". Billboard. Nielsen N.V.: 99. 13 November 1999.
  56. "The Clip List". Billboard. Nielsen N.V.: 120. 20 November 1999.
  57. McCormick, Moira (22 January 2000). "Warner Unleashes Massive Campaign for Pokémon release". Billboard. Nielsen N.V.: 108.
  58. "North-East Mall Tour". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2002. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  59. "Frequently Asked Questions". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2002. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  60. One World: Band on the Run (Television episode). Universal Television. 27 November 1999. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 3:44.
  61. "Plateselskap avviser pengekrav". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มีนาคม 27, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  62. Top of the Pops (Television episode). BBC One. 31 March 2000.
  63. "M2M møtte sine fans". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). กุมภาพันธ์ 14, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  64. Hay, Carla (13 May 2000). "M2M Crosses Atlantic". Billboard. Nielsen N.V.: 149.
  65. "Festival-prinsessen". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). สิงหาคม 12, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  66. Elliott, Kevin J. (มีนาคม 28, 2007). "Interview: Marit Larsen". Stylus Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 September 2015.
  67. "Krissy & Ericka album launched". The Philippine Star. พฤศจิกายน 21, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  68. "Don't Say You Love Me". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  69. "Don't Say You Love Me / Mewtwo Strikes Back Suite". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  70. M2M (1999). "M2M – Don't Say You Love Me" (Single). Atlantic Records. PRCD 300019.
  71. "Don't Say You Love Me". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  72. "Don't Say You Love Me Pt.1". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  73. "Top RPM Adult Contemporary: Issue 10024." RPM. Library and Archives Canada. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
  74. "The Irish Charts – Search Results – M2M". Irish Singles Chart. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
  75. "M2M – Don't Say You Love Me". Top Digital Download. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  76. "M2M – Don't Say You Love Me" (in Dutch). Single Top 100. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
  77. "Official Scottish Singles Sales Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  78. "M2M Chart History (Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  79. "M2M Chart History (Latin Pop Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  80. "M2M Chart History (Tropical Airplay)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  81. "ARIA Charts – End Of Year Charts – Top 100 Singles 2000". ARIA Charts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]