โหยสเฬศวรเทวสถาน

พิกัด: 13°12′47.5″N 75°59′42.0″E / 13.213194°N 75.995000°E / 13.213194; 75.995000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โหยสเฬศวรเทวสถาน
ಹೊಯ್ಸಳೇಶ್ವರ ದೇವಸ್ಥಾನ
โหยสเฬศวรเทวสถาน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตหัสสาน
เทพพระศิวะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งหเลพีฑู
รัฐรัฐกรณาฏกะ
ประเทศประเทศอินเดีย
โหยสเฬศวรเทวสถานตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
โหยสเฬศวรเทวสถาน
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
โหยสเฬศวรเทวสถานตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
โหยสเฬศวรเทวสถาน
โหยสเฬศวรเทวสถาน (รัฐกรณาฏกะ)
พิกัดภูมิศาสตร์13°12′47.5″N 75°59′42.0″E / 13.213194°N 75.995000°E / 13.213194; 75.995000
สถาปัตยกรรม
ประเภทโหยสฬะ
ผู้สร้างเกตมัฬฬะ, โหยสฬวิษณุวรรธนะ
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 12

โหยสเฬศวรเทวสถาน (กันนาดา: ಹೊಯ್ಸಳೇಶ್ವರ ದೇವಸ್ಥಾನ; Hoysaleswara temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 บูชาพระศิวะ ตั้งอยู่ในหเลพีฑู รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย ในสมัยที่เป็นราชธานีแห่งจักรวรรดิโหยสฬะ เทวสถานนี้สร้างขึ้นริมฝั่งทะเลสาบที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยกษัตริย์วิษณุวรรธนะแห่งโหยสฬะเป็นผู้ดำริให้สร้างเทวสถานนี้ขึ้น[1] เริ่มต้นก่อสร้างราวปี 1121 แล้วเสร็จในปี 1160[2][3] ในต้นศตวรรษที่ 14 หเลพีฑูถูกโจมตีและทำลายสองครั้งโดยกองทัพมุสลิมของรัฐสุลต่านเดลีจากทางเหนือ[4][5][6] ทั้งเทวสถานและราชธานีจึงถูกทิ้งร้างในสภาพทรุดโทรมนับจากนั้น[7]

โหยสเฬศวรเทวสถานเป็นปูชนียสถานตามธรรมเนียมของลัทธิไศวะในศาสนาฮินดู แต่ก็มีสัญลักษณ์ของลัทธิไวษณวะ, ลัทธิศักติ ไปจนถึงเทวบุคคลของศาสนาไชนะปรากฏอยู่ด้วย[8] โหยสเฬศวรเทวสถานสร้างขึ้นเป็นเทวสถานคู่ บูชาศิวลึงค์โหยสเฬศวร และสันตเฬศวร ซึ่งแทนรูปปางบุรุษและสตรี ซึ่งเท่ากันและเชื่อมต่อกันที่ส่วนมุขยื่น (transept) ภายนอกมีสองประติมากรรมรูปโคนนทิ แต่ละรูปหันหน้าเช้าหาศิวลึงค์ทั้งสองภายใน[9] ภายในเทวสถานยังมีศาลขนาดย่อมที่ประดิษฐานพระสูรยะ ในอดีต เทวสถานมีโครงสร้างเป็นหอคอยสูงชะลูด แต่พังทลายหรือถูกทำลายลงมานานแล้ว ปัจจุบันหลังคาของเทวสถานมีลักษณะเรียบ[10] เทวสถานหันหน้าออกทางตะวันออก กระนั้นในปัจจุบันทางเข้าอยู่ทางเหนือ ทั้งเทวสถานหลักและศาลโคนนทิล้วนสร้างขึ้นจากแบบแผนสี่เหลียมจัตุรัส (square plan)[11] เทวสถานนี้สร้างขึ้นโดยแกะสลักจากหินสบู่ และเป็นที่รู้จักจากงานประติมากรรมและงานแกะสลักนูนต่ำที่วิจิตร และจากทั้งประตอมานวิทยา ประวัติศาสตร์ และจารึกทั้งภาษาของอินเดียเหนือและใต้ งานศิลปกรรมของเทวสถานนี้แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในศตวรรษที่ 12 ปัจจุบัน งานแกะสลักนูนต่ำขนาดใหญ่รวม 340 ภาพเป็นภาพที่เกี่ยวกับเทววิทยาและปรัมปราวิทยาของศาสนาฮินดู[8] งานแกะสลักภาพเล็กกว่าพบแสดงเรื่องราวจากคัมภีร์ฮินดู เช่น รามายณะ มหาภารตะ และ ภาควตปุราณะ[1][12][9]

งานศิลปกรรมของโหยสเฬศวรเทวสถานเสียหายแต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงสภาพอยู่ โดยรอบของเทวสถานยังเต็มไปด้วยซากปรักหักพังสถาปัตยกรรมโหยสฬะ เช่น ไชนพสาทิเทวสถาน และ เกทาเรศวรเทวสถาน[1][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Permanent Delegation of India to UNESCO (2014), Sacred Ensembles of the Hoysala, UNESCO
  2. Kirsti Evans 1997, p. 8.
  3. Foekema (1996), p.59
  4. Robert Bradnock; Roma Bradnock (2000). India Handbook. McGraw-Hill. p. 959. ISBN 978-0-658-01151-1.
  5. Catherine B. Asher (1995). India 2001: Reference Encyclopedia. South Asia. pp. 29–30. ISBN 978-0-945921-42-4.
  6. Joan-Pau Rubiés (2002). Travel and Ethnology in the Renaissance: South India Through European Eyes, 1250-1625. Cambridge University Press. pp. 13–15. ISBN 978-0-521-52613-5.
  7. Kamath (2001), p129
  8. 8.0 8.1 Kirsti Evans 1997, pp. 196–199.
  9. 9.0 9.1 Krishna 1971, pp. 33–34, 37–46.
  10. Krishna 1971, pp. 34–36.
  11. Gerard Foekema 1996, pp. 59–61.
  12. Kirsti Evans 1997, pp. 8–10, 196–199.
  13. Krishna 1971, pp. 33–35.

บรรณานุกรม[แก้]