มัทธิว 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัทธิว 1:1-9 บนด้าน recto ของพาไพรัส 1 เขียนเมื่อประมาณ ค.ศ. 250

มัทธิว 1 (อังกฤษ: Matthew 1) เป็นบทแรกของพระวรสารนักบุญมัทธิวในภาคพันธสัญญาใหม่ของคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ ประกอบด้วยเนื้อความสองส่วน ส่วนแรกเป็นลำดับพงศ์ของพระเยซูตั้งแต่อับราฮัมจนถึงโยเซฟที่เป็นพระบิดาตามกฎหมายของพระเยซูและเป็นสามีของมารีย์ที่เป็นพระมารดาของพระเยซู ส่วนที่สองเริ่มด้วยที่วรรค 18 เล่าเรื่องเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซู

ต้นฉบับ[แก้]

มัทธิว 13, 14-20 บนด้าน verso ของพาไพรัส 1 (ราว ค.ศ. 250)

ข้อความต้นฉบับเขียนด้วยภาษากรีกคอยนี บทนี้แบ่งออกเป็น 25 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

มัทธิว 1:1-17 ใน Syriac Sinaiticus, folio 82b; superimposed: life of Saint Euphrosyne.

ต้นฉบับบางส่วนในยุคต้นที่มีเนื้อหาของบทนี้ได้แก่::

ในภาษากรีกคอยนี
ในภาษาซีรีแอก

ลำดับพงศ์[แก้]

ลำดับพงศ์ของพระเยซูในพระวรสารมัทธิวได้รับการวาดในรูปต้นไม้ของเจสซี แสดงการสืบเชื้อสายของพระเยซูจากเจสซีบิดาของกษัตริย์ดาวิด

มัทธิว 1:1-17[แก้]

การประสูติของพระเยซู[แก้]

พระวรสารมัทธิวบทที่ 1 และส่วนหนึ่งของบทที่ 2ใน Geneva Bible (ศตวรรษที่ 16)

มัทธิว 1:18-25[แก้]

ต้นฉบับเต็ม[แก้]

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน บทนี้มีความว่า

1 หนังสือลำดับพงศ์ของพระเยซูคริสต์ ผู้เป็นเชื้อสายของดาวิด ผู้สืบตระกูลมาจากอับราฮัม
2 อับราฮัมมีบุตรชื่ออิสอัค อิสอัคมีบุตรชื่อยาโคบ ยาโคบมีบุตรชื่อยูดาห์และพี่น้องของเขา
3 ยูดาห์มีบุตรชื่อเปเรศกับเศราห์ซึ่งเกิดจากนางทามาร์ เปเรศมีบุตรชื่อเฮสโรน เฮสโรนมีบุตรชื่อราม
4 รามมีบุตรชื่ออัมมีนาดับ อัมมีนาดับมีบุตรชื่อนาโชน นาโชนมีบุตรชื่อสัลโมน
5 สัลโมนมีบุตรชื่อโบอาสซึ่งเกิดจากนางราหับ โบอาสมีบุตรชื่อโอเบดซึ่งเกิดจากนางรูธ โอเบดมีบุตรชื่อเจสซี
6 เจสซีมีบุตรชื่อดาวิดผู้เป็นกษัตริย์ ดาวิดมีบุตรชื่อซาโลมอนเกิดจากนางซึ่งแต่ก่อนเป็นภรรยาของอุรียาห์
7 ซาโลมอนมีบุตรชื่อเรโหโบอัม เรโหโบอัมมีบุตรชื่ออาบียาห์ อาบียาห์มีบุตรชื่ออาสา
8 อาสามีบุตรชื่อเยโฮชาฟัท เยโฮชาฟัทมีบุตรชื่อโยรัม โยรัมมีบุตรชื่ออุสซียาห์
9 อุสซียาห์มีบุตรชื่อโยธาม โยธามมีบุตรชื่ออาหัส อาหัสมีบุตรชื่อเฮเซคียาห์
10 เฮเซคียาห์มีบุตรชื่อมนัสเสห์ มนัสเสห์มีบุตรชื่ออาโมน อาโมนมีบุตรชื่อโยสิยาห์
11 โยสิยาห์มีบุตรชื่อเยโคนิยาห์และพี่น้องของเขา เกิดเมื่อคราวต้องถูกกวาดไปเป็นเชลยที่กรุงบาบิโลน
12 หลังจากถูกกวาดไปที่กรุงบาบิโลนแล้ว เยโคนิยาห์ก็มีบุตรชื่อเชอัลทิเอล เชอัลทิเอลมีบุตรชื่อเศรุบบาเบล
13 เศรุบบาเบลมีบุตรชื่ออาบียุด อาบียุดมีบุตรชื่อเอลียาคิม เอลียาคิมมีบุตรชื่ออาซอร์
14 อาซอร์มีบุตรชื่อศาโดก ศาโดกมีบุตรชื่ออาคิม อาคิมมีบุตรชื่อเอลีอูด
15 เอลีอูดมีบุตรชื่อเอเลอาซาร์ เอเลอาซาร์มีบุตรชื่อมัทธาน มัทธานมีบุตรชื่อยาโคบ
16 ยาโคบมีบุตรชื่อโยเซฟผู้เป็นสามีของนางมารีย์ พระเยซูที่เรียกว่าพระคริสต์ก็ประสูติมาจากนางมารีย์นี้
17 ดังนั้นตั้งแต่อับราฮัมลงมาจนถึงดาวิดมีสิบสี่ชั่วคน และนับตั้งแต่ดาวิดลงมา จนถึงคราวถูกกวาดไปเป็นเชลยที่กรุงบาบิโลนมีสิบสี่ชั่วคน และนับตั้งแต่คราวถูกกวาดไปเป็นเชลยที่กรุงบาบิโลน จนถึงพระคริสต์มีสิบสี่ชั่วคน
18 เรื่องการประสูติของพระเยซูคริสต์เป็นดังนี้ คือมารีย์ผู้เป็นมารดาของพระเยซูนั้น เดิมโยเซฟได้สู่ขอหมั้นกันไว้แล้ว ก่อนที่จะได้อยู่กินด้วยกันก็ปรากฏว่า มารีย์มีครรภ์แล้วด้วยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์
19 แต่โยเซฟคู่หมั้นของเธอเป็นคนชอบธรรม ไม่ต้องการจะแพร่งพรายความเป็นไปของเธอ ต้องการจะถอนหมั้นเสียลับๆ
20 เมื่อโยเซฟยังคิดเรื่องนี้อยู่ ก็มีทูตสวรรค์องค์หนึ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้ามาปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “โยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของท่านเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์
21 เธอจะให้พระกำเนิดบุตรชาย แล้วจงเรียกนามท่านว่า เยซู เพราะว่าท่านจะทรงช่วยชนชาติของท่านให้รอดจากบาปของพวกเขา”
22 ทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะขององค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งตรัสผ่านทางผู้เผยพระวจนะว่า
23 นี่แน่ะ หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่าอิมมานูเอล” (แปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา)
24 เมื่อโยเซฟตื่นขึ้นก็ทำตามคำซึ่งทูตสวรรค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าสั่งนั้น คือได้รับมารีย์มาเป็นภรรยา
25 แต่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเธอจนกว่าให้พระกำเนิดบุตรชายแล้ว และโยเซฟเรียกนามของบุตรนั้นว่าเยซู

อ้างอิง[แก้]

  1. Cureton, W. (1858)Remains of a Very Ancient Recension of the Four Gospels in Syriac, Hitherto Unknown in Europe, London.
  2. Bruce M. Metzger (1977), III. The Old Syriac Version, in Bruce M. Metzger (ed.), The Early Versions of the New Testament (Clarendon Press; Oxford), pp. 36–48.
  3. Bruce M. Metzger, The Early Versions of the New Testament: Their Origin, Transmission and Limitations (Oxford University Press 1977), p. 50.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Albright, W.F. and C.S. Mann. "Matthew." The Anchor Bible Series. New York: Doubleday & Company, 1971.
  • Brown, Raymond E. The Birth of the Messiah: A Commentary on the Infancy Narratives in Matthew and Luke. London: G. Chapman, 1977.
  • Hill, David. The Gospel of Matthew. Grand Rapids: Eerdmans, 1981
  • Jones, Alexander. The Gospel According to St. Matthew. London: Geoffrey Chapman, 1965.
  • Keener, Craig S. (1999). A commentary on the Gospel of Matthew. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-8028-3821-6.
  • McLaughlin, Ra. "The Adoption of Jesus: On Matthew 1:1-25". Reformed Perspectives Magazine, vol. 7, no. 35. 2005.
  • Schweizer, Eduard. The Good News According to Matthew. Atlanta: John Knox Press, 1975

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า
พันธสัญญาเดิม
มาลาคี 4
บทของคัมภีร์ไบเบิล
พระวรสารนักบุญมัทธิว
ถัดไป
มัทธิว 2