หมากรุกจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมากรุกจีน
กระดานหมากรุกจีน
คำที่มีความหมายเหมือนกันหมากรุกช้าง
เกมช้าง
ประเภทของเกมเกมกระดาน
เกมกลยุทธ์
กีฬาฝึกสมอง
จำนวนผู้เล่น2
ระยะเวลาติดตั้ง< 1 นาที
ระยะเวลาเล่นเกมไม่เป็นทางการ: อาจแตกต่างกันตั้งแต่ 20 นาทีจนถึงหลายชั่วโมง
เกมสายฟ้าแลบ: สูงสุด 10 นาที
โอกาสสุ่มไม่มี
ทักษะที่จำเป็นกลยุทธ์
รุกฆาต!
การเดินของตี่และสือ
การเดินของเบ๊
การเดินและกินของเผ่า
ตัวหมากรุกจีนแบบตะวันตกทั้งหมด เรียงจากซ้ายไปขวา: ตี่ (ขุน) - เฉีย (ขุนนาง) - สือ (ขุนนาง) - เผ่า (ปืนใหญ่) - จุก (เบี้ย) - กือ (เรือ) - เบ๊ (ม้า)

หมากรุกจีน (จีน: 象棋; พินอิน: xiàngqí) เป็นเกมหมากรุกชนิดหนึ่ง มีที่มาจากประเทศจีน ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน การตั้งหมากต้องตั้งไว้ที่จุดไล่มาจากซ้ายมือแถวล่างสุดคือ กือ (เรือ) แบ้ (ม้า) เฉีย (ช้าง) สือ (องครักษ์) ตี่ (ขุน) สือ เฉีย เบ๊ กือ

แถวที่ 2 เว้นไว้ แถวที่ 3 ตั้งเผ่า (ปืนใหญ่) 2 ตัวไว้หน้าแบ้ และแถวที่ 4 ตั้งจุก (เบี้ย) 5 ตัวไว้หน้ากือ เฉีย และตี่

กฎกติกา[แก้]

การเดินและการกิน[แก้]

  • ตี่ (ขุน) เดินได้เฉพาะในเขตพระราชวัง เดินได้ตาตรง 4 ทิศ
  • สือ (องครักษ์) เดินได้ในตาเฉียง 4 ทิศ เฉพาะในเขตพระราชวัง
  • เฉีย (ช้าง) เดินได้ในแนวทแยงมุม 4 ทิศ แต่ข้ามไป 1 จุด ข้ามแม่น้ำไม่ได้
  • เบ๊ (ม้า) เดินเป็น 2 จังหวะคือเดินไปในแนวตรง 2 จุด และหักมุมอีก 1 จุด
  • กือ (เรือ) เดินเหมือนกับเรือของหมากรุกชาติอื่น
  • เผ่า (ปืนใหญ่) เดินเหมือนกับเรือ แต่การกินนั้นต้องมีหมากคั่นไว้ก่อน 1 ตัวจึงจะกินได้
  • จุก (เบี้ย) เดินขึ้นหน้าได้ทิศทางเดียว แต่ถ้าข้ามแม่น้ำไปแล้วจะสามารถเดินข้างเพิ่มได้

กลยุทธ์[แก้]

  • ตี่ ประมุขและหัวใจแห่งกองทัพ ในระยะเปิดเกมและกลางเกมแทบจะไม่ต้องใช้ตี่แต่ต้องเอาตี่ไว้ในพระราชวัง ถ้าตี่ถูกกินจะหมายถึงจบเกม
  • สือ องครักษ์ประสานงานป้องกันตี่ สือถือว่าเป็นหมากตัวที่สำคัญเหมือนกับกือ เพราะถ้าไม่มีสือ ตี่ก็จะถูกฝ่ายตรงข้ามกินได้
  • เฉีย ทัพช้างก้าวไกล ใช้คุ้มกันภัยเป็นทัพหลัง ในเมื่อเดินข้ามแม่น้ำไม่ได้บทบาทส่วนใหญ่จึงเป็นการตั้งรับ มักใช้สกัดคู่ต่อสู้ เป็นทัพหลัง แต่มีจุดอ่อนในการถูกขัดขา (ดูในหัวข้อการขัดขา)
  • เบ๊ แม่ทัพทหารม้ารวดเร็ว พลิกแพลงพิสดาร ใช้เป็น 1 ใน 3 ทัพหน้า คือ เบ๊ เผ่า กือ มักใช้เป็นตัวคุมดินแดนใกล้แม่น้ำ ตั้งรับก็ช่วยได้ บุกรุกก็ใช้ได้ดี แต่มีจุดอ่อนเหมือนกันกับเฉีย
  • กือ แม่ทัพเรือ ทะลุทะลวงเจาะตามแนวช่อง ในเมื่อเดินได้ไกลเหมือนเผ่า แต่การกินไม่ต้องอาศัยตัวยิงข้ามอำนาจจึงมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในแม่ทัพทั้งหมด 3 ตัว
  • เผ่า แม่ทัพปืนใหญ่ยิงไกล เหนือความคาดหมาย ในเมื่อการเดินเดินได้ไกลขนาดนี้เพราะฉะนั้นจะต้องระวังเผ่าไว้ให้ดีเพราะบางทีเผ่าอาจซ่อนอยู่หลังหมากตัวใดตัวหนึ่งและยิงข้ามมากินได้ อำนาจจึงสูงพอๆกับเบ๊หรือสูงกว่า
  • จุก กองกำลังด่านหน้ากล้าตาย ถือว่าเป็นหมากตัวที่ยศต่ำที่สุด ในเมื่อเดินแล้วถอยหลังไม่ได้การเดินแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาให้ดี แต่จะเลื่อนยศได้ถ้าข้ามแม่น้ำไปแล้ว

การขัดขา[แก้]

  • การขัดขาเฉีย คือการที่มีหมากอยู่ติดกับเฉียในแนวทแยงมุม เฉียจะเดินข้ามหมากตัวนั้นไม่ได้
  • การขัดขาเบ๊ คือการที่มีหมากอยู่ติดกับเบ๊ในแนวตรง เบ๊จะไม่สามารถเดินไปในทิศทางที่ข้ามหมากตัวนั้นได้

เขตกระดาน[แก้]

  • เขตพระราชวัง เป็นเขตที่มีเส้นทแยงมุม เป็นที่อยู่ของสือและตี่ ซึ่งหมากทั้งคู่จะไม่สามารถออกจากเขตนี้ได้
  • เขตแม่น้ำ เป็นเขตที่กั้นแดนของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเฉียไม่สามารถก้าวข้ามแม่น้ำได้

จุดหมายแห่งชัยชนะ[แก้]

การแพ้-ชนะ[แก้]

  • รุกตี่จน คือการที่หมากของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดินมาขู่ว่าจะกินตี่ แล้วตี่ไม่สามารถหนีพ้น หรือกินได้ ถือว่าฝ่ายที่รุกจนเป็นผู้ชนะ
  • ตี่ไม่มีตาเดิน คือการที่ตี่ไม่สามารถเดินได้ ในหมากรุกอื่นจะถือว่าเสมอ แต่หมากรุกจีนจะถือว่าฝ่ายที่ตี่"อับ"เป็นผู้แพ้
  • ตี่ประจันหน้า คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกบังคับให้เดินตี่มาประจันหน้ากับตี่คู่ต่อสู้ โดยไม่มีหมากตัวใดขวาง ถือว่าฝ่ายที่เดินออกมาเป็นผู้แพ้
  • รุกล้อ ห้ามรุกซ้ำตาเดิมเกิน 3 ครั้ง (ถ้ารุกครั้งที่ 4 ในช่องเดิม ฝ่ายที่ทำการรุกจะแพ้ทันที)
  • ยอมแพ้ คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าในเมื่ออย่างไรก็ต้องแพ้ ก็ไม่ต้องเดินต่อไปให้ยอมแพ้ได้เลย
  • การนับศักดิ์หมาก คือถ้าเหลือหมากเพียงตี่กับตี่แล้วเหลือหมากที่สามารถรุกจนได้ เช่น
  1. จุก 2 ตัว นับ 45
  2. จุก 3 ตัว นับ 36
  3. จุก 4 ตัว นับ 27
  4. จุก 5 ตัว นับ 18
  5. เบ๊ 2 ตัว นับ 27
  6. เผ่า 2 ตัว นับ 27
  7. กือ 1 ตัวนับ 18
  8. กือ 2 ตัว นับ 9

การเสมอ[แก้]

  • รุกไม่จน คือการที่หมากที่เหลือไม่สามารถรุกจนได้เช่น
  • 1. ตี่กับตี่และเฉีย 1 หรือ 2 ตัว
  • 2. ตี่กับตี่และสือ 1 หรือ 2 ตัว
  • ตี่กับตี่
  • ตกลงเสมอ คือเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายยอมตกลงเสมอเป็นอันสิ้นสุดการเล่นกระดานนั้น
  • หมดเวลา เช่น จับเวลาเล่นไว้ 22 นาที (โดยทั่วไปใช้ 22 นาที) สมมติว่าหมดเวลา 22 นาทีทั้ง 2 ฝ่ายรุกกันยังไม่จนถือว่าเสมอ

อ้างอิง[แก้]