ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
อินเตอร์สเตต 80 markerInterstate 80 Business markerEisenhower Interstate System sign
ป้ายหรือโล่ทางหลวงอินเตอร์สเตต 80 ป้ายเส้นทางเข้าเมืองของอินเตอร์สเตต 80 และป้ายระบบอินเตอร์สเตตไอเซนฮาวร์
ทางหลวงอินเตอร์สเตตทั้ง 48 รัฐในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งในรัฐอะแลสกา รัฐฮาวาย และปวยร์โตรีโก (ดูแผนที่ทางหลวงอินเตอร์สเตตแสดงหมายเลข)
ข้อมูลของระบบ
ระยะทาง47,856 ไมล์[a] (77,017 กิโลเมตร)
ก่อตั้ง29 มิถุนายน ค.ศ. 1956 (1956-06-29)[1]
ชื่อของทางหลวง
อินเตอร์สเตตInterstate X (I-X)
ระบบทางหลวง

ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (อังกฤษ: Dwight D. Eisenhower National System of Interstate) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อินเตอร์สเตต (อังกฤษ: Interstate) เป็นระบบเครือข่ายทางหลวงที่เชื่อมเกือบทุกรัฐในสหรัฐอเมริกาเข้าด้วยกัน (ยกเว้น อะแลสกาและ ฮาวาย) โดยทั้งระบบนี้มีความยาวถนนกว่า 75,198 กม. (46,726 ไมล์) ข้อมูลในเดือน ตุลาคม 2545

การเดินทัพที่รวดเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับกองทัพ นายพลดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ทั่วโลกอยู่ท่ามกลางสงครามเย็นอันร้อนระอุ จึงผุดอภิมหาโครงการอย่างการก่อสร้างถนนระหว่างรัฐขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อจะได้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือรัฐต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อถูกโจมตี เหมือนการเดินทัพอย่างรวดเร็วบนทางหลวงพิเศษ หรือออโตบาห์นของกองทัพนาซี

อย่างไรก็ตาม แรงสนับสนุนที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการนี้หาใช่กองทัพ แต่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ช่วยกันผลักดันให้ National Interstate and Defense Highways Act ได้รับการอนุมัติ ซึ่งประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2499 นั่นเอง

ระบบทางหลวงระหว่างรัฐของสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มต้นก่อสร้างขึ้นจากหนึ่งรัฐไปสองรัฐ จนกระทั่งครอบคลุมทั่วทุกรัฐ ประกอบไปด้วยทางหลวง 3 แบบ ได้แก่ ทางหลวงที่ไม่จำกัดความเร็ว (freeway) ทางหลวงแผ่นดิน (highway) และทางหลวงพิเศษ (expressway) ใช้ระบบตัวเลขกำหนดสายทาง โดยตัวเลข 1 หลักและ 2 หลักจะเป็นถนนสายหลัก โดยเส้นทางที่ลงท้ายด้วยเลขคู่จะเป็นเส้นทางข้ามจากฝั่งตะวันออกมาตะวันตก ส่วนเส้นทางที่ลงท้ายด้วยเลขคี่จะเป็นเส้นทางจากเหนือจรดใต้ ส่วนตัวเลข 3 หลักจะเป็นถนนที่เป็นสาขาหรือเส้นทางวนรอบพื้นที่ในเขตชนบท

ระบบตัวเลข[แก้]

ป้ายบอกถนนของอินเตอร์สเตต 35 ตัวเลขสองหลักแสดงถึงเส้นหลัก และเลขคี่แสดงถึงแนวเหนือ-ใต้

ระบบตัวเลขในถนนอินเตอร์สเตต จะใช้เลขสองหลักเป็นตัวบ่งบอกถึงถนนสายหลัก โดยเลขคี่เป็นถนนที่วิ่งในแนวเหนือ-ใต้ และเลขคู่จะเป็นถนนที่วิ่งในแนวตะวันออก-ตะวันตก และถนนที่แยกย่อยออกจากถนนเหล่านี้จะใช้เลขถนนเป็นเลขสามหลัก โดยยังคงตัวเลขถนนที่แยกออกมาไว้ในสองหลักหลัง เช่นถนน I-294 เป็นถนนที่แยกออกมาจากถนน I-94 เป็นต้น สำหรับตัวเลขนำหน้าจะแบ่งออกเป็นสองส่วนเช่นเดียวกัน โดยเลขคี่จะเป็นที่วิ่งตรงเข้าเมืองขณะที่เลขคู่เป็นถนนที่วิ่งอ้อมเมือง เช่น I-94 ถนนวิ่งผ่านชิคาโก จะมีแบ่งออกเป็น I-194 จะวิ่งเข้าสู่ตัวเมืองชิคาโก ขณะที่ I-294 จะวิ่งอ้อมเมืองชิคาโก

ความเร็วจำกัด[แก้]

ทางหลวงอินเตอร์สเตตเป็นถนนที่มีความเร็วจำกัดสูงสุดในบรรดาถนนทั่วไปในสหรัฐอเมริกา โดยในชนบทความเร็วจำกัดจะอยู่ที่ 100 ถึง 130 กม./ชม. (65 - 80 ไมล์/ชม.) ขณะที่ในส่วนตัวเมืองจะจำกัดอยู่ที่ 80 ถึง 100 กม./ชม. (50 ถึง 60 ไมล์/ชม.) โดยขึ้นอยู่กับรัฐจะกำหนดไว้

หมายเหตุ[แก้]

  1. ข้อมูลเมื่อ 2013[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Weingroff, Richard F. (Summer 1996). "Federal-Aid Highway Act of 1956, Creating the Interstate System". Public Roads. Washington, DC: Federal Highway Administration. 60 (1). ISSN 0033-3735. สืบค้นเมื่อ March 16, 2012.
  2. Office of Highway Policy Information (October 21, 2014). Table HM-20: Public Road Length, 2013, Miles By Functional System (Report). Federal Highway Administration. สืบค้นเมื่อ April 3, 2015. {{cite report}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)