เพลงชาติรัฐกรีเนดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพลงชาติรัฐเกรนาดา)
เดอะกรีเนดาเนชันแนลสเตท
แอนเติม
คำแปล: เพลงชาติรัฐกรีเนดา
The Grenada National State Anthem
เนื้อร้องโรลส์ตาน เพอร์ซิลวาล จาวาฮาร์ อดัมส์
ทำนองดร. จอห์น จอร์จ เฟรทเชอร์
รับไปใช้ค.ศ. 1967
เลิกใช้ค.ศ. 1974

เพลงชาติรัฐกรีเนดา เป็นเพลงชาติของกรีเนดาระหว่าง ค.ศ. 1967 จนถึงการประกาศเอกราชเมื่อ ค.ศ. 1974 ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักร ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดตั้งรัฐสัมพันธ์ ค.ศ. 1967 ประพันธ์บทร้องโดย โรลส์ตาน เพอร์ซิลวาล จาวาฮาร์ อดัมส์ (ค.ศ. 1946 – 2008) เรียบเรียงเสียงประสานโดย ดร. จอห์น จอร์จ เฟรทเชอร์ (D.Mus., F.R.C.O. (C.H.M.), A.D.C.M., F.T.C.L., L.R.A.M., A.R.C.M., L.R.S.M.) (ค.ศ. 1931 – 2015)

เนื้อร้อง[แก้]

ภาษาอังกฤษ คำแปลภาษาไทย
Hope of our future,
Land of ours today,
Land of our fathers
Now ‘neath our bounded sway,
may thy glory toil and tears
Anthem through the marching years.
May our faith and courage,
love of liberty,
lift us on the surges
Of our destiny,
let the strength of unity,
lead us to prosperity.
May we in our striving make God our guiding light,
Brighter out of darkness dawn that follows night,
Sons and Daughters,
Hand in hand,
striving for a better land.
ดินแดนแห่งบรรพบุรุษของเรา
ตอนนี้ 'ภายใต้ขอบเขตของเราแกว่งไปแกว่งมา
ขอให้พระสิริของพระองค์ทำงานหนักและน้ำตา
เพลงชาติหลายปีที่ผ่านมา
ขอให้ศรัทธาและความกล้าหาญของเรา
รักในเสรีภาพ
ยกเราขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากโชคชะตาของเรา
ให้พลังสามัคคี
นำพาเราไปสู่ความเจริญ
ขอให้เราพยายามทำให้พระเจ้าเป็นแสงสว่างนำทางของเรา
รุ่งอรุณที่สว่างไสวขึ้นจากความมืดที่ตามหลังกลางคืน
ลูกชายและลูกสาว,
จับมือกัน,
มุ่งมั่นเพื่อแผ่นดินที่ดีขึ้น

ภูมิหลัง[แก้]

ภายหลังการยุบเลิก สหพันธรัฐเวสต์อินดิส ในปี ค.ศ. 1962 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้มีความพยายามในการรวมเขตปกครองตนเองเป็นแคริบเบียนตะวันออก แต่การรวมตัวในครั้งที่ 2 นี้ไม่เป็นผล โดยสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศแคริเบียนได้จัดตั้งกรอบความร่วมมือในฐานะ สมาคมรัฐสัมพันธ์ ด้วยการผ่านร่างพระราชบัญญัติออกมาบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1967 กรีเนดาจึงมีสถานะเป็นรัฐสัมพันธ์ มีอำนาจปกครองตนเอง และประกาศใช้ ธงชาติและเพลงชาติของตน มีนายกรัฐมนตรีคนแรกคือเฮอร์เบิรต์ บาลีสต์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงสิงหาคม ค.ศ. 1967

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]