เจ้าเมืองแพร่
เจ้าเมืองแพร่ | |
---|---|
พระเจ้าเชียงใหม่ | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2202/2206 - พ.ศ. 2215[1] |
ก่อนหน้า | พระแสนเมือง |
ถัดไป | อุปราชอึ้งแซะ |
พิราลัย | พ.ศ. 2215 |
เจ้าเมืองแพร่ (ไม่ปรากฏ - พ.ศ. 2215) เป็นพระเจ้าเชียงใหม่พระองค์ที่ 9 ในยุคที่เป็นประเทศราชของพม่า พระองค์เป็นพระญาเจ้าเมืองแพร่พระองค์เดียวที่มาปกครองแคว้นล้านนา
เจ้าเมืองแพร่มีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่าทรงครองเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2202 แต่พงศาวดารโยนกระบุว่าเป็นปี พ.ศ. 2206 ส่วนตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวว่าในจ.ศ. 1021 ซึ่งตรงกับพ.ศ. 2202 ได้"เอาพระญาเจ้าเมืองแพร่ ขึ้นนั่งแท่นแก้วเชียงใหม่ปีนั้น" [2] ในรัชสมัยของพระองค์กรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมายังล้านนา แม้ยึดเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ แต่ได้เมืองเชียงแสน[3]ในปี พ.ศ. 2210 พระองค์ถูกปลดจากตำแหน่งพระเจ้าเชียงใหม่ และถูกเนรเทศไปอยู่เมืองยาง ปัจจุบันคือ โมยิน รัฐคะฉิ่น ประทศพม่า ทั้งนี้ เนื่องจากมีรายงานว่าพระองค์เอาใจออกห่างกษัตริย์พม่า และการสอบสวนพบว่ามีมูลความจริง พระองค์ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเจ้าฟ้าเมืองยาง ซึ่งยังคงยกย่องว่าพระองค์อยู่ในฐานะพระเจ้าเชียงใหม่
ทั้งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนกระบุตรงกันว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2215[1] อุปราชอึ้งแซะ (อึ้งแซะ แปลว่าวังหน้า) จากกรุงอังวะจึงเสด็จมาสืบราชสมบัติเมืองเชียงใหม่ในปีนั้น[4]
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
- ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. หน้า 395-396. ISBN 978-616-7146-62-1
- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. 660 หน้า. ISBN 978-974-8132-15-0
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ซิลค์เวอร์ม, 2543. 232 หน้า. ISBN 978-974-9575-51-2
ก่อนหน้า | เจ้าเมืองแพร่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระแสนเมือง | ![]() |
พระเจ้าเชียงใหม่ (พ.ศ. 2202/2206 - พ.ศ. 2215) |
![]() |
อุปราชอึ้งแซะ |