มีนเยนอระทา
มีนเยนอระทา | |
---|---|
เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล - พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล |
ก่อนหน้า | มีนเยยานดา |
ถัดไป | งานโย |
ประสูติ | ไม่ปรากฏ |
สิ้นพระชนม์ | พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตองอู |
พระบิดา | เมียวหวุ่นแห่งเมาะตะมะ |
มีนเยนอระทา[note 1] (อังกฤษ: Minyènawrahta[1]) ทรงเป็นเมียวหวุ่น[2]แห่งเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่า ระหว่างปี พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล[note 2] (จ.ศ. 1044) - พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล (จ.ศ. 1080)[3]
พระประวัติ
[แก้]มีนเยนอระทามีพระนามเดิมว่า คีนนอง[note 3] (อังกฤษ: Khin Hnaung) เป็นพระโอรสในเมียวหวุ่นแห่งเมาะตะมะ (หม่องตมะ[4]/หมอนตม[5]) และเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าญองย่าน[3] มหาราชวงศ์[1]ระบุว่า มีนเยนอระทาทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าญองย่าน และพระธิดาในเจ้าฟ้าแห่งเมืองนาย (อังกฤษ: Monè) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวมีข้อขัดแย้งคือ พระเจ้าญองย่านสวรรคตในปี พ.ศ. 2149 ไทยสากล[1] ในขณะที่มีนเยนอระทาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล[3]
เจ้าชายแห่งปาเดน
[แก้]พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งปาเดน[note 3] (อังกฤษ: Padein) ในรัชสมัยพระเจ้าปเย ต่อมาเมื่อพระเจ้านะราวะระขึ้นครองราชย์ เจ้าชายแห่งปาเดนจึงทรงได้รับพระราชทานราชทินนาม มีนเยยานนอง (อังกฤษ: Minyèyannaung) ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2215 ไทยสากล[1]
พระเจ้านะราวะระสวรรคตหลังครองราชย์ได้เพียงหนึ่งปี พระเจ้ามังกะยอดินจึงขึ้นครองราชย์เป็นลำดับถัดมา ในยามเมื่อขึ้นครองราชย์นั้น มีนเยยานนองทรงเป็นผู้ถวายพระนาม สิริปวระมหาธรรมราชา[6] แด่พระเจ้ามังกะยอดินในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2216 ไทยสากล[1] ต่อมาพระเจ้ามังกะยอดินทรงแต่งตั้งให้มีนเยยานนองเป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล
เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
[แก้]Ken Kirigaya เห็นว่า มีนเยยานนองคือบุคคลเดียวกับมังแรหน่อรถาที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือพื้นเมืองเชียงใหม่ ใบลานวัดศรีภุมมา[5]ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2226/2227 ไทยสากล (จ.ศ. 1045) พระองค์ร่วมกับเจ้าฟ้าเมืองหลวงได้ทรงนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตรเนื่องจากเกิดโรคระบาด[3] อย่างไรก็ตาม มีนเยยานนองได้รับพระราชทานราชทินนาม มีนเยนอระทา ในรัชสมัยพระเจ้าเสน่ห์มิน (ระหว่างปี พ.ศ. 2241 ไทยสากล - พ.ศ. 2257 ไทยสากล)[1][3]
มีนเยนอระทาอาจเป็นบุคคลเดียวกับแมงชาระที่ถูกกล่าวถึงโดยพื้นเมืองเชียงแสน[7]และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน[8]ว่า ในปี พ.ศ. 2229/2230 ไทยสากล (จ.ศ. 1048) แมงชาระหลบหนีจากสงครามที่เมืองยองมาอยู่ที่เมืองเชียงแสน จากนั้นแมงชาระลงไปยึดได้เมืองเชียงใหม่ แมงชาระจึงได้ครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2247/2248 ไทยสากล (จ.ศ. 1066) แมงชาระให้จับกุมตัวเมียวหวุ่นเมืองเชียงแสนไปประหารที่เมืองเชียงใหม่ และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2251 ไทยสากล เจ้าฟ้าแห่งเมืองเชียงตุงเป็นกบฏต่อพม่า[1] พระเจ้าเสน่ห์มินจึงมีพระราชโองการให้แมงชาระยกทัพไปเข้าร่วมการปราบเมืองเชียงตุง บุตรของแมงชาระจึงยกทัพไปรบชนะเมืองเชียงตุงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2252 ไทยสากล
สิ้นพระชนม์
[แก้]มีนเยนอระทาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล[3] ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น[4]และพงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงราย[5]ระบุเป็นปี พ.ศ. 2263/2264 ไทยสากล (จ.ศ. 1082) ราชสำนักพม่าจึงแต่งตั้งงานโยเป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่คนถัดไป[9][10]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของมีนเยนอระทา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ทับศัพท์ตามการทับศัพท์ภาษาพม่า ซึ่งหากสะกดตามความนิยมอาจสะกดได้ว่า มังรายนรธา
- ↑ เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม
- ↑ 3.0 3.1 ทับศัพท์ตามการทับศัพท์ภาษาพม่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 U Kala (2016). The Great Chronicle, 1597-1711. แปลโดย Tun Aung Chain. Yangon: MKS Publishing. pp. 50, 215, 220, 222, 320–324. ISBN 9789997102201.
- ↑ แซ่เซียว, ลัดดาวัลย์ (2002). 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. pp. 87–92. ISBN 9747206099. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Kirigaya, Ken (29 November 2014). "Some annotations to the Chiang Mai chronicle: The era of Burmese rule in Lan Na" (PDF). Journal of the Siam Society. 102: 278–279, 281. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01 – โดยทาง The Siam Society under Royal Patronage.
- ↑ 4.0 4.1 Premchit, Sommai; Tuikheo, Puangkam (1975). ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ ๔. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. pp. 37–38.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 อ๋องสกุล, สรัสวดี (2022). งานวงศ์พาณิชย์, กรกฎ (บ.ก.). พิเคราะห์หลักฐาน ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. pp. 18, 105. ISBN 9786163986634.
- ↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ (1962). พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม 2 (PDF). พระนคร: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์. p. 17. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
- ↑ อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. pp. 123, 125–126. ISBN 9742726612.
- ↑ กรมศิลปากร, บ.ก. (19 April 1936), "พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน" [Phongsawadan Mueang Ngoen Yang Chiang Saen], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์อักษรโสภณ, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
- ↑ Kirigaya, Ken (2015). "Lan Na under Burma: A "Dark Age" in Northern Thailand?" (PDF). The Journal of the Siam Society. 103: 283–284. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
- ↑ ชิวารักษ์, พริษฐ์ (17 July 2023). "ล้านนาปฏิวัติ: การต่อสู้ของ 'ตนบุญ' ในประวัติศาสตร์ล้านนา (ตอนแรก)". The101.world. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-12-15.
ก่อนหน้า | มีนเยนอระทา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มีนเยยานดา | เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ (พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล - พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล) |
งานโย |