เจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5 | |
---|---|
เจ้าจอมประคอง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | |
เกิด | คุณประคอง อมาตยกุล พ.ศ. 2408 สยาม |
เสียชีวิต | ช่วงสงครามเกาหลี พ.ศ. 2494 ไทย |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บิดามารดา | พระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี (ตาด อมาตยกุล ) คุณหญิงอิ่ม ธรรมสารนิติ |
เจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5 ต.จ. กำเนิดในสกุลอมาตยกุล เมื่อปี พ.ศ. 2408 เป็นธิดาคนที่ 5 ของพระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี ( ตาด อมาตยกุล ) อธิบดีศาลต่างประเทศ กับคุณหญิงอิ่ม ธรรมสารนิติ มีพี่น้องร่วมมารดา 6 ท่าน มีชื่อคล้องจองในวัยเยาว์อันไพเราะ ว่า " แสนถนอม-จอมถวิล-ปิ่นอนงค์-พงษ์ประวัติ-ถัดประคอง-รองจรูญ"
ท่านเหล่านี้ภายหลังมีชื่อและบรรดาศักดิ์ในภายหลังว่า
1.คุณหญิงถนอม เพชรพิไชย
2.พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)
3.คุณหญิงอนงค์ อภิรักษ์ราชอุทยาน
4.หลวงพิเทศพิไสย ( ประวัติ อมาตยกุล )
5.เจ้าจอมประคอง ตจ.
6.คุณจรูญ อมาตยกุล
ตามประเพณีไทยในวงศ์สกุลใหญ่สมัยนั้น ถือกันว่า มีบุตรก็ให้ถวายตัวรับราชการฝ่ายหน้า มีธิดาให้ถวายตัวรับราชการฝ่ายใน ด้วยเหตุนี้ ธิดาของพระยาธรรมสารนิติ ที่มีชื่อว่า "ถัดประคอง" จึงถูกเตรียมนำเข้าถวายตัว ตั้งแต่อายุ 11 ปี เมื่อ พ.ศ. 2419 โดยพำนักอยู่กับท้าวทรงกันดาล (วรรณ อมาตยกุล) ผู้ว่าราชการพระคลังฝ่ายใน เพื่อฝึกระเบียบชาววัง จนอายุ 14 ปี ใน พ.ศ. 2422 จึงถวายตัวรับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมรุ่นแรก ๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยที่พระยาธรรมสารนิติ ผู้บิดา จัดเจนในซอสามสาย และได้แนะนำตัวท่านเจ้าจอมประคอง ให้ฝึกเล่นมาก่อนจะถวายตัว รับกลเด็ดเม็ดพรายในการสีซอจากเจ้าคุณบิดาไว้มาก ดังนั้นเมื่อเข้าไปเป็นเจ้าจอม ท่านจึงเล่นซอสามสายได้เป็นเอก และได้เข้าร่วมอยู่ในวงมโหรีหลวง ร่วมกับเจ้าจอมมารดาชั้นผู้ใหญ่ คือ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5 และ เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 5 มีผู้เล่าว่าท่านเป็นผู้มีบุคลิกเป็นสง่างาม ตัวใหญ่ เวลานั่งสีซอจะตัวตรงอกผาย หน้าที่ของท่านนอกจากจะสีซอแล้ว ยังได้รับไว้วางพระราชหฤทัย ให้เป็นผู้อบร่ำผ้าเช็ดพระพักตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
เจ้าจอมประคอง ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 กับหีบหมากทองคำเป็นเกียรติยศ และได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 7 ชั่ง
ในด้านการครองชีพในพระบรมมหาราชวัง เจ้าจอมประคองคงไม่รับเพียงเบี้ยหวัดเงินปีเท่านั้น แต่ยังได้ทำอุตสาหกรรมในเรือน เป็นต้นว่า รับจ้างย้อมผ้าสไบสีต่าง ๆ ตลอดจนย้อมด้วยลูกคำ ซึ่งสมัยนั้นหาคนทำได้ดียาก โดยเฉพาะสีเกสรชมพู่นั้นท่านทำได้อย่างดี ในกระบวนคุณจอมทั้งหลายต้องมาให้ท่านทำทั้งสิ้น พร้อมกับจีบ อบร่ำ ปรุงน้ำอบ ปรุงน้ำมันอย่างดี ทำขายดีมาก
นอกจากนี้ยังทำขนมต่าง ๆ ให้คนใช้ไปเร่ขายตามตำหนักต่าง ๆ เช่น ขนมตาล สมัยนั้นเป็นที่เลื่องลือ, ขนมอินเวนต์ ที่ท่านคิดทำขึ้นเอง, ขนมผิงที่รับประทานแล้วละลายทันที, ขนมเรือ ฯลฯ สรุปแล้วกำไรตกราวเดือนละ 400-500 บาท นับเป็นเจ้าจอมที่มีฐานะท่านหนึ่ง
เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเจ้าจอมประคองได้กราบถวายบังคมลาออกมาพำนักนอกวัง มาอาศัยกับคุณหญิงทรามสงวน อภัยรณฤทธิ์ ผู้เป็นพี่สะใภ้ ที่บ้านชื่อ "สงวนสุข" ถนนพระราม 5 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ใช้เป็นที่ทำการ พรรคสหภูมิ และ พรรคชาติสังคม โดยก่อนหน้านั้นท่านได้รับหลานสาว 2 คน เป็นธิดาของน้องชาย หลวงพิเทศพิไสย อันเกิดกับพระนมร่ำ (บุนนาค) คือ คุณสุนีย์สาย อมาตยกุล (คุณหญิงสุนีย์สาย สีหราชเดโชไชย) และ สำนึง อมาตยกุล (ภรรยา ร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์) มาเป็นบุตรบุญธรรม ภายหลังท่านก็ได้ปลูกบ้านเป็นของตนเองใกล้ ๆ กับบ้านสงวนสุขนั้น
เจ้าจอมประคองในรัชกาลที่ 5 ถึงแก่อนิจกรรม ระหว่างสงครามเกาหลีหรือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิริอายุได้ 86 ปี แต่บรรดาหลาน ๆ ยังคงเก็บศพไว้ จนได้นำมาประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2509
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[1]
- พ.ศ. 2439 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของเจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1154. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)