พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) เป็นบุตรของ พระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี (อธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ) กับคุณหญิงอิ่ม (ธิดา หลวงชาติสุรินทร) เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2396 มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 ท่านซึ่งมีชื่อไพเราะคล้องจองกัน (แสนถนอม - จอมถวิล - ปิ่นอนงค์ - พงษ์ประวัติ - ถัดประคอง - รองจรูญ)

1) คุณหญิงแสนถนอม (หรือ ถนอม) สมรสกับ พระยาเพชรพิไชย (เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์)

2) พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) สมรสกับคุณหญิงทรามสงวน (ราชเลขาธิการในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

3) คุณหญิงปิ่นอนงค์ (หรือ อนงค์) สมรสกับ พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (เจ้ากรมพระราชอุทยาน)

4) หลวงพิเทศพิไสย (พงษ์ประวัติ อมาตยกุล) ผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ สมรสกับพระนมร่ำ บุนนาค (บุตรีของพระนมเทศ พระนมของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ นับเนื่องเป็นหลานของเจ้าจอมมารดาสำลี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

5) เจ้าจอมประคอง (ถัดประคอง อมาตยกุล) รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในตำแหน่ง เจ้าจอมมโหรีคู่กับเจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล

6) รองจรูญ อมาตยกุล (หรือ จรูญ) เป็นบุตรีคนเล็ก จึงมิได้ถวายตัวเข้ารับราชการ และมิได้ทำการสมรส

ตำแหน่งและบรรดาศักดิ์[แก้]

ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นมหาดเล็กรักษาพระองค์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้ตามลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2416 เป็น หลวงสรจักรานุกิจ
  • พ.ศ. 2417 เป็น จมื่นราชามาตย์ (สังกัดกรมพระตำรวจหลวง) ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย
  • พ.ศ. 2429 เป็น พระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหารขวา[1]
  • พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า [2]
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2436 พระอินทรเทพบดีศรีสมุห เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา ถือศักดินา ๒๐๐๐[3]
  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2437 เป็น พระยาอินทรเทพบดีศรีสมุห[4]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[5]
  • 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 พระยามหาเทพกระษัตริย์สมุห เจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย ถือศักดินา ๒๐๐๐[6]
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2448 เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ถือศักดินา ๓๐๐๐[7]
  • พ.ศ. 2453 (รัชสมัยรัชกาลที่ 6) ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี

คู่สมรสและบุตรธิดา[แก้]

พระยาอภัยรณฤทธิ์ ได้สมรสกับลูกพี่ลูกน้องในสกุลอมาตยกุลคือ คุณหญิงทรามสงวน [8] (ราชเลขาธิการใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ซึ่งเป็นธิดา พระยากระสาปนกิจโกศล (ผู้ผลิตเหรียญกษาปณ์รายแรกของประเทศไทย) กับคุณหญิงพลอย ไกรฤกษ์ (ธิดา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี) เมื่อปี พ.ศ. 2421 มีบุตรธิดาดังนี้

1) พระยาอภัยรณฤทธิ์ (เกษียร อมาตยกุล)[แก้]

สมรสกับ คุณหญิงเผื่อน โชฎึกราชเศรษฐี ธิดา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด โชติกะพุกนะ)

*เป็น ปู่-ย่า ของ สมภพ อมาตยกุล (อดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม) และ พรรณสิรี อมาตยกุล (Country Manager 'IBM Thailand') [9]

2) พระยาวิชิตสรศาสตร์ (อำนวย อมาตยกุล)[แก้]

สมรสกับ คุณหญิงพูน โชฎึกราชเศรษฐี ธิดาของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี) กับคุณหญิงเพิ่ม โชฎึกราชเศรษฐี

*เป็น ปู่-ย่า ของ พล.ต.อ.พงษ์อมาตย์ อมาตยกุล (อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) และ สมฤดี อมาตยกุล (นายธนาคารซึ่งเป็นที่รู้จักกว้างขวาง)

3) พระยาอรรถกลยวทาวัต (กระแส อมาตยกุล)[แก้]

สมรสกับ คุณหญิงเพ็ญ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นธิดา หลวงฤทธิเทพหัสดิน

*เป็นปู่-ย่า ของ ท.พ. ชนาธิป อมาตยกุล (อดีตนายกทันตแพทย์สภา และแพทย์ชื่อดังซึ่งมีผลงานมากมาย)

4) ท่านผู้หญิงนงเยาว์ (อมาตยกุล) มาลากุล ณ อยุธยา[แก้]

สมรสกับ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (โอรสใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับ หม่อมทับ)

*เป็นปู่-ย่า ของ พล.อ. แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา และ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา (บรรณาธิการบริหารนิตยสาร 'ดิฉัน')

5) พระยารักษาเทพ (เชาวน์ อมาตยกุล)[แก้]

สมรสกับ คุณหญิงวลี อมาตยกุล ซึ่งเป็นธิดา พระยาภูบาลบันเทิง (เสนาบดีกระทรวงวัง) กับคุณหญิงตระกูล (ธิดาเจ้าเมืองปราจีนบุรี)

*เป็นปู่-ย่า ของ เศกรัฐ อมาตยกุล (ศิลปินค่ายแกรมมี่) และ อานันทเดชน์ อมาตยกุล (นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ 'โจ อมาตยกุล')

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) ป่วยเป็นโรคหืดเรื้อรัง และได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2454 สิริอายุได้ 57 ปี ได้รับพระราชทานโกศโถรองศพเป็นเกียรติยศ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงด้วยพระองค์เอง ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสรยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำเนาสัญญาบัตร ปีจออัฐศก (หน้า ๒๐)
  2. การพิธีฉัตรมงคล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (หน้า ๓๑๒)
  3. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า ๒๖)
  4. ข่าวเสด็จออกและพระราชทานสัญญาบัตร
  5. พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี (หน้า ๓๑๐)
  6. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ (หน้า ๔๙๒)
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๓๕
  9. IBM Thailand’s พรรณสิรี อมาตยกุล กลั่น “เลือดใหม่” ให้คิดนอกรอบ. (2560). http://www.forbesthailand.com/people-detail.php?did=206[ลิงก์เสีย]
  10. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๕๐๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  11. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  12. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๑๐๑๓)