ข้ามไปเนื้อหา

เกว็น สเตฟานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกว็น สเตฟานี
สเตฟานีขณะทำการแสดงในปี ค.ศ. 2015
เกิดเกว็น เรนี สเตฟานี
(1969-10-03) 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 (54 ปี)
ฟูลเลอร์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตต ฟูลเลอร์ตัน
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
ปีปฏิบัติงาน1986–ปัจจุบัน
คู่สมรสเกวิน รอสส์เดล (สมรส 2002; หย่า 2016)
คู่รักเบลก เชลตัน (2015–ปัจจุบัน)
บุตร3
ญาติเอริก สเตฟานี (พี่ชาย)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีร้อง
ค่ายเพลงอินเตอร์สโคป
เว็บไซต์gwenstefani.com

เกว็น เรนี สเตฟานี (อังกฤษ: Gwen Renée Stefani; เกิดวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักออกแบบด้านแฟชั่น ชาวอเมริกัน เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและนักร้องนำวงโนเดาต์ที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางหลังออกสตูดิโออัลบัมชุดแรก ทราจิกคิงดอม (1995) มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง "จัสต์อะเกิร์ล", "โดนต์สปีก", "เฮย์เบบี" และ "อิตส์มายไลฟ์" หลังจากที่วงว่างเว้นจากการทำงาน สเตฟานีออกมาเป็นศิลปินเดี่ยวแนวป็อปในปี 2004 ออกสตูดิโออัลบัมเดี่ยวชื่อ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงป็อปในคริสต์ทศวรรษ 80 อัลบั้มได้รับเสียงวิจารณ์และยอดขายที่ดี[1][2] มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง "วอตยูเวติงฟอร์?", "ริชเกิร์ล" และ "ฮอลลาแบกเกิร์ล" เพลงหลังขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 และยังเป็นซิงเกิลดาวน์โหลดแรกในสหรัฐที่มียอดขายเกินล้าน[3] ในปี 2006 สเตฟานีออกสตูดิโออัลบัมชุด 2 เดอะสวีตเอสเคป มีซิงเกิลประสบความสำเร็จ 2 ซิงเกิลคือ "ไวนด์อิตอัป" และไตเติลแทร็ก "เดอะสวีตเอสเคป" อัลบัมเดี่ยวชุด 3 ชุด ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ (2016) เป็นอัลบัมเดี่ยวอัลบัมแรกของเธอที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด 200

สเตฟานีได้รับรางวัลแกรมมี่ 3 รางวัล ในฐานะศิลปินเดี่ยวแล้วเธอยังได้รับอีกหลายรางวัล อย่างเช่น รางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด บริตอะวอดส์ เวิลด์มิวสิกอะวอดส์ และ 2 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด ในปี 2003 เธอยังออกสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายในนาม แอล.เอ.เอ็ม.บี. ยังแยกแบรนด์สินค้าอีกชื่อ คือ ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นและแฟชั่น ในช่วงเวลานี้เองเธอจะแสดงและปรากฏตัวพร้อมนักเต้นสาว 4 คน ที่รู้จักในชื่อ ฮาราจูกุเกิลส์ เธอแต่งงานกับนักดนตรีชาวอังกฤษ เกวิน รอสส์เดล ระหว่างปี 2002 ถึง 2016 และมีบุตรชายด้วยกัน 3 คน นิตยสาร บิลบอร์ด จัดอันดับให้เธออยู่อันดับ 54 ของศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุด และอันดับ 37 ของศิลปินที่ประสบความสำเร็จบนฮอต 100 ในทศวรรษ 2000[4][5] ช่องวีเอชวันจัดอันดับในปี 2012 ให้เธออยู่อันดับ 13 ของ 100 ศิลปินหญิงในวงการดนตรีที่ยอดเยี่ยมที่สุด[6] หากรวมกับผลงานกับวงโนเดาต์แล้ว สเตฟานีมียอดขายอัลบัมมากกว่า 30 ล้านชุดทั่วโลก[7]

ประวัติ

[แก้]

1969–1985: ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

สเตฟานีเกิดเมื่อ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ที่ฟูลเลอร์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย[8] เติบโตในครอบครัวโรมันคาทอลิกในแอนะไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[9] ชื่อของเธอตั้งตามชื่อบริกรหญิงบนเครื่องบนจากบนประพันธ์ปี 1968 เรื่อง แอร์พอร์ต ส่วนชื่อกลาง เรเน (Renée) มาจากเพลงของวงเดอะโฟร์ทอปส์ ปี 1968 ที่คัฟเวอร์ของเลฟต์ แบงก์ในปี 1966 ที่ชื่อ "วอล์กอะเวย์เรเน"[10] พ่อเธอ เดนนิส สเตฟานี เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด (marketing executive) ที่ยามาฮ่า[11] ส่วนแม่ของเธอ แพตตี (สกุลเดิม ฟลินน์)[12] ทำงานเป็นนักบัญชี ก่อนที่จะออกมาเป็นแม่บ้าน[11][13] พ่อแม่ของเกว็นนั้นเป็นแฟนเพลงแนวโฟล์ก ยังให้เธอฟังเพลงของศิลปินอย่าง บ็อบ ดิลลันและเอมมีลู แฮร์ริส[9] เธอยังมีน้องอีก 2 คน คือ จิลล์และทอดด์ และมีพี่ชายชื่อเอริก[9][13] เอริกเคยเป็นมือคียบอร์ดให้วงโนเดาต์ ก่อนจะออกไปทำงานสร้างภาพเคลื่อนไหวเรื่อง เดอะซิมป์สันส์[8]

1986–2004: โนเดาต์

[แก้]

พี่ชายของเธอ เอริก ได้แนะนำให้เกว็นรู้จักกับดนตรีแนวทูโทน อย่างวงแมดเนสส์และเดอะซีเลกเตอร์ และในปี 1986 เขาได้ชวนเธอให้มาร้องกับวงโนเดาต์ วงแนวสกาที่เขาก่อตั้งขึ้น[8] จนท้ายสุดในปี 1991 วงได้เซ็นสัญญากับอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ ออกอัลบั้มชื่อเดียวกับวง เมื่อปี 1992 แต่ดนตรีแบบสกาป็อปเช่นนี้ ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากแนวเพลงกรันจ์กำลังเป็นที่นิยม[14] ก่อนที่แนวเพลงนี้จะประสบความสำเร็จในกระแสหลักเพราะวงโนเดาต์และซับไลม์ สเตฟานีเป็นนักร้องรับเชิญให้กับเพลง "ซอว์เรด" (Saw Red) ในอัลบัมของซับไลม์ในปี 1994 ที่ชื่อชุด รอบบินเดอะฮูด สเตฟานีปฏิเสธความก้าวร้าวของศิลปินหญิงแนวกรันจ์ และเอ่ยถึงนักร้องวงบลอนดี ที่ชื่อ เดบบี แฮร์รี ว่าเธอเป็นการผสมผสานระหว่างพลังกับแรงดึงดูดทางเพศ ว่าเป็นอิทธิสำคัญต่อเธอ[15] อัลบัมชุด 3 ของโนเดาต์ ชุด ทราจิกคิงดอม (1995) ที่ออกหลังจากอัลบัมที่วงออกเอง เดอะบีคอนสตรีตคอลเลกชัน (1995) ใช้เวลาทำงานมากกว่า 3 ปี โดย 5 ซิงเกิลจาก ทราจิกคิงดอม อย่าง "โดนต์สปีก" ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตปลายปีของฮอต 100 แอร์เพลย์ ประจำปี 1997[16] สเตฟานีออกจากวิทยาลัย 1 เทอมเพื่อออกทัวร์ ทราจิกคิงดอม แต่ก็ไม่กลับมาเรียนต่อหลังจากที่ทัวร์กินระยะเวลา 2 ปีครึ่ง[9] อัลบัมได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่และขายได้มากกว่า 16 ล้านชุดทั่วโลก จากข้อมูลปี 2004[9][17][18] ในปลายปี 2000 นิตยสาร โรลลิงสโตน ตั้งฉายาเธอว่า "ราชินีเพลงป็อปสารภาพผิด" (The Queen of Confessional Pop)[19]

ช่วงอยู่กับโนเดาต์ที่ประสบความสำเร็จในกระแสหลัก สเตฟานีร่วมงานกับศิลปินอื่นหลายซิงเกิล อย่าง "ยูร์เดอะบอส" (You're the Boss) ร่วมงานกับไบรอัน เซตเซอร์ ออร์เคสตรา, "เซาท์ไซด์" กับโมบี้ และ "เลตมีโบลว์ยาไมนด์" กับอีฟ ต่อมาในปี 2000 โนเดาต์ออกอัลบั้มที่ได้รับความนิยมน้อยลง ชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น ที่ต่อยอดอิทธิพลเพลงนิวเวฟจากชุด ทราจิกคิงดอม[20] เนื้อเพลงส่วนใหญ่มุ่งประเด็นที่ความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของสเตฟานีกับหัวหน้าวงบุช ณ ขณะนั้น ที่ชื่อเกวิน รอสส์เดล และเรื่องความไม่แน่ใจ รวมถึงการตัดสินใจในการลงหลักปักฐานและการมีบุตรของเธอ[21] อัลบัมในปี 2001 ชุด ร็อกสเตดี เพิ่มกลิ่นอายเร็กเกและแดนซ์ฮอลล์มากขึ้น แต่ยังคงแนวนิวเวฟในฉบับของวงไว้ โดยทั่วไปแล้วได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวก[22] อัลบัมนี้มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จในแง่อันดับในสหรัฐ[23] ซิงเกิล "เฮย์เบบี" และ "อันเดอร์นีทอิตออล" ได้รับรางวัลแกรมมี่ จากนั้นอัลบัมรวมเพลงฮิต เดอะซิงเกิลส์ 1992–2003 บรรจุเพลงคัฟเวอร์ของวงทอล์กทอล์ก เพลง "อิตส์มายไลฟ์" ออกวางขายในปี 2003 อีฟและสเตฟานีได้รับรางวัลแกรมมี่สาขาการร่วมงานเพลงร้องหรือแร็ปยอดเยี่ยมจากเพลง "เลตมีโบลว์ยาไมนด์"[24]

2004–2006: เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. และเปิดตัวงานแสดง

[แก้]
สเตฟานีแสดงใน ฮาราจูกะเลิฟเวอส์ทัวร์ ปี 2005

อัลบัมเดี่ยวเปิดตัวของสเตฟานี ชุด เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน 2004 อัลบัมชุดนี้มีการร่วมงานกับโปรดิวเซอร์และศิลปินมากมาย อย่างเช่น โทนี แคแนล, ทอม รอทร็อก, ลินดา เพอร์รี, อังเดรทรีเทาซันด์, เนลลี ฮูเพอร์, เดอะเนปจูนส์ และนิวออร์เดอร์ สเตฟานีสร้างสรรค์อัลบั้มนี้โดยนำเพลงที่เธอยังฟังครั้งเรียนอยู่ไฮสกูลมาทำให้ทันสมัย และ แอล.เอ.เอ็ม.บี. ก็ได้รับอิทธิพลจากความหลากหลายด้านดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 อาทิเพลงนิวเวฟ, ซินท์ป็อปและอิเล็กโทร[25] การตัดสินใจของสเตฟานีในการออกงานเดี่ยวก็เป็นโอกาสที่ดีให้เธอลงลึกถึงแนวเพลงป็อป แทนที่จะทำให้ทั้งโลกเชื่อในความสามารถ ความลึกและคุณค่าความเป็นศิลปิน[1] ผลก็คือ ได้รับเสียงวิจารณ์ผสมกันไป ดังคำบรรยายที่ว่า "สนุกอย่างที่สุด แต่ไม่เชิงว่ามีเกลื่อนกลาด โดยถูกทำลายจากคำวิจารณ์ของสังคม"[26] อัลบัมเปิดตัวบนชาร์ต บิลบอร์ด 200 ที่อันดับ 7 และขายได้มากกว่า 309,000 ชุดในสัปดาห์แรก[27] แอล.เอ.เอ็ม.บี. ประสบความสำเร็จได้รับการยืนยันแผ่นเสียงทองคำขาวหลายแผ่นในสหรัฐ,[11] สหราชอาณาจักร,[28] ออสเตรเลีย,[29] และแคนาดา[30]

ซิงเกิลแรกจากอัลบัมนี้คือ "วอตยูเวติงฟอร์?" เปิดตัวที่อันดับ 1 ของแอเรียซิงเกิลส์ชาร์ต และเปิดตัวอันดับ 47 บน บิลบอร์ด ฮอต 100 ของสหรัฐ[31] และสามารถอยู่ในท็อป 10 ของชาร์ตโดยส่วนมาก[32] เพลงนี้เป็นการอธิบายว่าทำไมสเตฟานีถึงผลิตผลงานอัลบัมเดี่ยวออกมาและสาธยายถึงความกลัวของเธอหลังออกจากวงโนเดาต์มาออกเดี่ยว[33] ยังพูดถึงความต้องการจะมีลูก[34] "ริชเกิร์ล" เป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบัม ได้ร่วมร้องกับแร็ปเปอร์ อีฟและมีโปรดิวเซอร์คือ ดร. เดร เป็นการดัดแปลงมาจากเพลงป็อปในคริสต์ทศวรรษ 1990 ของศิลปินอังกฤษที่ชื่อ ลูซี ลู แอนด์ มิชชี วัน เนื้อเพลงถือเป็นการคัฟเวอร์แบบหลวม ๆ มาก แต่เมโลดีนั้นใกล้เคียงกับเพลง "อิฟไอเวอร์อะริชแมน" ของ ฟิดเดลอร์ออนเดอะรูฟ ซิงเกิล "ริชเกิร์ล" เป็นการพิสูจน์ได้ถึงความสำเร็จในหลายรูปแบบ โดยติดท็อป 10 ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[31][35] ซิงเกิลที่ 3 ของอัลบัม "ฮอลลาแบกเกิร์ล" ถือเป็นซิงเกิลอันดับ 1 ซิงเกิลแรกของเธอในสหรัฐและอันดับ 1 ลำดับที่ 2 ในออสเตรเลีย ส่วนที่อื่น สามารถติดใน 10 อันดับแรก[31][36] ยังเป็นเพลงแรกในสหรัฐที่มียอดดาวน์โหลดเกินล้าน และเป็ฯเพลงที่ได้รับความนิยมตลอดปี 2005[3] ซิงเกิลที่ 4 "คูล" ออกจำหน่ายไม่นานนักหลังที่ซิงเกิลก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จ โดยติดท็อป 20 ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[31][35] เนื้อเพลงและมิวสิกวิดีโอที่ถ่ายทำที่ทะเลสาบโกโม ในประเทศอิตาลี มีเนื้อหาเกี่ยวข้อกับอดีตคนรักของเธอ แคแนล[37] "ลักซูเรียส" เป็นซิงเกิลที่ 5 ของอัลบัม แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าเพลงก่อน ๆ "แครช" ออกจำหน่ายช่วงต้นปี 2006 ในฐานะซิงเกิลที่ 6 ถือเป็นตัวทดแทนอัลบัมถัดมาของ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ที่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากเธอตั้งครรภ์[38]

ในปี 2004 สเตฟานีเริ่มมีความสนใจในการแสดงภาพยนตร์และเริ่มออดิชันหนังหลายเรื่อง อย่างเช่น มิสเตอร์แอนด์มิสซิสสมิธ นายและนางคู่พิฆาต[39] เธอมีผลงานเรื่องแรก รับบทเป็นจีน ฮาร์โลว์ในภาพยนตร์กำกับโดยมาร์ติน สกอร์เซซีเรื่อง บินรัก บันลือโลก ในปี 2004 สกอร์เซซีมีบุตรสาวที่เป็นแฟนเพลงโนเดาต์ เขาได้แสดงความสนใจที่จะรับเลือกเธอแสดงหลังจากเห็นภาพยถ่ายของเธอที่ได้รับแรงบันดาลใจจากมาริลิน มอนโรจากนิตยสาร ทีนโว้ก ในปี 2003[40][41] เพื่อเตรียมการจะรับบทนี้ สเตฟานีอ่านหนังสือชีวประวัติของเธอ 2 เรื่องและดูหนังที่ฮาร์โลว์แสดง 18 เรื่อง[9] การถ่ายทำในส่วนของเธอใช้เวลา 4 ถึง 5 วัน สเตฟานีมีบทพูดเพียงเล็กน้อย[42] สเตฟานียังพากย์เสียงให้กับตัวละครในวิดีโอเกมปี 2004 มาลิซ อย่างไรก็ดีก่อนที่จะเสร็จสิ้น บริษัทเลือกที่จะไม่ใช้เสียงของสมาชิกวงโนเดาต์นี้[43]

2006–2008: เดอะสวีตเอสเคป

[แก้]
สเตฟานีแสดงใน เดอะสวีตเอสเคปทัวร์ ปี 2007

สตูดิโออัลบัมชุดที่ 2 ของสเตฟานี ชุด เดอะสวีตเอสเคป ออกขาย 1 ธันวาคม 2006[44] สเตฟานียังคงทำงานร่วมกับแคแนล, เพอร์รี และเดอะเนปจูนส์ รวมถึงเอค่อนและทิม ไรซ์-ออกซ์ลีย์จากวงร็อกอังกฤษ คีน อัลบัมนี้เน้นเพลงอิเล็กทรอนิกส์และแดนซ์สำหรับคลับมากขึ้นกว่าอัลบัมชุดก่อน[11] อัลบัมออกพร้อมกับดีวีดีการออกทัวร์ครั้งแรกของสเตฟานี ที่ใช้ชื่อชุดว่า ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ไลฟ์ อัลบัมชุดนี้ได้รับเสียงตอบรับผสมกันไป ทั้งบอกว่า "ได้ความรู้สึกขุ่นหมองอย่างน่าประหลาดใจ, ความรู้สึกเหมือนอัตชีวประวัติเล็กน้อย แต่สเตฟานีก็ยังไม่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นดีวาที่ได้พึงพอใจ"[45] และยังเรียกอัลบัมนี้ว่า "การกลับมาที่เร่งรีบ ที่ดูซ้ำกับ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. แต่พลังน้อยกว่า"[46]

"ไวนด์อิตอัป" ซิงเกิลนำของอัลบัม ได้รับเสียงวิจารณ์ผสมกันไป ที่มีการใช้คำพูดเรื่อยเปื่อยและการสอดแทรกเพลงจากหนัง มนต์รักเพลงสวรรค์ เข้าไป[47] เพลงประสบความสำเร็จพอสมควร ขึ้นสูงสุดใน 10 อันดับแรกในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[48] ส่วนไตเติลแทร็กได้รับการตอบรับดีอย่างกว้างขวาง ขึ้นชาร์ตใน 10 อันดับแรกมากกว่า 15 ประเทศ รวมถึงขึ้นสูงสุดอันดับ 2 ทั้งสหรัฐ, ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ในการประชาสัมพันธ์อัลบัม เดอะสวีตเอสเคป สเตฟานีเป็นผู้ให้คำปรึกษาในฤดูกาลที่ 6 ของรายการ อเมริกันไอดอล และแสดงเพลงร่วมกับเอค่อน เพลงนี้ยังได้รับการเสนอชื่อรางวัลแกรมมี่ในสาขาการร่วมงานเพลงป็อปยอดเยี่ยม[49] อีก 3 ซิงเกิลจากอัลบัม "โฟร์อินเดอะมอร์นิง", "นาวแดตยูกอตอิต" ที่ร่วมร้องกับเดเมียน มาร์เลย์ และ "เออร์ลีวินเทอร์" ในการประชาสัมพันธ์อัลบัม สเตฟานีเดินทางรอบโลก ในเดอะสวีตเอสเคปทัวร์ ที่ครอบคลุมพื้นที่ในอเมริกาเหนือ, ยุโรป, เอเชียและแปซิฟิก และบางส่วนของละตินอเมริกา จากบทสัมภาษณ์ใน เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ฉบับ 6 มิถุนายน 2011 เธอเล่าว่า เธอไม่มีแผลที่จะกลับมาออกผลงานเดี่ยว โดยบอกว่า "เป็นช่วงเวลาตอนนั้น ที่ดูจะยาวกว่าที่พวกเราคิดว่า ด้วยเพราะเป็นแรงดลใจและคุณก็ต้องไปในสักที่ที่คุณจะต้องไปในช่วงเวลานั้นของชีวิต แต่ทุกอย่างก็ลงตัวอย่างที่ควรจะเป็น"[50]

2009–2013: กลับมาทำโนเดาต์

[แก้]

ขณะที่สเตฟานีกำลังประชาสัมพันธ์อัลบัม เดอะสวีตเอสเคป อยู่นั้น วงโนเดาต์ก็เริ่มทำงานอัลบัมชุดใหม่โดยไม่มีเธอ[51] วางแผนไว้ว่าจะทำให้เสร็จหลังจากเดอะสวีตเอสเคปทัวร์ของเธอจบลง[52] เดือนมีนาคม 2008 วงเริ่มมีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวงในฟอรัมอย่างเป็นทางการของวง สเตฟานีก็โพสต์ในวันที่ 28 มีนาคม 2008 ว่าได้เริ่มเขียนเพลงแล้วแต่ยังทำได้ช้าอยู่ เหตุเพราะเธออยู่ในช่วงตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2[53] โนเดาต์ประกาศบนเว็บไซต์ทางการของวงว่าต้องการออกทัวร์ในปี 2009 ขณะที่กำลังจะทำผลงานอัลบัมล่าสุดกำลังเสร็จ และวางไว้ว่าจะออกในปี 2010[54] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2008 มีการประกาศว่าโนเดาต์จะเป็นวงนำในเทศกาลแบมบูเซิล 2009 ในเดือนพฤษภาคม ร่วมกับวงฟอลล์เอาต์บอย วงออกทัวร์ในประเทศเสร็จในฤดูร้อนปี 2009[55]

วันที่ 11 มิถุนายน 2012 วงประกาศบนเว็บไซต์ทางการของวงว่า อัลบัมใหม่จะออกวันที่ 25 กันยายน โดยมีซิงเกิลแรกออก 16 กรกฎาคม ใช้ชื่ออัลบัมว่า พุชแอนด์โชฟ ซิงเกิลแรกคือ "เซตเทิลดาวน์" กำกับมิวสิกวิดีโอโดยโซฟี มุลเลอร์ (ก่อนหน้านี้กำกับมิวสิกวิดีโอหลายตัวให้โนเดาต์) ในช่วงเวลานั้นเองโนเดาต์เป็นผู้ให้คำปรึกษารับเชิญในรายการ เอกซ์แฟกเตอร์ ฉบับสหราชอาณาจักร[56] "เซตเทิลดาวน์" ขึ้นอันดับสูงสุดอันดับ 34 บน บิลบอร์ด ฮอต 100 ขณะที่อัลบัมสูงสุดอันดับ 3 บนชาร์ต บิลบอร์ด 200 ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2012 วงได้ดึงมิวสิกวิดีโอ "ลุกกิงฮอต" ออกจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าใจดำกับชนพื้นเมืองอเมริกัน[57]

2014–2016: เดอะวอยซ์ และ ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์

[แก้]

12 เมษายน 2014 สเตฟานีได้ปรากฏตัวแบบสร้างความประหลาดใจในเทศกาลโคเชลลา เธอร่วมแสดงกับฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ บนเวที ในช่วงการแสดงเพลงของเขาในเพลง "ฮอลลาแบกเกิร์ล"[58] วันที่ 29 เมษายน มีการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าสเตฟานีจะร่วมในฤดูกาลที่ 7 ของรายการ เดอะวอยซ์ ในฐานะโค้ช โดยแทนที่คริสตินา อากีเลรา[59] หลังจากไม่ได้มางาน เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ นาน 9 ปี เธอกลับมาอีกครั้งในปี 2014 ในช่วงการสัมภาษณ์บนพรมแดง เธอบอกว่า "ฉันไม่รู้ว่า ฉันกำลังจะมีลูก และฉันกำลังจะทำ เดอะวอยซ์ และฉันก็ไม่รู้ว่กำลังจะเขียนเพลงใหม่ ฉันก็เหมือนรู้สึกว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป"[60] สเตฟานียังปรากฏตัวในฐานะนักร้องร่วมในเพลงของมารูนไฟฟ์ที่ชื่อ "มายฮาร์ตอิสโอเพน" ร่วมแต่งโดยเซีย เฟอร์เลอร์ จากอัลบัม ไฟฟ์[61] ที่ยังได้ร่วมแสดงกันครั้งแรกกับแอดัม เลอวีนในงานแกรมมี่ 2015[62] สเตฟานียังร่วมงานกับแคลวิน แฮร์ริสในเพลง "ทูเกเตอร์" จากอัลบัมของเขาที่ชื่อ โมชัน[63]

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2014 สเตฟานีบอกกับเอ็มทีวีนิวส์ ในระหว่างสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์กว่า เธอกำลังทำงานอัลบัมทั้งโนเดาต์และผลงานเดี่ยวของตัวเองอยู่ เธอยังเปิดเผยว่า เธอทำงานอยู่กับวิลเลียมส์[64] สเตฟานีออกผลงานการกลับมาอีกครั้งกับซิงเกิล "เบบีโดนต์ลาย" เมื่อ 20 ตุลาคม 2014 ซึ่งเธอร่วมแต่งกับโปรดิวเซอร์ ไรอัน เทดเดอร์, เบนนี บลังโก และโนเอล แซนแคเนลลา[65] บิลบอร์ด ประกาศว่าสตูดิโออัลบัมชุดที่ 3 จะออกเดือนธันวาคม โดยมีเบนนี บลังโกเป็นผู้อำนวยการผลิต[66] ช่วงปลายเดือนตุลาคม มีการเปิดเผยเพลงใหม่บางส่วนจากอัลบัมชุดที่ 3 ของสเตฟานี เพลงชื่อว่า "สปาร์กเดอะไฟร์" เป็นครั้งแรก เพลงผลิตโดยฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์[67] เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ได้เผยแพร่เต็มเพลงครั้งแรกทางออนไลน์[68] และปล่อยให้ดาวน์โหลด เมื่อ 1 ธันวาคม[69] ทั้ง "เบบีโดนต์ลาย" และ "สปาร์กเดอะไฟร์" มีอยู่ในอัลบัมชุดที่ 3 ของเธอ วันที่ 13 มกราคม 2015 สเตฟานีและวิลเลียมบันทึกเสียงเพลงที่ชื่อ "ไชน์" เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง แพดดิงตัน สเตฟาเนียและเซียทำงานร่วมกันในเพลงบัลลาดที่ชื่อ "สตาร์ตอะวอร์" (Start a War) ที่คาดว่าจะออกในอัลบัมชุดที่ 3 แต่อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ไม่ปรากฏอยู่[70] วันที่ 10 กรกฎาคม 2015 แร็ปเปอร์ชาวอเมริกา เอ็มมิเน็มมีซิงเกิลที่ร้องกับสเตฟานีที่ชื่อ "คิงส์เนเวอร์ดาย" จากเพลงประกอบภาพยนตร์ เซาท์พาว เพลงเข้าชาร์ตครั้งแรกและสูงสุดที่อนดับ 80 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100[71] และมียอดดาวน์โหลดในสัปดาห์แรก 35,000 ครั้ง[72]

17 ตุลาคม 2015 สเตฟานีแสดงในคอนเสิร์ตที่เป็นส่วนหนึ่งของทัวร์มาสเตอร์การ์ดไพรซ์เลสส์เซอร์ไพรส์ทัวร์ ที่แฮมเมอร์สไตน์บอลรูม ในนครนิวยอร์ก เธอแสดงเพลงใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอกหักต่ออดีตสามี เกวิน รอสส์เดล เพลงชื่อ "ยูสด์ทูเลิฟยู"[73] เพลงปล่อยให้ดาวน์โหลดเมื่อ 20 ตุลาคม 2015 วิดีโอค่อยปล่อยมาทีหลังในวันเดียวกัน เพลงออกในสถานีวิทยุเพลงร่วมสมัยในสหรัฐเมื่อ 27 ตุลาคม 2015[74] เพลงนี้ยังเป็นซฺงเกิลแรกอย่างเป็นทางการจากอัลบัมเดียวชุดที่ 3 ของเธอ ที่ชื่อชุด ดิสอีสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ ที่เธอเริ่มทำงานในช่วงฤดูร้อน 2015 สเตฟานีบอกว่า มีหลายเพลงก่อนหน้านี้ที่เธอทำในช่วงปี 2014 เธอรู้สึกถูกบังคับและดูเป็นของเทียม ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เธอต้องการแต่แรก[75][76][77] ซิงเกิลที่ 2 ของอัลบัมชื่อ "เมกมีไลก์ยู" ออกเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016[78] อัลบัม ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ ออกเมื่อ 18 มีนาคม 2016 และเปิดตัวที่อันดับ 1 บน บิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขาย 84,000 ชุด ในสัปดาห์แรก เป็นอัลบัมแรกของเธอที่ขึ้นอันดับ 1 ในฐานะศิลปินเดี่ยว[79] เพื่อประชาสัมพันธ์อัลบัม สเตฟานีมีทัวร์ที่ชื่อ ดิสอีสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ทัวร์ ร่วมกับแร็ปเปอร์ อีฟ ในสหรัฐ[80] เธอยังพากย์เสียงเป็นดีเจซูคิ ในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง โทรลล์ส ซึ่งออกฉาย 4 พฤศจิกายน 2016[81] เธอมีเพลง 5 เพลงในอัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้[82] เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2016 สเตฟานีประกาศว่าเธอจะแสดงโชว์ 2 ครั้งสุดท้ายที่ เออร์วินมีโดส์แอมฟิเทียเตอร์ ระหว่าง 29-30 ตุลาคม ที่เป็นส่วนหนึ่งของโชว์ที่ชื่อ เออร์วินมีโดส์แอมฟิเทียเตอร์ไฟนอลโชส์[83] โดยมีวงร็อกอเมริกา ยังเดอะไจแอนต์ เป็นวงเปิดให้ 2 โชว์นี้ด้วย[84]

2017–ปัจจุบัน: ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส และคอนเสิร์ตที่ลาสเวกัส

[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม 2017 สเตฟานีประกาศว่ากำลังทำงานในสตูดิโอและวางแผนจะออกผลงานเพลงใหม่ปลายปี[85] ในเดือนสิงหาคม มีการประกาศชื่อเพลงหลายเพลงทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเจมา (GEMA) โดยเสนอว่าเธออาจบันทึกเสียงอัลบัมเทศกาลวันหยุด[86] ชื่อผู้แต่งเพลงหลุดออกมาว่า สเตฟานีร่วมงานกับสามี เบลก เชลตัน และจัสติน แทรนเตอร์[87] อัลบัมใช้ชื่อว่า ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส โดยประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 กันยายน 2017 และออกจำหน่าย 6 ตุลาคม 2017[88] เพลงไตเติลแทร็กของอัลบัมเผยแพร่ทางดิจิตัลเมื่อ 22 กันยายน 2017 เป็นซิงเกิลนำของอัลบัมและมีแขกรับเชิญร่วมร้องคือเชลตัน[89][90] เพื่อประชาสัมพันธ์ เอ็นบีซีขอให้เธอเป็นพิธีกรในรายการพิเศษช่วงคริสต์มาส โดยออกอากาศ 12 ธันวาคม 2017 และใช้ชื่อรายการว่า เกว็นสเตฟานีส์ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส[91]

ปี 2018 สเตฟานีเซ็นสัญญาจำนวน 25 โชว์ แสดงที่แซพโพสเทียเตอร์ในลาสเวกัส เริ่ม 27 มิถุนายน 2018 และจบลง 16 มีนาคม 2019 ชื่อคอนเสิร์ตครั้งนี้ใช้ชื่อตามเพลงของโนเดาต์ว่า "จัสต์อะเกิร์ล"[92]

งานอื่น

[แก้]
สเตฟานีในเดือนกันยายน 2009

สเตฟานีทำชุดเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่เธอสวมใส่บนเวทีกับวงโนเดาต์ เป็นผลทำให้เธอเริ่มรวบรวม สรรหาสิ่งดี ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สไตลิสต์ที่ชื่อ แอนเดรีย ลีเบอร์แมน เป็นคนแนะนำเธอให้รู้จักกับชุดแต่งกายแบบโอตคูเชอร์ นำไปสู่การที่เธอออกสินค้าแฟชั่นที่ใช้ชื่อว่า แอล.เอ.เอ็ม.บี. ในปี 2004[9] โดยได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นที่หลากหลาย อาทิ สไตล์กัวเตมาลา ญี่ปุ่น และจาเมกา[93] สินค้าเธอยังได้รับความนิยมในหมู่คนดัง มีผู้สวมใส่อย่าง เทรี แฮตเชอร์, นิโคล คิดแมน และตัวเธอเอง[7][94] ในเดือนมิถุนายน 2005 เธอแยกแบรนด์สินค้าที่ราคาถูกกว่า ในชื่อ ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ ที่เธออธิบายว่า "เป็นสินค้าที่น่าเชิดชู" มีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น กล้องถ่ายรูป สิ่งประดับโทรศัพท์มือถือ และชุดชั้นใน[95][96] ในปลายปี 2006 สเตฟานีออกสินค้าตุ๊กตารุ่นจำกัด เรียกว่า "เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี." ตุ๊กตาได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นต่าง ๆ ที่สเตฟานีและฮาราจูกุเกิลส์สวมใส่ขณะออกทัวร์อัลบัม[97]

ปลายฤดูร้อน 2007 สเตฟานีออกน้ำหอมแอล ส่วนหนึ่งของสินค้าเครือ แอล.เอ.เอ็ม.บี. ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องประดับ น้ำหอมมีกลิ่นสวีตพีและกุหลาบ[98] ในเดือนกันยายน 2008 สเตฟานีออกสินค้าประเภทเครื่องหอม เป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้า ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ มีเครื่องหอม 5 ชนิด ที่มาจากฮาราจูกุเกิลส์ 4 คน และสเตฟานี โดยเรียกว่า เลิฟ, ลิลแองเจิล, มิวสิก, เบบี และจี (เกว็น)[99] เดือนมกราคม 2011 สเตฟานีเป็นโฆษกให้กับลอรีอัลปารีส[100] ปี 2016 เออร์เบินดีเคย์ออกเครื่องสำอางรุ่นจำกัดจำนวน โดยร่วมงานกับสเตฟานี[101]

ปี 2014 สเตฟานีประกาศการสร้างซีรีส์แอนิเมชันเกี่ยวกับเธอและฮาราจูกุเกิลส์[102] โดยร่วมกับวิชันแอนิเมชันและมูดีสตรีตคิดส์[103] สเตฟานียังช่วยสร้างสรรค์โชว์ที่เธอร่วมงานด้วย รวมถึง เลิฟ, แองเจิล, มิวสิก, และเบบี ในฐานะวงดนตรี, เอชเจไฟฟ์ ที่สู้กับปีศาจร้ายขณะเดียวกันก็พยายามทำงานเพลงให้สำเร็จ[104]

หลังจากร่วมงานกับหลายแลรนด์อย่าง โอพีไอและเออร์เบินดีเคย์ในปี 2014 และเรฟลอนในปี 2017 สเตฟานีวางแผนออกสินค้าความงานของตัวเองที่ชื่อ พีเอตเอ็นที (P8NT) จากข้อมูลของทีเอ็มซี เธอได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ความงานนี้แล้ว[105][106]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ไม่นานหลังจากที่สเตฟานีเข้าร่วมวงโนเดาต์ เธอกับเพื่อนร่วมวง โทนี แคแนล เริ่มคบหากัน เธอเล่าว่า ค่อนข้างสละเวลาอย่างมากในความสัมพันธ์ครั้งนี้ สเตฟานีวิจารณ์ว่า "ทุกสิ่งที่ฉันทำ คือเพื่อโทนี และภาวนากับพระเจ้าว่าขอให้มีลูกกับเขา"[107] ระหว่างช่วงนี้ วงเกือบต้องแยกกันไปเพราะความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวของสเตฟานีกับแคแนล[108] โดยแคแนลเป็นผู้บอกเลิกเธอ[109] การเลิกราครั้งนี้เป็นแรงบันดาลใจในเนื้อเพลงให้แก่สเตฟานี หลายเพลงในอัลบัม ทราจิกคิงดอม อย่างเช่น "โดนต์สปีก", "ซันเดย์มอร์นิง" และ "เฮย์ยู!" เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ของทั้งคู่[110] หลายปีต่อมา สเตฟานีร่วมแต่งเพลงดัง "คูล" ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน ในอัลบัมเดี่ยวเปิดตัวชุด เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี.[111]

สเตฟานีพบกับนักร้องนำและมือกีตาร์วงบุช เกวิน รอสส์เดล ในปี 1995 วงโนเดาต์และบุชเล่นเป็นวงนำในคอนเสิร์ตช่วงวันหยุดของสถานีวิทยุ เคอาร์โอคิว[15] ทั้งคู่แต่งงานเมื่อ 14 กันยายน 2002 ที่สวนโคเวนต์ในโบสถ์เซนต์พอลส์ ในลอนดอน งานแต่งงานครั้ง 2 จัดขึ้นที่ลอนแอนเจลิสในอีก 2 อาทิตย์ถัดมา[112]

สเตฟานีมีบุตรชาย 3 คนกับรอสส์เดล ได้แก่ คิงสตัน เจมส์ แม็กเกรเกอร์ รอสส์เดล เกิด 26 พฤษภาคม 2006[113] ซูมา เนสตา ร็อก รอสส์เดล เกิด 21 สิงหาคม 2008[114] และอพอลโล โบอี ฟลินน์ รอสส์เดล เกิด 28 กุมภาพันธ์ 2014[115] เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2015 สเตฟานีฟ้องหย่ารอสส์เดล โดยให้เหตุผลว่า "เข้าถึงความแตกต่างไม่ได้"[116] การหย่าร้างสิ้นสุดลงเมื่อ 8 เมษายน 2016 โดยรอสส์เดลตกลงที่จะแบ่งทรัพย์สินสมรสไม่เท่ากัน[117]

เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2015 สเตฟานีและเพื่อนร่วมรายการ เดอะวอยซ์ และเป็นนักร้องเพลงคันทรี เบลก เชลตัน ประกาศว่าคบหากันอยู่[118]

ความเป็นศิลปิน

[แก้]

เอเอกซ์เอส เรียกสเตฟานีว่า "บุคคลผู้ทรงอิทธิพล" ด้วยเสียงร้องที่มีช่วงกว้าง "อย่างเหลือเชื่อ"[119] เดอะนิวยอร์กไทมส์ ให้เสียงของสเตฟานีว่า "มีจริต" และบอกว่าเธอ "ติดการร้องเสียงสั่น"[120] ไอจีเอ็น บรรยายว่า สเตฟานี "มีเสียงร้องที่ยอดเยี่ยมอันมีเอกลักษณ์"[121] ชิคาโกทริบูน กล่าวว่า สเตฟานี "มีเสียงร้องต่ำที่ก๋ากั่น"[122]

อัลบัมเปิดตัวของสเตฟานี เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ได้รับอิทธิพลแนวเพลงหลายหลายชนิดของคริสต์ทศวรรษ 1980[123] อย่างแนวเพลง อิเล็กโทรป็อป, นิวเวฟ, แดนซ์ร็อก, ฮิปฮอป, อาร์แอนด์บีร่วมสมัย, โซล และดิสโก้[124][125][126][127][128] สเตฟานีเคยเอ่ยถึง มาดอนน่าในยุคแรก, ลิซาลิซา, คลับนูโว, พรินซ์, นิวออร์เดอร์ และ เดอะเคียวร์ มีอิทธิพลอย่างมากกับอัลบัมนี้[126] มีหลายเพลงในอัลบัมที่ออกแบบมาเพื่อคลับเต้นรำ และมีบีตแบบอิเลกทรอนิกส์เพื่อการเต้นรำ[129] มีการอ้างอิงถึงแฟชันและความมั่งคั่งในอัลบัม เธอใช้ดีไซเนอร์ที่ถือเป็นแรงบันดาลใจส่วนตัว อย่าง จอห์น กัลเลียโน และวิเวียน เวสต์วูด[130] สตูดิโออัลบัมชุด 2 เดอะสวีตเอสเคป มีความใกล้เคียงกับผลงานชุดก่อน แต่ยังมีซาวด์ดนตรีป็อปทันสมัยมากกว่าเดิม มีหลากหลายแนวเพลง อย่าง แดนซ์ป็อป และแร็ป[34][124][131][132][133] เป็นแนวคิดเดียวกับที่พัฒนาในอัลบัม เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์จากการทำเช่นนี้[134] อัลบัม ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ อัลบัมชุดที่ 3 สเตฟานียังคงทำเพลงป็อป ขณะเดียวกันก็รวมแนวเพลงจากหลากหลายชนิด อย่าง เร็กเก[135] ดิสโก้[136] และแดนซ์ฮอลล์[137] นอกจากนี้ยังมีการใช้กีตาร์เพิ่มมาอีกด้วย[138] เนื้อเพลงของสเตฟานีนั้นจะเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวที่เพิ่งเกิดขึ้น อย่างเช่น การหย่าร้างกับสามี รอสส์เดล และการพบรักใหม่กับ เชลตัน[139] เธอยังบอกว่าอัลบัมของเธอไม่มีเนื้อหา "เกี่ยวกับการแก้แค้น" เหมือนอย่างที่คนอื่นทำกัน และมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "การให้อภัย"[140]

ภาพลักษณ์

[แก้]
Color picture of singer Gwen Stefani performing
สเตฟานีแสดงใน ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ทัวร์ ปี 2005

สเตฟานีเริ่มจุดบินดิในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากที่เธอได้ไปพบปะครอบครัวของโทนี แคแนล หลายครั้ง เขามีเชื้อสายอินเดีย[141] ในช่วงที่โนเดาต์แจ้งเกิด สเตฟานี สวมเครื่องตกแต่งหน้าผากในมิวสิกวิดีโอหลายครั้ง จนทำให้เครื่องประดับเหล่านี้ได้รับความนิยมในเวลาสั้น ๆ ในปี 1997[142] โดยได้รับความสนใจครั้งแรกในมิวสิกวิดีโอปี 1995 เพลง "จัสต์อะเกิร์ล" ที่เป็นที่รู้จักเรื่องที่เธอโชว์เอว และมักสวมเสื้อเชิร์ตที่เปิดเผยเรือนร่าง[143] การออกแบบการแต่งหน้าของสเตฟานี โดยทั่วไปมักใช้แป้งโทนสว่าง ทาลิปสติกสีแดงสดใส และทำคิ้วรูปโค้ง เธอพูดถึงประเด็นเหล่านี้ในเพลงที่ชื่อ "แมจิกส์อินเดอะเมกอัป" (Magic's in the Makeup) ของโนเดาต์ ในอัลบัมชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น โดยตั้งคำถามไว้ว่า "หากมีเวทมนตร์ในการแต่งหน้า แล้วฉันคือใครกัน"[9] สเตฟานีมีผมสีสีน้ำตาลเข้มตามธรรมชาติ เธอเปลี่ยนสีผมธรรมชาตินั้นตั้งแต่เธอเรียนเกรด 9[144] ตั้งแต่ปลาย 1994 เธอมักไว้ผมสีบลอนด์เงิน สเตฟานีพูดถึงเรื่องนี้ในเพลงที่ชื่อ "แพลตตินัมบลอนด์ไลฟ์" (Platinum Blonde Life) ในชุด ร็อกสเตดี และรับบทเป็นสาวผมบลอนด์ จีน ฮาร์โลว์ ในภาพยนตร์ชีวประวัติในปี 2004 เรื่อง บินรัก บันลือโลก[145] ถึงแม้เธอมักจะไว้ผมสีบลอนด์ แต่เธอก็เคยย้อมผมสีน้ำเงินในปี 1998[142] และสีชมพู ในปี 2001[146] ตอนปรากฏบนปกชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น[147]

ปี 2006 สเตฟานีเปลี่ยนภาพลักษณ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครที่มิเชลล์ ไฟฟ์เฟอร์แสดงที่ชื่อ เอลวิรา แฮนคอก ในภาพยนตร์ปี 1983 เรื่อง สการ์เฟซ[2] การเปลี่ยนภาพลักษณ์นี้รวมถึง การใช้สัญลักษณ์ตัว G หลังชนกัน ที่เห็นได้จากกุญแจเครื่องประดับเพชรที่เธอสวมใส่ที่คอ ที่ถือเป็นจุดเด่นในการประชาสัมพันธ์ในชุด เดอะสวีตเอสเคป[96] สเตฟานีได้รับความสนใจในช่วงเดือนมกราคม 2007 เกี่ยวกับเรื่องการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วหลังตั้งครรภ์ เธอออกมาพูดภายหลังว่า เธอควบคุมอาหารตั้งแต่เรียนเกรด 6 เพื่อให้สวมชุดขนาด 4 ได้อย่างพอดี โดยพูดว่า "เป็นการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นฝันร้าย แต่ฉันก็ชอบเสื้อผ้ามากเกินไป ฉันเลยต้องการสวมเสื้อผ้าที่ฉันทำเองอยู่ตลอดเวลา"[148] หุ่นขี้ผึ้งของสเตฟานีเปิดตัวที่มาดามทุซโซต์ ลาสเวกัส ในเดอะเวเนเชียน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2010[149] การออกขายอัลบัมเดี่ยวชุดแรกของสเตฟานี ได้สร้างความสนใจต่อสมุน 4 คน ที่ชื่อ ฮาราจูกุเกิลส์ ที่ปรากฏตัวในชุดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชันกอทิกโลลิตา[150] และตั้งชื่อตามย่านบริเวณสถานีรถไฟฮะระจุกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ชุดแต่งกายของสเตฟานียังได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นญี่ปุ่น โดยอธิบายว่าเป็นการผสมผสานระหว่างคริสตีย็อง ดียอร์กับญี่ปุ่น[34] ผู้เต้นเหล่านี้ยังปรากฏในมิวสิกวิดีโอ ในสื่อ และปกอัลบัม เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. โดยมีเพลงที่อุทิศให้พวกเธอในอัลบัมนี้ด้วย พวกเธอยังได้ร่วมในทัวร์และใช้ชื่อเดียวกับพวกเธอ ใน สเตฟานีส์ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ทัวร์ นิตยสาร ฟอบส์ รายงานว่า เธอทำรายได้ในปี 2018 ได้ 27 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2007 ถึง มิถุนายน 2008 จากทัวร์ สินค้าแฟชั่นและโฆษณา ทำให้เธอเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านดนตรีที่ทำรายได้มากที่สุดอันดับ 10 ณ ขณะนั้น[151]

ความสำเร็จและผลสืบเนื่อง

[แก้]

ตลอดอาชีพในการทำงานผลงานเดี่ยว สเตฟานีได้รับรางวัลด้านดนตรีหลายรางวัล รวมถึง 1 รางวัลแกรมมี่, 4 รางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์, 1 รางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด, 1 รางวัลบริตอะวอดส์ และ 2 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด ส่วนกับวงโนเดาต์ เธอได้รับ 2 รางวัลแกรมมี่ และในปี 2005 นิตยสาร โรลลิงสโตน เรียกเธอว่า "เป็นร็อกสตาร์หญิงเพียงคนเดียวอย่างแท้จริงที่เปิดบนวิทยุหรือเอ็มทีวี" และยังให้เธอขึ้นปกนิตยสารอีกด้วย[152] สเตฟานีได้รับรางวัล สไตล์ไอคอนอะวอร์ด จากการแจกรางวัลพีเพิลแมกกาซีนอวอดส์ในปี 2014[153] นอกจากนี้ในปี 2016 เธอยังได้รับเกียรติจากเรดิโอดิสนีย์มิวสิกอวอดส์ ด้วยรางวัลฮีโรอะวอร์ด ที่มอบให้กับศิลปินที่อุทิศให้กับงานการกุศล[154]

สเตฟานียังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "เจ้าหญิงเพลงป็อป" จากนักวิจารณ์ดนตรีร่วมสมัยหลายแห่ง[155][156][157] ในปี 2012 วีเอชวันได้ให้เธออยู่ในอันดับ 13 ของรายชื่อ "100 ผู้หญิงยอดเยี่ยมแห่งวงการเพลง"[6] ผลงานของสเตฟานียังมีอิทธิพลให้กับนักดนตรีหลายคน อย่างเช่น เฮย์เลย์ วิลเลียมส์แห่งวงพาร์อะมอร์,[158] เบสต์โคสต์,[159] เคที เพอร์รี,[160] เคชา,[161] มารินาแอนด์เดอะไดอะมอนส์,[162] สเตฟาย,[163] ริตา ออรา[164] สกาย เฟอร์ไรรา[165] และคัฟเวอร์ไดร์ฟ[166] วงหลัง เป็นวงกลุ่มนักดนตรี 4 คนจากบาร์บาโดส ที่กล่าวว่า ทั้งสเตฟานีและโนเดาต์ได้ส่งผลด้านอิทธิพลต่อดนตรีพวกเขา โดยนักร้องนำของวง แอมานดา ไรเฟอร์ ยอมรับว่า เธอคงจะ "หมดสติ" หากได้เจอสเตฟานี[166]

ซิงเกิลนำจาก เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. เพลง "วอตยูเวติงฟอร์?" เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ดีที่สุดของสเตฟานี จากเว็บไซต์พิตช์ฟอร์ก รวมถึงอยู่ในอันดับ 16 ใน "50 ซิงเกิลปี 2004" ของเว็บไซต์นี้[167][168] นอกจากนั้น "ฮอลลาแบกเกิร์ล" จากอัลบัมดังกล่าว ยังถือเป็นเพลงแรกที่ขายทางดิจิทัลด้วยยอดขายมากกว่าล้านในสหรัฐ[3] ยังได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำขาวจากทั้งในสหรัฐและออสเตรเลีย[169][170] ยังขึ้นอันดับสูงสุดที่อันดับ 41 ของนิตยสาร บิลบอร์ด ในชาร์ตปลายทศวรรษ 2000–09[171] ตั้งแต่ที่ออกในปี 2005 "ฮอลลาแบกเกิร์ล" ยังถือว่าเป็น "เพลงลายเซ็น" ของสเตฟานี จากนิตยสาร โรลลิงสโตน[172]

งานการกุศล

[แก้]

หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ค.ศ. 2011 สเตฟานีบริจาคเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่เซฟชิลเดรน สำหรับกองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น[173] สเตฟานียังเปิดประมูลในอีเบย์เมื่อ 11 ถึง 25 เมษายน 2011 ให้ผู้สนใจประมูลเสื้อผ้าย้อนยุคส่วนตัวของเธอ และเสื้อทีเชิร์ตทำเองออกแบบและมีลายเซ็นของเธอ และยังอนุญาตให้มาปาร์ตี้น้ำชาส่วนตัวในแนวคิดแบบฮาราจูกุ ดำเนินงานโดยเธอเอง เมื่อ 7 มิถุนายน 2011 ที่รอแยล/ที เมดคาเฟและพื้นที่แนวป็อปอาร์ตแบบญี่ปุ่น ที่แรกของลอสแอนเจลิส โดยเงินประมูลนำเข้าเพื่อบรรเทาทุกของเซฟชิลเดรน[174][175]

ที่งานกาลาของแอมฟาร์ ในเทศกาลภาพยนตร์กาน 2011 สเตฟานีนำชุดลูกไม้สีดำที่เธอแต่งในงานนี้เข้าประมูลเพื่อการกุศล โดยได้เงินมากกว่า 125,000 เหรียญสหรัฐ[176] ชุดนี้เกิดข้อพิพาทหลังจากตัวแทนของนักออกแบบ ไมเคิล แอนเจิล ที่ช่วยสเตฟานีออกแบบและทำงานในฐานะสไตลิสต์ออกมายืนยันว่า เขาเป็นคนทำผ้าคลุม ไม่ใช่ตัวสเตฟานี[176][177] ในการออกมาเปิดเผย แองเจิลยืนยันว่า ชุดนั้นออกแบบโดยสเตฟานี สำหรับ แอล.เอ.เอ็ม.บี. และใช้ในการประมูลที่แอมฟาร์กาลา โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า "ผมรู้สึกผิดหวังที่มุ่งประเด็นผิดทิศผิดทาง จากที่เกว็นและผมได้ตั้งใจไว้ เรื่องที่มาของการสร้างสรรค์ชุดนี้ พวกเรารู้สึกเครียดกับผลและเพลิดเพลินกับขั้นตอนทำงาน ผมไม่ขอทำอะไรมากไปกว่านี้ นอกจากนับถือเธอและยังคงคาดหวังการทำงานร่วมกับเธออีกในอนาคต"[178] สเตฟานียังเป็นผู้จัดงานหารายได้ให้กับสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชลล์ โอบามา เมื่อเดือนสิงหาคม 2012 ที่บ้านของเธอในเบเวอร์ลีฮิลส์[179]

ผลงาน

[แก้]

ทัวร์

[แก้]

คอนเสิร์ตเดี่ยว

เรซิเดนซี

ประชาสัมพันธ์

ผลงานแสดง

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ
1996–2016 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ แขกรับเชิญแสดงดนตรี 6 ตอน
2001 คิงออฟเดอะฮิลล์ ตัวเอง (ร่วมกับโนเดาต์) ตอน: "คิดนีย์บอยแอนด์แฮมสเตอร์เกิร์ล: อะเลิฟสตอรี"
2001 ซูแลนเดอร์ ตัวเอง ตัวประกอบ
2002 ดอว์สันส์ครีก ตัวเอง (ร่วมกับโนเดาต์) ตอน: "สไปเดอร์เวบส์"
2004 มาลิซ มาลิซ พากย์เสียง; วิดีโอเกม
2004 บินรัก บันลือโลก จีน ฮาร์โลว์ เสนอชื่อเข้าชิง—รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ สาขาการแสดงยอดเยี่ยมในภาพยนตร์
2005 แฟชันร็อกส์ ตัวเอง สารคดี
2005 เบรนฟาร์ต ตัวเอง สารคดี
2009 แสบใสไฮโซ นักร้องนำวงสโนวด์เอาต์ (ร่วมกับโนเดาต์) ตอน: "แวลลีย์เกิลส์"
2011 เอฟรีเดย์ซันไชน์: เดอะสตอรีออฟฟิชโบน ตัวเอง สารคดี
2013 พอร์ตแลนเดีย ตัวเอง (ร่วมกับโนเดาต์) ตอน: "นินาส์เบิร์ทเดย์"
2014–2015, 2017 เดอะวอยซ์ ตัวเอง โค้ช (ฤดูกาล 7, 9, 12); ผู้ให้คำแนะนำ (ฤดูกาล 8 กับ 10)
2015 ทรูดิอายส์ออฟเฟท ตัวเอง สารคดี
2016 โทรลล์ส ดีเจซูคิ (พากย์เสียง) พากย์เสียงเท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Murison, Krissi (December 10, 2004). "Gwen Stefani : Love Angel Music Baby". NME. สืบค้นเมื่อ May 10, 2007.
  2. 2.0 2.1 Collis, Clark (November 22, 2006). "Holla Back". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hiatt, Brian (January 19, 2006). "Stefani, Peas Lead Singles Boom". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  4. "Decade End Charts – Artists Of The Decade". Billboard. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2011. สืบค้นเมื่อ July 10, 2011.
  5. "Decade End Charts – Hot 100 Artists". Billboard. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2012. สืบค้นเมื่อ July 10, 2011.
  6. 6.0 6.1 Graham, Mark (February 13, 2012). "VH1's 100 Greatest Women In Music (Complete List)". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2012.
  7. 7.0 7.1 McGibbon, Rob (May 13, 2007). "No natural born popstar". The Sunday Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2007. สืบค้นเมื่อ August 9, 2016.
  8. 8.0 8.1 8.2 Jeffries, David. "Gwen Stefani | Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 Van Meter, Jonathan (April 2004). "The First Lady of Rock". Style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2008. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
  10. Entertainment Weekly, issue 910. Page 94, sidebar. December 8, 2006.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Hooper, Joseph (February 16, 2007). "L.A.M.B. Chops". Elle (258): 220. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2011. สืบค้นเมื่อ January 25, 2007.
  12. George, Kat (March 8, 2015). "20 Artists Who Took Their Mom on the Red Carpet". VH1. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  13. 13.0 13.1 "Gwen Stefani – Profile". E! News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2008. สืบค้นเมื่อ September 28, 2008.
  14. Bush, John. "No Doubt | Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
  15. 15.0 15.1 Strauss, Neil (January 31, 2002). "No Doubt's Anniversary Party". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2009. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  16. "1997 The Year in Music – Hot 100 Airplay". Billboard. 109 (52): YE-36. December 27, 1997 – January 3, 1998. ISSN 0006-2510. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
  17. Errico, Marcus (January 7, 1997). "Babyface, Celine Dion Dominate Grammy Nominations". E! News. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
  18. "List of Grammy award nominations". CNN. January 6, 1998. สืบค้นเมื่อ April 30, 2007.
  19. Dunn, Jancee (December 14, 2000). "Gwen Stefani: The Queen of Confessional Pop". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ November 28, 2014.
  20. Erlewine, Stephen Thomas. "Return of Saturn – No Doubt". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2007.
  21. Willman, Chris (May 12, 2000). "No Doubt: Future Tense?". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 27, 2007.
  22. Cinquemani, Sal. "No Doubt: Rock Steady". Slant Magazine. December 12, 2004. Retrieved April 30, 2007.
  23. "No Doubt | Awards". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
  24. "Past Winners Search". Grammy Awards. The Recording Academy. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  25. Vineyard, Jennifer. "Gwen Stefani: Scared Solo". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2007. สืบค้นเมื่อ April 23, 2007.
  26. Cinquemani, Sal (November 20, 2004). "Gwen Stefani: Love. Angel. Music. Baby". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ June 4, 2007.
  27. Whitmire, Margo (December 1, 2004). "U2's 'Bomb' Explodes At No. 1". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 13, 2007.
  28. "Certified Awards Search". British Phonographic Industry. June 16, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2011. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  29. "ARIA Charts – Accreditations – 2005 Albums". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ April 23, 2007.
  30. "Gold Platinum Database". Music Canada. April 24, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2013. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 "Gwen Stefani – Chart history: The Hot 100". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  32. "Gwen Stefani – What You Waiting For?". Ultratop. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  33. Vineyard, Jennifer (November 10, 2004). "Gwen Stefani's Debut Solo LP Inspired By Insecurity And Japan". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-27. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  34. 34.0 34.1 34.2 Salmon, Chris (March 2, 2007). "'I just want to make music and babies'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  35. 35.0 35.1 "Gwen Stefani". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ October 5, 2012.
  36. "Gwen Stefani – Hollaback Girl". Ultratop. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  37. Vineyard, Jennifer (June 21, 2005). "Gwen Stefani's Song About Tony Kanal To Be Her Next Single". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  38. Vineyard, Jennifer (December 24, 2005). "Gwen Stefani Confirms Pregnancy While Onstage In Florida". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  39. "Gwen Stefani Bares All in Elle Tell-All". Extra. January 30, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2014. สืบค้นเมื่อ March 21, 2007.
  40. Vineyard, Jennifer (February 13, 2004). "Gwen Stefani Feeling Hella Good About Role In Scorsese Flick". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  41. Vineyard, Jennifer (December 2, 2004). "Gwen Stefani Says Acting Is A Lot Harder Than Singing". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  42. "Have no fear, No Doubt still here". USA Today. May 4, 2004. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  43. Hwang, Kaiser (January 23, 2004). "Remember Malice?". IGN. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  44. "Gwen Stefani : Releases : The Sweet Escape". Interscope Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 17, 2011.
  45. Michel, Sia (December 1, 2006). "The Sweet Escape (2006): Gwen Stefani". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-19. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007.
  46. Sheffield, Rob (December 12, 2006). "Gwen Stefani: The Sweet Escape". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2007. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007.
  47. Macia, Peter (October 25, 2006). "Wind It Up". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2009. สืบค้นเมื่อ April 29, 2007.
  48. "Gwen Stefani – Wind It Up". Ultratop. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  49. "2008 Grammy Award Winners and Nominees". The New York Times. February 9, 2008. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  50. Anderson, Kyle (June 6, 2011). "Gwen Stefani and No Doubt on their next step – EXCLUSIVE". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
  51. Vineyard, Jennifer; Richard, Yasmine (May 12, 2006). "No Doubt — Minus Gwen — In Early Stages Of New Album". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  52. Cohen, Jonathan (December 12, 2006). "Stefani: No Timetable For No Doubt Reunion". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 31, 2006.
  53. "new album". NoDoubt.com. 2008. Retrieved March 30, 2008.
  54. "2009 Tour". NoDoubt.com. 2008. Retrieved November 22, 2008.
  55. "No Doubt : Tour Archive". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  56. "Album and Single Announcement!". NoDoubt.com. June 11, 2012. Retrieved June 12, 2012.
  57. Toney, Veronica (November 5, 2012). "No Doubt apologizes, pulls 'Looking Hot' video - Celebritology 2.0". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ December 20, 2012.
  58. Lipshutz, Jason (April 13, 2014). "Gwen Stefani's Coachella Cameo Hints At Solo Return?". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 14, 2014.
  59. Ng, Philiana (April 29, 2014). "It's Official: Gwen Stefani Joins 'The Voice'". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 30, 2014.
  60. Corriston, Michele (August 24, 2014). "VMAs 2014: Gwen Stefani Attends for the First Time Since 2005". People. สืบค้นเมื่อ August 29, 2014.
  61. Kaufman, Gil (June 16, 2014). "Maroon 5 Drop New Album Track, "Maps," And Tease A Huge Collaboration". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-19. สืบค้นเมื่อ June 19, 2014.
  62. Spanos, Brittany (February 8, 2015). "Watch Adam Levine, Gwen Stefani Get Emotional at Grammys". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-07. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  63. Lynch, Joe (October 28, 2014). "Gwen Stefani Goes Full EDM on Calvin Harris' 'Together'". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  64. Garibaldi, Christina; Alexis, Nadeska (September 8, 2014). "Gwen Stefani Back In The Studio With Pharrell And She's 'Killing It'". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-26. สืบค้นเมื่อ September 10, 2014.
  65. Reed, Ryan (October 20, 2014). "Gwen Stefani Drops Synth-Driven Single 'Baby Don't Lie'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
  66. Vena, Jocelyn (October 18, 2014). "See Gwen Stefani's 'Baby Don't Lie' Artwork". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 20, 2014.
  67. Garibaldi, Christina (October 21, 2014). "Gwen Stefani And Pharrell Heat Things Up With New Track 'Spark The Fire'". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-01. สืบค้นเมื่อ November 24, 2014.
  68. Stern, Bradley (November 23, 2014). "Gwen Stefani Brings The Heat On "Spark The Fire": Listen". Idolator. สืบค้นเมื่อ November 24, 2014.
  69. "Spark the Fire – Single by Gwen Stefani". iTunes Store (US). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2014. สืบค้นเมื่อ December 1, 2014.
  70. Kreps, Daniel. "Gwen Stefani Debuts New Ballad 'Start a War' at Solo Show". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-07. สืบค้นเมื่อ February 14, 2015.
  71. "The Hot 100: The Week of August 1, 2015". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
  72. Mendizabal, Amaya (July 22, 2015). "The Weeknd's 'Can't Feel My Face' Tops Hot R&B/Hip-Hop Songs Chart". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
  73. "Gwen Stefani Debuts New Song 'Used to Love You' at New York Show: Watch". Billboard. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
  74. "FMQB: Radio Industry News, Music Industry Updates, Nielsen Ratings, Music News and more!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2013.
  75. Vain, Madison (October 19, 2015). "Gwen Stefani on scrapping an entire album and starting again: 'It didn't feel right'". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  76. Kreps, Daniel (October 20, 2015). "Watch Gwen Stefani's Wistful 'Used to Love You' Video". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-01. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  77. Vain, Madison (October 20, 2015). "Gwen Stefani releases stunning 'Used To Love You' video". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  78. Kreps, Daniel (February 12, 2016). "Hear Gwen Stefani's Refreshing 'Make Me Like You'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  79. Caulfield, Keith (March 28, 2016). "Gwen Stefani Scores First No. 1 Album on Billboard 200". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 28, 2016.
  80. Feeney, Nolan (April 18, 2016). "Gwen Stefani announces This is What the Truth Feels Like tour with Eve". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ May 8, 2016.
  81. Warner, Kara (January 6, 2016). "'Hair We Go!' Gwen Stefani Joins Justin Timberlake, Anna Kendrick in New Movie Trolls – See the Cute Pics". People. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
  82. Craddock, Lauren (August 22, 2016). "Justin Timberlake Shares Track List For 'Trolls' Movie Soundtrack Including Ariana Grande, Gwen Stefani & More". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
  83. Lewis, Randy (September 9, 2016). "Gwen Stefani to play Irvine Meadows' swan song shows Oct. 29-30". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  84. Skye Fadrowski, Kelli (September 9, 2016). "Gwen Stefani to perform final Irvine Meadows concerts before it closes next month". Orange County Register. สืบค้นเมื่อ September 10, 2015.
  85. Benjamin, Jeff (July 14, 2017). "Gwen Stefani Is Releasing New Music This Year". Fuse. สืบค้นเมื่อ July 24, 2017.
  86. O'Neill, Lauren (August 2, 2017). "Sia and Gwen Stefani Both Apparently Have Christmas Albums Coming". Vice. สืบค้นเมื่อ August 9, 2017.
  87. Wass, Mike (August 2, 2017). "Festive! It Looks Like Gwen Stefani Is Recording a Christmas Album". Idolator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ August 9, 2017.
  88. Tenreyro, Tatiana (September 21, 2017). "Gwen Stefani Teases 'You Make It Feel Like Christmas' Album: Watch Preview". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
  89. Ungerman, Alex (September 21, 2017). "Gwen Stefani Teases New Christmas Song With Blake Shelton – Listen to 'You Make It Feel Like Christmas'!". Entertainment Tonight. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
  90. "You Make It Feel Like Christmas [feat. Blake Shelton] – Gwen Stefani". Amazon.com (US). September 22, 2017. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
  91. Armstrong, Megan (November 15, 2017). "Gwen Stefani Gets Her Own NBC Holiday Special & Comments on Blake Shelton as Sexiest Man Alive". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 22, 2017.
  92. Legaspi, Althea (April 10, 2018). "Gwen Stefani Announces Las Vegas Residency". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-23. สืบค้นเมื่อ April 22, 2018.
  93. Maxwell, Alison; Freydkin, Donna; Barker, Olivia (September 15, 2006). "Stefani tends to her L.A.M.B." USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2009. สืบค้นเมื่อ May 30, 2007.
  94. Eliscu, Jenny (January 27, 2005). "Gwen Cuts Loose". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2009. สืบค้นเมื่อ April 17, 2005.
  95. Freydkin, Donna (May 16, 2005). "Designing is a snap". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
  96. 96.0 96.1 Ahearn, Victoria (December 1, 2006). "Gwen Stefani shrugs off radiation scare". The Canadian Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-19. สืบค้นเมื่อ May 8, 2007.
  97. "Gwen Stefani brings style to doll world". USA Today. Associated Press. September 5, 2006. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
  98. "L Gwen Stefani for women". Fragrantica. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  99. "Harajuku Lovers Fragrance". harajukulovers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-25. สืบค้นเมื่อ March 8, 2010.
  100. Rentmeester, Katherine Kluznik (มกราคม 13, 2011). "Gwen Stefani is the Gorgeous New Face of L'Oreal Paris!". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 27, 2011. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2011.
  101. Shatzman, Celia. "Get Gwen Stefani's Signature Makeup Looks Courtesy of Her Urban Decay Collaboration". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2017.
  102. Milligan, Mercedes (April 12, 2015). "Gwen Stefani's 'Kuu-Kuu Harajuku' Unveiled". Animation Magazine. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
  103. "'Kuu-Kuu Harajuku' Kicks Off Global Tour". Animation World Network.
  104. Langsworthy, Billy (April 13, 2015). "Gwen Stefani's animated Kuu-Kuu Harajuku series enters development". Licensing.biz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-17. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  105. "Style Notes: Gwen Stefani Launching Beauty Line; John Galliano Takes Maison Margiela Fur-Free". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  106. "Does Gwen Stefani have a beauty line up her sleeve?". 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  107. Eliscu, Jenny (January 30, 2005). "'I'll cry just talking about it'". The Observer. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  108. Ali, Lorraine (August 30, 2004). "It's My Life". Newsweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2006. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  109. Born to Be. MuchMusic programming. Original airdate: March 2006. Retrieved November 13, 2006.
  110. Montoya, Paris and Lanham, Tom. "Sunday Morning". 2003. The Singles 1992–2003 liner notes.
  111. Vineyard, Jennifer. "Gwen Stefani's Song About Tony Kanal To Be Her Next Single" เก็บถาวร 2010-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. MTV News. 21 June 2005. Retrieved 9 May 2007.
  112. Springer, Debra (December 22, 2005). "Gwen Stefani: I'm Pregnant". People. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
  113. "Latest News: Gwen Stefani's Baby, No Charge for Proof's Killer". Rolling Stone. May 30, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2009. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
  114. Adler, Shawn (August 21, 2008). "Gwen Stefani Gives Birth To Second Son". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-19. สืบค้นเมื่อ August 21, 2008.
  115. Deerwester, Jayme (March 1, 2014). "Gwen Stefani gives birth to third son, Apollo". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 1, 2014.
  116. "Gwen Stefani and Gavin Rossdale Are Divorcing". Rolling Stone. August 3, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-31. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  117. Chiu, Melody (April 20, 2016). "Inside Gwen Stefani and Gavin Rossdale's Divorce Settlement: All the Details". People. สืบค้นเมื่อ August 30, 2016.
  118. Petit, Stephanie (May 23, 2016). "Gwen Stefani and Blake Shelton Cuddle Up Backstage at the Billboard Music Awards in Cute Instagram Pics". People. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  119. Birmingham, Christy (June 24, 2014). "What makes Gwen Stefani such a powerhouse in concert?". AXS. สืบค้นเมื่อ June 24, 2014.
  120. Sanneh, Kelefa (October 26, 2002). "POP REVIEW; 'Just a Girl,' Or Wishing To Be More?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 13, 2010.
  121. Gage, Josephine (ตุลาคม 27, 2009). "Battle of the Bands: Gwen Stefani vs. M.I.A." IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 4, 2009. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2010.
  122. Kot, Greg (July 5, 1997). "It's One For Kids: No Doubt's Friendly Ska-tinged Pop A Hit With Young Crowd". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ July 8, 2012.
  123. Smith, RJ. "Gwen Stefani: Love. Angel. Music. Baby". Blender. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2010. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
  124. 124.0 124.1 Cinquemani, Sal (November 20, 2004). "Gwen Stefani: Love. Angel. Music. Baby". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
  125. Stewart, Allison (December 12, 2004). "Adult contemporary". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ September 23, 2013.
  126. 126.0 126.1 Mar, Alex; Halperin, Shirley (October 1, 2004). "Gwen Stefani Makes "Love"". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
  127. Boucher, Geoff (December 24, 2005). "Love, music and soon an angel baby". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 24, 2014.
  128. "Looking Back at Love. Angel. Music. Baby., Gwen Stefani's Racist Pop Frankenstein, Ten Years Later". Vice. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  129. Vineyard, Jennifer (June 21, 2005). "Gwen Stefani's Song About Tony Kanal To Be Her Next Single". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ June 2, 2015.
  130. Soghomonian, Talia (January 2005). "Interview: Gwen Stefani". musicOMH. สืบค้นเมื่อ September 23, 2013.
  131. Day, Elizabeth (September 23, 2007). "She's a can-do kind of woman". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
  132. "Why we can't wait to hear Gwen Stefani's latest". Entertainment Weekly. September 18, 2004. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  133. "Love, Angel, Music, Baby". Billboard. November 9, 2013. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  134. Huff, Quentin B. (December 14, 2006). "Gwen Stefani: The Sweet Escape". PopMatters. สืบค้นเมื่อ July 13, 2014.
  135. Greenblatt, Leah (March 16, 2016). "Gwen Stefani's This Is What the Truth Feels Like: EW Review". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ March 17, 2016.
  136. Ryan, Patrick (March 17, 2016). "Album of the week: Gwen Stefani shares her 'Truth'". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
  137. Cooper, Leoni (March 17, 2016). "NME Reviews - Gwen Stefani - 'This Is What The Truth Feels Like' Review". NME. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
  138. Sheffield, Rob (March 18, 2016). "Gwen Stefani's New Album: This Is What the Truth Feels Like". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-20. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
  139. Grebey, James (October 18, 2015). "Gwen Stefani Debuts Passionate New Song, 'Used to Love You'". Spin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2016.
  140. Robinson, Lisa (April 2016). "Gwen Stefani Talks Blake Shelton, The Voice, and Music After Gavin Rossdale". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ August 14, 2016.
  141. Stevenson, Jane (December 1, 2004). "Pop stars, No Doubt". Jam!. สืบค้นเมื่อ May 21, 2007.
  142. 142.0 142.1 Laine, Tricia (October 16, 1998). "Gwen Stephani spills on her fashion sense". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  143. "I Love 1996" เก็บถาวร 2007-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Stylus Magazine. September 8, 2004. Retrieved April 17, 2007.
  144. Toht, Betony "Gwen Stefani – Top Star Transformations" เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. InStyle. Retrieved April 28, 2007.
  145. Wloszczyna, Susan (April 26, 2004). "Beckinsale, a beauty who battles beasts". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  146. Greenblatt, Leah (March 16, 2007). "Style: Pink hair showbiz renaissance". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  147. Yotka, Steff (July 31, 2013). "Private Icon: No Doubt". Nylon. สืบค้นเมื่อ April 22, 2018.
  148. Corcoran, Liz (April 12, 2007). "Gwen Stefani: 'I've Always Been on a Diet'". People. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
  149. "Gwen Stefani Rocks The Strip!". Madame Tussauds. September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2010. สืบค้นเมื่อ November 4, 2010.
  150. Holson, Laura M. (March 13, 2005). "Gothic Lolitas: Demure vs. Dominatrix". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  151. Rose, Lacey (September 22, 2008). "World's Best-Paid Music Stars". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2009. สืบค้นเมื่อ August 9, 2016.
  152. Eliscu, Jenny (January 27, 2005). "Gwen Stefani: A Rock Goddess With Major Issues". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-05. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  153. Steiner, Amanda Michelle (December 18, 2014). "PEOPLE Magazine Awards: Gwen Stefani Wins Style Icon Award". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  154. Polanco, Luis (April 14, 2016). "Gwen Stefani Will Be Honored With Hero Award at Radio Disney Music Awards". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
  155. Boucher, Geoff (January 4, 2006). "New rhythm for a pop princess". The Blade: 1. สืบค้นเมื่อ February 1, 2016.
  156. Strecker, Erin (November 13, 2014). "Gwen Stefani's 'L.A.M.B' 10-Year Anniversary: Look Back at the Hollaback Girl's Best Moments". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 1, 2016.
  157. "Gwen Stefani and Blake Shelton: romance reports on the set of The Voice". Hello. สืบค้นเมื่อ February 1, 2016.
  158. "Hayley Williams Inspired By Beyoncé, Talks Other Strong Female Influences". Music Times. December 5, 2014. สืบค้นเมื่อ September 11, 2016.
  159. Cinquemani, Sal (May 2, 2014). "New Best Coast album influenced by Gwen Stefani, The Go-Gos, Sugar Ray". NME. สืบค้นเมื่อ November 29, 2014.
  160. "Katy Perry: Woman Of The Year Q&A 2012". Billboard. November 29, 2012. สืบค้นเมื่อ November 29, 2014.
  161. Garland, Emma (January 8, 2017). "Kesha's MySpace Profile from 2008 is Better Than DJ Khaled's Snapchat". Noisey. Vice Media. สืบค้นเมื่อ January 20, 2017.
  162. "Marina And The Diamonds". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-30. สืบค้นเมื่อ April 4, 2015.
  163. Dunk, Marcus (April 13, 2007). "Stefy: The Orange Album". Daily Express. สืบค้นเมื่อ May 29, 2016.
  164. Aspinall, Jasmine (November 5, 2012). "Rita Ora Finally Meets Her Idol Gwen Stefani". Vibe. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  165. "Sky Ferreira". Vogue Italia. September 15, 2010. สืบค้นเมื่อ September 11, 2016.
  166. 166.0 166.1 "Cover Drive in awe of Gwen Stefani". Contact Music. October 27, 2012. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  167. Sylvester, Nick (November 8, 2004). "Gwen Stefani: "What You Waiting For"". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2004. สืบค้นเมื่อ March 3, 2004.
  168. "Top 50 Singles of 2004". Pitchfork. December 30, 2004. สืบค้นเมื่อ August 26, 2008.
  169. "American single certifications – Gwen Stefani – Hollaback Girl". Recording Industry Association of America. June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
  170. "ARIA Charts – Accreditations – 2005 Singles". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ October 9, 2010.
  171. "Decade End Charts – Hot 100 Songs". Billboard. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2012. สืบค้นเมื่อ February 3, 2016.
  172. Hiatt, Brian (June 17, 2016). "Gwen Stefani on No Doubt's Future, Working With Prince". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-05. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
  173. Oldenburg, Ann (March 23, 2011). "Gwen Stefani gives $1 million to Japan relief efforts". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 24, 2011.
  174. Lewis, Randy (April 2, 2011). "Gwen Stefani's Japan relief auction to run April 11–25 on EBay". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
  175. Interscope Records (June 10, 2011). "Photo Alert: Gwen Stefani Hosts Private Harajuku-Themed Tea Party at Royal/T to Support Save the Children's Japan Earthquake Emergency Fund" (Press release). Los Angeles. PR Newswire. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
  176. 176.0 176.1 Rees, Alex (May 23, 2011). "Gwen Stefani's amfAR Gala Dress Was Apparently Not a L.A.M.B. Design After All". New York. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  177. Donnelly, Erin (May 26, 2011). "Michael Angel: Gwen Stefani Designed amfAR Dress". FashionEtc. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
  178. "Statement from Michael Angel Regarding Gwen Stefani amfAR Dress" (Press release). PR Newswire. May 25, 2011. สืบค้นเมื่อ May 25, 2011.
  179. McDevitt, Caitlin (July 3, 2012). "Gwen Stefani fundraising with first lady". Politico. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]