ข้ามไปเนื้อหา

เดอะซิมป์สันส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เดอะซิมป์สันส์
ประเภทแอนิเมชัน
ตลก
สร้างโดยแม็ตต์ เกรนิง
พัฒนาโดยเจมส์ แอล. บรูกส์
แม็ตต์ เกรนิง
แซม ไซมอน
เสียงของแดน แคสเทลลาเนตา
จูลี คาฟเนอร์
แนนซี คาร์ตไรต์
เยิร์ดเลย์ สมิธ
แฮงก์ อะซาเรีย
แฮร์รี เชียร์เรอร์
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องแดนนี เอลฟ์แมน
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด"The Simpsons Theme"
ประเทศแหล่งกำเนิดสหรัฐอเมริกา
ภาษาต้นฉบับอังกฤษ
จำนวนฤดูกาล31
จำนวนตอน677
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตอัล ฌอง
เจมส์ แอล. บรูกส์
แม็ตต์ เกรนิง
แซม ไซมอน
ความยาวตอน21-24 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายบริษัทฟ็อกซ์บอร์ดแคสติง
ออกอากาศ17 ธันวาคม พ.ศ. 2532 –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เดอะ เทรซีย์ อุลแมน โชว์

เดอะซิมป์สันส์ (อังกฤษ: The Simpsons) เป็นรายการการ์ตูนซิตคอมในสหรัฐอเมริกา สร้างโดย แม็ตต์ เกรนิง สำหรับ บริษัทฟ็อกซ์บรอดแคสติง มีเนื้อเรื่องตลกเสียดสีวิถีชีวิตชนชั้นกลางของชาวอเมริกัน โดยผ่านตัวละครในครอบครัวคือ โฮเมอร์, มาร์จ, บาร์ต, ลิซา และ แม็กกี โดยมีเนื้อหาเกิดที่เมืองที่ชื่อ สปริงฟิลด์ ที่ถากถางมุมมองของสังคมมนุษย์ วัฒนธรรมอเมริกัน สังคมทั้งหมดและวงการโทรทัศน์

แนวความคิดเรื่องตัวละครเกิดจากเกรนิง ก่อนที่เขาจะนำไปสร้างขึ้นเป็นตอนสั้น ๆ โดยผู้สร้าง เจมส์ แอล. บรูกส์ โดยเกรนิงยังสร้างแคแรกเตอร์ครอบครัวที่ดูผิดปกตินี้โดยตั้งชื่อสมาชิกจากครอบครัวของเขาเอง แต่เปลี่ยนชื่อบาร์ตสำหรับชื่อจริงของเขาเอง[1] ตอนสั้น ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งในรายการที่ชื่อว่า เดอะ เทรซีย์ อุลแมน โชว์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1987[2] หลังจากออกฉายได้ 3 ฤดูกาล แบบร่างต่าง ๆ เริ่มพัฒนาสู่รายการในช่วงไพรม์ไทม์ จำนวนเวลาครึ่งชั่วโมงและได้รับความนิยมในสถานีฟ็อกซ์ และเป็นรายการซีรีส์ของช่องฟ็อกซ์ที่สามารถติดอันดับ 1 ใน 30 อันดับที่มีผู้ชมมากที่สุดในฤดูกาลนั้น (ปี ค.ศ. 1992-1993) [3]

หลังจากออกฉายซีรีส์ครั้งแรกเมื่อ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1989 ก็มียอดออกอากาศ 420 ตอนกับ 20 ฤดูกาล และยังจะเริ่มฤดูกาลใหม่อีกในฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. 2008[4] ส่วนภาพยนตร์ The Simpsons Movie ออกฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกเมื่อวันที่ 26 และ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 มีรายได้รวม 526.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงวันนี้

เดอะซิมป์สันส์ยังได้รับรางวัลอีกมากมาย รวมถึง 23 รางวัลเอ็มมี, 26 รางวัลแอนนี และรางวัลพีบอดี และในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 นิตยสารไทม์พาดหัวข้อว่าเป็น รายการโทรทัศน์ซีรีส์ที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 20[5] และในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2000 ยังได้รับรางวัลใน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม อีกด้วย เดอะซิมป์สันส์ยังถือว่าเป็นรายการซิตคอมที่อยู่ยืนยาวที่สุด[6] และเป็นรายการแอนิเมชันของอเมริกาที่ฉายยาวนานที่สุด[7] ส่วนเสียงรำคาญของโฮเมอร์ที่ตะคอกว่า "D'oh!" ก็ได้นำมาบรรจุในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ขณะที่เดอะซิมป์สันส์ มีอิทธิพลต่อการ์ตูนซิตคอมสำหรับผู้ใหญ่อยู่หลายเรื่อง[8]

จุดกำเนิด

[แก้]

โกรนิงมีไอเดียเกี่ยวกับเดอะซิมป์สันส์ที่ล็อบบี้ในออฟฟิสของเจมส์ แอล บรูกส์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชื่อดัง บรูกส์แนะนำให้โกรนิงเสนอความคิดนี้เป็นซีรีส์แอนิเมชันเรื่องสั้น ซึ่งตอนแรกโกรนิงตั้งใจว่าจะใส่ในการ์ตูนเรื่อง Life in Hell ของเขา แต่อย่างไรก็ตามโกรนิงก็นึกได้ว่าถ้านำมาใส่ใน Life in Hell จะต้องยกเลิกลิขสิทธิ์ในการพิมพ์ในงาน Life in Hell นี้ โดยเขาเลือกที่จะสร้างในลักษณะครอบครัวที่ผิดปกตินี้[9] เขาตั้งชื่อตัวละครตามสมาชิกในครอบครัวของเขา ยกเว้น "บาร์ต" ที่ไม่ได้มาจากชื่อเขา[1]

ครอบครัวเดอะซิมป์สันส์ ในครั้งแรกที่ปรากฏในรายการเดอะ เทรซีย์ อุลแมน

โชว์ครอบครัวเดอะซิมป์สันส์ ปรากฏตัวครั้งแรกในรูปแบบเรื่องสั้นในรายการเดอะ เทรซีย์ อุลแมน โชว์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1989[2] โกรนิงสเก็ตช์แบบร่างให้นักสร้างแอนิเมชันโดยคาดหวังว่ารูปลักษณ์ต่าง ๆ จะมีการขัดเกลาในภาคงานผลิต แต่นักสร้างแอนิเมชันได้แกะจากภาพร่างของเขา ซึ่งทำให้ได้ภาพหยาบ ๆ สำหรับตัวละครในตอนสั้น ๆ นี้[1]

ในปี ค.ศ. 1989 ทีมงานสร้างดัดแปลง เดอะซิมป์สันส์ สู่รูปแบบซีรีส์ครึ่งชั่วโมงเพื่อออกอากาศทางช่องฟ็อกซ์ มีทีมจากคลาสกีชัปโปแอนิเมชันเฮาส์ โดยจิม บรูกส์ต่อรองเงื่อนไขในสัญญากับฟ็อกซ์เน็ตเวิร์กเพื่อป้องกันไม่ให้ทางฟ็อกซ์เข้ามาก้าวก่ายเนื้อหาของรายการ[10] โกรนิงบอกว่าเป้าหมายของเขาในการสร้างโชว์มาเพื่อเป็นทางเลือกอื่นให้กับผู้ชม ที่เขาเรียกว่า "ขยะในกระแส" ที่ผู้ชมตอนนั้นบริโภคอยู่[11] ซีรีส์รูปแบบครึ่งชั่วโมงนี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1989 ที่ชื่อตอนว่า "Simpsons Roasting on an Open Fire" เป็นตอนพิเศษในช่วงคริสต์มาส[12] แต่ตอนที่ชื่อว่า "Some Enchanted Evening" เป็นตอนยาวตอนแรกที่ผลิตขึ้น แต่ไม่ได้ออกอากาศจนกระทั่งในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 เนื่องจากติดปัญหาการทำแอนิเมชัน[13]

เดอะซิมป์สันส์ เป็นรายการทีวีซีรีส์ รายการแรกทางช่องฟ็อกซ์เน็ตเวิร์กที่สามารถติดอันดับ ใน 30 อันดับแรกของเรตติงการชม[14] ด้วยความสำเร็จทางฟ็อกซ์จึงได้นำซีรีส์กลับมาฉายใหม่อีกเพื่อแข่งกับรายการเดอะคอสบีโชว์ แต่การเปลี่ยนนี้ก็ทำให้เรตติงของเดอะซิมป์สันส์ลดลง[15] ในปี 1992 เทรซีย์ อุลล์แมนยื่นฟ้องกับฟ็อกซ์ โดยอ้างว่ารายการของเธอเป็นต้นกำเนิดของความสำเร็จซีรีส์นี้ โดยพูดว่าเธอมีสิทธิ์ที่จะได้รับผลประโยชน์จาก เดอะซิมป์สันส์ แต่ข้อหาก็ตกลงไป[16]

ตัวโชว์มีข้อขัดแย้งตั้งแต่เริ่มต้น ตัวละครหัวดื้ออย่าง บาร์ต ที่มักจะไม่ได้รับการลงโทษจากพฤติกรรมพิลึกพิลั่น ทำให้ผู้ปกครองและพวกหัวอนุรักษ์ชี้ให้เห็นว่าบาร์ตมีลักษณะไม่น่าควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง[17][18] ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช พูดว่า "เราต้องทำให้ครอบครัวชาวอเมริกันแข็งแรงกว่านี้ ให้เหมือนกับครอบครัววอลตันส์และไม่ให้เหมือนกับเดอะซิมป์สัน"[19] โรงเรียนรัฐบาลหลายแห่งแบนสินค้าที่เกี่ยวกับครอบครัวซิมป์สันส์ ทีเชิร์ต อย่างเช่น เสื้อที่เขียนว่า "เด็กคะแนนต่ำสุดในห้อง (และวงเล็บว่า ภูมิใจซะ)"[19] แต่ถึงแม้จะมีการแบน แต่สินค้าต่าง ๆ ก็อย่างขายได้ดีอยู่ มียอดขาย 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 14 เดือนแรกของการขาย[19]

งานสร้าง

[แก้]

ผู้อำนวยการสร้าง

[แก้]

รายชื่อผู้รับตำแหน่ง โชว์รันเนอร์ ในแต่ละฤดูกาล

แม็ตต์ โกรนิงและเจมส์ แอล. บรูกส์ รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างตั้งแต่เริ่ม และทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์ ส่วนแซม ไซมอน รับหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์สำหรับ 4 ฤดูกาลแรก แต่ยังคงได้เครดิตเป็นผู้อำนวยการสร้างถึงแม้จะไม่ได้ทำงานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993[20] อีกตำแหน่งที่มีส่วนสำคัญคือ โชว์รันเนอร์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการเขียน การจัดการภาคผลิตของโชว์ของทั้งฤดูกาลนั้น[21]

การเขียนบท

[แก้]
อัล ฌอง (ซ้าย) ผู้อำนวยการสร้างคนปัจจุบัน และ เดวิด เมอร์คิน (ขวา) อดีตผู้อำนวยการสร้างและเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานเขียนบทตั้งแต่ปี 1994

ทีมงานเขียนบท เดอะซิมป์สันส์ ประกอบด้วยนักเขียน 16 คน ที่จะเสนอแนวคิดทุกช่วงต้นเดือนธันวาคม[22] นักเขียนหลักแต่ละตอนจะเขียนแบบร่างแรก จากนั้นจะมีกลุ่มมาร่วมกันเขียนใหม่และพัฒนาบท โดยจะสอดแทรกหรือลดมุกตลก เพิ่มฉาก และจะเรียกมาอ่านอีกครั้งโดยผู้พากย์เสียง[23] หัวหน้าของกลุ่มนี้คือ จอร์จ เมเยอร์ ที่พัฒนาโชว์มาตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1 และนักเขียนอีกคน จอน วิตติ และเมเยอร์เอง ได้คิดคำพูดที่ดีที่สุดในแต่ละตอน ถึงแม้ว่านักเขียนบทในตอนนั้น ๆ จะได้รับเครดิตไป[23] แต่ละตอนใช้เวลาทำถึง 6 เดือน เนื้อหาจึงมักไม่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน[24] อย่างไรก็ตาม บางตอนที่มีการวางแผนระยะยาวอย่างโอลิมปิกหรือซูเปอร์โบวล์ก็มีปรากฏมาบ้าง

ส่วนหนึ่งของทีมงานเขียน เดอะซิมป์สันส์ ในปี 1992
จากซ้ายไปขวา: ไมค์ เม็นเดล, โคลิน เอบีวี ลูวิส (บางส่วน) , เจฟฟ์ โกลด์สไตน์, อัล ฌอง (บางส่วน) , โคนัน โอ'เบรียน, บิลล์ โอกเลย์, จอช ไวน์สไตน์, ไมค์ รีสส์ ,เคน ซึมาระ, จอร์จ เมเยอร์ , จอห์น สวาร์ตซเวลเดอร์, จอน วิตติ (บางส่วน) , ซีเจ กิบสัน และ เดวิด เอ็ม. สเตริ์น
แถวหน้า จากซ้ายไปขวา : ดี คาเปลลิ, โลนา วิลเลียมส์ และ บุคคลไม่ทราบชื่อ

จอห์น สวาตซ์เวลเดอร์ กับเครดิตในการเขียนกว่า 60 ตอน ที่ถือว่าเขียนบทมากที่สุดในทีมงาน[25] หนึ่งในนักเขียนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคนหนึ่งคือ โคนัน โอ'เบรียน ที่ช่วยเขียนอยู่หลายตอนในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ก่อนที่จะไปทำงานทอล์คโชว์[26] ริกกี้ เกอร์เวส นักแสดงตลกชาวอังกฤษได้เขียนบทในตอนที่ชื่อ "Homer Simpson, This Is Your Wife" ถือเป็นคนดังคนแรกที่ได้เขียนบทและรับเชิญเป็นแขกในตอนของ เดอะซิมป์สันส์[27]

ปลายปี ค.ศ. 2007 นักเขียนบทจาก เดอะซิมป์สันส์ ร่วมประท้วงสมาคม เดอะไรเตอร์สไกด์ออฟอเมริกา ฝั่งตะวันออก โดยนักเขียนได้ร่วมกับสมาคมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998[28] ผลของการประท้วงนี้จะมีผลต่อ 23 ตอนในฤดูกาลที่ 19[29]

เสียงพากย์

[แก้]

เครดิตผู้ให้เสียงในแต่ละตอน ทางฟ็อกซ์และทีมงานสร้างต้องการที่จะเก็บความลับชื่อผู้ให้เสียงพากย์ตั้งแต่ต้นฤดูกาลที่ฉาย ดังนั้นในการบันทึกเสียงพวกเขาจะปฏิเสธในการถ่ายรูปศิลปินที่จะมาบันทึกเสียงพากย์[30] อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดก็มีกาเครดิตบทบาทนักแสดงที่ร่วมในตอน "Old Money" เพราะโปรดิวเซอร์พูดว่า ผู้ให้เสียงนักแสดงควรได้รับเครดิตสำหรับการทำงาน[31]

เดอะซิมป์สันส์ มีตัวละครหลักอยู่ 6 ตัว แดน แคสเทลลาเนตารับบทเป็น โฮเมอร์ ซิมป์สัน, อับราฮัม ซิมป์สัน, ครัสตี เดอะ คลาวน์, และตัวละครผู้ชายผู้ใหญ่[32] จูลี คาฟเนอร์ ให้เสียงของ มาร์จ ซิมป์สัน และ แพ็ตตี บูวีเยร์ และ เซลมา บูวีเยร์ และตัวละครประกอบอีกหลายตัว[32] แนนซี คาร์ตไรต์ ให้เสียง บาร์ต ซิมป์สัน, ราล์ฟ วิกกัม และตัวละครเด็ก ๆ อื่น ๆ[32] เยิร์ดเลย์ สมิธ ให้เสียง ลิซา ซิมป์สัน เป็นคนเดียวให้ให้เสียงตัวละครเพียงตัวเดียว[32] ยังมีนักพากย์เสียง 2 คนที่พากย์เสียงตัวละครนอกครอบครัวซิมป์สันส์ อย่าง แฮงก์ อาซาเรีย ให้เสียงอย่าง โม ซิซแลค, ผู้กองวิกกัม และ อาปู นหสปีมเปติโลน อีกคนหนึ่งคือ แฮร์รี เชียร์เรอร์ ให้เสียงกับ มิสเตอร์เบิร์นส, สมิตเธอร์ส, ครูใหญ่สกินเนอร์, เน็ด แฟลนเดอร์ส, ศาสนจารย์เลิฟจอย และ จูเลียส ฮิบเบิร์ท[32] นอกจากนี้ตัวละครทุกตัวยังรับรางวัลเอมมีสาขาผู้ให้เสียงยอดเยี่ยมอีกด้วย (ยกเว้น แฮร์รี เชียร์เรอร์ คนเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้รับรางวัล) [33]

แฮงก์ อะซาเรีย เป็นส่วนหนึ่งของทีมพากย์ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 2[34]

จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1998 ผู้ให้เสียงพากย์ 6 คนได้รับเงินค่าตอบแทน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน ในปี 1998 พวกเขามีข้อโต้แย้งกับทางฟ็อกซ์ ทางบริษัทขู่ว่าจะรับนักพากย์ใหม่ ถึงขนาดจะเตรียมการแคสต์เสียงนักพากย์ใหม่ โกรนิงเองในฐานะผู้สร้างก็เข้ามาช่วยเหลือพวกเขา[35] และปัญหาดังกล่าวก็ยุติไป โดยในระหว่างปี ค.ศ. 1998-2004 พวกเขาได้รับค่าตอบแทนเป็น 125,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน และรายการก็เติบโตด้วยยอดขายดีวีดีเพิ่มมากขึ้น จากนั้นเมษายน ค.ศ. 2004 พวกเขาเรียกร้องเงิน 360,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน[36][37] และก็สามารถตกลงกันได้อีก 1 เดือนต่อมา[38] และเงินเดือนพวกเขาก็เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[39] ถึง 360,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตอน[40] ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 การสร้างฤดูกาลที่ 20 ก็ถูกระงับชั่วคราวเนื่องจากสัญญาใหม่ที่นักพากย์เสียงต้องการให้ได้เงินจำนวนใกล้ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน[40] แต่ก็ตกลงกันได้ที่ เพิ่มเงินเดือนเป็น 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตอน[41]

ในแต่ละตอนของมักจะมีแขกรับเชิญ ตั้งแต่ นักแสดง นักกีฬา นักประพันธ์ วงดนตรี นักดนตรี และนักวิทยาศาสตร์ ในช่วงฤดูกาลแรก ๆ แขกรับเชิญส่วนใหญ่จะรับบทเป็นตัวเอง โทนี เบ็นเน็ตต์ เป็นแขกรับเชิญคนแรกที่รับบทเป็นตัวเอง ปรากฏตัวในฤดูกาลที่ 2 กับตอนที่ชื่อว่า "Dancin' Homer"[42] เดอะซิมป์สันส์ ยังสร้างสถิติโลกคือ "เป็นรายการซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่มีแขกรับเชิญมากที่สุด"[43]

รายการยังได้มีการแปลเป็นหลากหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เยอรมัน สเปน และโปรตุเกส และบางส่วนทั้งภาษาฝรั่งเศส และ ภาษาฝรั่งเศสควิเบก[44] เดอะซิมป์สันส์ออกอากาศในภาษาอาราบิก แต่เนื่องอาจมีผลต่อความเชื่อศาสนาอิสลาม บางตอนจึงมีการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น โฮเมอร์กินโซดา แทนกินเบียร์ และกินไส้กรอกเนื้ออียิปต์แทนกินฮ็อตด็อก และด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้เอง จึงได้กระแสตอบรับทางด้านลบจากแฟนพันธุ์แท้ของ เดอะซิมป์สันส์ เองในภูมิภาคนี้ [45]

แอนิเมชัน

[แก้]

สตูดิโอที่มีส่วนเกี่ยวข้อง:

  • AKOM
    • สร้างสองฤดูกาลแรก
    • สร้างทุกตอนตลอดฤดูกาลของซีรีส์
  • Anivision
    • สร้างแอนิเมชันในฤดูกาลที่ 3-10
  • Rough Draft Studios
    • สร้างแอนิเมชันในฤดูกาลที่ 4 เป็นต้นมา
  • U.S. Animation, Inc.
    • ร่วมสร้างตอนที่ชื่อว่า "Radioactive Man" ร่วมกับ Anivision
    • สร้างตอนที่ชื่อว่า "The Simpsons 138th Episode Spectacular"
  • Toonzone Entertainment
    • สร้างตอนที่ชื่อว่า "The Fat and the Furriest" และ "She Used to Be My Girl"

การทำภาพแอนิเมชันใน เดอะซิมป์สันส์ ว่าจ้างสตูดิโอทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ในการสร้างแอนิเมชันตอนสั้น ๆ ที่ออกในรายการเดอะ เทรซีย์ อุลแมน โชว์ ใช้ทีมงานภายในประเทศที่ชื่อ คลาสกีชัปโป[46][47] กับการปรากฏตัวในรูปแบบซีรีส์ อันเนื่องด้วยงานล้น ทำให้ฟ็อกซ์ว่าจ้างบริษัทผลิตงานสตูดิโอนอกประเทศหลายสตูดิโอ อย่างในเกาหลีใต้[46] ศิลปินจากสตูดิโอในอเมริกาที่ชื่อ ฟิล์ม โรมัน จะวาดสตอรีบอร์ด ออกแบบตัวละครใหม่ ฉากหลัง อุปกรณ์ประกอบฉาก ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เคลื่อนไหวให้ผู้เขียนอีกต่อที่ กราซี ฟิล์มส ในการปรับปรุงเพิ่มเติม ก่อนที่จะส่งข้ามทะเลออกไป ส่วนสตูดิโอนอกประเทศจะวาดโดยใช้หมึกและลงสี จากนั้นทำแอนิเมชันให้เคลื่อนไหวลงเทป และส่งเทปกลับสหรัฐอเมริกา มาที่ฟ็อกซ์ 3-4 เดือนหลังจากส่งไป[48]

ใน 3 ฤดูกาลแรก คลาสกีชัปโปทำแอนิเมชันในสหรัฐอเมริกา ในปี 1992 ได้เปลี่ยนบริษัทโพรดักชัน จาก กราซีฟิล์มส์ เป็น ฟิล์ม โรมัน[49] ซึ่งยังคงทำแอนิเมชันของรายการจนถึงปี ค.ศ. 2008

ในฤดูกาลที่ 14 ทีมสร้างได้เปลี่ยนวิธีการทำแอนิเมชันดั้งเดิมมาเป็นการใช้หมึกดิจิตอลและการสีดิจิตอลแทน[50] โดยในตอนแรกที่ได้ทดลองใช้สีดิจิตอลคือ ตอนที่ชื่อ "Radioactive Man" ในปี ค.ศ. 1995 นักสร้างแอนิเมชันได้ทดลองใช้ทั้งหมึกและสีดิจิตอลในฤดูกาลที่ 12 ในตอนที่ชื่อว่า "Tennis the Menace" แต่กราซีฟิล์มสได้ใช้จริง ทั้งหมึกและสีดิจิตอลในอีกสองฤดูกาลต่อมา[51]

ตัวละคร

[แก้]
ตัวละครต่าง ๆ ในเรื่อง เดอะซิมป์สันส์

ครอบครัวซิมป์สันส์ เป็นครอบครัวทั่วไปในเรื่องแต่ง เป็นครอบครัวอเมริกันชนชั้นกลาง อยู่ที่เมืองสปริงฟิลด์[52] โฮเมอร์ผู้เป็นพ่อ ทำงานเป็นผู้ตรวจความปลอดภัยที่โรงไฟฟ้าพลังปรมาณู ผู้ไม่ค่อยเอาใจใส่ในการทำงาน แต่เป็นคนตลก เขาแต่งงานกับ มาร์จ ซิมป์สัน แม่บ้านแบบแม่บ้านชาวอเมริกันทั่วไป มีลูกสามคน คือ บาร์ต อายุ 10 ขวบ จอมเจ้าปัญหา ,ลิซา เด็กแก่แดด อายุ 8 ขวบ และเป็นนักกิจกรรม และแม็กกี ทารกน้อยที่ไม่ค่อยพูด ครอบครัวนี้ยังเลี้ยงหมาชื่อ ซานตาส์ ลิตเติล เฮลเปอร์ และแมวชื่อ สโนว์บอลที่ 2 สัตว์เลี้ยงทั้ง 2 ตัวมีบทบาทอยู่หลายตอนในซีรีส์นี้ และถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานหลายปีไม่ว่าจะเป็น วันหยุดหรือวันเกิด แต่รูปลักษณ์ทางกายภาพของครอบครัวซิมป์สันก็ไม่แก่ตามไป เหมือนกับในช่วงปลายทศวรรษ 1980 (มีเพียงแอนิเมชันบางส่วนที่แตกต่างบ้างเล็กน้อยกับช่วงแรก)

ยังมีตัวละครแปลก ๆ อีกหลายตัวในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ร่วมงาน ครู เพื่อน ๆ ญาติ ผู้คนในเมือง ดาราท้องถิ่น ผู้สร้างต้องการจะให้มีตัวละครหลายตัว เป็นตัวโจ๊ก หรือเติมเต็มหน้าที่ของเมือง จำนวนตัวละครก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ในแต่ละตอน โดยแมตต์ โกรนิง ได้แนวความคิดของตัวละครเสริมมาจากรายการตลกทางช่อง เอสซีทีวี[15]

ฉาก

[แก้]
เมืองสปริงฟิลด์

สถานที่ในเรื่อง เดอะซิมป์สันส์ เกิดขึ้นในเมืองแห่งหนึ่งในสปริงฟิลด์ในอเมริกา ไม่ได้ระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ หรืออ้างอิงว่าอยู่ในรัฐไหน และไม่สามารถบอกได้ว่าอยู่ส่วนใดของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม แฟน ๆ ผู้ชื่นชอบพยายามตีความเมืองจากลักษณะและเอกลักษณ์ สิ่งแวดล้อม และจุดสังเกต แต่ทางผู้สร้างก็จงใจหลีกเลี่ยงให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับที่ตั้งของสปริงฟิลด์[53] คำว่า "สปริงฟิลด์" เป็นชื่อที่มีเมืองต่าง ๆ ตั้งซ้ำกันมากที่สุด[54] ลักษณะภูมิศาสตร์ของเมืองสปริงฟิลด์ รอบล้อมไปด้วย แนวชายฝั่งทะเล ทะเลทราย ฟาร์มอันกว้างใหญ่ ภูเขาสูง หรืออะไรก็ตามที่ต้องการเป็นจุดประสงค์ของมุกตลก[55] แต่โกรนิงก็เคยบอกว่า สปริงฟิลด์มีหลาย ๆ อย่างคล้ายกับ พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เมืองที่เขาเติบโตมา[56]

ฉากประเทศไทยในเดอะซิมป์สันส์

[แก้]

ถึงแม้ในเรื่องไม่เคยมีฉากที่สื่อว่าเป็นประเทศไทย อย่างไรก็ตามในเมืองสปริงฟีลด์มีย่านชาวต่างชาติอยู่หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือย่านคนไทยในปริงฟีลด์ชื่อว่า ลิทเทิ่ล แบงคอก (Little Bangkok) ตั้งอยู่ถัดจากย่านคนจีน (ไชน่าทาวน์; Chinatown) และ ย่านคนทิเบต (ทิเบตทาวน์; Tibet Town) ปรากฏตัวในตอน Please Homer, Don't Hammer 'Em เป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ภายในเป็นที่ตั้งของร้านอาหารไทย ยู ไทย นาว (You Thai Now) ซึ่งบริหารโดยตัวละครชาวไทยคนเดียวของเรื่องชื่อว่า คุณไทย (Mr. Thai)[57]

ธีม

[แก้]

เดอะซิมป์สันส์ ใช้รูปแบบทั่วไปของซิตคอม โดยมุ่งไปที่ครอบครัวและการใช้ชีวิตของครอบครัวอเมริกันที่อยู่ในเมืองทั่วไป[52] อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติของแอนิเมชัน ขอบเขตของ เดอะซิมป์สันส์ จึงกว้างมากกว่าซิตคอมทั่วไป เมืองสปริงฟิลด์เป็นเหมือนจักรวาลหนึ่งที่รวมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ตัวละครสามารถค้นพบ เผชิญกับสังคมสมัยใหม่ โดยมีโฮเมอร์ผู้ที่ทำงานที่โรงไฟฟ้าพลังปรมาณู และยังสามารถวิจารณ์ต่อสิ่งแวดล้อม[58] ถึงแม้ว่าบาร์ตและลิซาจะเรียนอยู่ระดับประถมที่โรงเรียนประถมสปริงฟิลด์ ผู้เขียนได้แสดงตัวอย่าง หรือประเด็นขัดแย้ง ในแง่การศึกษา และเมืองยังมีช่องสื่ออย่างมากมายตั้งแต่ สถานีโทรทัศน์เด็ก ถึงสถานีข่าวท้องถิ่น ที่ทำให้ผูสร้างสามารถใส่มุกเกี่ยวกับพวกเขาเองหรือเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบันเทิงได้อีกด้วย[59]

นักวิจารณ์บางคนพูดว่า โชว์มีความเป็นการเมืองในตัวของมัน และแนวโน้มไปทางเอียงซ้าย[60] อัล ฌองยอมรับในบทสัมภาษณ์ว่า "เรา (หมายถึงรายการ) ไปทางเสรีนิยม"[61] นักเขียนมักเขียนบทที่แสดงความรู้สึกในแนวคิดที่ดูก้าวร้าว แต่ก็ทำให้ตลกผ่านแนวความคิดทางการเมือง[62] และยังพรรณนารัฐบาลและหน่วยงานเป็นสิ่งใจจืดใจดำที่หากินกับคนงานทั่วไป[61] ด้วยเหตุนี้นักเขียนจึงมักเขียนถึงฝ่ายบริหารอย่างไม่ยกยอใด ๆ หรือทางด้านลบ ในเนื้อหา เดอะซิมป์สันส์ นักการเมืองมีแต่ความเสื่อมทราม อย่างเช่น นักบวชเรเวอร์เอน เลิฟจอย และตำรวจท้องถิ่นที่ไร้ความสามารถ[63] เรื่องศาสนาก็เป็นอีกเนื้อหาหนึ่งที่พูดถึง ในช่วงเวลาวิกฤต ครอบครัวมักจะเข้าหาพระเจ้า[64]

จุดเด่น

[แก้]

ฉากเปิด

[แก้]
ภาพฉากเปิดใน เดอะซิมป์สันส์
บาร์ตแนะนำตอนใน "Treehouse of Horror IV"

ฉากเปิดในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ เป็นสิ่งที่น่าจดจำ ส่วนใหญ่ของทุกตอนจะเปิดด้วยกล้องที่ซูมผ่านชื่อรายการไปยังเมืองสปริงฟิลด์ หลังจากนั้นกล้องจะตามสมาชิกในครอบครัวซิมป์สันส์ ที่กำลังเดินทางกลับบ้าน จนเข้าสู่ตัวบ้าน กล้องจะมองผ่านเก้าอี้ยาว มองเห็นพวกเขากำลังชมโทรทัศน์ ฉากเปิดสร้างสรรค์โดย เดวิด ซิลเวอร์แมน เป็นงาน งานแรกที่เขาทำเมื่อเริ่มมีการสร้างโชว์นี้[65] สำหรับเพลงธีม ประพันธ์ดนตรีโดยแดนนี เอลฟ์แมน ในปี ค.ศ. 1989 หลังจากที่โกรนิงตามหาเขาเพื่อประพันธ์เพลงลักษณะย้อนยุค โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 2 วัน ในการทำงาน และเป็นชิ้นงานที่โด่งดังที่สุดของเอลฟ์แมนในอาชีพการงานของเขา[66]

อีกจุดเด่นหนึ่งของฉากเปิดคือ มีหลายตอนที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น บาร์ตเขียนบนชอล์กบอร์ดบนกระดานที่โรงเรียนที่ดูแตกต่างกันไป [65] ลิซาอาจเล่นแซกโซโฟนที่ต่างกันไป หรือแม้กระทั่งสิ่งประกอบต่าง ๆ ขณะที่สมาชิกในครอบครัวเดินเข้าไปนั่งในห้องนั่งเล่น[67]

ตอนฮัลโลวีน

[แก้]

ตอนพิเศษฮัลโลวีนถือเป็นประเพณีทุก ๆ ปีของ เดอะซิมป์สันส์ ในปี ค.ศ. 1990 ได้ออกอากาศครั้งแรกกับตอนที่ชื่อว่า "Treehouse of Horror" ในฤดูกาลที่ 2 โดยสร้างเป็น 3 ส่วน โดยแต่ละเรื่องจะเกี่ยวกับฮัลโลวีน[68] ซึ่งแต่ละส่วนมักจะเกี่ยวข้องกับครอบครัวเดอะซิมป์สันส์ในเรื่องเขย่าขวัญ นวนิยายวิทยาศาสตร์ และสิ่งเร้นลับ และมักจะล้อเลียนหรือคารวะต่อผลงานชิ้นโด่งดังในอดีต[69] และมักเกิดขึ้นนอกเหนือจากตอนปกติทั่วไป ถึงแม้ว่าซีรีส์ Treehouse จะเห็นได้ในช่วงวันฮัลโลวีน แต่ปีล่าสุดได้ฉายรอบปฐมทัศน์หลังวันฮัลโลวีนเนื่องจากทางฟ็อกซ์ติดสัญญากับเวิร์ลซีรีส์ของเบสบอลเมเจอร์ลีก[70]

มุกตลก

[แก้]

มุกตลกของเรื่องได้ใช้อ้างอิงจากสังคม ทั้งผู้ชมที่มีหลากหลายความคิด และคนดูก็สนุกสนานกับการชม[71] ตัวอย่างที่มาของมุกตลก เช่นมาจาก ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ดนตรี วรรณกรรม วิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์[71] ได้สอดแทรกมุกตลกทุกที่ที่เป็นไปได้ นักสร้างแอนิเมชันใส่มุกตลก แก๊กตลก ทั้งเป็นฉากหลัง ในมุกตลกหรือตัวหนังสือในป้าย หนังสือพิมพ์ หรือที่ไหนก็ตาม[72] คนดูบางครั้งก็ไม่ได้สังเกตมุกในครั้งแรกที่ชม มันเร็วมากจนบางครั้งถึงขนาดต้องกดปุ่มหยุดในเมนูวิดีโอเลย[72] คริสติน ธอมสัน กล่าวเกี่ยวกับ เดอะซิมป์สันส์ ว่า "...การใช้มุกตลกที่มาจากสังคมจริง มีความตั้งใจให้เกิดการอธิบายลักษณะที่ขัดแย้ง และเป็นการสะท้อนตัวเองเกี่ยวกับยุทธวิธีทางโทรทัศน์และสถานะของรายการทางโทรทัศน์"[73]

รายการใช้วลีติดหู อย่างน้อยตัวละครหลักและตัวละครรองจะมีวลีของตัวเองอย่างน้อย 1 วลี[74] อย่างเช่นถ้าโฮเมอร์รำคาญจะตะโกนออกมาว่า "D'oh!" ,มิสเตอร์ เบิร์นส กับ Excellent..." และ เนลสัน มุนตซ์ กับคำว่า "Ha-ha!" ส่วนวลีดติดปากของบาร์ตเช่น "¡Ay, caramba!", "Don't have a cow, man!" และ "Eat my shorts!" ซึ่งก็ยังปรากฏบนเสื้อทีเชิร์ตในช่วงแรก ๆ ด้วย[75] อย่างไรก็ตามบาร์ตก็ไม่ค่อยได้พูดสองประโยคหลังที่กล่าวมา จนได้รับความนิยมในสินค้า ของที่ระลึก และการใช้วลีติดปากก็มีการใช้ลดลงในที่สุด ในตอนที่ชื่อว่า "Bart Gets Famous" ได้ล้อเลียนวลีติดปากเหล่านั้น บาร์ตรับรางวัลใน ครัสตีเดอะคลาวน์โชว์ โดยขึ้นไปพูดว่า "ผมไม่ได้ทำอย่างนั้น"[76]

อิทธิพล

[แก้]

อิทธิพลต่อภาษา

[แก้]
ผู้สร้าง เดอะซิมป์สันส์ ชื่อแม็ตต์ โกรนิง

มีคำศัพท์ใหม่หลายคำที่เกิดมาจาก เดอะซิมป์สันส์ และได้รับคำนิยมจนเป็นภาษาพูด[77][78] มาร์ก ลิเบอร์แมน นักภาษาศาสตร์ ให้ความเห็นว่า "เดอะซิมป์สัน เข้ามาแทนที่เชคสเปียร์และไบเบิล ในฐานะแหล่งข้อมูลใหญ่ของสำนวน วลีติดปาก และต่าง ๆ นานา รวมถึงคำอุปมา"[78] วลีติดปากที่ดังที่สุดคือ เสียงรำคาญของโฮเมอร์ที่ว่า "D'oh!" ซึ่งมีคนใช้อย่างแพร่หลายจนได้รับการบรรจุในพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด แต่สะกดแบบไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน (Doh)[79] แดน แคสเทลลาเนตาพูดว่า เขายืมประโยคดังกล่าวมาจาก เจมส์ ฟินเลย์สัน นักแสดงในคณะตลกลอเรลแอนด์ฮาร์ดี ที่ชอบออกเสียงคำพูดต่าง ๆ ยาน ๆ และโทนเสียงสะอื้น ผู้กำกับ เดอะซิมป์สันส์ บอกให้แคสเทลลาเนตา ทำเสียงให้สั้นลง และก็เป็นคำอุทานที่รู้จักดีในรายการทีวีซีรีส์ต่าง ๆ[80] คำนี้ยังใช้ในรายการซีรีส์โทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร รายการ ด็อกเตอร์ฮู อีกด้วย[81]

สำนวนอื่นที่โด่งดังเช่น "excellent" พูดแบบยืดยานแบบ "eeeexcelllent…" โดยชาร์ลส มอนต์โกเมอรี เบิร์นส, เสียงแห่งความมีชัยของโฮเมอร์ที่ว่า "Woohoo!" และเนลสัน มุนตซ์ กับคำเย้ยหยัน "Ha-ha!" ส่วนผู้ดูแลดิน วิลลีกับคำว่า "cheese-eating surrender monkeys" (แปลลงตัวว่า ลิงกินชีสที่ยอมแพ้) ได้ถูกนำไปใช้ในบทในคอลัมน์ใน เนชันอลรีวีว เขียนโดยโจนาห์ โกลด์เบิร์กในปี ค.ศ. 2003 หลังจากประเทศฝรั่งเศสค้านการรุกรานอิรัก ประโยคนี้ได้ถูกใช้แพร่หลายสู่นักเขียนท่านอื่น[82] คำว่า "Cromulent" ที่ใช้ในตอน "Lisa the Iconoclast" ก็ปรากฏในพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับเว็บสเตอร์สหัสวรรษใหม่[83] คำว่า "Kwyjibo" ประดิษฐ์ขึ้นโดยบาร์ตในตอน "Bart the Genius" ก็ถูกใช้เป็นชื่อเวิร์มที่ชื่อ "Melissa worm"[84] ส่วนประโยคที่ว่า "I, for one, welcome our new insect overlords" ได้ใช้โดยเคนต์ บร็อกแมนในตอน "Deep Space Homer" ได้กระจายสู่วัฒนธรรมสมัยนิยม ในความหมายของจำนวนอีเวนต์ และมีการใช้ในทางเย้ยหยัน โดยมากใช้เพื่อเป็นมุกตลก[85] อีกทั้งยังมีการใช้ในสื่อหลายแขนง อย่างในนิตยสาร New Scientist[86] และคำว่า "Meh" ก็เป็นที่นิยมใช้ในรายการ[87]

อิทธิพลทางโทรทัศน์

[แก้]

เดอะซิมป์สันส์ เป็นรายการประเภทแอนิเมชันในช่วงไพรม์ไทม์รายการแรกที่ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่รายการ Wait Till Your Father Gets Home ในช่วงทศวรรษ 1970[88] ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่ารายการแอนิเมชันเหมาะสมสำหรับเด็กเท่านั้น และการทำแอนิเมชันใช้ค่ายใช้จ่ายสูงที่จะให้อยู่ในระดับคุณภาพมาตรฐานในรายการโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ แต่ เดอะซิมป์สันส์ ได้เปลี่ยนแปลงแนวความคิดนี้ไป[46] การใช้สตูดิโอจากเกาหลีในระหว่างการทำสี การถ่าย ทำให้แต่ละตอนถูกลง การประสบความสำเร็จของ เดอะซิมป์สันส์ และค่าใช้จ่ายการผลิตที่ถูกลงกระตุ้นให้สถานีโทรทัศน์มีโอกาสที่จะทำรายการแอนิเมชันเรื่องอื่น[46] การพัฒนานี้เอง ในช่วงยุคทศวรรษ 1990 นำไปสู่การทำรายการแอนิเมชันในช่วงไพร์มไทม์ อย่างเช่น เซาธ์ปาร์ก, แฟมิลีกาย, คิงออฟเดอะฮิลล์, ฟิวเจอรามา, และ เดอะคริติก[46] ต่อมาเซาธ์ปาร์กได้ทำการคารวะต่อ เดอะซิมป์สันส์ ในตอนที่ชื่อว่า "Simpsons Already Did It"[89]

เดอะซิมป์สันส์ ยังมีอิทธิพลต่อรายการประเภทไลฟ์แอกชัน อย่าง Malcolm in the Middle ที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2000 ในช่วงเวลาหลังรายการ เดอะซิมป์สันส์[8][90] Malcolm in the Middle ใช้ตลกท่าทางและไม่ใช้เสียงหัวเราะแทรกเหมือนอย่างซิตคอมทั่วไป ริกกี้ เกอร์เวส เรียกว่า เดอะซิมป์สันส์ มีอิทธิพลอย่างมากกับรายการตลกอังกฤษที่ชื่อ The Office ไม่มีเสียงหัวเราะแทรกเช่นกัน[91]

การตอบรับและความสำเร็จ

[แก้]

เดอะซิมป์สันส์ ได้รับการชมเชยอย่างมากมาย โดยในปี ค.ศ. 1990 เคน ทักเกอร์จากนิตยสาร เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี อธิบายไว้ว่า "ความสลับซับซ้อนของครอบครัวชาวอเมริกัน ได้ถูกวาดเป็นการ์ตูนอย่างง่าย และความผิดปกติของคนที่ทำให้คนนับล้านหนีจาก 3 ช่องเครือข่ายใหญ่ ในคืนวันอาทิตย์หันมาดู เดอะซิมป์สันส์"."[92] ทักเกอร์ยังอธิบายต่อว่า "เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมสมัยนิยม เป็นการ์ตูนในช่วงไพรม์ไทม์ที่ดึงดูดได้ทั้งครอบครัว"[93]

รางวัล

[แก้]
เดอะซิมป์สันส์ ได้รับรางวัลใน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม

เดอะซิมป์สันส์ ได้รับรางวัลมาหลายรางวัลตั้งแต่เริ่มออกฉาย ทั้ง 23 รางวัลเอมมี[43] 26 รางวัลแอนี[94] และ รางวัลพีบอดี[95] ในการฉลองความสำเร็จในแวดวงศิลปะและบันเทิงของศตวรรษที่ 20 นิตยสารไทม์ ได้ให้ เดอะซิมป์สันส์ เป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ดีที่สุด[5] ในฉบับเดียวกันนั้น นิตยสารไทม์ บาร์ต ซิมป์สัน ยังติดอันดับ 100 อันดับของการจัดอันดับ 100 บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุด[96] บาร์ตเป็นตัวละครในบทประพันธ์ที่ติดอันดับครั้งนี้ และในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2000 เดอะซิมป์สันส์ ยังได้รับรางวัลใน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม[97] และในปี ค.ศ. 2000 นิตยสารเอนเตอร์เทนเมนวีกลี นักเขียนที่ชื่อว่า เคน ทักเกอร์ ได้ให้ เดอะซิมป์สันส์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ดีที่สุดในทศวรรษ 1990 มากกว่านั้นผู้ชมในสหราชอาณาจักรทางแชนนอล 4 ได้ลงคะแนนเสียงให้ เดอะซิมป์สันส์ ที่อันดับ 1 ของการสำรวจในหัวข้อ 100 อันดับ รายการสำหรับเด็กที่ดีที่สุดในปี 2001[98] และ 100 อันดับการ์ตูนที่ดีที่สุด ในปี ค.ศ. 2005[99]

โฮเมอร์ ซิมป์สันยังถูกโหวตให้เป็นที่ 1 ของ 100 ตัวละครทางโทรทัศน์ในปี ค.ศ. 2001[100] โฮเมอร์ยังติดอยู่ที่อันดับ 9 ในการจัดอันดับของ นิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี จากการสำรวจหัวข้อ 50 สัญลักษณ์ในวงการโทรทัศน์[101] ในปี ค.ศ. 2002 เดอะซิมป์สันส์ อยู่ในอันดับ 8 ในการจัดอันดับของ นิตยสารทีวีไกด์ ในรายการโทรทัศน์ที่ดีที่สุดตลอดกาล[102] และในปี ค.ศ. 2007 ยังติดในอันดับของ นิตยสารไทม์ ของการจัดอันดับ 100 รายการโทรทัศน์ที่ดีที่สุดตลอดกาล[103] และในปี ค.ศ. 2008 ติดอันดับ 1 ของ นิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ในการจัดอันดับ 100 สุดยอดโชว์ใน 25 ปีที่ผ่านมา[104]

จำนวนตอนและการฉาย

[แก้]

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เดอะซิมป์สันส์ แซงหน้าสถิติ เดอะฟลินต์สโตนส์ กับตอนที่ชื่อว่า "The Itchy & Scratchy & Poochie Show" ในสถิติ รายการซีรีส์แอนิเมชันในช่วงไพรม์ไทม์ที่ยาวนานที่สุดในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2004 เดอะซิมป์สันส์ ยังแซงหน้า ดิแอดเวนเจอร์สออฟออซซีแอนด์อาร์เรียต (ค.ศ. 1952 ถึง 1966) ในสถิติรายการซิตคอม (ประเภทแอนิเมชันหรือไลฟ์แอกชัน) ที่ฉายยาวนานที่สุดในสหรัฐอเมริกา[6] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 สกูบี-ดู แซงหน้า เดอะซิมป์สันส์ ในฐานะรายการแอนิเมชันอเมริกันที่มีจำนวนตอนมากที่สุด[105] แต่อย่างไรก็ตามทางผู้สร้าง สกูบี-ดู ได้ออกมายกเลิกในการสร้างในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 หลังจากเสร็จสิ้นทั้งหมด 371 ตอน ส่วน เดอะซิมป์สันส์ มีจำนวน 378 ตอนของการสร้างในฤดูกาลที่ 17[7] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 เดอะซิมป์สันส์ มีจำนวน 400 ตอนในการจบของฤดูกาลที่ 18 ขณะที่ เดอะซิมป์สันส์ สร้างสถิติรายการแอนิเมชันอเมริกันที่มีจำนวนตอนมากที่สุด แต่ยังไม่ใช่สถิติของในโลกนี้[106] เพราะยังมีแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง Sazae-san ที่มีจำนวนตอนที่ 2,000 ตามที่อ้าง[106]

ในปี ค.ศ. 2007 เป็นปีที่ครบรอบ 20 ปีของ เดอะซิมป์สันส์ ซึ่งรายการซีรีส์ช่วงไพรมไทม์เรื่อง Gunsmoke ครบรอบ 20 ปีเช่นกัน (ในช่วงปี ค.ศ. 2008-2009) และมี 20 ฤดูกาลเช่นกัน แต่ Gunsmoke มีจำนวนตอนฉายมากกว่าที่ 635 ตอน ซึ่งถ้าถึงตอนที่ 635 แล้วเดอะซิมป์สันส์ จะอยู่ที่ฤดูกาลที่ 29 ตามตารางการฉาย[6]

เสียงวิจารณ์

[แก้]

คำวิจารณ์ใน เดอะซิมป์สันส์ ตอนใหม่ ๆ ได้ชมรายการไว้ว่า เหมือนจริงและดูเฉลียวฉลาด[11][107] ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โทนของเรื่องและการเน้นความสำคัญของเรื่องเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป นักวิจารณ์บางคนเรียกว่า "น่าเบื่อ"[108] โดยปี ค.ศ. 2000 แฟนคลับที่ติดตามมานานหลายคนได้เลิกคลั่งไคล้ต่อไปโดยชี้ว่า เรื่องที่คนชื่นชอบมันเปลี่ยนไปที่คนดูรู้สึกว่า เป็นการแสดงกล ตลกโง่ ๆ มากเกินไป[109][110] นักเขียนที่ชื่อว่า ดักลาส คูปแลนด์ อธิบายเกี่ยวกับการถดถอยคุณภาพของซีรีส์ไว้ว่าเหมือน "อาหารหมู" และพูดว่า "เดอะซิมป์สันส์ ไม่ได้ทำตัวเงอะงะมา 14 ปี มันแทบจะไม่มีทางว่าจะเงอะงะเลย"[111] ไมค์ สกัลลี ที่เป็นตำแหน่งโชว์รันเนอร์ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 9 ถึง 12 เป็นประเด็นของการวิจารณ์นี้[112][113] คริส ซูเอลเลนทรอปจาก นิตยสารสเลต เขียนไว้ว่า "ในช่วงการดำเนินงานของสกัลลี เดอะซิมป์สันส์ ดูดี ตอนต่างๆ ที่มักจบด้วยโฮเมอร์และมาร์จขี่จักรยานสู่ตะวันลับ ตอนนี้จบอย่างโฮเมอร์ระเบิดยาระงับประสาทใส่ที่คอมาร์จ โชว์ก็ยังคงตลก แต่มันก็ยังไม่น่าประทับใจมาหลายปี"[112]

ปี ค.ศ. 2003 ในการฉลองครบรอบ 300 ตอน ในตอนที่ชื่อว่า "Barting Over" ยูเอสเอทูเดย์พิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับ เดอะซิมป์สันส์ ไว้เกี่ยวกับ 10 ตอนที่ถูกเลือกมาโดยเว็บมาสเตอร์ของเว็บแฟนไซต์ The Simpsons Archive[114] และ จัดที่สุด 15 อันดับโดย นักเขียนเอง[115] โดยตอนที่ติดอันดับของแฟน ๆ คือตอน "Homer's Phobia" ในปี ค.ศ. 1997 และตอนที่เลือกโดยนักเขียนคือตอน "Behind the Laughter" ในปี ค.ศ. 2000 และในปี ค.ศ. 2004 แฮร์รี เชียร์เรอร์ วิจารณ์ว่า เขารู้สึกถึงคุณภาพที่ลดถอยลงของ เดอะซิมป์สันส์ "ผมให้อันดับไว้ว่า 3 ฤดูกาลล่าสุดเป็นตอนที่เลวร้ายที่สุด และฤดูกาลที่ 4 ดูดีมากสำหรับผมตอนนี้"[116]

เดอะซิมป์สันส์ พยายามรักษาฐานคนดูและพยายามดึงดูแฟนใหม่ ๆ ขณะที่ในฤดูกาลแรกมีผู้ชมเฉลี่ย 13.4 ล้านคนต่อตอนในสหรัฐอเมริกา[14] ในฤดูกาลที่ 19 มีผู้ชมเฉลี่ย 7.7 ล้านคน[117] ในบทสัมภาษณ์ของแม็ตต์ โกรนิง ช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 เขาพูดว่า "ผมไม่เห็นจุดจบของมัน ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ที่โชว์จะลำบากในการเงิน แต่ ณ เวลานี้ โชว์มีความสร้างสรรค์ ผมคิดว่ามันจะดีและดีกว่าที่เคยเป็น แอนิเมชันดูน่าเหลือเชื่อที่มีรายละเอียดและมีจินตนาการ และเนื้อเรื่องเราจะทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน มันช่างสร้างสรรค์จนไม่มีเหตุผลที่จะเลิก"[118]

สินค้า

[แก้]
เกมเศรษฐี เดอะซิมป์สันส์

ความนิยมใน เดอะซิมป์สันส์ ทำให้เกิดรายได้ของสินค้ากว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ[19] ตัวละครครอบครัว เดอะซิมป์สันส์ และตัวละครประกอบ ปรากฏตั้งแต่เสื้อทีเชิร์ตไปถึงโปสเตอร์ ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2007 มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า เครื่องเล่น ซิมป์สันไรด์ จะอยู่ในยูนิเวอร์ซัลสตูดิโอที่ออร์ลันโดและฮอลลีวูด จะเปิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 2008[119] เดอะซิมป์สันส์ ยังได้ออกสินค้าเกี่ยวกับเกม อย่าง คลู, สแครบเบิล, เกมเศรษฐี, โอเปเรชัน และ เดอะเกมออฟไลฟ์ เช่นเดียวกับเกมคำถาม What Would Homer Do? และ Jeopardy! และเกมจำพวกไพ่อย่าง ทรัมป์ และการ์ดสะสม ก็ออกวางขาย

สิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับ เดอะซิมป์สันส์ ก็มีออกมามากมายหลายปี อย่างเช่น หนังสือซีรีส์การ์ตูนพิมพ์โดยบองโกคอมิกส์ พิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993[120] หนังสือการ์ตูน เดอะซิมป์สันส์ และ บาร์ต ซิมป์สัน พิมพ์ใหม่อีกครั้งในสหราชอาณาจักรภายใต้ชื่อเดิม โดยมีเรื่องราวหลากหลายจากของการพิมพ์บองโกในการพิมพ์หลักการ์ตูนเรื่องซิมป์สันส์นี้ นอกจากนี้ยังมีแบบฟอร์มสำหรับนักสะสมพิมพ์ออกมาสำหรับเป็นแนวทางของ เดอะซิมป์สันส์ แสดงตอนและหนังสือที่ออกจำหน่าย

ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในซีแอตเติลที่แปลงโฉมเป็นร้าน Kwik-E-Mart เป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่อง The Simpsons Movie

และยังมีของสะสมประเภทเพลงประกอบที่มีออกในรายการ ก็ออกขายเป็นอัลบั้มเพลง ที่ชื่ออัลบั้ม Songs in the Key of Springfield และ Go Simpsonic with The Simpsons มีหลายเพลงที่ตัดออกขายเป็นซิงเกิล หรือออกขายเป็นอัลบั้มที่ไม่ปรากฏบนรายการ ซิงเกิลที่โด่งดังที่สุดคือ "Do the Bartman" ที่ร่วมแต่งโดยไมเคิล แจ็กสัน[121] และประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทซิงเกิลของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาถึง 3 สัปดาห์[122] และยังได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำจากบีพีเอ[123] ในสหราชอาณาจักร ซิงเกิล Deep, Deep Trouble" ออกขายตามหลังซิงเกิล "Do The Bartman" และยังมีออกผลงานอัลบั้มชุด The Simpsons Sing the Blues และ The Yellow Album ที่มีการนำเพลงเก่ามาทำใหม่และเพลงใหม่ ๆ

ในการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่อง The Simpsons Movie ร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น 12 สาขาได้แปลงโฉมให้เป็นร้าน Kwik-E-Mart และขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ เดอะซิมป์สันส์ เช่น "Buzz Cola", "Krusty-O" cereal, โดนัทสีชมพู และ "Squishees"[124]

ในปี 2007 มีการประกาศว่า เดอะซิมป์สันส์ไรด์ ยานขับเคลื่อนเปิดตัวที่ยูนิเวอร์ซัลสตูดิโอในฟลอริด้าและฮอลลีวูด และแทนที่ ยานเจาะเวลาหาอดีต ทั้งสองที่[125] ยานที่ยูนิเวอร์ซัลสตูดิโอในฟลอริด้า เปิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2008 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม[126] ส่วนที่ฮอลลีวูดเปิดเมื่อ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[127] ซึ่งยานพาหนะนี้ก็มีการแนะนำสวนสนุกที่ชื่อว่า "ครัสตีแลนด์" สร้างโดยครัสตีเดอะคลาวน์[128]

ดีวีดี

[แก้]

มีหลายตอนของ เดอะซิมป์สันส์ ที่วางออกขายในรูปแบบดีวีดีและวีเอชเอส มานานหลายปี โดยในฤดูกาลแรกวางขายเป็นดีวีดีในปี ค.ศ. 2001 และยังถือว่ามียอดขายดีที่สุดในหมวดดีวีดีรายการโทรทัศน์ในประวัติศาสตร์ แต่ต่อมาก็ถูกทำลายสถิติโดยฤดูกาลแรกของรายการ Chappelle's Show[129] โดยเฉพาะในฤดูกาลแรกถึงสิบ ออกวางเป็นดีวีดีในสหรัฐอเมริกา (โซน 1), ยุโรป (โซน 2) และ ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์/ละตินอเมริกา (โซน 4) และยังคาดว่าจะออกฤดูกาลอื่นตามมาในอนาคต[130]

วิดีโอเกม

[แก้]

ในอุตสาหกรรมวิดีโอเกมมีการดัดแปลงตัวละครและโลกของเมืองสปริงฟิลด์สู่เกม อย่างเช่น เกมในยุคอาร์เคตยุคแรก ๆ ของโคนามิที่ชื่อ The Simpsons (ค.ศ. 1991) และของค่ายแอกเคลม เอนเตอร์เทนเมนต์ที่ชื่อ The Simpsons: Bart vs. the Space Mutants (ค.ศ. 1991) ส่วนเกมสมัยใหม่รวมถึง The Simpsons Road Rage (ค.ศ. 2001) , The Simpsons Hit & Run (ค.ศ. 2003) และ The Simpsons Game (ค.ศ. 2007) และยังมีเกมพินบอลก็ถูกผลิตมาเช่นกัน ออกมาในช่วงฤดูกาลแรกและยังมีออกวางขายด้วย[131]

ภาพยนตร์

[แก้]
ป้ายภาพยนตร์ The Simpsons Movie รอบปฐมทัศน์ที่เมืองสปริงฟิลด์ เวอร์มอนต์

ทเวนตี้เซ็นจูรี่ฟ็อกซ์, กราซีฟิล์มสและฟิล์มโรมัน ร่วมสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันของ เดอะซิมป์สันส์ ออกฉายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2007[132] ภาพยนตร์กำกับโดย เดวิด ซิลเวอร์แมนและเขียนบทโดยทีมงานเขียนของ เดอะซิมป์สันส์ รวมถึง แม็ตต์ โกรนิง, เจมส์ แอล. บรูกส์, อัล ฌอง, จอร์จ เมเยอร์, ไมค์ รีสส์, จอห์น สวาตซ์เวลเดอร์, จอน วิตติ, เดวิด เมอร์คิน , ไมค์ สกัลลี, แม็ตต์ เซลแมน และ เอียน แมกซ์โทน-เกรแฮม[132] การสร้างภาพยนตร์เกิดขึ้นต่อเนื่องไปพร้อมกับการเขียนซีรีส์ อย่างไรก็ตามก็มีคนพูดว่าภาพยนตร์ควรจะมีหลังจากที่ซีรีส์จบแล้ว[132] ได้มีการพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทำภาพยนตร์ยาวนี้มาตั้งแต่ในฤดูกาลแรก ๆ ของการทำซีรีส์ เจมส์ แอล. บรูกส์ เป็นเจ้าของความคิดว่า ตอน "Kamp Krusty" เหมาะที่จะทำเป็นภาพยนตร์ แต่มันก็ยากที่จะขยายบทให้มีความยาวเพิ่มขึ้นเป็นภาพยนตร์[133] และด้วยความยากไม่ว่าจะเป็น เนื้อเรื่องที่เหมาะสมและทีมงานที่พร้อม ก็ทำให้โครงการนี้ช้าออกไป[118]

ภาพยนตร์มีรอบปฐมทัศน์ที่เมืองสปริงฟิลด์ เวอร์มอนต์[134] ทำรายได้รวมในสัปดาห์แรกที่ 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐอเมริกา และขึ้นอันดับ 1 บนบ็อกซ์ออฟฟิส[135] และสร้างสถิติ เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากรายการโทรทัศน์ที่มียอดฉายในสัปดาห์แรกมากที่สุด ชนะเรื่อง Mission Impossible II ไปได้[136] และยังเปิดตัวอันดับ 1 ในบ็อกซ์ออฟฟิสระดับนานาชาติอีกหลายประเทศ ด้วยยอด 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 71 ประเทศ รวมถึง 27.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสหราชอาณาจักร และถือเป็นภาพยนตร์ของค่ายฟ็อกซ์ที่เปิดตัวสูงที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศนี้[137] ในออสเตรเลียมียอดรายได้เปิดตัวที่ 13.2 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่เปิดตัวมากที่สุดและเป็นยอดการเปิดตัวมากที่สุดของภาพยนตร์เป็นอันดับสามของประเทศ[138] นับถึงวันนี้ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 526,622,545 ดอลลาร์สหรัฐ[139]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 The Simpsons: America's First Family (television documentary). BBC. 2000.
  2. 2.0 2.1 Richmond, p. 14
  3. Brooks, Tim and Marsh, Earle, "The Complete Directory to Prime Time Network and Cable Shows 1946-present," 7th edition
  4. "Fox Announces Primetime Slate for 2008-2009". FoxFlash. 2008-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-15.
  5. 5.0 5.1 "The Best Of The Century". TIME. 1999-12-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-03.
  6. 6.0 6.1 6.2 Owen, Rob (2003-01-21). "TV Notes: 'Simpsons' breaks record with contract renewal". Pittsburgh Post-Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19.
  7. 7.0 7.1 Folkard, Claire (2006). Guinness World Records 2006. Bantam USA. ISBN 0-553-58906-7.
  8. 8.0 8.1 "The Simpsons: The world's favourite family". BBC News. 2003-02-15. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19.
  9. Groening, Matt (2003-02-14). "Fresh Air" (Interview). สัมภาษณ์โดย David Bianculli. Philadelphia. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
  10. Kuipers, Dean (2004-04-15). "'3rd Degree: Harry Shearer'". Los Angeles: City Beat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-08. สืบค้นเมื่อ 2006-09-01.
  11. 11.0 11.1 Tucker, Ken (1993-03-12). "Toon Terrific". Entertainment Weekly. p. 48 (3).
  12. "Simpsons Roasting on an Open Fire" The Simpsons.com. เรียกดูเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007
  13. Groening, Matt (2001). The Simpsons season 1 DVD commentary for the episode "Some Enchanted Evening" (DVD). 20th Century Fox.
  14. 14.0 14.1 "TV Ratings: 1989–1990". ClassicTVHits.com. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  15. 15.0 15.1 Rabin, Nathan (2006-04-26). "Matt Groening: Interview". The A.V. Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2006-10-22.
  16. Spotnitz, Frank (1992-10-23). "Eat my shorts!". Entertainment Weekly. p. 8 (1).
  17. Turner, p. 131
  18. Rosenbaum, Martin (2007-06-29). "Is The Simpsons still subversive?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-08-06.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Griffiths, Nick (2000-04-15). "America's First Family". The Times Magazine. pp. 25, 27–28.
  20. Dan Snierson. "D'Oh!". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-21.
  21. Cagle, Daryl. "The David Silverman Interview". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-30. สืบค้นเมื่อ 2005-11-30.
  22. Mitchell, Gail (1999-01-24). "Mike Scully". Ultimate TV.
  23. 23.0 23.1 Owen, David (2000-03-13). "Taking Humor Seriously". The New Yorker.
  24. Nixon, Geoff (2004-03-04). "Mmmmmm... pop culture". The Silhouette.
  25. Turner, p. 21
  26. McGinty, Stephen (2005-01-04). "The icing on the Simpsons' cake". Scotsman. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
  27. "Gervais writing Simpsons episode". BBC News. 2004-12-23. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
  28. Munoz, Lorenza (2007-12-23). "Why SpongeBob is sitting out the writers strike". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
  29. "On the Firing Line". Army Archerd. 2007-11-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
  30. Groening, Matt; James L. Brooks, David Silverman (2001). The Simpsons season 1 DVD commentary for the episode "Simpsons Roasting on an Open Fire" (DVD). 20th Century Fox.
  31. Groening, Matt; Jay Kogen, Wallace Wolodarsky, Al Jean, David Silverman (2002). The Simpsons season 2 DVD commentary for the episode "Old Money" (DVD). 20th Century Fox.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 Richmond, pp. 178–179
  33. O'Niel, Tom (2006-07-20). "Shearer snubbed again! Blame that Mr. Burns?". The Envelope. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-22. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
  34. Azaria, Hank (2004-12-06). "Fresh Air" (Interview). Philadelphia. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  35. Doherty, Brian (March–April 1999). "Matt Groening". Mother Jones.
  36. Dan Glaister (2004-04-03). "Simpsons actors demand bigger share". The Age. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  37. McGinnis, Rick (2004-08-09). "Star talks Simpsons". metro.
  38. "'Simpsons' Cast Goes Back To Work". CBS News. 2004-05-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  39. Sheridan, Peter (May 6, 2004). "Meet the Simpsons". Daily Express.
  40. 40.0 40.1 Michael Schneider (2008-05-19). "Still no deal for 'Simpsons' cast". Variety. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
  41. Nellie Andreeva (2008-06-02). "'Simpsons' voice actors reach deal". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-03. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
  42. Turner, p. 393
  43. 43.0 43.1 "THE SIMPSONS - Season 19 (2007-2008". FoxFlash. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ 2007-10-21.
  44. Kay, Jonathan (2000-09-09). "Caste Of Characters". Saturday Night Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  45. El-Rashidi, Yasmine (2005-10-14). "D'oh! Arabized Simpsons not getting many laughs". Pittsburgh Post-Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-22. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 Deneroff, Harvey (January 2000). "Matt Groening's Baby Turns 10". Animation. 14 (1): 10, 12.
  47. Beck 2005, p. 239.
  48. Elber, Lynn (August 5, 2001). "TV's 'The Simpsons' Goes Global". Associated Press.
  49. "'The Simpsons' Producer Changes Animation Firms". Los Angeles Times. 1992-01-21.
  50. Groening, Matt; Al Jean, Jeffrey Lynch, Mike Reiss, David Silverman (2004). The Simpsons season 4 DVD commentary for the episode "Whacking Day" (DVD). 20th Century Fox.
  51. Grala, Alyson. "A Salute to the Simpsons" (PDF). License Mag. p. 14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-25. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
  52. 52.0 52.1 Turner, p. 28
  53. Turner, pp. 289–290
  54. "Geographic Names Information System Feature Query Results". US Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.
  55. Turner, p. 30
  56. Hamilton, Don (2002-07-19). "Matt Groening's Portland". Portland Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  57. https://simpsons.fandom.com/wiki/Little_Bangkok
  58. Turner, p. 55
  59. Turner, p. 388
  60. Turner, pp. 221–222
  61. 61.0 61.1 Turner, p. 223
  62. Turner, p. 224
  63. Turner, p. 56
  64. Pinsky, Mark I (1999-08-15). "The Gospel According to Homer". Orlando Sentinel.
  65. 65.0 65.1 "Top titles". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  66. Glionna, John M. (1999). "Danny Elfman in the L.A. Times". Danny Elfman's Music For A Darkened People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  67. Richmond, pp. 90–91
  68. Martyn, Warren; Wood, Adrian (2000). "The Simpsons Halloween Special". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  69. Turner, p. 31
  70. Ryan, Andrew (2006-11-04). "Pick of the Day: The Simpsons Treehouse of Horror XVII". The Globe and Mail. p. 12.
  71. 71.0 71.1 Turner pp. 63–65
  72. 72.0 72.1 Turner p. 62
  73. King, Geoff (2002). New Hollywood Cinema: An Introduction. I B Tauris & Co. ISBN 978-1-86064-750-5.
  74. Turner p. 60
  75. Turner p. 25
  76. Turner p. 61
  77. Bahn, Christopher; Donna Bowman; Josh Modell; Noel Murray; Nathan Rabin; Tasha Robinson; Kyle Ryan; Scott Tobias (April 26, 2006). "Beyond "D'oh!": Simpsons Quotes For Everyday Use". The A.V. Club. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2014. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
  78. 78.0 78.1 Macintyre, Ben (August 11, 2007). "Last word: Any word that embiggens the vocabulary is cromulent with me". The Times. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2008. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
  79. "It's in the dictionary, d'oh!". BBC News Online. June 14, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2007. สืบค้นเมื่อ December 24, 2006.
  80. Simon, Jeremy (February 11, 1994). "Wisdom from The Simpsons' 'D'ohh' boy". The Daily Northwestern. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Interview)เมื่อ May 15, 2008. สืบค้นเมื่อ September 23, 2013.
  81. Doctor Who: "Planet of the Ood", เขียนบทโดย คีธ เท็มเพิล , กำกับโดย เกรม ฮาร์เปอร์ , สถานีโทรทัศน์บีบีซี, 19 เมษายน ค.ศ. 2008
  82. Younge, Gary; Jon Henley (2006-07-07). "Wimps, weasels and monkeys - the US media view of 'perfidious France'". Guardian Unlimited. สืบค้นเมื่อ 2006-08-05.
  83. lookup via reference.com
  84. Vitti, Jon (2001). The Simpsons The Complete First Season DVD commentary for the episode "Bart the Genius" (DVD). 20th Century Fox.
  85. Turner, p. 300
  86. "The British government welcomes our new insect overlords". New Scientist magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
  87. Michael Hann (2007-03-05). "Meh - the word that's sweeping the internet". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
  88. Alberti, p. xii.
  89. Richard Corliss (2007-07-29). "The Simpsons Did It!". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  90. Wallenstein, Andrew. "'Malcolm in the Middle': trite Fox fare with a first-rate time slot". Media Life Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  91. Schuchardt, Richard. "Ricky Gervais Part One". DVDActive.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 2006-12-20.
  92. Ken Tucker (May 18, 1990). "TV review: The Simpsons". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
  93. Ken Tucker (June 15, 1990). "TV review: The Simpsons". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
  94. "Legacy: 20th Annual Annie Award Nominees and Winners (1992)". Annie Awards. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
  95. "George Foster Peabody Award Winners" (PDF). Peabody.uga.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 2006-10-15.
  96. Corliss, Richard (1998-06-08). "Bart Simpson". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-04-08. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  97. "The Simpsons" in the Hollywood Walk of Fame Directory เก็บถาวร 2008-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved on 2007-10-17.
  98. "100 Greatest Kids' TV Shows". Channel 4.com. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31.
  99. "100 Greatest Cartoons". Channel 4.com. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31.
  100. "100 Greatest TV Characters". Channel 4.com. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31.
  101. "The 50 Greatest TV Icons". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15.
  102. "TV Guide's 50 Greatest TV Shows of All Time". TV Guide. 2002-05-04.
  103. "The 100 Best TV Shows of All-TIME - The Simpsons". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-23. สืบค้นเมื่อ 2007-01-10.
  104. "The New Classics: TV". Entertainment Weekly. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  105. "Scooby-Doo breaks cartoon record". BBC. 2004-10-25. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
  106. 106.0 106.1 Andy Vineberg (2007-11-15). "Some records will last forever". PhillyBurbs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2007-11-17.
  107. Remington, Bob (1990-10-26). "It's The Simpsons, Man". TV Times (Calgary Herald). p. 10.
  108. Suellentrop, Chris (2003-02-12). "Who turned America's best TV show into a cartoon?". Slate. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  109. Weinman, Jaime J. (2000-01-24). "Worst Episode Ever". Salon.com. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  110. Bonné, Jon (2000-09-02). "'The Simpsons' has lost its cool". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
  111. Turner, p. xiii
  112. 112.0 112.1 Suellentrop, Chris (2003-02-12). "The Simpsons: Who turned America's Best TV Show into a Cartoon?". Slate. สืบค้นเมื่อ 2008-05-15.
  113. Turner, p. 42
  114. Paakkinen, Jouni (2003-02-06). "10 fan favorites". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  115. "15 writer favorites". USA Today. 2003-02-06. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  116. Leggett, Chris (2004-08-04). "Harry Shearer". UK Teletext.
  117. Verne Gay (2008-06-04). ""The Simpsons": Could The End (Gulp) be Near?". Newsday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-09.
  118. 118.0 118.1 Rabin, Nathan (2006-04-26). "Matt Groening interview with The A.V. Club (page 3)". A.V. Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2006-10-27.
  119. Adalian, Josef (2007-04-24). "Universal launches 'Simpsons' ride". Variety. สืบค้นเมื่อ 2007-08-06.
  120. Shutt, Craig. "Sundays with the Simpsons". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
  121. Bird, Brad; Matt Groening (2002). The Simpsons season 2 DVD commentary for the special feature "Do the Bartman" (DVD). 20th Century Fox.
  122. "Number 1 Singles - 1990s". Official Chart Company. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  123. "Certified Awards". BPI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-25. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  124. "7-Eleven Becomes Kwik-E-Mart for 'Simpsons Movie' Promotion". Fox News. 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2007-07-03.
  125. Josef Adalian (2008-03-01). "Universal launches 'Simpsons' ride". Variety. สืบค้นเมื่อ 2007-04-23.
  126. DeWayne Bevil (2008-04-28). "Simpsons Ride opens at Universal Studios". Orlando Sentinel. Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  127. "The Simpsons Ride™". Universal Parks & Resorts. สืบค้นเมื่อ 2008-07-12.
  128. Mark Albright (2008-04-29). "Universal takes new 'Simpsons' ride for a spin". St. Petersburg Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  129. Lambert, David (2004-09-19). "Chapelle's Show—S1 DVD Passes The Simpsons As #1 All-Time TV-DVD; Celebrates by Announcing Season 2!". TVshowsonDVD.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  130. DVD release dates เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at TVShowsOnDVD.com
  131. "Stern Pinball, Inc. Announces A Wild "Simpsons Pinball Party"". Stern Pinball, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12.
  132. 132.0 132.1 132.2 Fleming, Michael (2006-04-02). "Homer going to bat in '07". Variety.com. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  133. Groening, Matt; Al Jean, Mark Kirkland, David Silverman (2004). The Simpsons season 4 DVD commentary for the episode "Kamp Krusty" (DVD). 20th Century Fox.
  134. "Simpsons launch hits Springfield". BBC News. 2007-07-21. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  135. "Weekend Box Office July 27–29, 2007". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29.
  136. Joshua Rich. "Raking in the d'oh!". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
  137. Frank Segers (2007-07-29). ""Simpsons Movie" rules foreign box office". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
  138. Patrick Kolan (2007-07-30). "Simpsons Movie Breaks Records". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-07. สืบค้นเมื่อ 2007-07-31.
  139. "The Simpsons Movie". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 2007-12-20.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]