เกว็น สเตฟานี
เกว็น สเตฟานี | |
---|---|
สเตฟานีขณะทำการแสดงในปี ค.ศ. 2015 | |
เกิด | เกว็น เรนี สเตฟานี 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ฟูลเลอร์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตต ฟูลเลอร์ตัน |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1986–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | เกวิน รอสส์เดล (สมรส 2002; หย่า 2016) |
คู่รัก | เบลก เชลตัน (2015–ปัจจุบัน) |
บุตร | 3 |
ญาติ | เอริก สเตฟานี (พี่ชาย) |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
ค่ายเพลง | อินเตอร์สโคป |
เว็บไซต์ | gwenstefani |
เกว็น เรนี สเตฟานี (อังกฤษ: Gwen Renée Stefani; เกิดวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักออกแบบด้านแฟชั่น ชาวอเมริกัน เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและนักร้องนำวงโนเดาต์ที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางหลังออกสตูดิโออัลบัมชุดแรก ทราจิกคิงดอม (1995) มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง "จัสต์อะเกิร์ล", "โดนต์สปีก", "เฮย์เบบี" และ "อิตส์มายไลฟ์" หลังจากที่วงว่างเว้นจากการทำงาน สเตฟานีออกมาเป็นศิลปินเดี่ยวแนวป็อปในปี 2004 ออกสตูดิโออัลบัมเดี่ยวชื่อ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงป็อปในคริสต์ทศวรรษ 80 อัลบั้มได้รับเสียงวิจารณ์และยอดขายที่ดี[1][2] มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง "วอตยูเวติงฟอร์?", "ริชเกิร์ล" และ "ฮอลลาแบกเกิร์ล" เพลงหลังขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 และยังเป็นซิงเกิลดาวน์โหลดแรกในสหรัฐที่มียอดขายเกินล้าน[3] ในปี 2006 สเตฟานีออกสตูดิโออัลบัมชุด 2 เดอะสวีตเอสเคป มีซิงเกิลประสบความสำเร็จ 2 ซิงเกิลคือ "ไวนด์อิตอัป" และไตเติลแทร็ก "เดอะสวีตเอสเคป" อัลบัมเดี่ยวชุด 3 ชุด ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ (2016) เป็นอัลบัมเดี่ยวอัลบัมแรกของเธอที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด 200
สเตฟานีได้รับรางวัลแกรมมี่ 3 รางวัล ในฐานะศิลปินเดี่ยวแล้วเธอยังได้รับอีกหลายรางวัล อย่างเช่น รางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด บริตอะวอดส์ เวิลด์มิวสิกอะวอดส์ และ 2 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด ในปี 2003 เธอยังออกสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายในนาม แอล.เอ.เอ็ม.บี. ยังแยกแบรนด์สินค้าอีกชื่อ คือ ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นและแฟชั่น ในช่วงเวลานี้เองเธอจะแสดงและปรากฏตัวพร้อมนักเต้นสาว 4 คน ที่รู้จักในชื่อ ฮาราจูกุเกิลส์ เธอแต่งงานกับนักดนตรีชาวอังกฤษ เกวิน รอสส์เดล ระหว่างปี 2002 ถึง 2016 และมีบุตรชายด้วยกัน 3 คน นิตยสาร บิลบอร์ด จัดอันดับให้เธออยู่อันดับ 54 ของศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุด และอันดับ 37 ของศิลปินที่ประสบความสำเร็จบนฮอต 100 ในทศวรรษ 2000[4][5] ช่องวีเอชวันจัดอันดับในปี 2012 ให้เธออยู่อันดับ 13 ของ 100 ศิลปินหญิงในวงการดนตรีที่ยอดเยี่ยมที่สุด[6] หากรวมกับผลงานกับวงโนเดาต์แล้ว สเตฟานีมียอดขายอัลบัมมากกว่า 30 ล้านชุดทั่วโลก[7]
ประวัติ
[แก้]1969–1985: ชีวิตช่วงแรก
[แก้]สเตฟานีเกิดเมื่อ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ที่ฟูลเลอร์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย[8] เติบโตในครอบครัวโรมันคาทอลิกในแอนะไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[9] ชื่อของเธอตั้งตามชื่อบริกรหญิงบนเครื่องบนจากบนประพันธ์ปี 1968 เรื่อง แอร์พอร์ต ส่วนชื่อกลาง เรเน (Renée) มาจากเพลงของวงเดอะโฟร์ทอปส์ ปี 1968 ที่คัฟเวอร์ของเลฟต์ แบงก์ในปี 1966 ที่ชื่อ "วอล์กอะเวย์เรเน"[10] พ่อเธอ เดนนิส สเตฟานี เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด (marketing executive) ที่ยามาฮ่า[11] ส่วนแม่ของเธอ แพตตี (สกุลเดิม ฟลินน์)[12] ทำงานเป็นนักบัญชี ก่อนที่จะออกมาเป็นแม่บ้าน[11][13] พ่อแม่ของเกว็นนั้นเป็นแฟนเพลงแนวโฟล์ก ยังให้เธอฟังเพลงของศิลปินอย่าง บ็อบ ดิลลันและเอมมีลู แฮร์ริส[9] เธอยังมีน้องอีก 2 คน คือ จิลล์และทอดด์ และมีพี่ชายชื่อเอริก[9][13] เอริกเคยเป็นมือคียบอร์ดให้วงโนเดาต์ ก่อนจะออกไปทำงานสร้างภาพเคลื่อนไหวเรื่อง เดอะซิมป์สันส์[8]
1986–2004: โนเดาต์
[แก้]พี่ชายของเธอ เอริก ได้แนะนำให้เกว็นรู้จักกับดนตรีแนวทูโทน อย่างวงแมดเนสส์และเดอะซีเลกเตอร์ และในปี 1986 เขาได้ชวนเธอให้มาร้องกับวงโนเดาต์ วงแนวสกาที่เขาก่อตั้งขึ้น[8] จนท้ายสุดในปี 1991 วงได้เซ็นสัญญากับอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ ออกอัลบั้มชื่อเดียวกับวง เมื่อปี 1992 แต่ดนตรีแบบสกาป็อปเช่นนี้ ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากแนวเพลงกรันจ์กำลังเป็นที่นิยม[14] ก่อนที่แนวเพลงนี้จะประสบความสำเร็จในกระแสหลักเพราะวงโนเดาต์และซับไลม์ สเตฟานีเป็นนักร้องรับเชิญให้กับเพลง "ซอว์เรด" (Saw Red) ในอัลบัมของซับไลม์ในปี 1994 ที่ชื่อชุด รอบบินเดอะฮูด สเตฟานีปฏิเสธความก้าวร้าวของศิลปินหญิงแนวกรันจ์ และเอ่ยถึงนักร้องวงบลอนดี ที่ชื่อ เดบบี แฮร์รี ว่าเธอเป็นการผสมผสานระหว่างพลังกับแรงดึงดูดทางเพศ ว่าเป็นอิทธิสำคัญต่อเธอ[15] อัลบัมชุด 3 ของโนเดาต์ ชุด ทราจิกคิงดอม (1995) ที่ออกหลังจากอัลบัมที่วงออกเอง เดอะบีคอนสตรีตคอลเลกชัน (1995) ใช้เวลาทำงานมากกว่า 3 ปี โดย 5 ซิงเกิลจาก ทราจิกคิงดอม อย่าง "โดนต์สปีก" ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตปลายปีของฮอต 100 แอร์เพลย์ ประจำปี 1997[16] สเตฟานีออกจากวิทยาลัย 1 เทอมเพื่อออกทัวร์ ทราจิกคิงดอม แต่ก็ไม่กลับมาเรียนต่อหลังจากที่ทัวร์กินระยะเวลา 2 ปีครึ่ง[9] อัลบัมได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่และขายได้มากกว่า 16 ล้านชุดทั่วโลก จากข้อมูลปี 2004[9][17][18] ในปลายปี 2000 นิตยสาร โรลลิงสโตน ตั้งฉายาเธอว่า "ราชินีเพลงป็อปสารภาพผิด" (The Queen of Confessional Pop)[19]
ช่วงอยู่กับโนเดาต์ที่ประสบความสำเร็จในกระแสหลัก สเตฟานีร่วมงานกับศิลปินอื่นหลายซิงเกิล อย่าง "ยูร์เดอะบอส" (You're the Boss) ร่วมงานกับไบรอัน เซตเซอร์ ออร์เคสตรา, "เซาท์ไซด์" กับโมบี้ และ "เลตมีโบลว์ยาไมนด์" กับอีฟ ต่อมาในปี 2000 โนเดาต์ออกอัลบั้มที่ได้รับความนิยมน้อยลง ชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น ที่ต่อยอดอิทธิพลเพลงนิวเวฟจากชุด ทราจิกคิงดอม[20] เนื้อเพลงส่วนใหญ่มุ่งประเด็นที่ความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของสเตฟานีกับหัวหน้าวงบุช ณ ขณะนั้น ที่ชื่อเกวิน รอสส์เดล และเรื่องความไม่แน่ใจ รวมถึงการตัดสินใจในการลงหลักปักฐานและการมีบุตรของเธอ[21] อัลบัมในปี 2001 ชุด ร็อกสเตดี เพิ่มกลิ่นอายเร็กเกและแดนซ์ฮอลล์มากขึ้น แต่ยังคงแนวนิวเวฟในฉบับของวงไว้ โดยทั่วไปแล้วได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวก[22] อัลบัมนี้มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จในแง่อันดับในสหรัฐ[23] ซิงเกิล "เฮย์เบบี" และ "อันเดอร์นีทอิตออล" ได้รับรางวัลแกรมมี่ จากนั้นอัลบัมรวมเพลงฮิต เดอะซิงเกิลส์ 1992–2003 บรรจุเพลงคัฟเวอร์ของวงทอล์กทอล์ก เพลง "อิตส์มายไลฟ์" ออกวางขายในปี 2003 อีฟและสเตฟานีได้รับรางวัลแกรมมี่สาขาการร่วมงานเพลงร้องหรือแร็ปยอดเยี่ยมจากเพลง "เลตมีโบลว์ยาไมนด์"[24]
2004–2006: เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. และเปิดตัวงานแสดง
[แก้]อัลบัมเดี่ยวเปิดตัวของสเตฟานี ชุด เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน 2004 อัลบัมชุดนี้มีการร่วมงานกับโปรดิวเซอร์และศิลปินมากมาย อย่างเช่น โทนี แคแนล, ทอม รอทร็อก, ลินดา เพอร์รี, อังเดรทรีเทาซันด์, เนลลี ฮูเพอร์, เดอะเนปจูนส์ และนิวออร์เดอร์ สเตฟานีสร้างสรรค์อัลบั้มนี้โดยนำเพลงที่เธอยังฟังครั้งเรียนอยู่ไฮสกูลมาทำให้ทันสมัย และ แอล.เอ.เอ็ม.บี. ก็ได้รับอิทธิพลจากความหลากหลายด้านดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 อาทิเพลงนิวเวฟ, ซินท์ป็อปและอิเล็กโทร[25] การตัดสินใจของสเตฟานีในการออกงานเดี่ยวก็เป็นโอกาสที่ดีให้เธอลงลึกถึงแนวเพลงป็อป แทนที่จะทำให้ทั้งโลกเชื่อในความสามารถ ความลึกและคุณค่าความเป็นศิลปิน[1] ผลก็คือ ได้รับเสียงวิจารณ์ผสมกันไป ดังคำบรรยายที่ว่า "สนุกอย่างที่สุด แต่ไม่เชิงว่ามีเกลื่อนกลาด โดยถูกทำลายจากคำวิจารณ์ของสังคม"[26] อัลบัมเปิดตัวบนชาร์ต บิลบอร์ด 200 ที่อันดับ 7 และขายได้มากกว่า 309,000 ชุดในสัปดาห์แรก[27] แอล.เอ.เอ็ม.บี. ประสบความสำเร็จได้รับการยืนยันแผ่นเสียงทองคำขาวหลายแผ่นในสหรัฐ,[11] สหราชอาณาจักร,[28] ออสเตรเลีย,[29] และแคนาดา[30]
ซิงเกิลแรกจากอัลบัมนี้คือ "วอตยูเวติงฟอร์?" เปิดตัวที่อันดับ 1 ของแอเรียซิงเกิลส์ชาร์ต และเปิดตัวอันดับ 47 บน บิลบอร์ด ฮอต 100 ของสหรัฐ[31] และสามารถอยู่ในท็อป 10 ของชาร์ตโดยส่วนมาก[32] เพลงนี้เป็นการอธิบายว่าทำไมสเตฟานีถึงผลิตผลงานอัลบัมเดี่ยวออกมาและสาธยายถึงความกลัวของเธอหลังออกจากวงโนเดาต์มาออกเดี่ยว[33] ยังพูดถึงความต้องการจะมีลูก[34] "ริชเกิร์ล" เป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบัม ได้ร่วมร้องกับแร็ปเปอร์ อีฟและมีโปรดิวเซอร์คือ ดร. เดร เป็นการดัดแปลงมาจากเพลงป็อปในคริสต์ทศวรรษ 1990 ของศิลปินอังกฤษที่ชื่อ ลูซี ลู แอนด์ มิชชี วัน เนื้อเพลงถือเป็นการคัฟเวอร์แบบหลวม ๆ มาก แต่เมโลดีนั้นใกล้เคียงกับเพลง "อิฟไอเวอร์อะริชแมน" ของ ฟิดเดลอร์ออนเดอะรูฟ ซิงเกิล "ริชเกิร์ล" เป็นการพิสูจน์ได้ถึงความสำเร็จในหลายรูปแบบ โดยติดท็อป 10 ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[31][35] ซิงเกิลที่ 3 ของอัลบัม "ฮอลลาแบกเกิร์ล" ถือเป็นซิงเกิลอันดับ 1 ซิงเกิลแรกของเธอในสหรัฐและอันดับ 1 ลำดับที่ 2 ในออสเตรเลีย ส่วนที่อื่น สามารถติดใน 10 อันดับแรก[31][36] ยังเป็นเพลงแรกในสหรัฐที่มียอดดาวน์โหลดเกินล้าน และเป็ฯเพลงที่ได้รับความนิยมตลอดปี 2005[3] ซิงเกิลที่ 4 "คูล" ออกจำหน่ายไม่นานนักหลังที่ซิงเกิลก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จ โดยติดท็อป 20 ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[31][35] เนื้อเพลงและมิวสิกวิดีโอที่ถ่ายทำที่ทะเลสาบโกโม ในประเทศอิตาลี มีเนื้อหาเกี่ยวข้อกับอดีตคนรักของเธอ แคแนล[37] "ลักซูเรียส" เป็นซิงเกิลที่ 5 ของอัลบัม แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าเพลงก่อน ๆ "แครช" ออกจำหน่ายช่วงต้นปี 2006 ในฐานะซิงเกิลที่ 6 ถือเป็นตัวทดแทนอัลบัมถัดมาของ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ที่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากเธอตั้งครรภ์[38]
ในปี 2004 สเตฟานีเริ่มมีความสนใจในการแสดงภาพยนตร์และเริ่มออดิชันหนังหลายเรื่อง อย่างเช่น มิสเตอร์แอนด์มิสซิสสมิธ นายและนางคู่พิฆาต[39] เธอมีผลงานเรื่องแรก รับบทเป็นจีน ฮาร์โลว์ในภาพยนตร์กำกับโดยมาร์ติน สกอร์เซซีเรื่อง บินรัก บันลือโลก ในปี 2004 สกอร์เซซีมีบุตรสาวที่เป็นแฟนเพลงโนเดาต์ เขาได้แสดงความสนใจที่จะรับเลือกเธอแสดงหลังจากเห็นภาพยถ่ายของเธอที่ได้รับแรงบันดาลใจจากมาริลิน มอนโรจากนิตยสาร ทีนโว้ก ในปี 2003[40][41] เพื่อเตรียมการจะรับบทนี้ สเตฟานีอ่านหนังสือชีวประวัติของเธอ 2 เรื่องและดูหนังที่ฮาร์โลว์แสดง 18 เรื่อง[9] การถ่ายทำในส่วนของเธอใช้เวลา 4 ถึง 5 วัน สเตฟานีมีบทพูดเพียงเล็กน้อย[42] สเตฟานียังพากย์เสียงให้กับตัวละครในวิดีโอเกมปี 2004 มาลิซ อย่างไรก็ดีก่อนที่จะเสร็จสิ้น บริษัทเลือกที่จะไม่ใช้เสียงของสมาชิกวงโนเดาต์นี้[43]
2006–2008: เดอะสวีตเอสเคป
[แก้]สตูดิโออัลบัมชุดที่ 2 ของสเตฟานี ชุด เดอะสวีตเอสเคป ออกขาย 1 ธันวาคม 2006[44] สเตฟานียังคงทำงานร่วมกับแคแนล, เพอร์รี และเดอะเนปจูนส์ รวมถึงเอค่อนและทิม ไรซ์-ออกซ์ลีย์จากวงร็อกอังกฤษ คีน อัลบัมนี้เน้นเพลงอิเล็กทรอนิกส์และแดนซ์สำหรับคลับมากขึ้นกว่าอัลบัมชุดก่อน[11] อัลบัมออกพร้อมกับดีวีดีการออกทัวร์ครั้งแรกของสเตฟานี ที่ใช้ชื่อชุดว่า ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ไลฟ์ อัลบัมชุดนี้ได้รับเสียงตอบรับผสมกันไป ทั้งบอกว่า "ได้ความรู้สึกขุ่นหมองอย่างน่าประหลาดใจ, ความรู้สึกเหมือนอัตชีวประวัติเล็กน้อย แต่สเตฟานีก็ยังไม่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นดีวาที่ได้พึงพอใจ"[45] และยังเรียกอัลบัมนี้ว่า "การกลับมาที่เร่งรีบ ที่ดูซ้ำกับ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. แต่พลังน้อยกว่า"[46]
"ไวนด์อิตอัป" ซิงเกิลนำของอัลบัม ได้รับเสียงวิจารณ์ผสมกันไป ที่มีการใช้คำพูดเรื่อยเปื่อยและการสอดแทรกเพลงจากหนัง มนต์รักเพลงสวรรค์ เข้าไป[47] เพลงประสบความสำเร็จพอสมควร ขึ้นสูงสุดใน 10 อันดับแรกในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[48] ส่วนไตเติลแทร็กได้รับการตอบรับดีอย่างกว้างขวาง ขึ้นชาร์ตใน 10 อันดับแรกมากกว่า 15 ประเทศ รวมถึงขึ้นสูงสุดอันดับ 2 ทั้งสหรัฐ, ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ในการประชาสัมพันธ์อัลบัม เดอะสวีตเอสเคป สเตฟานีเป็นผู้ให้คำปรึกษาในฤดูกาลที่ 6 ของรายการ อเมริกันไอดอล และแสดงเพลงร่วมกับเอค่อน เพลงนี้ยังได้รับการเสนอชื่อรางวัลแกรมมี่ในสาขาการร่วมงานเพลงป็อปยอดเยี่ยม[49] อีก 3 ซิงเกิลจากอัลบัม "โฟร์อินเดอะมอร์นิง", "นาวแดตยูกอตอิต" ที่ร่วมร้องกับเดเมียน มาร์เลย์ และ "เออร์ลีวินเทอร์" ในการประชาสัมพันธ์อัลบัม สเตฟานีเดินทางรอบโลก ในเดอะสวีตเอสเคปทัวร์ ที่ครอบคลุมพื้นที่ในอเมริกาเหนือ, ยุโรป, เอเชียและแปซิฟิก และบางส่วนของละตินอเมริกา จากบทสัมภาษณ์ใน เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ฉบับ 6 มิถุนายน 2011 เธอเล่าว่า เธอไม่มีแผลที่จะกลับมาออกผลงานเดี่ยว โดยบอกว่า "เป็นช่วงเวลาตอนนั้น ที่ดูจะยาวกว่าที่พวกเราคิดว่า ด้วยเพราะเป็นแรงดลใจและคุณก็ต้องไปในสักที่ที่คุณจะต้องไปในช่วงเวลานั้นของชีวิต แต่ทุกอย่างก็ลงตัวอย่างที่ควรจะเป็น"[50]
2009–2013: กลับมาทำโนเดาต์
[แก้]ขณะที่สเตฟานีกำลังประชาสัมพันธ์อัลบัม เดอะสวีตเอสเคป อยู่นั้น วงโนเดาต์ก็เริ่มทำงานอัลบัมชุดใหม่โดยไม่มีเธอ[51] วางแผนไว้ว่าจะทำให้เสร็จหลังจากเดอะสวีตเอสเคปทัวร์ของเธอจบลง[52] เดือนมีนาคม 2008 วงเริ่มมีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวงในฟอรัมอย่างเป็นทางการของวง สเตฟานีก็โพสต์ในวันที่ 28 มีนาคม 2008 ว่าได้เริ่มเขียนเพลงแล้วแต่ยังทำได้ช้าอยู่ เหตุเพราะเธออยู่ในช่วงตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2[53] โนเดาต์ประกาศบนเว็บไซต์ทางการของวงว่าต้องการออกทัวร์ในปี 2009 ขณะที่กำลังจะทำผลงานอัลบัมล่าสุดกำลังเสร็จ และวางไว้ว่าจะออกในปี 2010[54] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2008 มีการประกาศว่าโนเดาต์จะเป็นวงนำในเทศกาลแบมบูเซิล 2009 ในเดือนพฤษภาคม ร่วมกับวงฟอลล์เอาต์บอย วงออกทัวร์ในประเทศเสร็จในฤดูร้อนปี 2009[55]
วันที่ 11 มิถุนายน 2012 วงประกาศบนเว็บไซต์ทางการของวงว่า อัลบัมใหม่จะออกวันที่ 25 กันยายน โดยมีซิงเกิลแรกออก 16 กรกฎาคม ใช้ชื่ออัลบัมว่า พุชแอนด์โชฟ ซิงเกิลแรกคือ "เซตเทิลดาวน์" กำกับมิวสิกวิดีโอโดยโซฟี มุลเลอร์ (ก่อนหน้านี้กำกับมิวสิกวิดีโอหลายตัวให้โนเดาต์) ในช่วงเวลานั้นเองโนเดาต์เป็นผู้ให้คำปรึกษารับเชิญในรายการ เอกซ์แฟกเตอร์ ฉบับสหราชอาณาจักร[56] "เซตเทิลดาวน์" ขึ้นอันดับสูงสุดอันดับ 34 บน บิลบอร์ด ฮอต 100 ขณะที่อัลบัมสูงสุดอันดับ 3 บนชาร์ต บิลบอร์ด 200 ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2012 วงได้ดึงมิวสิกวิดีโอ "ลุกกิงฮอต" ออกจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าใจดำกับชนพื้นเมืองอเมริกัน[57]
2014–2016: เดอะวอยซ์ และ ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์
[แก้]12 เมษายน 2014 สเตฟานีได้ปรากฏตัวแบบสร้างความประหลาดใจในเทศกาลโคเชลลา เธอร่วมแสดงกับฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ บนเวที ในช่วงการแสดงเพลงของเขาในเพลง "ฮอลลาแบกเกิร์ล"[58] วันที่ 29 เมษายน มีการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าสเตฟานีจะร่วมในฤดูกาลที่ 7 ของรายการ เดอะวอยซ์ ในฐานะโค้ช โดยแทนที่คริสตินา อากีเลรา[59] หลังจากไม่ได้มางาน เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ นาน 9 ปี เธอกลับมาอีกครั้งในปี 2014 ในช่วงการสัมภาษณ์บนพรมแดง เธอบอกว่า "ฉันไม่รู้ว่า ฉันกำลังจะมีลูก และฉันกำลังจะทำ เดอะวอยซ์ และฉันก็ไม่รู้ว่กำลังจะเขียนเพลงใหม่ ฉันก็เหมือนรู้สึกว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป"[60] สเตฟานียังปรากฏตัวในฐานะนักร้องร่วมในเพลงของมารูนไฟฟ์ที่ชื่อ "มายฮาร์ตอิสโอเพน" ร่วมแต่งโดยเซีย เฟอร์เลอร์ จากอัลบัม ไฟฟ์[61] ที่ยังได้ร่วมแสดงกันครั้งแรกกับแอดัม เลอวีนในงานแกรมมี่ 2015[62] สเตฟานียังร่วมงานกับแคลวิน แฮร์ริสในเพลง "ทูเกเตอร์" จากอัลบัมของเขาที่ชื่อ โมชัน[63]
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2014 สเตฟานีบอกกับเอ็มทีวีนิวส์ ในระหว่างสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์กว่า เธอกำลังทำงานอัลบัมทั้งโนเดาต์และผลงานเดี่ยวของตัวเองอยู่ เธอยังเปิดเผยว่า เธอทำงานอยู่กับวิลเลียมส์[64] สเตฟานีออกผลงานการกลับมาอีกครั้งกับซิงเกิล "เบบีโดนต์ลาย" เมื่อ 20 ตุลาคม 2014 ซึ่งเธอร่วมแต่งกับโปรดิวเซอร์ ไรอัน เทดเดอร์, เบนนี บลังโก และโนเอล แซนแคเนลลา[65] บิลบอร์ด ประกาศว่าสตูดิโออัลบัมชุดที่ 3 จะออกเดือนธันวาคม โดยมีเบนนี บลังโกเป็นผู้อำนวยการผลิต[66] ช่วงปลายเดือนตุลาคม มีการเปิดเผยเพลงใหม่บางส่วนจากอัลบัมชุดที่ 3 ของสเตฟานี เพลงชื่อว่า "สปาร์กเดอะไฟร์" เป็นครั้งแรก เพลงผลิตโดยฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์[67] เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ได้เผยแพร่เต็มเพลงครั้งแรกทางออนไลน์[68] และปล่อยให้ดาวน์โหลด เมื่อ 1 ธันวาคม[69] ทั้ง "เบบีโดนต์ลาย" และ "สปาร์กเดอะไฟร์" มีอยู่ในอัลบัมชุดที่ 3 ของเธอ วันที่ 13 มกราคม 2015 สเตฟานีและวิลเลียมบันทึกเสียงเพลงที่ชื่อ "ไชน์" เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง แพดดิงตัน สเตฟาเนียและเซียทำงานร่วมกันในเพลงบัลลาดที่ชื่อ "สตาร์ตอะวอร์" (Start a War) ที่คาดว่าจะออกในอัลบัมชุดที่ 3 แต่อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ไม่ปรากฏอยู่[70] วันที่ 10 กรกฎาคม 2015 แร็ปเปอร์ชาวอเมริกา เอ็มมิเน็มมีซิงเกิลที่ร้องกับสเตฟานีที่ชื่อ "คิงส์เนเวอร์ดาย" จากเพลงประกอบภาพยนตร์ เซาท์พาว เพลงเข้าชาร์ตครั้งแรกและสูงสุดที่อนดับ 80 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100[71] และมียอดดาวน์โหลดในสัปดาห์แรก 35,000 ครั้ง[72]
17 ตุลาคม 2015 สเตฟานีแสดงในคอนเสิร์ตที่เป็นส่วนหนึ่งของทัวร์มาสเตอร์การ์ดไพรซ์เลสส์เซอร์ไพรส์ทัวร์ ที่แฮมเมอร์สไตน์บอลรูม ในนครนิวยอร์ก เธอแสดงเพลงใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอกหักต่ออดีตสามี เกวิน รอสส์เดล เพลงชื่อ "ยูสด์ทูเลิฟยู"[73] เพลงปล่อยให้ดาวน์โหลดเมื่อ 20 ตุลาคม 2015 วิดีโอค่อยปล่อยมาทีหลังในวันเดียวกัน เพลงออกในสถานีวิทยุเพลงร่วมสมัยในสหรัฐเมื่อ 27 ตุลาคม 2015[74] เพลงนี้ยังเป็นซฺงเกิลแรกอย่างเป็นทางการจากอัลบัมเดียวชุดที่ 3 ของเธอ ที่ชื่อชุด ดิสอีสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ ที่เธอเริ่มทำงานในช่วงฤดูร้อน 2015 สเตฟานีบอกว่า มีหลายเพลงก่อนหน้านี้ที่เธอทำในช่วงปี 2014 เธอรู้สึกถูกบังคับและดูเป็นของเทียม ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เธอต้องการแต่แรก[75][76][77] ซิงเกิลที่ 2 ของอัลบัมชื่อ "เมกมีไลก์ยู" ออกเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016[78] อัลบัม ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ ออกเมื่อ 18 มีนาคม 2016 และเปิดตัวที่อันดับ 1 บน บิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขาย 84,000 ชุด ในสัปดาห์แรก เป็นอัลบัมแรกของเธอที่ขึ้นอันดับ 1 ในฐานะศิลปินเดี่ยว[79] เพื่อประชาสัมพันธ์อัลบัม สเตฟานีมีทัวร์ที่ชื่อ ดิสอีสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ทัวร์ ร่วมกับแร็ปเปอร์ อีฟ ในสหรัฐ[80] เธอยังพากย์เสียงเป็นดีเจซูคิ ในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง โทรลล์ส ซึ่งออกฉาย 4 พฤศจิกายน 2016[81] เธอมีเพลง 5 เพลงในอัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้[82] เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2016 สเตฟานีประกาศว่าเธอจะแสดงโชว์ 2 ครั้งสุดท้ายที่ เออร์วินมีโดส์แอมฟิเทียเตอร์ ระหว่าง 29-30 ตุลาคม ที่เป็นส่วนหนึ่งของโชว์ที่ชื่อ เออร์วินมีโดส์แอมฟิเทียเตอร์ไฟนอลโชส์[83] โดยมีวงร็อกอเมริกา ยังเดอะไจแอนต์ เป็นวงเปิดให้ 2 โชว์นี้ด้วย[84]
2017–ปัจจุบัน: ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส และคอนเสิร์ตที่ลาสเวกัส
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2017 สเตฟานีประกาศว่ากำลังทำงานในสตูดิโอและวางแผนจะออกผลงานเพลงใหม่ปลายปี[85] ในเดือนสิงหาคม มีการประกาศชื่อเพลงหลายเพลงทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเจมา (GEMA) โดยเสนอว่าเธออาจบันทึกเสียงอัลบัมเทศกาลวันหยุด[86] ชื่อผู้แต่งเพลงหลุดออกมาว่า สเตฟานีร่วมงานกับสามี เบลก เชลตัน และจัสติน แทรนเตอร์[87] อัลบัมใช้ชื่อว่า ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส โดยประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 กันยายน 2017 และออกจำหน่าย 6 ตุลาคม 2017[88] เพลงไตเติลแทร็กของอัลบัมเผยแพร่ทางดิจิตัลเมื่อ 22 กันยายน 2017 เป็นซิงเกิลนำของอัลบัมและมีแขกรับเชิญร่วมร้องคือเชลตัน[89][90] เพื่อประชาสัมพันธ์ เอ็นบีซีขอให้เธอเป็นพิธีกรในรายการพิเศษช่วงคริสต์มาส โดยออกอากาศ 12 ธันวาคม 2017 และใช้ชื่อรายการว่า เกว็นสเตฟานีส์ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส[91]
ปี 2018 สเตฟานีเซ็นสัญญาจำนวน 25 โชว์ แสดงที่แซพโพสเทียเตอร์ในลาสเวกัส เริ่ม 27 มิถุนายน 2018 และจบลง 16 มีนาคม 2019 ชื่อคอนเสิร์ตครั้งนี้ใช้ชื่อตามเพลงของโนเดาต์ว่า "จัสต์อะเกิร์ล"[92]
งานอื่น
[แก้]สเตฟานีทำชุดเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่เธอสวมใส่บนเวทีกับวงโนเดาต์ เป็นผลทำให้เธอเริ่มรวบรวม สรรหาสิ่งดี ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สไตลิสต์ที่ชื่อ แอนเดรีย ลีเบอร์แมน เป็นคนแนะนำเธอให้รู้จักกับชุดแต่งกายแบบโอตคูเชอร์ นำไปสู่การที่เธอออกสินค้าแฟชั่นที่ใช้ชื่อว่า แอล.เอ.เอ็ม.บี. ในปี 2004[9] โดยได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นที่หลากหลาย อาทิ สไตล์กัวเตมาลา ญี่ปุ่น และจาเมกา[93] สินค้าเธอยังได้รับความนิยมในหมู่คนดัง มีผู้สวมใส่อย่าง เทรี แฮตเชอร์, นิโคล คิดแมน และตัวเธอเอง[7][94] ในเดือนมิถุนายน 2005 เธอแยกแบรนด์สินค้าที่ราคาถูกกว่า ในชื่อ ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ ที่เธออธิบายว่า "เป็นสินค้าที่น่าเชิดชู" มีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น กล้องถ่ายรูป สิ่งประดับโทรศัพท์มือถือ และชุดชั้นใน[95][96] ในปลายปี 2006 สเตฟานีออกสินค้าตุ๊กตารุ่นจำกัด เรียกว่า "เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี." ตุ๊กตาได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นต่าง ๆ ที่สเตฟานีและฮาราจูกุเกิลส์สวมใส่ขณะออกทัวร์อัลบัม[97]
ปลายฤดูร้อน 2007 สเตฟานีออกน้ำหอมแอล ส่วนหนึ่งของสินค้าเครือ แอล.เอ.เอ็ม.บี. ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องประดับ น้ำหอมมีกลิ่นสวีตพีและกุหลาบ[98] ในเดือนกันยายน 2008 สเตฟานีออกสินค้าประเภทเครื่องหอม เป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้า ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ มีเครื่องหอม 5 ชนิด ที่มาจากฮาราจูกุเกิลส์ 4 คน และสเตฟานี โดยเรียกว่า เลิฟ, ลิลแองเจิล, มิวสิก, เบบี และจี (เกว็น)[99] เดือนมกราคม 2011 สเตฟานีเป็นโฆษกให้กับลอรีอัลปารีส[100] ปี 2016 เออร์เบินดีเคย์ออกเครื่องสำอางรุ่นจำกัดจำนวน โดยร่วมงานกับสเตฟานี[101]
ปี 2014 สเตฟานีประกาศการสร้างซีรีส์แอนิเมชันเกี่ยวกับเธอและฮาราจูกุเกิลส์[102] โดยร่วมกับวิชันแอนิเมชันและมูดีสตรีตคิดส์[103] สเตฟานียังช่วยสร้างสรรค์โชว์ที่เธอร่วมงานด้วย รวมถึง เลิฟ, แองเจิล, มิวสิก, และเบบี ในฐานะวงดนตรี, เอชเจไฟฟ์ ที่สู้กับปีศาจร้ายขณะเดียวกันก็พยายามทำงานเพลงให้สำเร็จ[104]
หลังจากร่วมงานกับหลายแลรนด์อย่าง โอพีไอและเออร์เบินดีเคย์ในปี 2014 และเรฟลอนในปี 2017 สเตฟานีวางแผนออกสินค้าความงานของตัวเองที่ชื่อ พีเอตเอ็นที (P8NT) จากข้อมูลของทีเอ็มซี เธอได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ความงานนี้แล้ว[105][106]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ไม่นานหลังจากที่สเตฟานีเข้าร่วมวงโนเดาต์ เธอกับเพื่อนร่วมวง โทนี แคแนล เริ่มคบหากัน เธอเล่าว่า ค่อนข้างสละเวลาอย่างมากในความสัมพันธ์ครั้งนี้ สเตฟานีวิจารณ์ว่า "ทุกสิ่งที่ฉันทำ คือเพื่อโทนี และภาวนากับพระเจ้าว่าขอให้มีลูกกับเขา"[107] ระหว่างช่วงนี้ วงเกือบต้องแยกกันไปเพราะความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวของสเตฟานีกับแคแนล[108] โดยแคแนลเป็นผู้บอกเลิกเธอ[109] การเลิกราครั้งนี้เป็นแรงบันดาลใจในเนื้อเพลงให้แก่สเตฟานี หลายเพลงในอัลบัม ทราจิกคิงดอม อย่างเช่น "โดนต์สปีก", "ซันเดย์มอร์นิง" และ "เฮย์ยู!" เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ของทั้งคู่[110] หลายปีต่อมา สเตฟานีร่วมแต่งเพลงดัง "คูล" ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน ในอัลบัมเดี่ยวเปิดตัวชุด เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี.[111]
สเตฟานีพบกับนักร้องนำและมือกีตาร์วงบุช เกวิน รอสส์เดล ในปี 1995 วงโนเดาต์และบุชเล่นเป็นวงนำในคอนเสิร์ตช่วงวันหยุดของสถานีวิทยุ เคอาร์โอคิว[15] ทั้งคู่แต่งงานเมื่อ 14 กันยายน 2002 ที่สวนโคเวนต์ในโบสถ์เซนต์พอลส์ ในลอนดอน งานแต่งงานครั้ง 2 จัดขึ้นที่ลอนแอนเจลิสในอีก 2 อาทิตย์ถัดมา[112]
สเตฟานีมีบุตรชาย 3 คนกับรอสส์เดล ได้แก่ คิงสตัน เจมส์ แม็กเกรเกอร์ รอสส์เดล เกิด 26 พฤษภาคม 2006[113] ซูมา เนสตา ร็อก รอสส์เดล เกิด 21 สิงหาคม 2008[114] และอพอลโล โบอี ฟลินน์ รอสส์เดล เกิด 28 กุมภาพันธ์ 2014[115] เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2015 สเตฟานีฟ้องหย่ารอสส์เดล โดยให้เหตุผลว่า "เข้าถึงความแตกต่างไม่ได้"[116] การหย่าร้างสิ้นสุดลงเมื่อ 8 เมษายน 2016 โดยรอสส์เดลตกลงที่จะแบ่งทรัพย์สินสมรสไม่เท่ากัน[117]
เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2015 สเตฟานีและเพื่อนร่วมรายการ เดอะวอยซ์ และเป็นนักร้องเพลงคันทรี เบลก เชลตัน ประกาศว่าคบหากันอยู่[118]
ความเป็นศิลปิน
[แก้]เอเอกซ์เอส เรียกสเตฟานีว่า "บุคคลผู้ทรงอิทธิพล" ด้วยเสียงร้องที่มีช่วงกว้าง "อย่างเหลือเชื่อ"[119] เดอะนิวยอร์กไทมส์ ให้เสียงของสเตฟานีว่า "มีจริต" และบอกว่าเธอ "ติดการร้องเสียงสั่น"[120] ไอจีเอ็น บรรยายว่า สเตฟานี "มีเสียงร้องที่ยอดเยี่ยมอันมีเอกลักษณ์"[121] ชิคาโกทริบูน กล่าวว่า สเตฟานี "มีเสียงร้องต่ำที่ก๋ากั่น"[122]
อัลบัมเปิดตัวของสเตฟานี เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ได้รับอิทธิพลแนวเพลงหลายหลายชนิดของคริสต์ทศวรรษ 1980[123] อย่างแนวเพลง อิเล็กโทรป็อป, นิวเวฟ, แดนซ์ร็อก, ฮิปฮอป, อาร์แอนด์บีร่วมสมัย, โซล และดิสโก้[124][125][126][127][128] สเตฟานีเคยเอ่ยถึง มาดอนน่าในยุคแรก, ลิซาลิซา, คลับนูโว, พรินซ์, นิวออร์เดอร์ และ เดอะเคียวร์ มีอิทธิพลอย่างมากกับอัลบัมนี้[126] มีหลายเพลงในอัลบัมที่ออกแบบมาเพื่อคลับเต้นรำ และมีบีตแบบอิเลกทรอนิกส์เพื่อการเต้นรำ[129] มีการอ้างอิงถึงแฟชันและความมั่งคั่งในอัลบัม เธอใช้ดีไซเนอร์ที่ถือเป็นแรงบันดาลใจส่วนตัว อย่าง จอห์น กัลเลียโน และวิเวียน เวสต์วูด[130] สตูดิโออัลบัมชุด 2 เดอะสวีตเอสเคป มีความใกล้เคียงกับผลงานชุดก่อน แต่ยังมีซาวด์ดนตรีป็อปทันสมัยมากกว่าเดิม มีหลากหลายแนวเพลง อย่าง แดนซ์ป็อป และแร็ป[34][124][131][132][133] เป็นแนวคิดเดียวกับที่พัฒนาในอัลบัม เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์จากการทำเช่นนี้[134] อัลบัม ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ อัลบัมชุดที่ 3 สเตฟานียังคงทำเพลงป็อป ขณะเดียวกันก็รวมแนวเพลงจากหลากหลายชนิด อย่าง เร็กเก[135] ดิสโก้[136] และแดนซ์ฮอลล์[137] นอกจากนี้ยังมีการใช้กีตาร์เพิ่มมาอีกด้วย[138] เนื้อเพลงของสเตฟานีนั้นจะเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวที่เพิ่งเกิดขึ้น อย่างเช่น การหย่าร้างกับสามี รอสส์เดล และการพบรักใหม่กับ เชลตัน[139] เธอยังบอกว่าอัลบัมของเธอไม่มีเนื้อหา "เกี่ยวกับการแก้แค้น" เหมือนอย่างที่คนอื่นทำกัน และมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "การให้อภัย"[140]
ภาพลักษณ์
[แก้]สเตฟานีเริ่มจุดบินดิในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากที่เธอได้ไปพบปะครอบครัวของโทนี แคแนล หลายครั้ง เขามีเชื้อสายอินเดีย[141] ในช่วงที่โนเดาต์แจ้งเกิด สเตฟานี สวมเครื่องตกแต่งหน้าผากในมิวสิกวิดีโอหลายครั้ง จนทำให้เครื่องประดับเหล่านี้ได้รับความนิยมในเวลาสั้น ๆ ในปี 1997[142] โดยได้รับความสนใจครั้งแรกในมิวสิกวิดีโอปี 1995 เพลง "จัสต์อะเกิร์ล" ที่เป็นที่รู้จักเรื่องที่เธอโชว์เอว และมักสวมเสื้อเชิร์ตที่เปิดเผยเรือนร่าง[143] การออกแบบการแต่งหน้าของสเตฟานี โดยทั่วไปมักใช้แป้งโทนสว่าง ทาลิปสติกสีแดงสดใส และทำคิ้วรูปโค้ง เธอพูดถึงประเด็นเหล่านี้ในเพลงที่ชื่อ "แมจิกส์อินเดอะเมกอัป" (Magic's in the Makeup) ของโนเดาต์ ในอัลบัมชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น โดยตั้งคำถามไว้ว่า "หากมีเวทมนตร์ในการแต่งหน้า แล้วฉันคือใครกัน"[9] สเตฟานีมีผมสีสีน้ำตาลเข้มตามธรรมชาติ เธอเปลี่ยนสีผมธรรมชาตินั้นตั้งแต่เธอเรียนเกรด 9[144] ตั้งแต่ปลาย 1994 เธอมักไว้ผมสีบลอนด์เงิน สเตฟานีพูดถึงเรื่องนี้ในเพลงที่ชื่อ "แพลตตินัมบลอนด์ไลฟ์" (Platinum Blonde Life) ในชุด ร็อกสเตดี และรับบทเป็นสาวผมบลอนด์ จีน ฮาร์โลว์ ในภาพยนตร์ชีวประวัติในปี 2004 เรื่อง บินรัก บันลือโลก[145] ถึงแม้เธอมักจะไว้ผมสีบลอนด์ แต่เธอก็เคยย้อมผมสีน้ำเงินในปี 1998[142] และสีชมพู ในปี 2001[146] ตอนปรากฏบนปกชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น[147]
ปี 2006 สเตฟานีเปลี่ยนภาพลักษณ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครที่มิเชลล์ ไฟฟ์เฟอร์แสดงที่ชื่อ เอลวิรา แฮนคอก ในภาพยนตร์ปี 1983 เรื่อง สการ์เฟซ[2] การเปลี่ยนภาพลักษณ์นี้รวมถึง การใช้สัญลักษณ์ตัว G หลังชนกัน ที่เห็นได้จากกุญแจเครื่องประดับเพชรที่เธอสวมใส่ที่คอ ที่ถือเป็นจุดเด่นในการประชาสัมพันธ์ในชุด เดอะสวีตเอสเคป[96] สเตฟานีได้รับความสนใจในช่วงเดือนมกราคม 2007 เกี่ยวกับเรื่องการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วหลังตั้งครรภ์ เธอออกมาพูดภายหลังว่า เธอควบคุมอาหารตั้งแต่เรียนเกรด 6 เพื่อให้สวมชุดขนาด 4 ได้อย่างพอดี โดยพูดว่า "เป็นการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นฝันร้าย แต่ฉันก็ชอบเสื้อผ้ามากเกินไป ฉันเลยต้องการสวมเสื้อผ้าที่ฉันทำเองอยู่ตลอดเวลา"[148] หุ่นขี้ผึ้งของสเตฟานีเปิดตัวที่มาดามทุซโซต์ ลาสเวกัส ในเดอะเวเนเชียน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2010[149] การออกขายอัลบัมเดี่ยวชุดแรกของสเตฟานี ได้สร้างความสนใจต่อสมุน 4 คน ที่ชื่อ ฮาราจูกุเกิลส์ ที่ปรากฏตัวในชุดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชันกอทิกโลลิตา[150] และตั้งชื่อตามย่านบริเวณสถานีรถไฟฮะระจุกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ชุดแต่งกายของสเตฟานียังได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นญี่ปุ่น โดยอธิบายว่าเป็นการผสมผสานระหว่างคริสตีย็อง ดียอร์กับญี่ปุ่น[34] ผู้เต้นเหล่านี้ยังปรากฏในมิวสิกวิดีโอ ในสื่อ และปกอัลบัม เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. โดยมีเพลงที่อุทิศให้พวกเธอในอัลบัมนี้ด้วย พวกเธอยังได้ร่วมในทัวร์และใช้ชื่อเดียวกับพวกเธอ ใน สเตฟานีส์ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ทัวร์ นิตยสาร ฟอบส์ รายงานว่า เธอทำรายได้ในปี 2018 ได้ 27 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2007 ถึง มิถุนายน 2008 จากทัวร์ สินค้าแฟชั่นและโฆษณา ทำให้เธอเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านดนตรีที่ทำรายได้มากที่สุดอันดับ 10 ณ ขณะนั้น[151]
ความสำเร็จและผลสืบเนื่อง
[แก้]ตลอดอาชีพในการทำงานผลงานเดี่ยว สเตฟานีได้รับรางวัลด้านดนตรีหลายรางวัล รวมถึง 1 รางวัลแกรมมี่, 4 รางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์, 1 รางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด, 1 รางวัลบริตอะวอดส์ และ 2 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด ส่วนกับวงโนเดาต์ เธอได้รับ 2 รางวัลแกรมมี่ และในปี 2005 นิตยสาร โรลลิงสโตน เรียกเธอว่า "เป็นร็อกสตาร์หญิงเพียงคนเดียวอย่างแท้จริงที่เปิดบนวิทยุหรือเอ็มทีวี" และยังให้เธอขึ้นปกนิตยสารอีกด้วย[152] สเตฟานีได้รับรางวัล สไตล์ไอคอนอะวอร์ด จากการแจกรางวัลพีเพิลแมกกาซีนอวอดส์ในปี 2014[153] นอกจากนี้ในปี 2016 เธอยังได้รับเกียรติจากเรดิโอดิสนีย์มิวสิกอวอดส์ ด้วยรางวัลฮีโรอะวอร์ด ที่มอบให้กับศิลปินที่อุทิศให้กับงานการกุศล[154]
สเตฟานียังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "เจ้าหญิงเพลงป็อป" จากนักวิจารณ์ดนตรีร่วมสมัยหลายแห่ง[155][156][157] ในปี 2012 วีเอชวันได้ให้เธออยู่ในอันดับ 13 ของรายชื่อ "100 ผู้หญิงยอดเยี่ยมแห่งวงการเพลง"[6] ผลงานของสเตฟานียังมีอิทธิพลให้กับนักดนตรีหลายคน อย่างเช่น เฮย์เลย์ วิลเลียมส์แห่งวงพาร์อะมอร์,[158] เบสต์โคสต์,[159] เคที เพอร์รี,[160] เคชา,[161] มารินาแอนด์เดอะไดอะมอนส์,[162] สเตฟาย,[163] ริตา ออรา[164] สกาย เฟอร์ไรรา[165] และคัฟเวอร์ไดร์ฟ[166] วงหลัง เป็นวงกลุ่มนักดนตรี 4 คนจากบาร์บาโดส ที่กล่าวว่า ทั้งสเตฟานีและโนเดาต์ได้ส่งผลด้านอิทธิพลต่อดนตรีพวกเขา โดยนักร้องนำของวง แอมานดา ไรเฟอร์ ยอมรับว่า เธอคงจะ "หมดสติ" หากได้เจอสเตฟานี[166]
ซิงเกิลนำจาก เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. เพลง "วอตยูเวติงฟอร์?" เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ดีที่สุดของสเตฟานี จากเว็บไซต์พิตช์ฟอร์ก รวมถึงอยู่ในอันดับ 16 ใน "50 ซิงเกิลปี 2004" ของเว็บไซต์นี้[167][168] นอกจากนั้น "ฮอลลาแบกเกิร์ล" จากอัลบัมดังกล่าว ยังถือเป็นเพลงแรกที่ขายทางดิจิทัลด้วยยอดขายมากกว่าล้านในสหรัฐ[3] ยังได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำขาวจากทั้งในสหรัฐและออสเตรเลีย[169][170] ยังขึ้นอันดับสูงสุดที่อันดับ 41 ของนิตยสาร บิลบอร์ด ในชาร์ตปลายทศวรรษ 2000–09[171] ตั้งแต่ที่ออกในปี 2005 "ฮอลลาแบกเกิร์ล" ยังถือว่าเป็น "เพลงลายเซ็น" ของสเตฟานี จากนิตยสาร โรลลิงสโตน[172]
งานการกุศล
[แก้]หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ค.ศ. 2011 สเตฟานีบริจาคเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่เซฟชิลเดรน สำหรับกองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น[173] สเตฟานียังเปิดประมูลในอีเบย์เมื่อ 11 ถึง 25 เมษายน 2011 ให้ผู้สนใจประมูลเสื้อผ้าย้อนยุคส่วนตัวของเธอ และเสื้อทีเชิร์ตทำเองออกแบบและมีลายเซ็นของเธอ และยังอนุญาตให้มาปาร์ตี้น้ำชาส่วนตัวในแนวคิดแบบฮาราจูกุ ดำเนินงานโดยเธอเอง เมื่อ 7 มิถุนายน 2011 ที่รอแยล/ที เมดคาเฟและพื้นที่แนวป็อปอาร์ตแบบญี่ปุ่น ที่แรกของลอสแอนเจลิส โดยเงินประมูลนำเข้าเพื่อบรรเทาทุกของเซฟชิลเดรน[174][175]
ที่งานกาลาของแอมฟาร์ ในเทศกาลภาพยนตร์กาน 2011 สเตฟานีนำชุดลูกไม้สีดำที่เธอแต่งในงานนี้เข้าประมูลเพื่อการกุศล โดยได้เงินมากกว่า 125,000 เหรียญสหรัฐ[176] ชุดนี้เกิดข้อพิพาทหลังจากตัวแทนของนักออกแบบ ไมเคิล แอนเจิล ที่ช่วยสเตฟานีออกแบบและทำงานในฐานะสไตลิสต์ออกมายืนยันว่า เขาเป็นคนทำผ้าคลุม ไม่ใช่ตัวสเตฟานี[176][177] ในการออกมาเปิดเผย แองเจิลยืนยันว่า ชุดนั้นออกแบบโดยสเตฟานี สำหรับ แอล.เอ.เอ็ม.บี. และใช้ในการประมูลที่แอมฟาร์กาลา โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า "ผมรู้สึกผิดหวังที่มุ่งประเด็นผิดทิศผิดทาง จากที่เกว็นและผมได้ตั้งใจไว้ เรื่องที่มาของการสร้างสรรค์ชุดนี้ พวกเรารู้สึกเครียดกับผลและเพลิดเพลินกับขั้นตอนทำงาน ผมไม่ขอทำอะไรมากไปกว่านี้ นอกจากนับถือเธอและยังคงคาดหวังการทำงานร่วมกับเธออีกในอนาคต"[178] สเตฟานียังเป็นผู้จัดงานหารายได้ให้กับสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชลล์ โอบามา เมื่อเดือนสิงหาคม 2012 ที่บ้านของเธอในเบเวอร์ลีฮิลส์[179]
ผลงาน
[แก้]- เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. (2004)
- เดอะสวีตเอสเคป (2006)
- ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ (2016)
- ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส (2017)
ทัวร์
[แก้]คอนเสิร์ตเดี่ยว
- ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ทัวร์ (2005)
- เดอะสวีตเอสเคปทัวร์ (2007)
- ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ทัวร์ (2016)
เรซิเดนซี
- จัสต์อะเกิร์ล (2018–2019)
ประชาสัมพันธ์
- มาสเตอร์การ์ตไพรซ์เลสส์เซอร์ไพรส์พรีเซนส์เกว็นสเตฟานี (2015–2016)
- เออร์วินมีโดส์แอมฟิเทียเตอร์ไฟนอลโชส์ (2016)
ผลงานแสดง
[แก้]ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1996–2016 | แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ | แขกรับเชิญแสดงดนตรี | 6 ตอน |
2001 | คิงออฟเดอะฮิลล์ | ตัวเอง (ร่วมกับโนเดาต์) | ตอน: "คิดนีย์บอยแอนด์แฮมสเตอร์เกิร์ล: อะเลิฟสตอรี" |
2001 | ซูแลนเดอร์ | ตัวเอง | ตัวประกอบ |
2002 | ดอว์สันส์ครีก | ตัวเอง (ร่วมกับโนเดาต์) | ตอน: "สไปเดอร์เวบส์" |
2004 | มาลิซ | มาลิซ | พากย์เสียง; วิดีโอเกม |
2004 | บินรัก บันลือโลก | จีน ฮาร์โลว์ | เสนอชื่อเข้าชิง—รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ สาขาการแสดงยอดเยี่ยมในภาพยนตร์ |
2005 | แฟชันร็อกส์ | ตัวเอง | สารคดี |
2005 | เบรนฟาร์ต | ตัวเอง | สารคดี |
2009 | แสบใสไฮโซ | นักร้องนำวงสโนวด์เอาต์ (ร่วมกับโนเดาต์) | ตอน: "แวลลีย์เกิลส์" |
2011 | เอฟรีเดย์ซันไชน์: เดอะสตอรีออฟฟิชโบน | ตัวเอง | สารคดี |
2013 | พอร์ตแลนเดีย | ตัวเอง (ร่วมกับโนเดาต์) | ตอน: "นินาส์เบิร์ทเดย์" |
2014–2015, 2017 | เดอะวอยซ์ | ตัวเอง | โค้ช (ฤดูกาล 7, 9, 12); ผู้ให้คำแนะนำ (ฤดูกาล 8 กับ 10) |
2015 | ทรูดิอายส์ออฟเฟท | ตัวเอง | สารคดี |
2016 | โทรลล์ส | ดีเจซูคิ (พากย์เสียง) | พากย์เสียงเท่านั้น |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Murison, Krissi (December 10, 2004). "Gwen Stefani : Love Angel Music Baby". NME. สืบค้นเมื่อ May 10, 2007.
- ↑ 2.0 2.1 Collis, Clark (November 22, 2006). "Holla Back". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Hiatt, Brian (January 19, 2006). "Stefani, Peas Lead Singles Boom". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ "Decade End Charts – Artists Of The Decade". Billboard. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2011. สืบค้นเมื่อ July 10, 2011.
- ↑ "Decade End Charts – Hot 100 Artists". Billboard. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2012. สืบค้นเมื่อ July 10, 2011.
- ↑ 6.0 6.1 Graham, Mark (February 13, 2012). "VH1's 100 Greatest Women In Music (Complete List)". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2012.
- ↑ 7.0 7.1 McGibbon, Rob (May 13, 2007). "No natural born popstar". The Sunday Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2007. สืบค้นเมื่อ August 9, 2016.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Jeffries, David. "Gwen Stefani | Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 Van Meter, Jonathan (April 2004). "The First Lady of Rock". Style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2008. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
- ↑ Entertainment Weekly, issue 910. Page 94, sidebar. December 8, 2006.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Hooper, Joseph (February 16, 2007). "L.A.M.B. Chops". Elle (258): 220. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2011. สืบค้นเมื่อ January 25, 2007.
- ↑ George, Kat (March 8, 2015). "20 Artists Who Took Their Mom on the Red Carpet". VH1. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ 13.0 13.1 "Gwen Stefani – Profile". E! News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2008. สืบค้นเมื่อ September 28, 2008.
- ↑ Bush, John. "No Doubt | Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
- ↑ 15.0 15.1 Strauss, Neil (January 31, 2002). "No Doubt's Anniversary Party". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2009. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ "1997 The Year in Music – Hot 100 Airplay". Billboard. 109 (52): YE-36. December 27, 1997 – January 3, 1998. ISSN 0006-2510. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
- ↑ Errico, Marcus (January 7, 1997). "Babyface, Celine Dion Dominate Grammy Nominations". E! News. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
- ↑ "List of Grammy award nominations". CNN. January 6, 1998. สืบค้นเมื่อ April 30, 2007.
- ↑ Dunn, Jancee (December 14, 2000). "Gwen Stefani: The Queen of Confessional Pop". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ November 28, 2014.
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "Return of Saturn – No Doubt". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2007.
- ↑ Willman, Chris (May 12, 2000). "No Doubt: Future Tense?". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 27, 2007.
- ↑ Cinquemani, Sal. "No Doubt: Rock Steady". Slant Magazine. December 12, 2004. Retrieved April 30, 2007.
- ↑ "No Doubt | Awards". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 17, 2014.
- ↑ "Past Winners Search". Grammy Awards. The Recording Academy. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ Vineyard, Jennifer. "Gwen Stefani: Scared Solo". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2007. สืบค้นเมื่อ April 23, 2007.
- ↑ Cinquemani, Sal (November 20, 2004). "Gwen Stefani: Love. Angel. Music. Baby". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ June 4, 2007.
- ↑ Whitmire, Margo (December 1, 2004). "U2's 'Bomb' Explodes At No. 1". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 13, 2007.
- ↑ "Certified Awards Search". British Phonographic Industry. June 16, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2011. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2005 Albums". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ April 23, 2007.
- ↑ "Gold Platinum Database". Music Canada. April 24, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2013. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 "Gwen Stefani – Chart history: The Hot 100". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ "Gwen Stefani – What You Waiting For?". Ultratop. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ Vineyard, Jennifer (November 10, 2004). "Gwen Stefani's Debut Solo LP Inspired By Insecurity And Japan". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-27. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 Salmon, Chris (March 2, 2007). "'I just want to make music and babies'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ 35.0 35.1 "Gwen Stefani". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ October 5, 2012.
- ↑ "Gwen Stefani – Hollaback Girl". Ultratop. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ Vineyard, Jennifer (June 21, 2005). "Gwen Stefani's Song About Tony Kanal To Be Her Next Single". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Vineyard, Jennifer (December 24, 2005). "Gwen Stefani Confirms Pregnancy While Onstage In Florida". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ "Gwen Stefani Bares All in Elle Tell-All". Extra. January 30, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2014. สืบค้นเมื่อ March 21, 2007.
- ↑ Vineyard, Jennifer (February 13, 2004). "Gwen Stefani Feeling Hella Good About Role In Scorsese Flick". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Vineyard, Jennifer (December 2, 2004). "Gwen Stefani Says Acting Is A Lot Harder Than Singing". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ "Have no fear, No Doubt still here". USA Today. May 4, 2004. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ Hwang, Kaiser (January 23, 2004). "Remember Malice?". IGN. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ "Gwen Stefani : Releases : The Sweet Escape". Interscope Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 17, 2011.
- ↑ Michel, Sia (December 1, 2006). "The Sweet Escape (2006): Gwen Stefani". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-19. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007.
- ↑ Sheffield, Rob (December 12, 2006). "Gwen Stefani: The Sweet Escape". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2007. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007.
- ↑ Macia, Peter (October 25, 2006). "Wind It Up". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2009. สืบค้นเมื่อ April 29, 2007.
- ↑ "Gwen Stefani – Wind It Up". Ultratop. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ "2008 Grammy Award Winners and Nominees". The New York Times. February 9, 2008. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ Anderson, Kyle (June 6, 2011). "Gwen Stefani and No Doubt on their next step – EXCLUSIVE". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
- ↑ Vineyard, Jennifer; Richard, Yasmine (May 12, 2006). "No Doubt — Minus Gwen — In Early Stages Of New Album". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Cohen, Jonathan (December 12, 2006). "Stefani: No Timetable For No Doubt Reunion". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 31, 2006.
- ↑ "new album". NoDoubt.com. 2008. Retrieved March 30, 2008.
- ↑ "2009 Tour". NoDoubt.com. 2008. Retrieved November 22, 2008.
- ↑ "No Doubt : Tour Archive". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ "Album and Single Announcement!". NoDoubt.com. June 11, 2012. Retrieved June 12, 2012.
- ↑ Toney, Veronica (November 5, 2012). "No Doubt apologizes, pulls 'Looking Hot' video - Celebritology 2.0". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ December 20, 2012.
- ↑ Lipshutz, Jason (April 13, 2014). "Gwen Stefani's Coachella Cameo Hints At Solo Return?". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 14, 2014.
- ↑ Ng, Philiana (April 29, 2014). "It's Official: Gwen Stefani Joins 'The Voice'". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 30, 2014.
- ↑ Corriston, Michele (August 24, 2014). "VMAs 2014: Gwen Stefani Attends for the First Time Since 2005". People. สืบค้นเมื่อ August 29, 2014.
- ↑ Kaufman, Gil (June 16, 2014). "Maroon 5 Drop New Album Track, "Maps," And Tease A Huge Collaboration". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-19. สืบค้นเมื่อ June 19, 2014.
- ↑ Spanos, Brittany (February 8, 2015). "Watch Adam Levine, Gwen Stefani Get Emotional at Grammys". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-07. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
- ↑ Lynch, Joe (October 28, 2014). "Gwen Stefani Goes Full EDM on Calvin Harris' 'Together'". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Garibaldi, Christina; Alexis, Nadeska (September 8, 2014). "Gwen Stefani Back In The Studio With Pharrell And She's 'Killing It'". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-26. สืบค้นเมื่อ September 10, 2014.
- ↑ Reed, Ryan (October 20, 2014). "Gwen Stefani Drops Synth-Driven Single 'Baby Don't Lie'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
- ↑ Vena, Jocelyn (October 18, 2014). "See Gwen Stefani's 'Baby Don't Lie' Artwork". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 20, 2014.
- ↑ Garibaldi, Christina (October 21, 2014). "Gwen Stefani And Pharrell Heat Things Up With New Track 'Spark The Fire'". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-01. สืบค้นเมื่อ November 24, 2014.
- ↑ Stern, Bradley (November 23, 2014). "Gwen Stefani Brings The Heat On "Spark The Fire": Listen". Idolator. สืบค้นเมื่อ November 24, 2014.
- ↑ "Spark the Fire – Single by Gwen Stefani". iTunes Store (US). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2014. สืบค้นเมื่อ December 1, 2014.
- ↑ Kreps, Daniel. "Gwen Stefani Debuts New Ballad 'Start a War' at Solo Show". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-07. สืบค้นเมื่อ February 14, 2015.
- ↑ "The Hot 100: The Week of August 1, 2015". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
- ↑ Mendizabal, Amaya (July 22, 2015). "The Weeknd's 'Can't Feel My Face' Tops Hot R&B/Hip-Hop Songs Chart". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
- ↑ "Gwen Stefani Debuts New Song 'Used to Love You' at New York Show: Watch". Billboard. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ "FMQB: Radio Industry News, Music Industry Updates, Nielsen Ratings, Music News and more!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2013.
- ↑ Vain, Madison (October 19, 2015). "Gwen Stefani on scrapping an entire album and starting again: 'It didn't feel right'". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
- ↑ Kreps, Daniel (October 20, 2015). "Watch Gwen Stefani's Wistful 'Used to Love You' Video". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-01. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
- ↑ Vain, Madison (October 20, 2015). "Gwen Stefani releases stunning 'Used To Love You' video". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
- ↑ Kreps, Daniel (February 12, 2016). "Hear Gwen Stefani's Refreshing 'Make Me Like You'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Caulfield, Keith (March 28, 2016). "Gwen Stefani Scores First No. 1 Album on Billboard 200". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 28, 2016.
- ↑ Feeney, Nolan (April 18, 2016). "Gwen Stefani announces This is What the Truth Feels Like tour with Eve". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ May 8, 2016.
- ↑ Warner, Kara (January 6, 2016). "'Hair We Go!' Gwen Stefani Joins Justin Timberlake, Anna Kendrick in New Movie Trolls – See the Cute Pics". People. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
- ↑ Craddock, Lauren (August 22, 2016). "Justin Timberlake Shares Track List For 'Trolls' Movie Soundtrack Including Ariana Grande, Gwen Stefani & More". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
- ↑ Lewis, Randy (September 9, 2016). "Gwen Stefani to play Irvine Meadows' swan song shows Oct. 29-30". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ Skye Fadrowski, Kelli (September 9, 2016). "Gwen Stefani to perform final Irvine Meadows concerts before it closes next month". Orange County Register. สืบค้นเมื่อ September 10, 2015.
- ↑ Benjamin, Jeff (July 14, 2017). "Gwen Stefani Is Releasing New Music This Year". Fuse. สืบค้นเมื่อ July 24, 2017.
- ↑ O'Neill, Lauren (August 2, 2017). "Sia and Gwen Stefani Both Apparently Have Christmas Albums Coming". Vice. สืบค้นเมื่อ August 9, 2017.
- ↑ Wass, Mike (August 2, 2017). "Festive! It Looks Like Gwen Stefani Is Recording a Christmas Album". Idolator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ August 9, 2017.
- ↑ Tenreyro, Tatiana (September 21, 2017). "Gwen Stefani Teases 'You Make It Feel Like Christmas' Album: Watch Preview". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
- ↑ Ungerman, Alex (September 21, 2017). "Gwen Stefani Teases New Christmas Song With Blake Shelton – Listen to 'You Make It Feel Like Christmas'!". Entertainment Tonight. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
- ↑ "You Make It Feel Like Christmas [feat. Blake Shelton] – Gwen Stefani". Amazon.com (US). September 22, 2017. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
- ↑ Armstrong, Megan (November 15, 2017). "Gwen Stefani Gets Her Own NBC Holiday Special & Comments on Blake Shelton as Sexiest Man Alive". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 22, 2017.
- ↑ Legaspi, Althea (April 10, 2018). "Gwen Stefani Announces Las Vegas Residency". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-23. สืบค้นเมื่อ April 22, 2018.
- ↑ Maxwell, Alison; Freydkin, Donna; Barker, Olivia (September 15, 2006). "Stefani tends to her L.A.M.B." USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2009. สืบค้นเมื่อ May 30, 2007.
- ↑ Eliscu, Jenny (January 27, 2005). "Gwen Cuts Loose". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2009. สืบค้นเมื่อ April 17, 2005.
- ↑ Freydkin, Donna (May 16, 2005). "Designing is a snap". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
- ↑ 96.0 96.1 Ahearn, Victoria (December 1, 2006). "Gwen Stefani shrugs off radiation scare". The Canadian Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-19. สืบค้นเมื่อ May 8, 2007.
- ↑ "Gwen Stefani brings style to doll world". USA Today. Associated Press. September 5, 2006. สืบค้นเมื่อ November 30, 2011.
- ↑ "L Gwen Stefani for women". Fragrantica. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ "Harajuku Lovers Fragrance". harajukulovers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-25. สืบค้นเมื่อ March 8, 2010.
- ↑ Rentmeester, Katherine Kluznik (มกราคม 13, 2011). "Gwen Stefani is the Gorgeous New Face of L'Oreal Paris!". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 27, 2011. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2011.
- ↑ Shatzman, Celia. "Get Gwen Stefani's Signature Makeup Looks Courtesy of Her Urban Decay Collaboration". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2017.
- ↑ Milligan, Mercedes (April 12, 2015). "Gwen Stefani's 'Kuu-Kuu Harajuku' Unveiled". Animation Magazine. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
- ↑ "'Kuu-Kuu Harajuku' Kicks Off Global Tour". Animation World Network.
- ↑ Langsworthy, Billy (April 13, 2015). "Gwen Stefani's animated Kuu-Kuu Harajuku series enters development". Licensing.biz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-17. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ "Style Notes: Gwen Stefani Launching Beauty Line; John Galliano Takes Maison Margiela Fur-Free". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
- ↑ "Does Gwen Stefani have a beauty line up her sleeve?". 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
- ↑ Eliscu, Jenny (January 30, 2005). "'I'll cry just talking about it'". The Observer. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Ali, Lorraine (August 30, 2004). "It's My Life". Newsweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2006. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ Born to Be. MuchMusic programming. Original airdate: March 2006. Retrieved November 13, 2006.
- ↑ Montoya, Paris and Lanham, Tom. "Sunday Morning". 2003. The Singles 1992–2003 liner notes.
- ↑ Vineyard, Jennifer. "Gwen Stefani's Song About Tony Kanal To Be Her Next Single" เก็บถาวร 2010-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. MTV News. 21 June 2005. Retrieved 9 May 2007.
- ↑ Springer, Debra (December 22, 2005). "Gwen Stefani: I'm Pregnant". People. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
- ↑ "Latest News: Gwen Stefani's Baby, No Charge for Proof's Killer". Rolling Stone. May 30, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2009. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
- ↑ Adler, Shawn (August 21, 2008). "Gwen Stefani Gives Birth To Second Son". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-19. สืบค้นเมื่อ August 21, 2008.
- ↑ Deerwester, Jayme (March 1, 2014). "Gwen Stefani gives birth to third son, Apollo". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 1, 2014.
- ↑ "Gwen Stefani and Gavin Rossdale Are Divorcing". Rolling Stone. August 3, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-31. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
- ↑ Chiu, Melody (April 20, 2016). "Inside Gwen Stefani and Gavin Rossdale's Divorce Settlement: All the Details". People. สืบค้นเมื่อ August 30, 2016.
- ↑ Petit, Stephanie (May 23, 2016). "Gwen Stefani and Blake Shelton Cuddle Up Backstage at the Billboard Music Awards in Cute Instagram Pics". People. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ Birmingham, Christy (June 24, 2014). "What makes Gwen Stefani such a powerhouse in concert?". AXS. สืบค้นเมื่อ June 24, 2014.
- ↑ Sanneh, Kelefa (October 26, 2002). "POP REVIEW; 'Just a Girl,' Or Wishing To Be More?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 13, 2010.
- ↑ Gage, Josephine (ตุลาคม 27, 2009). "Battle of the Bands: Gwen Stefani vs. M.I.A." IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 4, 2009. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2010.
- ↑ Kot, Greg (July 5, 1997). "It's One For Kids: No Doubt's Friendly Ska-tinged Pop A Hit With Young Crowd". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ July 8, 2012.
- ↑ Smith, RJ. "Gwen Stefani: Love. Angel. Music. Baby". Blender. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2010. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- ↑ 124.0 124.1 Cinquemani, Sal (November 20, 2004). "Gwen Stefani: Love. Angel. Music. Baby". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- ↑ Stewart, Allison (December 12, 2004). "Adult contemporary". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ September 23, 2013.
- ↑ 126.0 126.1 Mar, Alex; Halperin, Shirley (October 1, 2004). "Gwen Stefani Makes "Love"". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
- ↑ Boucher, Geoff (December 24, 2005). "Love, music and soon an angel baby". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 24, 2014.
- ↑ "Looking Back at Love. Angel. Music. Baby., Gwen Stefani's Racist Pop Frankenstein, Ten Years Later". Vice. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ Vineyard, Jennifer (June 21, 2005). "Gwen Stefani's Song About Tony Kanal To Be Her Next Single". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ June 2, 2015.
- ↑ Soghomonian, Talia (January 2005). "Interview: Gwen Stefani". musicOMH. สืบค้นเมื่อ September 23, 2013.
- ↑ Day, Elizabeth (September 23, 2007). "She's a can-do kind of woman". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
- ↑ "Why we can't wait to hear Gwen Stefani's latest". Entertainment Weekly. September 18, 2004. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
- ↑ "Love, Angel, Music, Baby". Billboard. November 9, 2013. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
- ↑ Huff, Quentin B. (December 14, 2006). "Gwen Stefani: The Sweet Escape". PopMatters. สืบค้นเมื่อ July 13, 2014.
- ↑ Greenblatt, Leah (March 16, 2016). "Gwen Stefani's This Is What the Truth Feels Like: EW Review". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ March 17, 2016.
- ↑ Ryan, Patrick (March 17, 2016). "Album of the week: Gwen Stefani shares her 'Truth'". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ Cooper, Leoni (March 17, 2016). "NME Reviews - Gwen Stefani - 'This Is What The Truth Feels Like' Review". NME. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
- ↑ Sheffield, Rob (March 18, 2016). "Gwen Stefani's New Album: This Is What the Truth Feels Like". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-20. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
- ↑ Grebey, James (October 18, 2015). "Gwen Stefani Debuts Passionate New Song, 'Used to Love You'". Spin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2016.
- ↑ Robinson, Lisa (April 2016). "Gwen Stefani Talks Blake Shelton, The Voice, and Music After Gavin Rossdale". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ August 14, 2016.
- ↑ Stevenson, Jane (December 1, 2004). "Pop stars, No Doubt". Jam!. สืบค้นเมื่อ May 21, 2007.
- ↑ 142.0 142.1 Laine, Tricia (October 16, 1998). "Gwen Stephani spills on her fashion sense". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ "I Love 1996" เก็บถาวร 2007-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Stylus Magazine. September 8, 2004. Retrieved April 17, 2007.
- ↑ Toht, Betony "Gwen Stefani – Top Star Transformations" เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. InStyle. Retrieved April 28, 2007.
- ↑ Wloszczyna, Susan (April 26, 2004). "Beckinsale, a beauty who battles beasts". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ Greenblatt, Leah (March 16, 2007). "Style: Pink hair showbiz renaissance". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ Yotka, Steff (July 31, 2013). "Private Icon: No Doubt". Nylon. สืบค้นเมื่อ April 22, 2018.
- ↑ Corcoran, Liz (April 12, 2007). "Gwen Stefani: 'I've Always Been on a Diet'". People. สืบค้นเมื่อ April 17, 2007.
- ↑ "Gwen Stefani Rocks The Strip!". Madame Tussauds. September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2010. สืบค้นเมื่อ November 4, 2010.
- ↑ Holson, Laura M. (March 13, 2005). "Gothic Lolitas: Demure vs. Dominatrix". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Rose, Lacey (September 22, 2008). "World's Best-Paid Music Stars". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2009. สืบค้นเมื่อ August 9, 2016.
- ↑ Eliscu, Jenny (January 27, 2005). "Gwen Stefani: A Rock Goddess With Major Issues". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-05. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
- ↑ Steiner, Amanda Michelle (December 18, 2014). "PEOPLE Magazine Awards: Gwen Stefani Wins Style Icon Award". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
- ↑ Polanco, Luis (April 14, 2016). "Gwen Stefani Will Be Honored With Hero Award at Radio Disney Music Awards". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
- ↑ Boucher, Geoff (January 4, 2006). "New rhythm for a pop princess". The Blade: 1. สืบค้นเมื่อ February 1, 2016.
- ↑ Strecker, Erin (November 13, 2014). "Gwen Stefani's 'L.A.M.B' 10-Year Anniversary: Look Back at the Hollaback Girl's Best Moments". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 1, 2016.
- ↑ "Gwen Stefani and Blake Shelton: romance reports on the set of The Voice". Hello. สืบค้นเมื่อ February 1, 2016.
- ↑ "Hayley Williams Inspired By Beyoncé, Talks Other Strong Female Influences". Music Times. December 5, 2014. สืบค้นเมื่อ September 11, 2016.
- ↑ Cinquemani, Sal (May 2, 2014). "New Best Coast album influenced by Gwen Stefani, The Go-Gos, Sugar Ray". NME. สืบค้นเมื่อ November 29, 2014.
- ↑ "Katy Perry: Woman Of The Year Q&A 2012". Billboard. November 29, 2012. สืบค้นเมื่อ November 29, 2014.
- ↑ Garland, Emma (January 8, 2017). "Kesha's MySpace Profile from 2008 is Better Than DJ Khaled's Snapchat". Noisey. Vice Media. สืบค้นเมื่อ January 20, 2017.
- ↑ "Marina And The Diamonds". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-30. สืบค้นเมื่อ April 4, 2015.
- ↑ Dunk, Marcus (April 13, 2007). "Stefy: The Orange Album". Daily Express. สืบค้นเมื่อ May 29, 2016.
- ↑ Aspinall, Jasmine (November 5, 2012). "Rita Ora Finally Meets Her Idol Gwen Stefani". Vibe. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ "Sky Ferreira". Vogue Italia. September 15, 2010. สืบค้นเมื่อ September 11, 2016.
- ↑ 166.0 166.1 "Cover Drive in awe of Gwen Stefani". Contact Music. October 27, 2012. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ Sylvester, Nick (November 8, 2004). "Gwen Stefani: "What You Waiting For"". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2004. สืบค้นเมื่อ March 3, 2004.
- ↑ "Top 50 Singles of 2004". Pitchfork. December 30, 2004. สืบค้นเมื่อ August 26, 2008.
- ↑ "American single certifications – Gwen Stefani – Hollaback Girl". Recording Industry Association of America. June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
- ↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2005 Singles". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ October 9, 2010.
- ↑ "Decade End Charts – Hot 100 Songs". Billboard. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2012. สืบค้นเมื่อ February 3, 2016.
- ↑ Hiatt, Brian (June 17, 2016). "Gwen Stefani on No Doubt's Future, Working With Prince". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-05. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
- ↑ Oldenburg, Ann (March 23, 2011). "Gwen Stefani gives $1 million to Japan relief efforts". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 24, 2011.
- ↑ Lewis, Randy (April 2, 2011). "Gwen Stefani's Japan relief auction to run April 11–25 on EBay". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
- ↑ Interscope Records (June 10, 2011). "Photo Alert: Gwen Stefani Hosts Private Harajuku-Themed Tea Party at Royal/T to Support Save the Children's Japan Earthquake Emergency Fund" (Press release). Los Angeles. PR Newswire. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
- ↑ 176.0 176.1 Rees, Alex (May 23, 2011). "Gwen Stefani's amfAR Gala Dress Was Apparently Not a L.A.M.B. Design After All". New York. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
- ↑ Donnelly, Erin (May 26, 2011). "Michael Angel: Gwen Stefani Designed amfAR Dress". FashionEtc. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
- ↑ "Statement from Michael Angel Regarding Gwen Stefani amfAR Dress" (Press release). PR Newswire. May 25, 2011. สืบค้นเมื่อ May 25, 2011.
- ↑ McDevitt, Caitlin (July 3, 2012). "Gwen Stefani fundraising with first lady". Politico. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.