ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเนินสง่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเนินสง่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Noen Sa-nga
คำขวัญ: 
เลื่องชื่อไข่เค็มตาเนิน เพลินตาเสื่อกกหนองฉิม
กะฮาดปลาร้าบองชวนชิม พริ้มพรายผ้าไหมรังงาม
สมนามเนินสง่าพาเจริญ
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอเนินสง่า
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอเนินสง่า
พิกัด: 15°33′51″N 102°0′6″E / 15.56417°N 102.00167°E / 15.56417; 102.00167
ประเทศ ไทย
จังหวัดชัยภูมิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด222.03 ตร.กม. (85.73 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด25,968 คน
 • ความหนาแน่น116.96 คน/ตร.กม. (302.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 36130
รหัสภูมิศาสตร์3615
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเนินสง่า หมู่ที่ 5 ตำบลหนองฉิม อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ 36130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เนินสง่า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด โดยอำเภอเนินสง่านับเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดชัยภูมิที่มีทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ผ่าน มีสถานีรถไฟหนองฉิม เป็นสถานีรถไฟย่อยประจำอำเภอ

ประวัติ

[แก้]

เดิมท้องที่อำเภอเนินสง่าทั้งหมดถูกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส ต่อมาในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2481 กระทรวงมหาดไทยได้มีการแยกการปกครองหมู่ที่ 2,4,6,12-13,19-20,23-25 จากตำบลละหาน จัดตั้งเป็นตำบลตาเนิน[1] และในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ได้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลละหานอีกครั้ง รวมตั้งเป็นตำบลหนองฉิม[2] วันที่ 1 กันยายน 2513 กระทรวงมหาดไทยได้มีการแยกการปกครองหมู่ที่ 4-9,11,13,15,18 จากตำบลตาเนิน จัดตั้งเป็นตำบลกะฮาด[3][4] และในวันที่ 10 ตุลาคม 2529 กระทรวงมหาดไทยได้มีการแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลหนองฉิม จัดตั้งเป็นตำบลรังงาม[5]

ต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิเขต 3 สมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิเขตเลือกตั้งอำเภอจัตุรัส พ่อค้า ประชาชนได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือและพิจารณาเห็นว่าพื้นที่จำนวน 4 ตำบลของอำเภอจัตุรัส ประกอบด้วยตำบลหนองฉิม ตำบลตาเนิน ตำบลกะฮาด และตำบลรังงาม เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแต่อยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอจัตุรัส จึงได้มีมติยื่นเรื่องให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยพิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น โดยแยกพื้นที่การปกครอง 4 ตำบลของอำเภอจัตุรัส ซึ่งทางราชการได้พิจารณาหลักเกณฑ์และสภาพปัญหาข้อเท็จจริง จึงได้ประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอเนินสง่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535[6] โดยกำหนดที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบริเวณที่สาธารณประโยชน์ บ้านหนองผักชี หมู่ที่ 5 ตำบลหนองฉิม เนื้อที่ 36 ไร่ และราษฎรบริจาคที่ดินสมทบ จำนวน 25 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา รวมที่ดินตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอเนินสง่าทั้งหมด 61 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา และในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ทางราชการได้ตั้งสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอเนินสง่า[7] ซึ่งเขตอำนาจความรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองของสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอเนินสง่าที่ตั้งขึ้นใหม่ครอบคลุมสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านตาเนินที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531[8] จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านตาเนินอีกต่อไป ซึ่งเดิมสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านตาเนินมีพื้นที่สอบสวนในเขตตำบล ตำบลตาเนิน ตำบลหนองฉิม ตำบลกะฮาด และตำบลรังงามในอำเภอเนินสง่าในปัจจุบัน

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเนินสง่า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ปีเดียวกัน[9] โดยการตั้งชื่ออำเภอเป็น "เนินสง่า" นั้น เกิดจากสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นเนินสูง เพื่อให้เป็นชื่อที่ไพเราะมากยิ่งขึ้น จึงตั้งชื่อว่า  "เนินสง่า"

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเนินสง่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเนินสง่าแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หนองฉิม (Nong Chim) 15 หมู่บ้าน
2. ตาเนิน (Ta Noen) 14 หมู่บ้าน
3. กะฮาด (Kahat) 10 หมู่บ้าน
4. รังงาม (Rang Ngam) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเนินสง่าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองฉิมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเนินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกะฮาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะฮาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรังงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังงามทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1938–1939. September 5, 1938.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ง): 1938–1944. July 27, 1965.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสาน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2430–2445. September 1, 1970.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสาน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (111 ง): 3375–3376. December 1, 1970.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 10-12. October 10, 1986.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเนินสง่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 16. April 22, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๔ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (210 ง): (ฉบับพิเศษ) 5. December 15, 1993.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (188 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-5. November 16, 1989.
  9. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. September 26, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.