หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล)
รองเสวกเอก หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล) บ.ช., บ.ม. | |
---|---|
ปลัดกรมกองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ปรากฏ |
เสียชีวิต | ไม่ปรากฏ |
บิดา | หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) |
มารดา | ไม่ปรากฏ |
อาชีพ | ข้าราชการ, ขุนนาง |
รองเสวกเอก หลวงลิขิตปรีชา เดิมชื่อ ปลอบ เป็นข้าหลวงในกรมราชเลขานุการ[1] ปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ในราชการส่วนพระองค์[2] สมัยรัชกาลที่ 5 (หลังยุบกระทรวงมุรธาธร) ตำแหน่งปลัดกรมกองรายงานหนังสือไปมา ในวาระพระยาศรีราชอักษร (มา กาญจนาคม) เป็นเจ้ากรม[3][4] บิดาชื่อ นายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) ทหารกองหนุนสมัยรัชกาลที่ 5 สังกัดกรมทหารบก กระทรวงกลาโหม บุตรชื่อ พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล) สืบสกุล "โรจนกุล" ต้นสกุลคือ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)
ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]
บรรดาศักดิ์ขณะรับราชการที่กรมราชเลขานุการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2457 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[7]
- พ.ศ. 2456 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[8]
พี่น้องและทายาท[แก้]
หลวงลิขิตปรีชามีพี่น้องและทายาทผู้สืบทอดสกุล ดังต่อไปนี้
- 1. เสวกโท นายกองเอก พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล)
- พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) เป็นบุตรของหลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) รับราชการในกรมปลัดเสือป่า ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหนังสือ[9] มีบรรดาศักดิ์เดิมว่า นายกองโท พระพิจารย์ราชหัดถ์ (ปลอบ) ต่อมาได้เลื่อนยศขึ้นเป็น นายกองเอก พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ)
- 2. อํามาตย์ตรี พระอํานวยเนติพจน์ (เลื่อง โรจนกุล) [10] [11] [12]
- อดีตพระใบฎีกา (เลื่อง) วัดอมรินทรารามวรวิหาร สมัยรัชกาลที่ 5 อดีตข้าราชการกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ. 24?? - พ.ศ. 2472) ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมณฑลพิศณุโลก[13] ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี [14] มีบรรดาศักดิ์เดิมว่า หลวงอํานวยเนติพจน์ (เลื่อง) ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระอํานวยเนติพจน์ (เลื่อง) ถือศักดินา 800
- หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นก่อนแพแตก พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2474 รับราชการเป็นเจ้าเมืองต่าง ๆ ดังนี้ [15]
- 4. รองอำมาตย์โท ขุนโรจนกุลประภัทร[16] (ปอนด์ โรจนกุล)
- ขุนโรจนกุลประพัทธ์ ถือศักดินา 800 สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกันกับหลวงวิโรจน์รัฐกิจ รับราชการดังนี้
- พ.ศ. 247? – 2474 นายอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
- พ.ศ. 2474 – 2475 นายอำเภอเมืองเพ็ชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- พ.ศ. 2475 – 247? นายอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- 5. ศรีชัย โรจนกุล (แป้น โรจนกุล)
- สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีแล้วจึงไปศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้เป็นราชการในกรมเสมียนตรามหาดไทย สังกัดกรมมหาดไทยและเป็นทหารม้ารักษาพระองค์ และภายหลังได้ย้ายมาเป็นนายอำเภอ
- พ.ศ. 253? – 2536 นายอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ดังนี้ [17]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ นาครสงเคราะห์ ประจำพุทธศักราช 2456. พระนคร : พระราชเสภา, 2456. หน้า 458.
- ↑ ประวัติความเป็นมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565.
- ↑ สุมน กาญจนาคม. (2478). ปิตุทิศ. พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาศรีราชอักษร (มา กาญจนาคม). พระนคร : โรงพิมพ์ห้องสมุดไท, 2478.
- ↑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า, ชินวรสิริวัฒน์, พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวง, และนิติศาสตร์ไปศาลย์, พระยา. พุทธาทิภาษิต. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาศรีราชอักษร (มา กาญจนาคม) ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มกราคม 2478. พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2478.
- ↑ ภาษาและหนังสือ ฉบับที่ 4-9. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, พ.ศ. 2515.
- ↑ ทำเนียบตำแหน่งข้าราชการ กองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ. นาครสงเคราะห์ ประจำพุทธศักราช 2456. พระนคร : พระราชเสภา, 2456. หน้า 90.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. (๒๔๕๗, ๑๔ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๑. หน้า ๒,๘๕๑.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. (๒๔๕๖, ๑๗ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๐. หน้า ๑,๘๙๙.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศเสือป่า. เล่ม 34, 28 ตุลาคม 2460, หน้า 2,102.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระ, และหอสมุดแห่งชาติ (ประเทศไทย). เปรียญรัชกาลที่ 5. พระนคร : โสภณพิพัฒนากร, 2462.
- ↑ การประชุมราชบัณฑิต. พระนคร : โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ, 2453. 51 หน้า.
- ↑ ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 4 ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. กรมศิลปากร, 2546.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ปี ร.ศ.125. เล่ม 23, 2 ธันวาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449), หน้า 932.
- ↑ ทำเนียบข้าราชการตุลาการและจ่าศาล ศาลจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง พ.ศ. 2454 - 2520.
- ↑ มหาเสวกเอก เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 28 พฤษภาคม 2459 เล่ม 33 หน้า 51
- ↑ ตรี อมาตยกุล. ประวัติเมืองสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นิยมวิทยา, 2494. 527 หน้า. หน้า 188.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. การประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ช้างเผือก และมงกุฎไทย พ.ศ. 2527. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 102 ตอนที่ 17, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528, หน้า 1,184.
- บรรณาณุกรม
- อักษร โสภณ. สกุลไทย, ฉบับที่ 1652-1659; ฉบับที่ 1661-1663
- กฤตภาส โรจนกุล. โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.], 2554.
- พระราชวังพญาไท