พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง โรจนกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำมาตย์ตรี
พระอำนวยเนติพจน์
(เลื่อง โรจนกุล)
พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)
ขณะรับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2459
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2460
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กรกฎาคม พ.ศ. 2398
แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์
เสียชีวิต25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 (73 ปี)[1]: 7 
แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์
บุพการี
  • อู่ โรจนกุล (บิดา)
  • ไม่ปรากฏ (มารดา)
อาชีพข้าราชการฝ่ายตุลาการ, ขุนนาง

อำมาตย์ตรี พระอำนวยเนติพจน์[2]: 22  (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471) เดิมชื่อ เลื่อง หรือ เนื่อง[3] เป็นอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด อดีตข้าราชการฝ่ายตุลาการ กระทรวงยุติธรรม สมัยปลายรัชกาล ที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6[4]

ประวัติ[แก้]

พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2398[1]: 6 [5] มีนิวาสสถานเดิมอยู่ที่วังหลัง แขวงบ้านช่างหล่อ (จังหวัดธนบุรี) บิดาชื่ออู่ โรจนกุล[5] บุตรชื่อ รองอำมาตย์ตรี ลือ โรจนกุล เมื่อมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2415 ได้บวชเป็นสามเณรศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีกับเจ้าอาวาสที่วัดอมรินทรารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย จังหวัดพระนคร แล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดแห่งนี้ มีสมณศักดิ์เป็น พระใบฎีกา (เลื่อง) ในคราวนั้นจึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล จนกระทั้งสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2425[6]: 18  ต่อมาจึงสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค[7] เมื่อบวชได้ 6 พรรษา[5] จึงลาอุปสมบทแล้วเข้ารับราชการ

ด้านราชการ[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2434 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนฝึกหัดที่กรมลูกขุนศาลฎีกา ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเสมียนกระทรวงยุติธรรมเมื่อ พ.ศ.2435[5] ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์อดีตพระใบฎีกา (เลื่อง) เป็น ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง)[5]

เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้เป็นเสมียนรัฐมนตรี ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีดำริให้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง) ได้เข้าเรียนวิชากฏหมายโดยมีกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้สอนวิชากฏหมายอยู่ในขณะนั้น ครั้นมีการสอบไล่ปรากฏว่าขุนกิจวิจารณ (เลื่อง) สอบไล่วิชากฏหมายได้ในการสอบไล่ครั้งที่สอง นับว่ามีน้อยคนนักที่สอบไล่ผ่านได้

เมื่อ พ.ศ. 2440 มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมีกองข้าหลวงพิเศษขึ้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ โปรดให้ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง) เป็นผู้พิพากษาศาลเมืองลพบุรี[1]: 7  ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนชำนาญนิติศาสตร์ (เลื่อง) ตำแหน่งผู้พิพากษารองที่ศาลเมืองหล่มสัก มณฑลเพชรบูรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 เป็นต้นไป และปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานยศและเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) ปรากฏในบัญชี ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงยุติธรรม ปี ร.ศ. 125[8]: 932 [5]

เมื่อ พ.ศ. 2445 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้พิพากษาและย้ายราชการเป็นเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดไชยา เมืองไชยา มณฑลชุมพร (ปัจจุบันคือ จ.สุราษฎร์ธานี)[1]: 7 [5]

เมื่อ พ.ศ. 2449 หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) และได้ย้ายราชการไปที่ศาลมณฑลพิษณุโลก[1]: 7  (ปัจจุบันคือศาลจังหวัดพิษณุโลก) จนกระทั่ง พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศข้าราชการฝ่ายพลเรือนเป็น อำมาตย์ตรี หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)[1]: 7  เมื่อ พ.ศ. 2455[5]

เมื่อ พ.ศ. 2455 หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดระนอง ครั้นรับราชการเป็นผู้พิพากษาได้ 10 ปีเศษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมลฑลนครสวรรค์ และต่อมาย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 เป็นต้นไป[9] (ปัจจุบันคือศาลจังหวัดธัญบุรี สำนักงานศาลยุติธรรมภาค 1) มีบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)[6]: 18 รับราชการจนกระทั่งอายุ 62 ปี[5][1]: 7  จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460[10] และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ด้วยโรคฝีในลำไส้หรือโรคชรา[5] สิริอายุรวมได้ 73 ปี[11][1]: 7 

ด้านการสนับสนุนการศึกษา[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) มีบทบาทในการสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือตามหัวเมืองต่างๆ เช่น การสมทบทุนทรัพย์เพื่อตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม (วัดบ้านสวน)[12]: 1, 352  จ.สุโขทัย เป็นต้น

หมายเรียกตัวคดีแพ่งที่ ๑๓๑/๒๔๕๘ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ออกโดย หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2458[13]

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • พระใบฎีกา (เลื่อง) วัดอมรินทรารามวรวิหาร (พ.ศ.2419 – พ.ศ. 2433)[5]
  • ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง)
  • ขุนชำนาญนิติศาสตร์ (เลื่อง)
  • อำมาตย์ตรี หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)[14]: 926 
  • อำมาตย์ตรี พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)[6]: 18  ศักดินา 3000[15]: 15 

ตำแหน่งราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2434 – 2435 เสมียนฝึกหัด กรมลูกขุนศาลฎีกา
  • พ.ศ. 2435 – 2440 เสมียนกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2440 – 2441 เสมียนรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2441 – 2442 ผู้พิพากษารอง ศาลเมืองหล่มสัก
  • พ.ศ. 2442 – 2445 ผู้พิพากษาศาลเมืองลพบุรี
  • พ.ศ. 2445 – 2449 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดไชยา
  • พ.ศ. 2449 – 2454 ผู้พิพากษาศาลมณฑลพิษณุโลก
  • พ.ศ. 2454 – 2456 ผู้พิพากษาศาลเมืองระนอง
  • พ.ศ. 2456 – 2456 ผู้พิพากษาศาลศาลมณฑลนครสวรรค์[16]
  • พ.ศ. 2456 – 2460 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี (ปัจจุบันคือศาลจังหวัดธัญบุรี)[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 ราชบัณฑิตยสภา. (2472). "ประวัติอำมาตย์ตรี หลวงอำนวยเนติพจน์ (เนื่อง โรจนกุล)," ใน ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 4 ตอนหนุมานถวายแหวน. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรี หลวงอำนวยเนติพจน์ (เนื่อง โรจนกุล) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. 70 หน้า.
  2. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2450). เปรียญรัชกาลที่ 5. พระนคร: ขวัญชัยสมัครราษฎร์. 77 หน้า. ISBN 974-419-128-7
  3. ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ห้องสมุดศาลยุติธรรม (เผยแพร่). "ทำเนียบข้าราชการตุลาการและจ่าศาล ศาลจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๕๒๐," นิทรรศการครบรอบ 100 ปี ศาลจังหวัดปทุมธานี (หลังเก่า) เก็บถาวร 2023-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. กรมเสนาธิการทหารบก. (2450). สมุดคู่มือสำหรับช้าราชการ ประจำปี ร.ศ. 126. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. 357 หน้า.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 ข่าวตาย. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๑, ๑๗ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๕. หน้า ๓,๘๗๓ – ๓,๘๗๔.
  6. 6.0 6.1 6.2 หอพระสมุดวชิรญาณ. (2463). เปรียญรัชกาลที่ ๕ รวบรวมพิมพ์เป็นภาคที่ ๑. พิมพ์แจกในงานศพพระธรรมทานาจารย์ (หรุ่น) ราชาคณะวัดสระเกษ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
  7. การประชุมราชบัณฑิต. พระนคร: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ, 2453. 51 หน้า.
  8. ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ปี 125. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 23. 2 ธันวาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449).
  9. ทำเนียบข้าราชการตุลาการและจ่าศาล ศาลจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง พ.ศ. 2454 - 2520.
  10. แจ้งความกระทรวงยุติธรรม. (๒๔๖๐, ๔ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๔. หน้า. ๒,๑๙๗.
  11. ห้องสมุดวชิรญาณ. ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 4 ตอนหนุมานถวายแหวน ​พิมพ์ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรี หลวงอำนวย เนติพจน์ (เนื่อง โรจนกุล) เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช 2472.
  12. แพนกศึกษามณฆล. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 24. 15 มีนาคม ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450).
  13. ประกาศศาลเมืองประทุมธานีในคดีที่ 131, 2458. หนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1,861 วันพุธที่ 19 เมษายน พระพุทธศักราช 2459.
  14. ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28. 13 สิงหาคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454).
  15. ปรีดานฤเบศร์ (ฟัก พันธุ์ฟัก), มหาเสวกตรี พระยา. (2461). วิธีพิจารณาความอาญา. พระนคร: [ม.ป.ท]. 175 หน้า.
  16. แจ้งความกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ตั้งแลผลัดเปลี่ยนผู้พิพากษา. (๒๔๕๕, ๒๓ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๒๙. หน้า. ๒,๘๓๙.
  17. แจ้งความกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ตั้งแลย้ายตำแหน่งน่าที่ราชการ. (๒๔๕๖, ๑๔ กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๐. หน้า. ๑,๒๕๗.
  18. พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ วันที่ ๓๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑ เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 หน้า 2,438. 22 มกราคม ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455).

บรรณาณุกรม

  • นิทรรศการครบรอบ 100 ปี ศาลจังหวัดปทุมธานี (หลังเก่า).
  • ประกาศศาลเมืองประทุมธานี ในคดีที่ 131, 2458. กรุงเทพเดลิเมล์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1861. วัน พุธ ที่ 19 เมษายน พระพุทธศักราช 2459.
  • กฤตภาส โรจนกุล. โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.], 2554.