อุทยานเบญจสิริ

พิกัด: 13°43′49.22″N 100°34′2.35″E / 13.7303389°N 100.5673194°E / 13.7303389; 100.5673194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สวนเบญจสิริ)
อุทยานเบญจสิริ
สวนเบญจสิริเมื่อปี 2563
แผนที่
ประเภทสวนชุมชน
ที่ตั้งระหว่างซอยสุขุมวิท 22 - 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
พิกัดภูมิศาสตร์13°43′49.22″N 100°34′2.35″E / 13.7303389°N 100.5673194°E / 13.7303389; 100.5673194
พื้นที่29 ไร่ (4.6 เฮกตาร์)
เปิดตัว12 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ผู้ดำเนินการตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร  กรุงเทพมหานคร
สถานะ05.00 - 21.00 น. ทุกวัน
ขนส่งมวลชน พร้อมพงษ์

อุทยานเบญจสิริ หรือ สวนเบญจสิริ เป็นสวนชุมชนในกรุงเทพมหานคร สร้างบนที่ดินเดิมเนื้อที่ 29 ไร่ของกรมอุตุนิยมวิทยาริมถนนสุขุมวิทที่ย้ายออกไปอยู่ที่ถนนสุขุมวิท เขตบางนา โดยมีพื้นที่เชื่อมต่อกับโรงแรมแมริออท มาคีส์ ควีนส์ปาร์ค, เอ็มโพเรียม และเอ็มสเฟียร์

สวนสาธารณะแห่งนี้จัดสร้างโดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบในปี พ.ศ. 2535 ภูมิทัศน์ของสวน ออกแบบโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

ภายในสวนสาธารณะแห่งนี้มีประติมากรรมตั้งประดับอยู่เป็นการถาวร จำนวน 12 ชิ้นงาน[1]

ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 อุทยานเบญจสิริได้ใช้เป็นที่ปราศรัยใหญ่ปิดการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในปลายปีเดียวกัน และในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ใช้เป็นที่ปราศรัยใหญ่ปิดหาเสียงของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 และเป็นที่เปิดตัวและปิดท้ายการปราศรัยใหญ่หาเสียงของ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2556 และในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ใช้เป็นที่ปราศรัยใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในกลางปีเดียวกัน และใช้เป็นที่ปราศรัยใหญ่ปิดท้ายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกัน[2]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มเดอะมอลล์ได้ประกาศความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครในการปรับปรุงอุทยานเบญจสิริ และเปิดทางเชื่อมเข้ากับโครงการเอ็มโพเรียมและเอ็มสเฟียร์ โดยแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 พร้อมกับการเปิดให้บริการของเอ็มสเฟียร์[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อุทยานเบญจสิริ ปอดแห่งสุขุมวิท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.
  2. สุขุมพันธุ์ขึ้นเวทีปราศรัยขอคะแนนครั้งสุดท้ายที่สวนเบญจสิริ จากเดลินิวส์
  3. "The Mall เตรียมช่วยปรับปรุงสวนเบญจสิริ รับเปิดศูนย์การค้า Emsphere ธันวาคม 2566". Time Out กรุงเทพมหานคร.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]