สกุลแมว
สกุลแมว | |
---|---|
![]() | |
แมวป่า (Felis chaus) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ พบได้ในหลายพื้นที่ของทวีปเอเชีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
วงศ์ย่อย: | Felinae |
สกุล: | Felis Linnaeus, 1758 |
ชนิดต้นแบบ | |
Felis catus Linnaeus, 1758[1] | |
ชนิด | |
![]() | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
สกุลแมว หรือ สกุลแมวเล็ก (อังกฤษ: Small cat)[2] เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดเป็นเสือขนาดเล็ก ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Felis
โดยที่คำว่า Felis นั้น มาจากภาษาละตินที่แปลตรงตัวว่า แมว และถือเป็นสกุลดั้งเดิมของหลายชนิดในวงศ์นี้ ก่อนที่จะแตกออกไปเป็นสกุลอื่น ๆ ตามเวลาที่มีการศึกษาเพิ่มเติม [3]
โดยสมาชิกที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลนี้ ก็คือ แมวตีนดำ ที่พบในทวีปแอฟริกา ที่มีความยาวเต็มที่ 36.9 เซนติเมตร (14.5 นิ้ว) และความยาวหาง 12.6-17 เซนติเมตร ซึ่งถือเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ด้วย [4] ขณะที่ใหญ่ที่สุด คือ แมวป่า มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 50-56 เซนติเมตร ขณะที่ความยาวหาง 26-31 เซนติเมตร[5]
สมาชิกในสกุลนี้ยังรวมถึงแมวบ้าน ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า สกุลนี้มีปรากฏครั้งแรกเมื่อราว 8-10 ล้านปีมาแล้ว ทางแถบเมดิเตอร์เรเนียน[6]
การจำแนก[แก้]
ในปัจจุบัน มีการอนุกรมวิธานแมวในสกุล Felis ออกเป็น 8 ชนิด บางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ได้แก่
- แมวป่า (Felis chaus)
- แมวทราย (Felis margarita)
- แมวตีนดำ (Felis nigripes)
- แมวป่ายุโรป (Felis silvestris)
- แมวบ้าน (Felis catus)
- แมวภูเขาจีน (Felis bieti)
- Felis attica †
- Felis lunensis † [2] [7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Linnaeus, C. 1758: Systema Naturae per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis, Tomus I. Editio decima, reformata. Holmiæ: impensis direct. Laurentii Salvii. i–ii, 1–824 p41
- ↑ 2.0 2.1 2.2 จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ นิตยสาร SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 เดือนมิถุนายน 2545 คอลัมน์ สัตว์ป่าน่ารู้ หน้า 202 โดย พัชรินทร์ ธรรมรส
- ↑ Smithers, R.H.N. (1983) The mammals of the southern African subregion. University of Pretoria
- ↑ Jungle Cat - The jungle cat
- ↑ Pecon-Slattery, J. and O'Brien, S.J. (1998). "Patterns of Y and X chromosome DNA sequence divergence during the Felidae radiation". Genetics 148 (3): 1245–1255.
- ↑ Sunquist, Mel; Sunquist, Fiona (2002). Wild cats of the World. Chicago: University of Chicago Press. p. 84. ISBN 0-226-77999-8.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Felis |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Felis จากวิกิสปีชีส์