ข้ามไปเนื้อหา

สมัยโฮโลซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยโฮโลซีน
0.0117 – 0 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาสมัย
หน่วยลำดับชั้นหินหินสมัย
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างจุดสิ้นสุดของธารน้ำแข็งถอยกลับยังเกอร์ดรายแอส
ขอบล่าง GSSPแกนน้ำแข็งของ NGRIP2 กรีนแลนด์
75°06′00″N 42°19′12″W / 75.1000°N 42.3200°W / 75.1000; -42.3200
การอนุมัติ GSSP2008 (เป็นฐานของสมัยโฮโลซีน)[1]
คำนิยามขอบบนปัจจุบัน
ขอบบน GSSPN/A
การอนุมัติ GSSPN/A
อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน

โฮโลซีน (อังกฤษ: Holocene) เป็นสมัยทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 11,650 ปีปรับเทียบก่อนปัจจุบัน ภายหลังจากช่วงอายุธารน้ำแข็งครั้งล่าสุด ซึ่งจบลงด้วยการล่าถอยของธารน้ำแข็งโฮโลซีน[2] โดยสมัยโฮโลซีนนั้นเป็นสมัยที่ต่อเนื่องมาจากสมัยไพลสโตซีน[3] ซึ่งทั้งสองสมัยนั้นรวมกันเป็นยุคควอเทอร์นารี สมัยโฮโลซีนนั้นได้รับการระบุว่าเป็นยุคอบอุ่นปัจจุบัน หรือรู้จักกันในชื่อ MIS 1 แต่บ้างก็ถือว่าเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งในสมัยไพลสโตซีน เรียกว่า ช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งฟลันเดรียน[4]

สมัยโฮโลซีนนั้นสอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว การโตขึ้น และผลกระทบของเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั่วโลก รวมไปถึงประวัติศาสตร์ที่ได้รับการเขียนไว้ทั้งหมด การปฏิวัติเทคโนโลยี การพัฒนาของอารยธรรมใหญ่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงสำคัญโดยรวมซึ่งนำไปสู่การใช้ชีวิตเมืองในปัจจุบัน ผลกระทบของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันและระบบนิเวศนั้นอาจพิจารณาได้ว่ามีความสำคัญต่อการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอนาคตทั่วโลก รวมไปถึง หลักฐานธรณีภาคที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยประมาณ หรือหลักฐานด้านอุทกภาคและบรรยากาศภาคเกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 สหพันธ์ธรณีวิทยาสากลได้ทำการแบ่งสมัยโฮโลซีนออกเป็นสามการแบ่งย่อย ได้แก่ ช่วงอายุกรีนแลนด์เดียน (11,700 ปีก่อนถึง 8,200 ปีก่อน) ช่วงอายุนอร์ทกริปเปียน (8,200 ปีก่อนถึง 4,200 ปีก่อน) และช่วงอายุเมฆาลายัน (4,200 ปีก่อนถึงปัจจุบัน) ตามที่คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลเสนอ[5] โดยขอบชั้นหินแบบฉบับของช่วงอายุเมฆาลายัน คือ หินถ้ำในถ้ำ Mawmluh ในประเทศอินเดีย[6] และชั้นหินแบบฉบับแทรกทั่วโลก คือ แกนน้ำแข็งจากภูเขาโลแกนในประเทศแคนาดา[7]

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ชื่อโฮโลซีน (Holocene) ในภาษาอังกฤษได้รับมาจากคำในภาษากรีกโบราณ โดยคำว่า โฮโลส (Holos หรือ ὅλος) นั้นหมายถึง "ทั้งหมดทั้งมวล" และคำว่า "ซีน" นั้นมาจากคำว่า ไคนอส (kainos หรือ καινός) หมายถึง "ใหม่" ตามแนวคิดของสมัยนี้ คือ "ใหม่ทั้งหมด" (entirely new)[8][9][10] โดยคำเสริมท้าย "-ซีน" (-cene) นั้นถูกใช้กับทั้งเจ็ดสมัยของมหายุคซีโนโซอิก

ภาพรวม

[แก้]

คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลยอมรับว่าสมัยโฮโลซีนนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 11,650 ปีปรับเทียบก่อนปัจจุบัน[2] ซึ่งคณะอนุกรรมธิการว่าด้วยยุคควอเทอร์นารีนั้นเลิกใช้คำว่า 'ล่าสุด' และเลือกชื่อโฮโลซีนมาใช้แทน และยังมีการสนใจในชื่อฟลันเดรียนด้วย ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับมาจากตะกอนการรุกล้ำของทะเลที่ชายหาดฟลันเดอร์สของประเทศเบลเยียม โดยมีการใช้เป็นชื่อพ้องกับโฮโลซีนโดยผู้เขียนที่พิจารณาว่าใน 10,000 ปีที่ผ่านมานั้นควรมีระยะเดียวกันกับเหตุการณ์ช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งครั้งก่อน และถูกรวมอยู่ในสมัยไพลสโตซีน[11] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลพิจารณาว่าสมัยโฮโลซีนนั้นเป็นสมัยอันต่อเนื่องมาจากสมัยไพลสโตซีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคธารน้ำแข็งล่าสุด ซึ่งท้องถิ่นของยุคธารน้ำแข็งล่าสุดนั้น ได้แก่ การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งวิสคอนซินในทวีปอเมริกาเหนือ[12] การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งไวคเซอเลียนในทวีปยุโรป[13] เดเวนเซียนในบริเตน[14] การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งลังกีอวยในประเทศชิลี[15] และออตีรันในประเทศนิวซีแลนด์[16]

สมัยโฮโลซีนสามารถแบ่งย่อยออกเป็นห้าช่วงคั่นหรือหินรุ่น ตามความผันแปรของสภาพอากาศ ได้แก่[17]

หมายเหตุ: "พันปีก่อนปัจจุบัน" หมายถึง "จำนวนพันปีก่อนปัจจุบัน" เช่น 1,000 ปีก่อนปี ค.ศ. 1950 (โดยเป็นวันคาร์บอน 14 ที่ยังมิได้ปรับเทียบ)

นักธรณีวิทยาซึ่งทำงานในภูมิภาคต่าง ๆ นั้นกำลังทำการศึกษาระดับน้ำทะเล บึงพีด (peat bogs) และตัวอย่างแกนน้ำแข็งด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและขัดเกลาลำดับลิตต์–เซร์นันเดร์ ซึ่งเป็นการจำแนกประเภทของยุคทางภูมิอากาศโดยการใช้ซากพืชในพีทมอสเป็นตัวกำหนด[18] แม้ว่าครั้งหนึ่งจะเคยมีความคิดว่าวิธีนี้นั้นมีความน่าสนใจเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการอ้างอิงอายุจาก 14C ของพีทมอสนั้นไม่สอดคล้องกับหินรุ่นที่อ้างอิง[19] แต่ผู้ตรวจสอบพบความสอดคล้องกันโดยทั่วไปทั่วทั้งทวีปยูเรเชียและทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเดิมแผนการนี้ถูกวางไว้สำหรับยุโรปเหนือ แต่ความแปรปรวนของสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยช่วงของแผนการนี้นั้นรวมไปถึงความแปรปรวนสุดท้ายก่อนโฮโลซีนของยุคธารน้ำแข็งครั้งล่าสุดด้วย และจากนั้นจึงจำแนกภูมิอากาศของยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหม่กว่า[20]

นักบรรพชีวินวิทยาไม่ได้ทำการกำหนดหินช่วงอายุกลุ่มซากดึกดำบรรพ์ใด ๆ สำหรับสมัยโฮโลซีน หากจำเป็นต้องมีการแบ่งย่อย ช่วงเวลาของการพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์ เช่น ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ และ ยุคสัมฤทธิ์ มักถูกนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาอ้างอิงของคำเหล่านี้นั้นจะแตกต่างกันไปตามเกิดขึ้นของเทคโนโลยีนั้น ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของโลก[21]

ตามที่นักวิชาการบางคนกล่าวว่า การแบ่งที่สาม หรือ แอนโทรโปซีน ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วนั้น[22] คำนี้ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงถึงช่วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งเงื่อนไขและกระบวนการสำคัญทางธรณีวิทยาหลายประการได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากโดยกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งชื่อ 'แอนโทรโปซีน' (Anthropocene) (ซึ่งได้รับการบัญญัติโดยพอล เจ. ครูทเซนและยูจีน สเตอร์เมอร์ในปี 2543) นั้นไม่ใช่หน่วยทางธรณีวิทยาอย่างเป็นทางการ โดยคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยยุคควอเทอร์นารีของคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล มีคณะทำงานเพื่อการพิจารณาความเหมาะสมของสิ่งเหล่านี้ โดยในเดือนพฤษภาคม 2562 สมาชิกของคณะทำงานได้ลงมติเห็นชอบให้คำว่า แอนโทรโปซีน เป็นหน่วยทางการของหน่วยอายุลำดับชั้นหิน (chrono-stratigraphic unit) โดยมีสัญญาณทางลำดับชั้นหินในราวกลางศตวรรษที่ยี่สิบตามสากลศักราช (ส.ศ.) เป็นฐาน ส่วนเกณฑ์ที่แน่นอนนั้นยังคงจำเป็นต้องมีการพิจารณาต่อไป ซึ่งหลังจากนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับเสียก่อน (โดยขั้นสุดท้าย คือ สหพันธ์ธรณีวิทยาสากล)[23]

ธรณีวิทยา

[แก้]

การเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปเนื่องการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคนั้นเกิดขึ้นน้อยกว่าหนึ่งกิโลเมตรในช่วงเวลาเพียง 10,000 ปี อย่างไรก็ตาม การละลายของน้ำแข็งนั้นทำให้เกิดระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นประมาณ 35 m (115 ft) ในช่วงต้นของสมัยโฮโลซีน และอีก 30 เมตรในช่วงหลังของสมัยโฮโลซีน นอกจากนี้ หลายพื้นที่ที่อยู่เหนือประมาณเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือนั้น ยังได้รับแรงกดดันจากน้ำหนักของธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนและเพิ่มขึ้นมากเท่ากับ 180 m (590 ft) เนื่องจากการเด้งกลับหลังธารน้ำแข็งในช่วงปลายของสมัยไพลสโตซีนถึงสมัยโฮโลซีน และยังคงเพิ่มขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้[24]

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการเป็นแอ่งบนแผ่นดินชั่วคราวนั้น ทำให้เกิดการรุกล้ำของทะเลชั่วคราวเข้าไปจนถึงพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันอยู่ไกลจากทะเล โดยซากดึกดำบรรพ์ทะเลของสมัยโฮโลซีนที่เป็นที่รู้จัก เช่น จากรัฐเวอร์มอนต์ และ รัฐมิชิแกน สหรัฐ นอกเหนือจากการรุกล้ำของทะเลชั่วคราวในละติจูดสูงนั้นเกี่ยวข้องกับแอ่งจากธารน้ำแข็ง ซากดึกดำบรรพ์ของสมัยโฮโลซีนนั้นยังพบได้ในก้นทะเลสาบที่ราบน้ำท่วมถึงและตอนกอนหินถ้ำ โดยตอนแกนทะเลสมัยโฮโลซีนตามแนวชายฝั่งในละติจูดต่ำนั้นหาได้ยาก เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเกินความเป็นไปได้ในการยกตัวของธรณีภาคของแหล่งที่ไม่ได้มาจากธารน้ำแข็ง[ต้องการอ้างอิง]

การเด้งกลับหลังธารน้ำแข็งในภูมิภาคสแกนดิเนเวียนั้นส่งผลให้ทะเลบอลติกลดลง โดยการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของภูมิภาคนี้ยังคงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเบา ๆ ทั่วยุโรปเหนือ เหตุการณ์ที่เท่ากันในทวีปอเมริกาเหนือ คือ การเด้งกลับของอ่าวฮัดสัน โดยตัวอ่าวนั้นหดตัวลงจากระยะทะเลไทรเรลที่ใหญ่กว่าในช่วงหลังธารน้ำแข็งโดยทันที จนใกล้ขอบเขตปัจจุบัน[25]

สภาพอากาศ

[แก้]

เมื่อเทียบกับในช่วงก่อนหน้าที่มีอากาศหนาวเย็น (การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็ง) ภูมิอากาศในสมัยโฮโลซีนนั้นค่อนข้างคงที่ บันทึกที่อยู่ในแกนน้ำแข็งแสดงให้เห็นว่าก่อนสมัยโฮโลซีนนั้นมีภาวะโลกร้อนหลังจากสิ้นสุดยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด และมีช่วงที่อากาศเย็นตัวลง แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับใหญ่นั้นมีมากขึ้นในช่วงเริ่มต้นยังเกอร์ดรายแอส ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากช่วงอายุธารน้ำแข็งครั้งล่าสุดมาเป็นสมัยโฮโลซีนนั้น การพลิกกลับอากาศเย็นฮูเอลโม–มัสการ์ดีในซีกโลกใต้เริ่มต้นขึ้นก่อนยังเกอร์ดรายแอส และทำให้กระแสความอบอุ่นไหลจากใต้ขึ้นสู่เหนือจาก 11,000 ถึง 7,000 ปีก่อน โดยดูเหมือนว่าสิ่งนี้นั้นได้รับอิทธิพลจากธารน้ำแข็งที่ยังหลงเหลืออยู่ในซีกโลกเหนือจนถึงช่วงหลัง ๆ[ต้องการอ้างอิง]

สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมที่สุดโฮโลซีน (HCO) เป็นช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้อากาศอบอุ่นขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนนั้นอาจไม่เท่ากันทั่วโลก โดยช่วงเวลาอบอุ่นนี้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 5,500 ปีก่อนโดยการเข้าสู่นีโอกลาซีเอชันพร้อมด้วยนีโอพลูเวียล ในเวลานั้น สภาพภูมิอากาศนั้นไม่ต่างจากปัจจุบัน แต่มีช่วงเวลาที่อบอุ่นกว่าเล็กน้อยจากศตวรรษที่ 10 ถึง 14 ซึ่งรู้จักในชื่อ ยุคอบอุ่นยุคกลาง ตามด้วย ยุคน้ำแข็งน้อย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 หรือ 14 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19

อ้างอิง

[แก้]
  1. Walker, Mike; Johnse, Sigfus; Rasmussen, Sune; Steffensen, Jørgen-Peder; Popp, Trevor; Gibbard, Phillip; Hoek, Wilm; Lowe, John; Andrews, John; Björck, Svante; Cwynar, Les; Hughen, Konrad; Kershaw, Peter; Kromer, Bernd; Litt, Thomas; Lowe, David; Nakagawa, Takeshi; Newnham, Rewi; Schwande, Jakob (June 2008). "The Global Stratotype Section and Point (GSSP) for the base of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period) in the NGRIP ice core". Episodes. 31 (2): 264–267. doi:10.18814/epiiugs/2008/v31i2/016. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
  2. 2.0 2.1 Walker, Mike; Johnsen, Sigfus; Rasmussen, Sune Olander; Popp, Trevor; Steffensen, Jorgen-Peder; Gibrard, Phil; Hoek, Wim; Lowe, John; Andrews, John; Bjo Rck, Svante; Cwynar, Les C.; Hughen, Konrad; Kersahw, Peter; Kromer, Bernd; Litt, Thomas; Lowe, David J.; Nakagawa, Takeshi; Newnham, Rewi; Schwander, Jakob (2009). "Formal definition and dating of the GSSP (Global Stratotype Section and Point) for the base of the Holocene using the Greenland NGRIP ice core, and selected auxiliary records" (PDF). Journal of Quaternary Science. 24 (1): 3–17. Bibcode:2009JQS....24....3W. doi:10.1002/jqs.1227.
  3. Fan, Junxuan; Hou, Xudong. "International Chronostratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
  4. Oxford University Press – Why Geography Matters: More Than Ever (book) – "Holocene Humanity" section https://books.google.com/books?id=7P0_sWIcBNsC
  5. Amos, Jonathan (2018-07-18). "Welcome to the Meghalayan Age a new phase in history". BBC News.
  6. "Collapse of civilizations worldwide defines youngest unit of the Geologic Time Scale".
  7. Formal subdivision of the Holocene Series/Epoch
  8. The name "Holocene" was proposed in 1850 by the French palaeontologist and entomologist Paul Gervais (1816–1879): Gervais, Paul (1850). "Sur la répartition des mammifères fossiles entre les différents étages tertiaires qui concourent à former le sol de la France" [On the distribution of mammalian fossils among the different tertiary stages which help to form the ground of France]. Académie des Sciences et Lettres de Montpellier. Section des Sciences (ภาษาฝรั่งเศส). 1: 399–413. From p. 413: "On pourrait aussi appeler Holocènes, ceux de l'époque historique, ou dont le dépôt n'est pas antérieur à la présence de l'homme ; … " (One could also call "Holocene" those [deposits] of the historic era, or the deposit of which is not prior to the presence of man ; … )
  9. "Origin and meaning of Holocene". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08.
  10. "Origin and meaning of suffix -cene". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08.
  11. Gibbard, P.L. (January 4, 2016). "History of the stratigraphical nomenclature of the glacial period". Subcommission on Quaternary Stratigraphy. International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ June 18, 2017.
  12. Clayton, Lee; Moran, Stephen R. (1982). "Chronology of late wisconsinan glaciation in middle North America". Quaternary Science Reviews. 1 (1): 55–82. Bibcode:1982QSRv....1...55C. doi:10.1016/0277-3791(82)90019-1.
  13. Svendsen, John Inge; Astakhov, Valery I.; Bolshiyanov, Dimitri Yu.; Demidov, Igor; Dowdeswell, Julian A.; Gataullin, Valery; Hjort, Christian; Hubberten, Hans W.; Larsen, Eiliv; Mangerud, Jan; Melles, Martin; Moller, Per; Saarnisto, Matti; Siegert, Martin J. (March 1999). "Maximum extent of the Eurasian ice sheets in the Barents and Kara Sea region during the Weichselian" (PDF). Boreas. 28 (1): 234–242. doi:10.1111/j.1502-3885.1999.tb00217.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-12. สืบค้นเมื่อ 2021-10-28.
  14. Eyles, Nicholas; McCabe, A. Marshall (1989). "The Late Devensian (<22,000 BP) Irish Sea Basin: The sedimentary record of a collapsed ice sheet margin". Quaternary Science Reviews. 8 (4): 307–351. Bibcode:1989QSRv....8..307E. doi:10.1016/0277-3791(89)90034-6.
  15. Denton, G.H.; Lowell, T.V.; Heusser, C.J.; Schluchter, C.; Andersern, B.G.; Heusser, Linda E.; Moreno, P.I.; Marchant, D.R. (1999). "Geomorphology, stratigraphy, and radiocarbon chronology of LlanquihueDrift in the area of the Southern Lake District, Seno Reloncavi, and Isla Grande de Chiloe, Chile" (PDF). Geografiska Annaler, Series A: Physical Geography. 81A (2): 167–229. doi:10.1111/j.0435-3676.1999.00057.x. S2CID 7626031. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-12.
  16. Newnham, R.M.; Vandergoes, M.J.; Hendy, C.H.; Lowe, D.J.; Preusser, F. (February 2007). "A terrestrial palynological record for the last two glacial cycles from southwestern New Zealand". Quaternary Science Reviews. 26 (3–4): 517–535. Bibcode:2007QSRv...26..517N. doi:10.1016/j.quascirev.2006.05.005.
  17. Mangerud, Jan; Anderson, Svend T.; Berglund, Bjorn E.; Donner, Joakim J. (October 1, 1974). "Quaternary stratigraphy of Norden: a proposal for terminology and classification" (PDF). Boreas. 3 (3): 109–128. doi:10.1111/j.1502-3885.1974.tb00669.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-28.
  18. Viau, André E.; Gajewski, Konrad; Fines, Philippe; Atkinson, David E.; Sawada, Michael C. (1 May 2002). "Widespread evidence of 1500 yr climate variability in North America during the past 14 000 yr". Geology. 30 (5): 455–458. Bibcode:2002Geo....30..455V. doi:10.1130/0091-7613(2002)030<0455:WEOYCV>2.0.CO;2.
  19. Blackford, J. (1993). "Peat bogs as sources of proxy climatic data: past approaches and future research" (PDF). Climate change and human impact on the landscape. Dordrecht: Springer. pp. 47–56. doi:10.1007/978-94-010-9176-3_5. ISBN 978-0-412-61860-4. สืบค้นเมื่อ 20 November 2020.
  20. Schrøder, N.; Højlund Pedersen, L.; Juel Bitsch, R. (2004). "10,000 years of climate change and human impact on the environment in the area surrounding Lejre". The Journal of Transdisciplinary Environmental Studies. 3 (1): 1–27.
  21. "Middle Ages | Definition, Dates, Characteristics, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  22. Pearce, Fred (2007). With Speed and Violence. Beacon Press. p. 21. ISBN 978-0-8070-8576-9.
  23. "Working Group on the "Anthropocene"". Subcommission on Quaternary Stratigraphy. International Commission on Stratigraphy. January 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 18, 2017.
  24. Gray, Louise (October 7, 2009). "England is sinking while Scotland rises above sea levels, according to new study". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
  25. Lajeuness, Patrick; Allard, Michael (2003). "The Nastapoka drift belt, eastern Hudson Bay: implications of a stillstand of the Quebec-Labrador ice margin in the Tyrrell Sea at 8 ka BP" (PDF). Canadian Journal of Earth Sciences. 40 (1): 65–76. Bibcode:2003CaJES..40...65L. doi:10.1139/e02-085. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2004-03-22.