สกุลแมวดาว
สกุลแมวดาว | |
---|---|
ชนิดในสกุลแมวดาวจากบนซ้ายตามเข็มนาฬิกา: แมวดาว (P. bengalensis), แมวดาวซุนดา (P. javanensis), แมวป่าหัวแบน (P. planiceps), เสือปลา (P. viverrinus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | แมว Felinae |
สกุล: | สกุลแมวดาว Prionailurus Severtzov, 1858 |
ชนิดต้นแบบ | |
Felis pardachrous Brian Houghton Hodgson, 1844 (= Felis bengalensis Kerr, 1792) | |
ชนิด | |
ดูข้างล่าง | |
ขอบเขตของสกุลแมวดาว |
สกุลแมวดาว (อังกฤษ: Fishing cat, Leopard cat) เป็นสกุลของแมวป่าขนาดเล็กลายจุกที่มีที่อยู่อาศัยหลักอยู่ในทวีปเอเชีย[1][2] ใช้ชื่อสกุลว่า Prionailurus[3]
มีลักษณะโดยรวมคือ มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับแมวในสกุล Felis หรือแมวบ้าน มาก โดยที่สกุลนี้ตั้งชื่อขึ้นโดย นิโคไล เซเวอร์ทซอฟ นักสำรวจธรรมชาติชาวรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1858 ต่อมานักสัตววิทยาชาวอังกฤษ เรจินัลด์ อินเนส โพค็อก ได้อนุกรมวิธานและบรรยายทางวิทยาศาสตร์ของสกุลนี้ในระหว่างปี ค.ศ. 1917 จนถึงปี ค.ศ. 1939 พบว่ามีลักษณะเด่น คือ กะโหลกของสกุลนี้จะมีลักษณะแบนต่ำกว่า และส่วนโค้งบริเวณใบหน้าสั้นกว่าสกุลอื่น ๆ ใบหูมีขนาดเล็ก กระดูกจมูกแบนราบและเชิดขึ้น และมีลวดลายบนผิวหนังมีจุดหลากหลาย และบางส่วนก็เป็นแถวตรงในแนวนอนไปในทางเดียวกัน คล้ายคันศรหรือปลายหอก [4]
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออก บางส่วนของเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นแมวที่หากินใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี มีความสามารถจับปลา และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหารได้[5] [6]
การจำแนก
[แก้]นี่คือการจัดจำแนกสกุลแมวดาวของ Pocock ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไป ซึ่งมีชนิดที่ได้รับการยอมรับ 5 ชนิด:[7]
ชื่อ | ที่อยู่อาศัย |
---|---|
แมวดาว P. bengalensis (Kerr, 1792)[8] |
|
แมวดาวซุนดา P. javanensis (Desmarest, 1816)[9] |
|
แมวป่าหัวแบน P. planiceps (Vigors & Horsfield, 1827)[10] |
|
เสือปลา P. viverrinus (Bennett, 1833)[11] |
|
แมวจุดสีสนิม P. rubiginosus (Geoffroy Saint-Hilaire, 1834)[12] |
การวิเคราะห์โมเลกุลของแมวดาวแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างประชากรทางเหนือจากสึชิมะ, เกาหลี, ไซบีเรีย, จีน และไต้หวัน กับประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าความแตกต่างทางพันธุศาสตร์ใช้เป็นตัวแบ่งความแตกต่าง P. b. euptilurus อาจเป็นชนิดเฉพาะได้[13] แมวอิริโอโมเตะ (P. bengalensis iriomotensis) ได้รับการเสนอเป็นชนิดต่างหากตามสัณฐานวิทยา แต่ถือเป็นชนิดย่อยของ P. bengalensis ตามการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม[14]
วิวัฒนาการชาติพันธุ์
[แก้]แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ข้างล่างนี้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ผ่านกาวิเคราะห์ดีเอ็นเอของนิวเคลียส:[2][15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pocock, R. I. (1939). "Genus Prionailurus Severtzow". The fauna of British India, including Ceylon and Burma. Mammalia. – Volume 1. London: Taylor and Francis. pp. 265–284.
- ↑ 2.0 2.1 Johnson, W. E.; Eizirik, E.; Pecon-Slattery, J.; Murphy, W. J.; Antunes, A.; Teeling, E. & O'Brien, S. J. (2006). "The Late Miocene radiation of modern Felidae: A genetic assessment". Science. 311 (5757): 73–77. Bibcode:2006Sci...311...73J. doi:10.1126/science.1122277. PMID 16400146. S2CID 41672825.
- ↑ Wozencraft, W. C. (2005). "Genus Prionailurus". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 543–544. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ Pocock, R. I. (1939) The fauna of British India, including Ceylon and Burma. Mammalia. – Volume 1. Taylor and Francis, London.
- ↑ โลกของ"เสือปลา" แห่งทุ่งน้ำ"สามร้อยยอด" จากข่าวสด
- ↑ [https://web.archive.org/web/20070618070851/http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000068112 เก็บถาวร 2007-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตะลึงค้นพบแมวป่าหัวแบน หลังไม่เคยเจอตัวนับสิบ ๆ ปี จากผู้จัดการออนไลน์]
- ↑ Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z. & Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11): 23–29.
- ↑ Kerr, R. (1792). "Bengal Tiger-Cat Felis bengalensis". The Animal Kingdom or zoological system of the celebrated Sir Charles Linnaeus. Class I. Mammalia. Edinburgh & London: A. Strahan & T. Cadell. pp. 151–152.
- ↑ Desmarest, A. G. (1816). "Le Chat de Java, Felis javanensis Nob.". ใน Société de naturalistes et d'agriculteurs (บ.ก.). Nouveau dictionnaire d'histoire naturelle, appliquée aux arts, à l'agriculture, à l'économie rurale et domestique, à la médecine. Tome 6. Paris: Chez Deterville. p. 115.
- ↑ Vigors, N. A.; Horsfield, T. (1827). "Descriptions of two species of the genus Felis, in the collections of the Zoological Society". The Zoological Journal. III (11): 449–451.
- ↑ Bennett, E. T. (1833). "Felis viverrinus". Proceedings of the Zoological Society of London. Part I: 68–69.
- ↑ Geoffroy Saint-Hilaire, I. (1831). "Le Chat à Taches de Rouille, Felis rubiginosa (Nob.)l". ใน Bélanger, C.; Geoffroy Saint-Hilaire, I. (บ.ก.). Voyage aux Indes-Orientales par le nord de l'Europe, les provinces du Caucases, la Géorgie, l'Arménie et la Perse, suivi des détails topographiques, statistiques et autre sur le Pégou, les Iles de Jave, de Maurice et de Bourbon, sur le Cap-de-bonne-Espérance et Sainte-Hélène, pendant les années 1825, 1826, 1827, 1828 et 1829. Tome 3: Zoologie. Paris: Arthus Bertrand. pp. 140−144.
- ↑ Tamada, T. Siriaroonrat; B. Subramaniam, V.; Hamachi, M.; Lin, L.-K.; Oshida, T.; Rerkamnuaychoke, W.; Masuda, R. (2006). "Molecular Diversity and Phylogeography of the Asian Leopard Cat, Felis bengalensis, Inferred from Mitochondrial and Y-Chromosomal DNA Sequences". Zoological Science. 25 (2): 154–163. CiteSeerX 10.1.1.332.7592. doi:10.2108/zsj.25.154. PMID 18533746. S2CID 16057327.
- ↑ Izawa, M. & Doi, T. (2016). "Prionailurus bengalensis ssp. iriomotensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2016.
- ↑ Werdelin, L.; Yamaguchi, N.; Johnson, W. E. & O'Brien, S. J. (2010). "Phylogeny and evolution of cats (Felidae)". ใน Macdonald, D. W. & Loveridge, A. J. (บ.ก.). Biology and Conservation of Wild Felids. Oxford, UK: Oxford University Press. pp. 59–82. ISBN 978-0-19-923445-5.