ข้ามไปเนื้อหา

รัฐซาราวัก

พิกัด: 2°48′N 113°53′E / 2.800°N 113.883°E / 2.800; 113.883
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัฐซาราวะก์)
รัฐซาราวัก

Negeri Sarawak
Flag of Sarawak
ธง
ตราราชการของรัฐซาราวัก
ตราอาร์ม
สมญา: 
บูมีเกอญาลัง[1]
ดินแดนแห่งนกเงือก
คำขวัญ: 
เบอร์ซาตู, เบอรูซาฮา, เบอร์บักตี
สามัคคี มุ่งมั่น รับใช้
เพลง: อีบูเปอร์ตีวีกู
มาตุภุมิของข้า[2]
   รัฐซาราวักใน    ประเทศมาเลเซีย
OpenStreetMap
แผนที่
พิกัด: 2°48′N 113°53′E / 2.800°N 113.883°E / 2.800; 113.883
ประเทศ มาเลเซีย
รัฐสุลต่านซาราวักค.ศ. 1599
ราจแห่งซาราวัก24 กันยายน ค.ศ. 1841
ญี่ปุ่นครอบครอง16 กันยายน ค.ศ. 1941
คราวน์โคโลนี1 กรกฎาคม ค.ศ. 1946
ได้สิทธิปกครองตนเอง22 กรกฎาคม ค.ศ. 1963[3][4]
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย[5]16 กันยายน ค.ศ. 1963[6]
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
กูจิง
เขต
การปกครอง
 • ประเภทประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในระบบรัฐสภาแบบพรรคเด่น
 • ยังดีเปอร์ตูวาเนอเกอรีอับดุล ตาอิบ มะฮ์มุด
 • มุขมนตรีอาบัง โจฮารี โอเปิง (GPS-PBB)
 • ผู้นำฝ่ายค้านWong Soon Koh (PSB)
นิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ (82 ที่นั่ง)
ตัวแทนของรัฐบาลกลางรัฐสภามาเลเซีย
 • ที่นั่งในเดวันรักยัต31 จาก 222 (14.0%)
 • ที่ตั้งในเดวันเนอการา2 จาก 70 (2.9%)
พื้นที่[7]
 • รวม124,450 ตร.กม. (48,050 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด (เขามูรุด)2,424 เมตร (7,953 ฟุต)
ประชากร
 (2021)[8]
 • รวมเพิ่มขึ้น 2,453,000 (3rd) คน
 • ความหนาแน่น22 คน/ตร.กม. (60 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา
 • ทางการ
 • ภาษาอื่น ๆ
ประชากร
 • กลุ่มชาติพันธุ์ (2022)[9]
 • ศาสนา (2022)[10]
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย[11])
รหัสไปรษณีย์93xxx[12] ถึง 98xxx[13]
รหัสพื้นที่082 ถึง 086[14]
รหัส ISO 3166K (MY-13, 50–53)[15][16]
ทะเบียนพาหนะQA ถึง QT[17]
จีดีพี (2021)เพิ่มขึ้น 131.2 พันล้านริงกิต (30.176 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[8] (ที่ 3)
จีดีพีต่อหัว (2021)เพิ่มขึ้น 65,971 ริงกิต (15,173 ดอลลาร์สหรัฐ)[8] (ที่ 3)
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.745 (สูง) (ที่ 14)[18]
ข้บด้านซ้ายมือ
แรงดันไฟฟ้า230 V, 50 Hz
สกุลเงินริงกิต (RM/MYR)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ Edit this at Wikidata

ซาราวัก[19] หรือ ซาราวะก์[19] (มลายู: Sarawak, อักษรยาวี: سراواك) เป็นรัฐของประเทศมาเลเซีย ถือเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีพื้นที่เกือบเท่ากับมาเลเซียตะวันตก รัฐซาราวักตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว และมีชายแดนติดกับรัฐซาบะฮ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย กาลีมันตัน (บอร์เนียวส่วนของอินโดนีเซีย) ทางใต้ และประเทศบรูไนทางเหนือ มีเมืองกูจิงเป็นเมืองหลักและเมืองใหญ่สุดของรัฐ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของรัฐและเป็นที่ตั้งของรัฐบาลประจำรัฐซาราวัก นครและเมืองอื่น ๆ ในรัฐนี้ ได้แก่ มีรี, ซีบู และบินตูลู ปีค.ศ. 2021 มีประชากรในรัฐซาราวักประมาณ 2.45 ล้านคน[8] รัฐซาราวักเป็นรัฐเดียวในประเทศมาเลเซียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์[20]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]
นกเงือกหัวแรดเป็นนกประจำรัฐของรัฐซาราวัก

คำอธิบายที่ยอมรับโดยทั่วไปเกี่ยวกับชื่อของรัฐคือ ชื่อรัฐมีที่มาจากศัพท์ภาษามลายูซาราวักว่า Serawak หรือจากนักทำแผนที่ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ว่า Cerava ซึ่งหมายถึงพลวง[21] คำอธิบายยอดนิยมอีกรูปแบบหนึ่งคือ มันเป็นการย่อศัพท์ภาษามลายูสี่คำที่ตรัสโดยปะแงรัน มูดา ฮาชิม (พระปิตุลาของสุลต่านแห่งบรูไน) ว่า "Saya serah pada awak" (ข้ายอมยกมันแก่เจ้า) เมื่อพระองค์ยกซาราวักให้เจมส์ บรูก นักสำรวจชาวอังกฤษใน ค.ศ. 1841[21] อย่างไรก็ตาม คำอธิบายแบบหลังนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากดินแดนนี้ถูกตั้งชื่อเป็นซาราวักก่อนการมาของเจมส์ บรูก และคำว่า awak ไม่ปรากฏในพจนานุกรมภาษามลายูซาราวักก่อนการก่อตั้งประเทศมาเลเซีย[22]

รัฐซาราวักมีชื่อเล่นว่า "ดินแดนแห่งนกเงือก" (Bumi Kenyalang) นกเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญสำหรับชาวดายัก โดยถือเป็นตัวแทนของวิญญาณเทพเจ้า พวกเขาเชื่อว่าหากพบเห็นนกเงือกบินเหนือบ้านเรือนก็จะนำความโชคดีมาสู่ชุมชน รัฐซาราวักมีนกเงือกถึง 8 ชนิด จากทั้งหมด 54 ชนิดบนโลก และนกเงือกหัวแรดเป็นสัตว์ประจำรัญซาราวัก[23]

การเมือง

[แก้]

เขตการปกครอง

[แก้]

รัฐซาราวักแบ่งพื้นที่ออกเป็น 12 เขต แต่ละพื้นที่นำโดยผู้อยู่อาศัยที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งต่างจากรัฐในมาเลเซียตะวันตก[24][25][26]

เขตการปกครองของรัฐซาราวัก
รหัส UPI[27] เขต ประชากร
(สำมะโน ค.ศ. 2020)
พื้นที่
(ตร.กม.)
เมืองหลัก อำเภอ (ตำบล) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1301 กูจิง 812,900 1,794.18 กูจิง 3 (5) 5
1302 ซรีอามัน 111,500 5,466.25 ซีมังกัง 2 (5) 2
1303 ซีบู 350,700 8,278.3 ซีบู 3 3
1304 มีรี 433,800 26,777 มีรี 5 (11) 3
1305 ลิมบัง 103,100 7,790 ฃิมบัง 2 (5) 2
1306 ซารีเกอี 139,500 4,332.4 ซารีเกอี 4 2
1307 กาปิต 155,900 38,934 กาปิต 4 (6) 3
1308 ซามาราฮัน 187,500 2,927.5 โกตาซามาราฮัน 3 (5) 2
1309 บินตูลู 266,300 12,166.2 บินตูลู 3 1
1310 เบอตง 129,000 4,180.8 เบอตง 4 (9) 2
1311 มูกะฮ์ 134,900 6,997.61 มูกะฮ์ 5 (8) 2
1312 เซอเรียน 105,800 2,039.9 เซอเรียน 2 (3) 1
หมายเหตุ: ข้อมูลประชากรในเขตเซอเรียนไม่รวมประชากรในตำบลซีบูรันที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตกูจิง

ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 มีการประกาศว่าอำเภอเซอเรียนในเขตกูจิงจะกลายเป็นเขตที่ 12 ของรัฐ โดยอาเดอนัน ซาเต็มจัดตั้งเขตนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2015[28]

ประชากร

[แก้]
กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก (2020)[9][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
กลุ่มชาติพันธุ์ ร้อยละ
ดายัก
  
61.2%
มลายู
  
18.1%
จีน
  
17.2%
เมอลาเนา
  
3.0%
อินเดีย
  
0.3%
อื่น ๆ
  
0.2%

กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยดายักในรัฐซาราวัก (2021)[9]

  อีบัน (70.5%)
  บีดายุฮ์ (19.2%)
  โอรังอูลู (10.3%)

สำมะโนมาเลเซีย ค.ศ. 2021 รายงานประชากรในรัฐซาราวักที่ 2,453,000 คน ทำให้เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[29] อย่างไรก็ตาม ประชากรกลุ่มนี้กระจายเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้รัฐซาราวักมีความหนาแน่นของประชากรต่ำที่สุด โดยมีประชากรแค่ 20 คนต่อตารางกิโลเมตร อัตราการเติบโตของประชากรโดยเฉลี่ยใน ค.ศ. 2000 ถึง 2010 อยู่ที่ 1.8% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราของประเทศที่ 2.0%[30] ใน ค.ศ. 2014 ประชากร 58% อาศัยอยู่ในเมือง ส่วนที่เหลืออยู่ในชนบท แต่ใน 10 ปีข้างหน้ามีการทำนายว่าประชากรในเมืองจะเพิ่มขึ้นไปถึง 65%[31] ข้อมูลเมื่อ 2011 อัตราการเกิดคร่าว ๆ ในรัฐซาราวักอยู่ที่ 16.3 คนต่อ 1000 คน อัตราการตายคร่าว ๆ อยู่ที่ 4.3 คนต่อ 1000 คน และอัตราการตายของทารกอยู่ที่ 6.5 คนต่อลูกที่เกิด 1000 คน[32]

ประชากรในเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู, เมอลาเนา, จีน และประชากรจำนวนน้อยที่เป็นชาวอีบันและบีดายุฮ์ ซึ่งอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ[33] โดยประชากรสองกลุ่มหลังมีกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยมากกว่า 40 กลุ่มในรัฐซาราวัก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมักเรียกเป็นโอรังอาซัล[34] โอรังอาซัล และชาวมลายูทั้งในมาเลเซียตะวันตก รัฐซาราวัก และรัฐซาบะฮ์อยู่ในกลุ่มภูมิบุตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษในการศึกษา การงาน การเงิน และตำแหน่งทางการเมือง[35]

รัฐซาราวักมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก โดยมีแรงงานด้าวที่ลงทะเบียนมากถึง 150,000 คนมาทำงานทั้งในบ้านหรือในไร่นา การผลิต การก่อสร้าง บริการ และเกษตรกรรม[36] อย่างไรก็ตาม จำนวนแรงงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายถูกบดบังด้วยแรงงานผิดกฎหมายระหว่าง 320,000 ถึง 350,000 คน[37]

กลุ่มชาติพันธ์

[แก้]
กลุ่มชาติพันธุ์หลักในรัฐซาราวัก ตามเข็มนาฬิกาจากบนขวา: หญิงชาวเมอลาเนาในชุดบาจูกูรุง, หญิงเชื้อสายจีนในชุดกี่เพ้า, หญิงชาวบีดายุฮ์ และนักรบชาวอีบันในชุดพื้นเมือง

รัฐซาราวักมีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก 6 กลุ่ม ได้แก่ อีบัน, จีน, มลายู, บีดายุฮ์, เมอลาเนา และโอรังอูลู[33] เช่นเดียวกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดเล็กแต่ยังคงมีจำนวนมาก เช่น เกอดายัน, ชวา, บูกิซ, มูรุต และอินเดีย[38] ใน ค.ศ. 2015 รัฐบาลมาเลเซียยอมรับชนบีดายุฮ์กับอีบันเป็นส่วนหนึ่งของชาวดายัก[39] มีชนเผ่าที่ยังคงอยู่หรืออาจสูญหายแล้วในรัฐซาราวักมากกว่า 50 เผ่า แต่มีเพียงเฉพาะกลุ่มใหญ่เท่านั้นที่ได้รับการบรรจุลงในรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย[40]

ภาษา

[แก้]
การกระจายของตระกูลภาษาในรัฐซาราวัก แบ่งตามสี:
  พื้นที่ที่มีหลายภาษา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของรัฐซาราวักใน ค.ศ. 1963 ถึง 1974 เนื่องจากการคัดค้านในการใช้ภาษามาเลเซียในรัฐซาราวักของสตีเฟน กาลง นิงกัน หัวหน้ารัฐมนตรีคนแรกของรัฐซาราวัก[41] จากนั้นใน ค.ศ. 1974 อับดุล ระฮ์มัน ยะอ์กุบ หัวหน้ารัฐมนตรีคนใหม่ ยอมรับภาษามลายูเป็นภาษาราชการของรัฐซาราวักร่วมกับภาษาอังกฤษ[42][note 1] สถานะใหม่ที่ให้แก่ภาษานี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากมาตรฐานการศึกษาใหม่ที่เปลี่ยนหลักสูตรเป็นภาษามลายู[43] ใน ค.ศ. 1985 ภาษาอังกฤษสูญเสียสถานะภาษาราชการ ทำให้เหลือเพียงภาษามลายูเพียงภาษาเดียว[41][note 2] แม้จะมีนโยบายอย่างเป็นทางการ สมาชิกฝ่ายค้านของรัฐซาราวักโต้แย้งว่าภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาราชการของรัฐซาราวักโดยพฤตินัย[44] โดยยังมีการใช้ภาษาอังกฤษในศาลยุติธรรมและสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ[45][46] ต่อมาใน ค.ศ. 2015 อาเดอนัน ซาเต็ม หัวหน้ารัฐมนตรี จัดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการอีกครั้ง[47][48][49]

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในรัฐซาราวัก (2020)[50]
ศาสนา ร้อยละ
คริสต์
  
50.1%
อิสลาม
  
34.2%
พุทธ
  
12.8%
อื่น ๆ
  
2.9%

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในรัฐซาราวัก โดยมีผู้นับถือตามสำมะโน ค.ศ. 2021 ที่ 50.1% ของประชากรทั้งหมด[51] นั่นทำให้รัฐซาราวักเป็นรัฐมาเลเซียรัฐเดียวที่มีชาวคริสต์เป้นประชากรส่วนใหญ่ มิชชันนารีกลุ่มแรกที่เข้ามายังรัฐซาราวักคือคริสตจักรแห่งอังกฤษ (แองกลิคัน) ใน ค.ศ. 1848 ตามมาด้วยโรมันคาทอลิกในไม่กี่ปีต่อมา และMethodistsใน ค.ศ. 1903 โดยมีการประกาศข่าวดีครั้งแรกในหมู่ผู้อพยพชาวจีนก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังชนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาผี[52] ส่วนศาสนาคริสต์นิกายอื่น ๆ ในรัฐซาราวัก ได้แก่ Borneo Evangelical Mission (ซีดังอินจิลบอร์เนียว)[53] และแบปทิสต์[54] ชนพื้นเมืองอย่างอีบัน บีดายุฮ์ และโอรังอูลูหันมานับถือศาสนาคริสต์ แม้ว่าบางส่วนยังคงพิธีทางศาสนาแบบดั้งเดิมอยู่ มุสลิมหลายคนมาจากชาวมลายูและเมอลาเนา ส่วนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ, ลัทธิเต๋า และศาสนาพื้นเมืองจีน[55] ศาสนาที่มีผู้นับถือน้อยในรัฐซาราวัก ได้แก่ ศาสนาบาไฮ,[56] ฮินดู,[57] ซิกข์,[58] และศาสนาผี[59]

ถึงแม้ว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย รัฐซาราวักกลับไม่มีศาสนาประจำรัฐ[60]

ความสัมพันธ์นานาชาติ

[แก้]

รัฐซาราวักมีความสัมพันธ์ระดับรัฐกับมณฑลฝูเจี้ยนของปรเทศจีน[61]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Profil Negeri Sarawak (Sarawak State profile)". Jabatan Penerangan Malaysia (Malaysian Information Department). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016.
  2. "Sarawak State Anthem". Sarawak Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016.
  3. Vernon L. Porritt (1997). British Colonial Rule in Sarawak, 1946–1963. Oxford University Press. ISBN 978-983-56-0009-8. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
  4. Philip Mathews (28 February 2014). Chronicle of Malaysia: Fifty Years of Headline News, 1963–2013. Editions Didier Millet. p. 15. ISBN 978-967-10617-4-9.
  5. "Malaysia Act 1963 (Chapter 35)" (PDF). The National Archives. United Kingdom legislation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  6. Agreement relating to Malaysia between United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland, Federation of Malaya, North Borneo, Sarawak and Singapore . 1963. p. 1 – โดยทาง Wikisource.
  7. "Sarawak @ a Glance". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Sim, Ashley (18 August 2022). "Malaysia Census 2020 reveals Sarawak's population totals 2.453 MLN, Kuching District accounts for 609,000". Dayak Daily. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Facts and Figures 2022". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2021. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
  10. "BPPD - Bahagian perangkaan penduduk dan Demografi".
  11. "Facts of Sarawak". The Sarawak Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2015. สืบค้นเมื่อ 23 July 2015.
  12. "Postal codes in Sarawak". cybo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2019. สืบค้นเมื่อ 23 July 2015.
  13. "Postal codes in Miri". cybo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 23 July 2015.
  14. "Area codes in Sarawak". cybo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 July 2015.
  15. Lian Cheng (17 February 2016). "It's 13, 50 to 53 for Sarawak". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 19 May 2017.
  16. "State Code". Malaysian National Registration Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 19 May 2017.
  17. Soon, Teh Wei (23 March 2015). "Some Little Known Facts On Malaysian Vehicle Registration Plates". Malaysian Digest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 19 July 2022.
  18. "Subnational Human Development Index (2.1) [Sarawak – Malaysia]". Global Data Lab of Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
  19. 19.0 19.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  20. "Malaysia Christians pray for peace, equality, freedom - UCA News".
  21. 21.0 21.1 "Origin of Place Names – Sarawak". National Library of Malaysia. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2008. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  22. Kris, Jitab (23 February 1991). "Wrong info on how Sarawak got its name". New Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
  23. "The magnificent hornbills of Sarawak". The Borneo Post. 12 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2015. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017.
  24. "About Sarawak – Governance". Official website of State Planning Unit – Chief Minister's Department of Sarawak. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
  25. "Sarawak population". The Official Portal of the Sarawak Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
  26. "Administrative Divisions and Districts". The Sarawak Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2015. สืบค้นเมื่อ 23 July 2015.
  27. "Kod Dan Nama Sempadan Pentadbiran Tanah" [Land Administration Boundary Code And Name] (PDF) (ภาษามาเลย์). Centre for Geospatial Data Infrastructure, Ministry of Water, Land and Natural Resources of Malaysia. 2011. pp. 1–64. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  28. Samuel Aubrey (12 April 2015). "Serian now a division". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2015. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
  29. "Sarawak Population by Ethnic Group". State Planning Unit, Sarawak. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  30. "Sarawak – Facts and Figures 2011" (PDF). Sarawak State Planning Unit, Chief Minister Department. pp. 5, 9, 15, 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  31. "Johari: Urban-rural ratio to hit 65:35 within 10 years". The Star (Malaysia). 17 January 2014. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  32. "Vital Statistics Summary for Births and Deaths". Sarawak Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016.
  33. 33.0 33.1 "The Sarawak People". Sarawak Tourism Federation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2015. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  34. "Indigenous peoples – (a) Land rights of Indigenous Peoples". Human Rights Commission of Malaysia (SUHAKAM). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2015. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015.
  35. Ting, Su Hie; Rose, Louis (June 2014). "Ethnic Language Use and Ethnic Identity for Sarawak Indigenous Groups in Malaysia". Oceanic Linguistics. 53 (1): 92–109. doi:10.1353/ol.2014.0002. S2CID 144213737. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015. In Malaysia, Bumiputera (literally translated as 'prince of the earth' or 'son of the land') refers to the Malay and other indigenous people. ... The Bumiputera in general enjoy special privileges as part of the affirmative action for advancement of the community, and these include priority in university entry, scholarships, and government jobs, special finance schemes, and political positions.
  36. "Over 150,000 foreign workers in Sarawak hold temporary employment passes". The Sun Daily. 26 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  37. Sulok, Tawie (11 April 2015). "Illegal immigrants in Sarawak a 'huge problem', deputy home minister admits". Malay Mail Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  38. Leong, Joe (4 August 2014). "Bizarre names like Tigabelas, Helicopter, Kissing in Borneo are real". The Ant Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2015. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015. There are several other minor ethnic groups placed under the 'others', such as Indian, Eurasian, Kedayan, Javanese, Bugis and Murut.
  39. "Putrajaya approves 'Dayak' for 'Race' category in all official forms". The Malaysian Insider. 31 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2015. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  40. "Ethnic Groups of Sarawak". 2 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-01. สืบค้นเมื่อ 2023-01-01.
  41. 41.0 41.1 John, Postill (15 May 2006). Media and Nation Building: How the Iban became Malaysian. Berghahn Books. p. 58. ISBN 978-0-85745-687-8. สืบค้นเมื่อ 13 November 2015. because of his strong defence of English as the language of instruction in Sarawak ... (page 58)
  42. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Faisal
  43. "Former Education Minister Calls For Return To Teaching Maths, Science In BM". Bernama. 12 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 November 2015.
  44. Fernandez, Joe (26 November 2015). "DAP: English remains Sarawak's official language". Free Malaysia Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  45. Sulok, Tawie (20 February 2012). "Usage of English, native languages officially still legal in Sarawak". The Sun Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2015. สืบค้นเมื่อ 13 November 2015.
  46. "My Constitution – Sabah and Sarawak". Malaysian Bar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2012. สืบค้นเมื่อ 13 November 2015. English was the official language of the State Legislative Assemblies and Courts in Sabah and Sarawak on Malaysia Day, 16 September 1963. Any change of the official language to Bahasa Melayu can only become effective when the State Legislative Assembly of Sabah or Sarawak agrees to adopt federal laws that make Bahasa Melayu the official language.
  47. Ogilvy, Geryl (18 November 2015). "Sarawak to recognise English as official language besides Bahasa Malaysia". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
  48. "Sarawak makes English official language along with BM". themalaymailonline.com. 13 August 2022.
  49. "Sarawak adopts English as official language". thesundaily.my.
  50. "State > Sarawak".
  51. "BPPD - Bahagian perangkaan penduduk dan Demografi".
  52. Carlo, Caldarola (1982). Religions and Societies, Asia and the Middle East. Walter de Gruyter. p. 481. ISBN 978-90-279-3259-4. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  53. "SIB & BEM – A Brief Introduction to Origin of SIB". SIB Grace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  54. "List of Baptist churches in Sarawak". Malaysia Baptist Convention. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2014. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  55. Carl, Skutsch (7 November 2013). Encyclopedia of the World's Minorities. Routledge. p. 781. ISBN 978-1-135-19388-1. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  56. "Malaysia Bahai's – Sarawak". bahai.org.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 1 April 2016.
  57. Chieng, Connie (17 August 2015). "Sarawak is a blessed land of harmony". New Sarawak Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 1 April 2016.
  58. "Sikh Temple". Sarawak Tourism Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2016. สืบค้นเมื่อ 1 April 2016.
  59. "Animism is alive and well in South-East Asia: What can we learn?". Pravda.ru. 24 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 1 April 2016.
  60. "Explanation sought on real status of S'wak's official religion". The Borneo Post. 12 December 2015. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015. The Sarawak State Constitution is clear—Sarawak has no official religion, but the official website stated otherwise. This matter was pointed out by YB Baru Bian (Ba Kelalan assemblyman and state PKR chairman) in his letter to the state secretary in July this year, and no action was taken.
  61. "Sister Provinces (Sarawak, Malaysia)". Foreign Affairs Office of the People's Government of Fujian Province, China. 30 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2019. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน