ภูมิบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูมิบุตร หรือ ภูมิปุตรา (มลายู: Bumiputera, بوميڤوترا, บูมีปูเตอรา; แปลว่า "ลูกของแผ่นดิน") หมายถึงชาวมลายูดั้งเดิม อันรวมถึงชาวโอรังอัซลี (Orang Asli)​ ซึ่งเป็นชาวเผ่าดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูและชนพื้นเมืองของรัฐซาบะฮ์และซาราวัก ทั้งนี้ในปัจจุบัน "ภูมิบุตร" ยังรวมถึงชาวมาเลเซียซึ่งอพยพมาจากอินโดนีเซีย (เรียกว่า ปรีบูมี), ชาวมาเลเซียเชื้อสายสยาม, ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียมุสลิม, ชาวจีนช่องแคบ (กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน) และชาวคริสตัง (กลุ่มคริสตังลูกครึ่งมลายู-โปรตุเกส)[1] แต่ไม่รวมถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนหรืออินเดียที่มีจำนวนมากในประเทศ

ชาวมาเลเซียภูมิบุตรจะได้รับความช่วยเหลือพิเศษทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติตาม "นโยบายเศรษฐกิจใหม่" ซึ่งได้เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 แต่ชาวจีนและชาวฮินดูจะถูกกีดกันจากสิทธิพิเศษต่าง ๆ รวมถึงการห้ามเข้าโรงเรียนที่สงวนไว้เฉพาะชาวมลายู ทฤษฏีภูมิบุตรจึงถือว่าเป็นทฤษฎีเหยียดผิว และเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์[2] โดยนโยบายกดขี่ชาติพันธุ์อื่นเป็นนโยบายทางการเมืองของมาเลเซียมาตั้งแต่หลังได้รับเอกราช และเป็นเงื่อนไขโดยตรงหนึ่งที่ให้เกิดความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1969 ที่ชาวจีนจำนวนมากถูกชาวมลายูรุมสังหาร และทำให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในมาเลเซียเป็นเรื่องแก้ไม่ตกมาจนปัจจุบัน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Malaysia: The People of Malaysia", TripAdvisor
  2. "The slaughter of sacred cows". The Economist. 3 April 2003. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  3. "Race in Malaysia: Playing with Fire". Economist. 26 september 2015. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)