มหาศึกคนชนเทพ
มหาศึกคนชนเทพ | |
![]() หน้าปกของมังงะ มหาศึกคนชนเทพ เล่ม 1 ในฉบับภาษาไทย | |
終末のワルキューレ (Shūmatsu no Warukyūre) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Record of Ragnarok |
แนว | |
มังงะ | |
เขียนโดย |
|
วาดภาพประกอบโดย | อาจิจิกะ |
ตีพิมพ์โดย |
|
ผู้จัดจำหน่ายภาษาไทย | ฟีนิกซ์ |
นิตยสาร | คอมิกซีนอนรายเดือน |
กลุ่มเป้าหมาย | เซเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 17 |
มังงะ | |
มหาศึกคนชนเทพ กรุตำนาน ลิโป้ขุนพลผงาดฟ้า | |
เขียนโดย | ทาเกโอะ โอโนะ |
ตีพิมพ์โดย |
|
ผู้จัดจำหน่ายภาษาไทย | ฟีนิกซ์ |
นิตยสาร | คอมิกซีนอนรายเดือน |
กลุ่มเป้าหมาย | เซเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
จำนวนเล่ม | 7 |
โอเอ็นเอ | |
กำกับโดย | มาซาโอะ โอกูโบะ |
เขียนบทโดย |
|
เพลงโดย | ยาซูฮารุ ทากานาชิ |
สตูดิโอ |
|
ถือสิทธิ์โดย | เน็ตฟลิกซ์ |
ออกอากาศ | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
ความยาวตอน | 24 นาที |
ตอน | 22 |
มังงะ | |
Kitan: Jack the Ripper no Jikenbo | |
เขียนโดย | เคตะ อีซูกะ |
ตีพิมพ์โดย | โคอามิกซ์ |
นิตยสาร | คอมิกเซนอนรายเดือน |
กลุ่มเป้าหมาย | เซเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน |
มหาศึกคนชนเทพ (ญี่ปุ่น: 終末のワルキューレ; โรมาจิ: Shūmatsu no Warukyūre; แปลว่า "วัลคีรีแห่งจุดจบ") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น เขียนเรื่องโดยชินยะ อูเมมูระและทากูมิ ฟูกูอิ วาดภาพโดยอาจิจิกะ เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสาร คอมิกซีนอนรายเดือน นิตยสารการ์ตูนแนวเซเน็งของสำนักพิมพ์โคอามิกซ์ (ก่อนหน้านี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โทกูมะโชเต็ง) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์โดยสตูดิโอกราฟินิกา ฉายทางเน็ตฟลิกซ์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ฤดูกาลที่สองผลิตโดยสตูดิโอกราฟินิกาและยูเมตะคอมพานี ฉายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566
เนื้อเรื่อง[แก้]
ทุก ๆ 1,000 ปี สภาของเทพเจ้าจะร่วมประชุมเพื่อตัดสินชะตากรรมของมนุษยชาติ หลังจาก 7,000 ปีของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เหล่าเทพตัดสินร่วมกันว่ามนุษย์นั้นเกินเยียวยาและจำต้องสูญพันธุ์ แต่เทพธิดาวัลคีรี (วัลกือริยา) ชื่อบรุนฮิลด์ (บรึนฮิลเดอ) ได้เสนอให้มนุษยชาติมีโอกาสสุดท้ายในการพิสูจน์คุณค่า เหล่าเทพจึงมีมติเห็นชอบให้จัดศึกแร็กนาร็อก ซึ่งเป็นการประลองตัวต่อตัวระหว่างมนุษย์ที่มีชื่อเสียง 13 คนในประวัติศาสตร์กับเทพที่ทรงมหิทธานุภาพ 13 องค์ ที่จะต้องต่อสู้โดยตัดสินผลด้วยความตาย มนุษยชาติจะได้รับการละเว้นโทษทัณฑ์ถ้าได้รับชัยชนะ 7 ครั้งในการประลอง เพื่อให้การต่อสู้มีความเท่าเทียมกัน ตัวแทนมนุษย์แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือจากเทพธิดาวัลคีรีที่จำแลงกายเป็นอาวุธทรงพลังที่เข้ากับรูปแบบการต่อสู้ของแต่ละคน เรียกว่า "เวลุนด์" แต่ก็แลกด้วยความเสี่ยงที่ต้องสละชีพถ้าผู้ใช้ถูกสังหาร
ตัวละคร[แก้]
วัลคีรี (วัลกือริยา)[แก้]
- บรุนฮิลด์ (บรึนฮิลเดอ) (ブリュンヒルデ Buryunhirude)
- ให้เสียงโดย: มิยูกิ ซาวาชิโระ[3] (ญี่ปุ่น); นภัสวรรณ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา (ไทย)
- ผู้นำและพี่ใหญ่สุดของเทพธิดาวัลคีรีผู้โน้มน้าวเหล่าเทพให้จัดการประลองแร็กนาร็อก มีความชิงชังเหล่าเทพเจ้าและอาศัยโอกาสจากการประลองนี้เพื่อแก้แค้น
- เกล (เกิลล์) (ゲル Geru)
- ให้เสียงโดย: โทโมโยะ คูโรซาวะ[3] (ญี่ปุ่น); ขวัญกมล ขาวไพศาล (ไทย)
- น้องสาวคนสุดท้องของบรุนฮิลด์ที่มักอยู่ด้วยกันกับบรุนฮิลด์
- แรนกริสต์ (ランドグリーズ Randogurīzu)
- ให้เสียงโดย: อายะ คาวาคามิ
- วัลคีรีลำดับที่ 4 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดแรก โดยจับคู่กับลิโป้ เฟยเสียง
- เรกินเรฟ (レギンレイヴ Reginreivu)
- ให้เสียงโดย: รินะ คาวางุจิ
- วัลคีรีลำดับที่ 7 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สอง โดยจับคู่กับอาดัม
- ฮริสต์ (フリスト Furisuto)
- ให้เสียงโดย: ยู โคบายาชิ
- วัลคีรีลำดับที่ 2 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สาม โดยจับคู่กับซาซากิ โคจิโร
- ฮเลิกก์ (フレック Furekku)
- ให้เสียงโดย: โฮโนกะ อิโนอุเอะ
- วัลคีรีลำดับที่ 11 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สี่ โดยจับคู่กับแจ็กเดอะริปเปอร์
- ธรูด (スルーズ Surūzu)
- ให้เสียงโดย: อากิระ มิกิ
- วัลคีรีลำดับที่ 3 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่ห้า โดยจับคู่กับไรเด็น ทาเมเอมอน
- อัลวิโต้ (アルヴィト Aruvito)
- วัลคีรีลำดับที่ 10 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่เจ็ด โดยจับคู่กับจิ๋นซีฮ่องเต้
- กอร์นดูล (ゴンドゥル Gonduru)
- วัลคีรีลำดับที่ 9 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่แปด โดยจับคู่กับนิโคลา เทสลา
ฝ่ายมนุษย์[แก้]
- ลิโป้ เฟยเสียง (ลฺหวี่ ปู้ เฟิ่งเซียน) (呂 布 奉先 Ryo Fu Hōsen)
- ให้เสียงโดย: โทโมคาซุ เซกิ[3] (ญี่ปุ่น); ชานน จำเนียรแพทย์ (ไทย)
- ขุนพลและขุนศึกซึ่งมีชีวิตในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประวัติศาสตร์จีน เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดแรก
- อาดัม (アダム Adamu)
- ให้เสียงโดย: โซมะ ไซโต[4] (ญี่ปุ่น); นนท์ ศรีโพธิ์ (ไทย)
- บรรพบุรุษของมนุษยชาติทุกคน เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สอง
- ซาซากิ โคจิโร (佐々木 小次郎 Sasaki Kojirō)
- ให้เสียงโดย: คาซูฮิโระ ยามาจิ[4] (ญี่ปุ่น); สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ไทย)
- นักดาบที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สาม
- แจ็กเดอะริปเปอร์ (ジャック・ザ・リッパー Jakku za Rippā)
- ให้เสียงโดย: โทโมกาซุ ซูงิตะ (ญี่ปุ่น); อรรคพล ทรัพยอาจิณ (ไทย)
- ฆาตกรต่อเนื่องชื่อดังของอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สี่
- ไรเด็น ทาเมเอมอน (雷電爲右エ門 Raiden Tameemon)
- ให้เสียงโดย: ซูบารุ คิมูระ (ญี่ปุ่น); พิชาภพ ภัทรกูลนิยม (ไทย)
- นักกีฬาซูโม่มากฝีมือจากศตวรรษที่ 19 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่ห้า
- ศากยมุนี (พระโคตมพุทธเจ้า) หรือ ชากะ (釈迦 Shaka)
- ให้เสียงโดย: ยูอิจิ นากามูระ (ญี่ปุ่น); อิทธิพล มามีเกตุ (ไทย)
- อดีตมนุษย์ผู้วางรากฐานศาสนาพุทธ แม้มีฐานะเป็นเทพ แต่ตัดสินใจร่วมประลองในฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่หก
- จิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินฉื่อหฺวัง) (秦始皇 Shikōtei)
- ผู้สถาปนาราชวงศ์ฉินและเป็นจักรพรรดิองค์แรกผู้รวบรวมแผ่นดินจีนเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่เจ็ด
- นิโคลา เทสลา (ニコラ・テスラ Nikora Tesura)
- นักประดิษฐ์ชาวเซอร์เบีย-อเมริกันเมื่อศตวรรษที่ 20 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่แปด
- ซิโม แฮวแฮ (シモ・ヘイヘ Shimo Heihe)
- นักซุ่มยิงชาวฟินแลนด์และทหารผ่านศึกในสงครามฤดูหนาวเมื่อศตวรรษที่ 20
- โอคิตะ โซจิ (沖田 総司 Okita Souji)
- ให้เสียงโดย: สึบาสะ โยนากะ (ญี่ปุ่น); นนท์ ศรีโพธิ์ (ไทย)
- หัวหน้าหน่วยของกองกำลังตำรวจพิเศษชินเซ็งงูมิของญี่ปุ่นเมื่อศตวรรษที่ 19
- มิเชล นอสตราดามุส (มีแชล เดอ นอสทร์ดาม) (ミシェル・ノストラダムス Misheru Nosutoradamusu)
- โหร แพทย์ และนักพยากรณ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสเมื่อศตวรรษที่ 16
- ซาคาตะ คินโทกิ (坂田 金時 Sakata Kintoki)
- วีรบุรุษในนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน
- เกรกอรี รัสปูติน (グリゴリー・ラスプーチン Gurigorī Rasupūchin)
- นักรหัสยลัทธิชาวรัสเซียเมื่อต้นศตวรรษที่ 20
- กษัตริย์ลีโอนิดัส (พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1) (レオニダス王 Reonidasu-ō)
- กษัตริย์สปาร์ตาเมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล
ฝ่ายเทพ[แก้]
- ธอร์ (トール Tōru)
- ให้เสียงโดย: ฮิการุ มิโดริกาวะ[3] (ญี่ปุ่น); ภัคภูมิ ลิ้มมานะสถาพร (ไทย)
- เทพแห่งสายฟ้าของนอร์ส เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดแรก
- ซุส (ゼウス Zeusu)
- ให้เสียงโดย: วาตารุ ทากางิ[3] (ญี่ปุ่น); เอกชัย พงศ์สมัย (ไทย)
- มหาเทพของกรีกและประธานของสภาเทพเจ้า เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สอง
- โพไซดอน (ポセイドン Poseidon)
- ให้เสียงโดย: ทากาฮิโระ ซากูไร[3] (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ (ไทย)
- เทพแห่งมหาสมุทรของกรีกและเชษฐาของซุส เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สาม
- เฮอร์คิวลีส (ヘラクレス Herakuresu)
- ให้เสียงโดย: คัตสึยูกิ โคนิชิ (ญี่ปุ่น); ประภัฒน์ สินธพวรกุล (ไทย)
- อดีตมนุษย์และเทพแห่งพละกำลังของกรีก เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สี่
- ศิวะ (シヴァ Shiva)
- ให้เสียงโดย: ทัตสึฮิสะ สูซูกิ[4] (ญี่ปุ่น); คมสรร รัตนากรบดี (ไทย)
- มหาเทพแห่งการสร้างสรรค์และทำลายของฮินดู เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่ห้า
- เซโรฟุกุ (零福 Zerofuku)
- ร่างรวมของเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่หก
- ท้าวเวสสุวรรณ (บิชามอนเท็น) (毘沙門天 Bishamonten)
- ให้เสียงโดย: อากิฮิโระ ทาจิมะ
- หนึ่งในสี่ท้าวจตุโลกบาลในศาสนาพุทธ เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่หก
- ฮาเดส (ハデス Hadesu)
- ราชาแห่งโลกบาดาล พระเจ้าแห่งผู้ตายและความร่ำรวย ในตอนแรกเขาไม่ได้อยู่ใน1ใน13รายชื่อผู้ต่อสู้ แต่เขาตัดสินใจลงในการประลองนัดที่เจ็ด เพื่อแก้แค้นให้กับโพไซดอน
- บีลซีบับ (เบเอลเซบูล) (ベルゼブブ Beruzebubu)
- เทพของชาวฟิลิสตีนที่มีฐานะเป็นปิศาจในตำนานของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่แปด
- ซุซาโนโอะ (スサノヲ Susanowo)
- เทพแห่งทะเลและพายุของญี่ปุ่น หนึ่งในสามเทพหลักในเทพปกรณัมญี่ปุ่น
- โอดิน (オーディン Ōdin)
- ให้เสียงโดย: โช ฮายามิ[4] (ญี่ปุ่น); สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ไทย)
- มหาเทพของนอร์ส
- โลกิ (ロキ Roki)
- ให้เสียงโดย: โยชิตสึงุ มัตสึโอกะ[4] (ญี่ปุ่น); พิพัฒน์ บุญสิทธิเลิศ (ไทย)
- เทพแห่งความเจ้าเล่ห์ของนอร์ส
- อนูบิส
- เทพแห่งความตายของอียิปต์
- อพอลโล
- เทพแห่งดวงอาทิตย์ของกรีก
- แอรีส (アレス Aresu)
- ให้เสียงโดย: ฮินาตะ ทาดาโกโระ[4]
- เทพแห่งสงครามของกรีก
- เฮอร์มีส (ヘルメス Herumesu)
- ให้เสียงโดย: จุนอิจิ ซูวาเบะ[4]
- เทพแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดนของกรีก
- แอโฟรไดที (アフロディテ Afurodite)
- ให้เสียงโดย: ริเอะ ทานากะ[4]
- เทพแห่งความรักของกรีก
- ไฮม์ดัล (ヘイムダル Heimudaru)
- ให้เสียงโดย: ยูกิฮิโระ โนซูยามะ[4]
- เทพทวารบาลผู้พิทกษ์สวรรค์ของนอร์ส
- ฮูกินน์และมูนินน์
- ให้เสียงโดย: ไทสูเกะ ทากาโนะ (ฮูกินน์), โทโมฮิโระ ยามางูจิ (มูนินน์)[4]
- อดามัส (アダマス Adamasu)
- เทพผู้พิชิตของกรีก
รูปแบบต่าง ๆ[แก้]
มังงะ[แก้]
มหาศึกคนชนเทพ เขียนโดยชินยะ อูเมมูระและทากูมิ ฟูกูอิ วาดภาพโดยอาจิจิกะ เริ่มตีพิมพ์ในนิตสาร คอมิกซีนอนรายเดือน นิตยสารการ์ตูนแนวเซเน็งของสำนักพิมพ์ Coamix (ก่อนหน้านี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โทกูมะโชเต็ง) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[5] ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม (ทังโกบง) เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6] ปัจจุบันวางจำหน่ายถึงเล่มที่ 9 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[7]
มังงะภาคแยกชื่อเรื่องว่า มหาศึกคนชนเทพ กรุตำนาน ลิโป้ขุนพลผงาดฟ้า (ญี่ปุ่น: 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝; โรมาจิ: Shūmatsu no Warukyūre: Ryo Fu Hō Sen Hishōden) เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสาร คอมิกซีนอนรายเดือน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562[8] ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม (ทังโกบง) เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563[9] ปัจจุบันวางจำหน่ายถึงเล่มที่ 3 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[10]
หนังสือการ์ตูน[แก้]
มหาศึกคนชนเทพ[แก้]
# | วันที่ออกจำหน่าย | ISBN |
---|---|---|
1 | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6] | 978-4-19-980495-3 |
2 | 20 กันยายน พ.ศ. 2561[11] | 978-4-19-980517-2 |
3 | 20 มีนาคม พ.ศ. 2562[12] | 978-4-19-980557-8 |
4 | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[13] | 978-4-19-980581-3 |
5 | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[14] | 978-4-19-980603-2 |
6 | 20 เมษายน พ.ศ. 2563[15] | 978-4-86720-119-0 |
7 | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563[16] | 978-4-86720-155-8 |
8 | 19 กันยายน พ.ศ. 2563[17] | 978-4-86720-168-8 |
9 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[7] | 978-4-86720-187-9 |
มหาศึกคนชนเทพ กรุตำนาน ลิโป้ขุนพลผงาดฟ้า[แก้]
# | วันที่ออกจำหน่าย | ISBN |
---|---|---|
1 | 20 เมษายน พ.ศ. 2563[9] | 978-4-86-720120-6 |
2 | 19 กันยายน พ.ศ. 2563[18] | 978-4-86-720169-5 |
3 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[10] | 978-4-86-720188-6 |
อนิเมะ[แก้]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการประกาศว่ามหาศึกคนชนเทพจะได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ อำนวยการผลิตโดยวอร์เนอร์บราเธอส์ ประเทศญี่ปุ่น และสร้างโดยสตูดิโอกราฟินิกา อนิเมะจะกำกับโดยมาซาโอะ โอกูโบะ เขียนบทโดยคาซูยูกิ ฟูเดยูกิ ออกแบบตัวละครโดยมาซากิ ไซโต รับผิดชอบดนตรีประกอบโดย ยาซูฮารุ ทากานาชิ ถือครองลิขสิทธิ์เผยแพร่โดยเน็ตฟลิกซ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทางบริการสตรีมมิงของเน็ตฟลิกซ์[3][19][20] เพลงเปิดคือเพลง "คามิงามิ" (ญี่ปุ่น: KAMIGAMI-神噛-) ขับร้องโดยวงแมกซิมัมเดอะฮอร์โมน[19] เพลงปิดคือเพลง "ฟูกาฮิ" ขับร้องโดยวง SymaG[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Read Record of Ragnarok Manga". Viz Media. สืบค้นเมื่อ May 15, 2022.
- ↑ ダークファンタジー特集. ebookjapan (ภาษาญี่ปุ่น). EBook Initiative Japan Co., Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Hazra, Adriana (December 18, 2020). "Record of Ragnarok Manga Gets Anime in 2021". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 Mateo, Alex (March 15, 2021). "Record of Ragnarok Anime Reveals 12 Cast Members, Visual, Ending Theme Artist". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 15, 2021.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (October 26, 2017). "Chiruran: Shinsengumi Requiem's Shinya Umemura Launches New Manga". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 6.0 6.1 終末のワルキューレ 1 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 7.0 7.1 終末のワルキューレ 9 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
- ↑ Mateo, Alex (September 24, 2019). "Shūmatsu no Walküre Gets Spinoff Manga in October". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 9.0 9.1 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝 1 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 10.0 10.1 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝 3 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 2 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 3 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 4 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 5 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 6 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 7 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ August 17, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ 8 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ August 17, 2020.
- ↑ 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝 2 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
- ↑ 19.0 19.1 神VS人間のタイマン勝負「終末のワルキューレ」TVアニメ化!キャスト、PVなど一挙解禁. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). December 19, 2020. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
- ↑ Mateo, Alex (March 26, 2021). "Record of Ragnarok Anime's Promo Video Unveils Worldwide June Debut on Netflix". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 26, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการที่ Manga Hot (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการที่ Monthly Comic Zenon (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการของอนิเมะ (ญี่ปุ่น)
- มหาศึกคนชนเทพ ที่เน็ตฟลิกซ์