โอกิตะ โซจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอกิตะ โซจิ ฟูจิวาระ โนะ คาเนโยชิ
ชื่อพื้นเมือง
沖田 総司 藤原 房良
ชื่อเกิดโอกิตะ โซจิโร ฟูจิวาระ โนะ ฮารูมาซะ (沖田 宗次郎 藤原 春政)
เกิดค.ศ. 1842/1844
เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต19 กรกฎาคม ค.ศ. 1868 (อายุ 24-26 ปี)
เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น
สุสาน
รับใช้
แผนก/สังกัดโรชิงูมิ (เดิม)
มิบุโรชิงูมิ (เดิม)
ชินเซ็งงูมิ
ประจำการค.ศ. 1863–1868
ชั้นยศผู้ช่วยรองหัวหน้ากลุ่มชินเซ็นงูมิ, หัวหน้าหน่วย
บังคับบัญชาชินเซ็งงูมิ หน่วยที่ 1
การยุทธ์กรณีอิเกดายะ
กรณีคิมมิง
กรณีอาเกโบโนเต
สงครามโบชิง
ความสัมพันธ์
งานอื่นผู้ฝึกสอนเค็นจุตสึ

โอกิตะ โซจิ (ญี่ปุ่น: 沖田 総司โรมาจิOkita Sōji; ค.ศ. 1842 หรือ 1844 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1868) เป็นหัวหน้าหน่วยที่ 1 ของกลุ่มชินเซ็งงูมิ กองกำลังตำรวจพิเศษในเกียวโตในยุคบากูมัตสึ (ปลายยุครัฐบาลเอโดะ) เป็นนักดาบที่มีฝีมือมากที่สุดคนหนึ่งในกลุ่มชินเซ็งงูมิ[1]

ภูมิหลัง[แก้]

โอกิตะ โซจิมีชื่อโดยกำเนิดว่า โอกิตะ โซจิโร ฟูจิวาระ โนะ ฮารูมาซะ (沖田宗次郎藤原春政) เกิดในปี ค.ศ. 1842 หรือ ค.ศ. 1844 จากตระกูลซามูไรในคฤหาสน์เอโดะของแคว้นชิรากาวะ[2] ปู่ทวดคือโอกิตะ คันเอมง (เสียชีวิต ค.ศ. 1819) และปู่คือโอกิตะ ซันชิโร (เสียชีวิต ค.ศ. 1833) บิดาคือโอกิตะ คัตสึจิโร เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1845 มีพี่สาวสองคนคือ โอกิตะ มุตสึ (ค.ศ. 1833–1907) และโอกิตะ คิง (ค.ศ. 1836–1908) ในปี ค.ศ. 1846 โอกิตะ มิตสึผู้เป็นพี่สาวได้เข้าเป็นบุตรสาวบุญธรรมของคนโด ชูซูเกะในนาม เพื่อจะได้ให้แต่งงานกับโอกิตะ รินตาโร บุตรบุญธรรมในตระกูลโอกิตะ (ค.ศ. 1826–1883) คนโด ชูซูเกะเป็นอาจารย์ลำดับที่ 3 ของสายเท็นเน็งริชิงรีว และโอกิจะได้เริ่มฝึกฝนกับคนโดในฐานะชิเอกังขณะอายุ 9 ปี เวลานั้นคนโด ชูซูเกะได้รับชิมาซากิ คัตสึระ (ภายหลังคือคนโด อิซามิ) มาเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว แต่ฮิจิกาตะ โทชิโซยังไม่ได้สมัครเข้าเรียนในสำนักเท็นเน็งริชิงรีว โอกิตะได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นอัจฉริยะตั้งแต่วัยเยาว์ เชี่ยวชาญทุกหลักวิชาและได้รับม้วนเม็นเกียวไคเด็ง (หนังสือรับรองการผ่านทุกหลักวิชา) ในสำนักขณะอายุราว 18 ปี[3]

ในปี ค.ศ. 1861 โอกิตะกลายเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน (จูกูโต) ของชิเอกัง แม้ว่าโอกิตะถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้สุภาพ ซื่อตรง และเป็นมิตร แต่ก็ยังเป็นที่รู้จักว่าเป็นอาจารย์ผู้เข้มงวดและใจร้อนสำหรับนักเรียน[4]

ยุคกลุ่มชินเซ็งงูมิ[แก้]

โอกิตะเปลี่ยนชื่อเป็น โอกิตะ โซจิ ฟูจิวาระ โนะ คาเนโยชิ ในช่วงก่อนที่โอคิตะจะออกเดินทางพร้อมกับกลุ่มโรชิงูมิไปยังเกียวโต ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1863 แต่กลุ่มโรชิงูมิสลายตัวเมื่อไปถึงเกียวโตในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1863 สมาชิกส่วนหนึ่งกลับไปยังเอโดะ ส่วนโอกิตะและสมาชิกช่วงก่อตั้งอีกหลายคนยังคงอยู่ที่มิบุเพื่อก่อตั้งเป็นกลุ่มมิบุโรชิงูมิ ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นชินเซ็งงูมิในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1863 โอกิตะมีอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสองในสมาชิกของชิเอกัง โดยโทโด เฮซูเกะน่าจะเป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุด พี่เขยของโอกิตะคือโอกิตะ รินตาโรก็เป็นผู้ฝึกสอนของสายเท็นเน็นริชินริวซึ่งกลายเป็นหัวหน้าของกลุ่มชินโจงูมิ (กลุ่มพี่น้องของชินเซ็งงูมิในเอโดะ)[5]

โอกิตะ โซจิกลายเป็นฟูกูโจโจกิง (ผู้ช่วยรองหัวหน้า) ของกลุ่มชินเซ็งงูมิ[6] เป็นหนึ่งในสมาชิกที่มีส่วนร่วมในการลอบสังหารเซริซาวะ คาโมะ (หนึ่งในหัวหน้าร่วมช่วงก่อตั้งของกลุ่มชินเซ็งงูมิ) และอูจิยามะ ฮิโกจิโรในปี ค.ศ. 1863[7]

เสียชีวิต[แก้]

ชื่อ[แก้]

ในวัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stephane Lun (2021) "A Guide on Shinsengumi: the background and management." [Kindle paperwhite version] Retrieved from amazon.com
  2. Oji, Kazuko. Okita Soji wo Aruku. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1989, pp. 58–59
  3. Mori, Makiko. Okita Sōji Feature. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1999, pp. 9–11
  4. Mori, Makiko. Okita Sōji Feature. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1999, pp. 27–28
  5. Mori, Makiko. Okita Soji Feature. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1999, p.52
  6. Oji, Kazuko. Okita Soji wo Arukui. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1989, p. 111
  7. Oji, Kazuko. Okita Soji wo Aruku. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1989, p. 132

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Stephane Lun 倫世豪. A Guide on Shinsengumi: the background and management. 2021 Kindle Paperwhite version. Amazon.com
  • 土方歲三, 沖田総司全書簡集. 1995. ISBN 978-4-404-02306-3.
  • 今川徳三 (2004). 実録沖田総司と新選組. ISBN 978-4-569-66121-6.
  • 木村幸比古 (2002). 新選組と沖田総司 「誠」とは剣を極めることなり. PHP 研究所. ISBN 4-569-62573-8.
  • 森満喜子 (1999). 沖田総司・おもかげ抄. ISBN 978-4-404-02807-5.
  • 大路和子 (1989). 沖田総司を步く. ISBN 978-4-404-01621-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]