ภูมิศาสตร์ยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิศาสตร์ยุโรป
Geography of Europe
พื้นที่10,180,000 ตร.กม. (อันดับที่ 6)
ประชากร742,452,000 คน
(2013, อันดับที่ 3)
ความหนาแน่น72.9 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 2)
เดมะนิมชาวยุโรป (European)
ประเทศ~ 45 ประเทศ
(รับรองบางส่วน ~1 ประเทศ)
ดินแดน
ภาษา~225 ภาษา[1]
เขตเวลาUTC−1 ถึง UTC+5

ภูมิศาสตร์ยุโรป (อังกฤษ: Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชีย การแบ่งทวีปยุโรปตะวันออกกับทวีปเอเชียจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซีย ส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัด แต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต จุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี

ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกาจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์ที่ห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์[2]

พรมแดนทางตะวันตกมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลทางด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า

นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง

ภาพรวม[แก้]

แผนที่แสดงที่ตั้งของแผ่นยูเรเซีย

ในตำราภูมิศาสตร์นั้นจะเรียกทวีปยุโรปร่วมกับทวีเอเชียเนืองจากทวีปยุโรปไม่ได้ถูกล้อมด้วยมหาสมุทรและตึดกับแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้

นั้นทำให้ยุโรปถูกเรียกว่าคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีสแกนดิเนเวียทางเหนือของยุโรปเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งถูกแบ่งด้วยทะเลบอลติกและทวีปยุโรปยังมีคาบสมุทรเล็กๆอีกสามแห่งคือคาบสมุทรอิตาลี, คาบสมุทรไอบีเรียและคาบสมุทรบอลข่านซึ่งจะอยู่ทางใต้ของทวีป

คาบสมุทรบอลข่านนั้นถูกแยกออกมาจากทวีปเอเชียโดยทะเลดำและทะเลอีเจียน ส่วนคาบสมุทรอิตาลีถูกแยกจากคาบสมุทรบอลข่านด้วยทะเลเอเดรียติกและคาบสมุทรไอบีเรียถูกแยกจากคาบสมุทรอิตาลีด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นยังเป็นทะเลที่แยกยุโรปกับแอฟริกาออกจากกันอีกด้วย

ทวีปยุโรปมีลักษณะภูทิประเทศที่หลากหลายมากซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงมากมายในพื้นที่เล็ก ๆ เช่นมีเทือกเขาแอลป์, เทือกเขาพิเรนีส, เทือกเขาคาร์เพเทียนในภาคใต้ของทวีปและยังมีที่ราบสูงที่กว้างใหญ่ทางตะวันออกของทวีปและยังมีฟยอร์ดมากมายตรงแถบสแกนดิเนเวียและตรงตะวันตกของประเทศนอร์เวย์และมีการคาดว่าเกาะ[บริเตนใหญ่และเกาะไอร์แลนด์นั้นเคยติดกับพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปก่อนถูกแยกออกจากกันด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

คาบสมุทร[แก้]

ยุโรปนั้นถูกเรียกว่าเป็น "คาบสมุทรของคาบสมุทร"เนืองจากทวีปยุโรปนั้นเป็นทวีปที่มีทะเลล้อมลอบสามด้านจึงถูกเรียกว่าคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกทั้งทวีปยุโรปยังประกอบไปด้วยคาบสมุทรใหญ่เล็กอีกมากมาย[3]

รายชื่อคาบสมุทรบ้างส่วนของยุโรป[แก้]

ธรณีวิทยา[แก้]

ชายฝั่งที่ ประเทศกรีซ

ลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญที่สุดของยุโรปคือการแบ่งแยกระหว่างที่ราบสูงและเทือกเขาทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและพื้นที่ใต้น้ำบางส่วนของเกาะบริเตนใหญ่ ทั้งนี้ธรณีวิทยาของทวีปยุโรปมีความหลากหลายและซับซ้อนมากซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายของภูมิประเทศและจะสามารถพบได้ทั่วทั้งทวีปจากที่ราบสูงสกอตติชไปจนถึงที่ราบลุ่มของฮังการี

ประชากร[แก้]

ตัวเลขของประชากรในยุโรปนั้นแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดในการแบ่งเขตแดนของยุโรปที่ใช้ประชากรที่อยู่ในขอบเขตของภูมิศาสตร์ทางกายภาพมีจำนวนประมาณ 731 ล้านคนในปี 2005 และในปี 2010 มีจำนวนประชากร 857 ล้านคนตามที่สหประชาชาติประกาศซึ่งการประกาศครั่งนี้นั้นรวมถึงประเทศข้ามทวีปด้วยเช่นประเทศรัสเซียและประเทศตุรกี

ค่าเฉลี่ยอายุของคนในทวีปยุโรปส่วนมากจะอายุมัธยฐานค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับทวีปอิ่น ๆ

อุณหภูมิและฝนตก[แก้]

บริเวณที่มีภูเขาสูงในทวีปยุโรปมีอากาศหนาวเย็นและมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่ต่ำกว่าเช่นเดียวกับพื้นที่ภูเขาทั่วไป ยุโรปมีฝนตกน้อยกว่าในภาคกลางและตะวันตกของยุโรป ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวค่อยๆเพิ่มขึ้นจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือและค่อย ๆ ไล่ไปจนถึงตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป

แม่น้ำ[แก้]

รายชื่อแม่น้ำที่ยาวที่สุดในยุโรปตามลำดัยความยาวโดยประมาณ

  1. แม่น้ำวอลกา -   3,690 km (2,290 mi)
  2. แม่น้ำดานูบ - 2,860 km (1,780 mi)
  3. แม่น้ำยูรัล   -    2,428 km (1,509 mi)
  4. แม่น้ำนีเปอร์ - 2,290 km (1,420 mi)
  5. แม่น้ำดอน   -     1,950 km (1,210 mi)
  6. แม่น้ำเพโชล่า - 1,809 km (1,124 mi)
  7. แม่น้ำคามา -  1,805 km (1,122 mi)
  8. แม่น้ำโอก้า   -   1,500 km (930 mi)
  9. แม่น้ำบีรายา - 1,430 km (890 mi)
  10. แม่น้ำติซอ   -   1,358 km (844 mi)
  11. แม่น้ำนีสเตอร์ - 1,352 km (840 mi)
  12. แม่น้ำไรน์   -   1,236 km (768 mi)
  13. แม่น้ำเอลเบอ   -   1,091 km (678 mi)
  14. แม่น้ำวิสวา - 1,047 km (651 mi)
  15. แม่น้ำเทกัส   - 1,038 km (645 mi)
  16. แม่น้ำโดก้าวา - 1,020 km (630 mi)
  17. แม่น้ำลอรี่ - 1,012 km (629 mi)
  18. แม่น้ำเอโบร - 960 km (600 mi)
  19. แม่น้ำเนมูนัส - 937 km (582 mi)
  20. แม่น้ำซาวา - 933 km (580 mi)
  21. แม่น้ำโดรู - 897 km (557 mi)
  22. แม่น้ำโอเดอร์ - 854 km (531 mi)
  23. แม่น้ำกวาเดียนา - 829 km (515 mi)
  24. แม่น้ำโรน - 815 km (506 mi)
  25. แม่น้ำแซน  - 776 km (482 mi)
  26. แม่น้ำมูรัส - 761 km (473 mi)
  27. แม่น้ำปรุต - 742 km (461 mi)
  28. แม่น้ำโป - 682 km (424 mi)
  29. แม่น้ำกวาดัลกีบีร์ - 657 km (408 mi)
  30. แม่น้ำโอต - 615 km (382 mi)
  31. แม่น้ำกลอมา - 604 km (375 mi)
  32. แม่น้ำการอนนี่ - 602 km (374 mi)
  33. แม่น้ำซิเรต - 559 km (347 mi)
  34. แม่น้ำเนริส - 510 km (320 mi)
  35. แม่น้ำมาริสา - 480 km (300 mi)
  36. แม่น้ำวัลตาวา - 430 km (270 mi)
  37. แม่น้ำยาโลมีตซา - 417 km (259 mi)
  38. แม่น้ำวาก - 406 km (252 mi)
  39. แม่น้ำวาร์ดาร์ - 388 km (241 mi)
  40. แม่น้ำชานนอน - 386 km (240 mi)
  41. แม่น้ำโซเมส - 376 km (234 mi)
  42. แม่น้ำโมลาวา - 353 km (219 mi)
  43. แม่น้ำแอลบาเนีย 335 km
  44. แม่น้ำทอร์นีย์ - 324 km (201 mi)

ทะเลสาบและทะเลภายในประเทศ[แก้]

หมู่เกาะที่สำคัญ[แก้]

ทุ่งหญ้าและที่ราบลุ่ม[แก้]

เทือกเขา[แก้]

ยอดเขาเอลบรุส
ภูเขาโอลิมปัส.
เทือกเขาในประเทศแอลเบเนีย


ภูเขาสำคัญ ๆ ในยุโรป:

พื้นที่ต่าง ๆ ของภูมิประเทศที่เป็นภูเขาของยุโรป (อ้างอิงจาก UNEP-WCMC เก็บถาวร 2008-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) :

ระดับความสูง อาณาเขต (km2) % อาณาเขต
≥4500m 1 0.00%
3500-4500m 225 0.00%
2500-3500m 497,886 4.89%
1500-2500m & ลาดชัน ≥2° 145,838 1.43%
1000-1500m & ลาดชัน ≥5°
หรือระดับความสูง >300m
345,255 3.39%
300-1000m
หรือระดับความสูง >300m
1,222,104 12.00%
ภูเขา 2,211,308 21.72%
ทวีปยุโรป 10,180,000 100.00%
  • หมายเหตุ ≥ อ่านว่า มากกว่าหรือเท่ากับ

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล[แก้]

ประเทศที่เป็นเกาะ[แก้]

ประเทศที่มีดินแดนข้ามทวีป[แก้]

ยูเรเชีย ประเทศอาเซอร์ไบจาน, ประเทศจอร์เจีย, คาซัคสถาน, ประเทศรัสเซีย, ประเทศตุรกี
ยุโรป-แอฟริกา ประเทศมอลตา, ประเทศสเปน (เซวตา, เมลียา และกานาเรียส), ประเทศอิตาลี (ลัมเปดูซาและลัมปีโอเน), ประเทศโปรตุเกส (มาเดรา),[4] ประเทศฝรั่งเศส (เรอูว์นียงและมายอต)
อเมริกาใต้ ประเทศฝรั่งเศส (เฟรนช์เกียนา)
อเมริกาเหนือ ประเทศฝรั่งเศส (กัวเดอลุป, มาร์ตีนิก และแซ็งปีแยร์และมีเกอลง), ประเทศเดนมาร์ก (กรีนแลนด์), ประเทศเนเธอร์แลนด์ (โบแนเรอ, ซาบา และซินต์เอิสตาซียึส), ประเทศโปรตุเกส (Corvo Island, Flores Island)

ประเทศที่มีชื่อเมืองหลวงกับชื่อประเทศเหมือนกัน[แก้]

  1.  ลักเซมเบิร์ก
  2.  โมนาโก
  3.  ซานมารีโน
  4.  นครรัฐวาติกัน
  5.  อันดอร์รา

ประเทศที่เมืองหลวงไม่ใช่เมืองใหญ่สุด[แก้]

ประเทศ เมืองหลวง เมืองใหญ่ที่สุด
ลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไตน์ วาดุซ ชาน
มอลตา มอลตา วัลเลตตา บีร์กีร์การา
ซานมารีโน ซานมารีโน ซานมารีโน แซร์ราวัลเล
สวิตเซอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ แบร์น ซือริช
ตุรกี ตุรกี อังการา อิสตันบูล

หมายเหตุ: กรุงโรมเมืองหลวงของอิตาลีเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศหากพิจารณาเฉพาะเมือง (มหานครมิลานเป็นเขตปริมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี)

เมืองบรัสเทล - เมืองหลวงของเขตการปกครองบรัสเซลส์ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเบลเยี่ยม ประชากรของกรุงบรัสเซลส์คือ 175,000 คน ส่วนเมือง Antwerp เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ประเทศที่มีเพื่อนบ้านมากที่สุด[แก้]

แผ่นที่แสดงประเทศที่มีเพื่อนบ้านมากที่สุด
14 รัสเซีย (รวม แคว้นคาลินินกราด)
11 ฝรั่งเศส (รวม overseas departments และ territories)
9 เยอรมนี
8 ออสเตรีย, เซอร์เบีย, ตุรกี
7 ฮังการี, โปแลนด์, ยูเครน
6 อิตาลี
5 อาเซอร์ไบจาน, เบลารุส, โครเอเชีย, คาซัคสถาน, โรมาเนีย, มาซิโดเนีย, สโลวาเกีย, สเปน (รวม Ceuta และ Melilla), สวิสเซอร์แลนด์
4 อัลเบเนีย, อาร์มีเนีย, บัลแกเรีย, เช็กเกีย, จอร์เจีย, กรีซ, คอซอวอ, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มอนเตเนโกร, สโลวีเนีย
3 ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์ (รวม Sint Maarten), นอร์เวย์, ลักเซมเบิร์ก
2 อันดอร์รา, เอสโตเนีย, ลีชเทินชไตน์, มอลโดวา, สวีเดน
1 เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, โมนาโก, โปรตุเกส, ซานมารีโน, สหราชอาณาจักร, วาติกัน
0 ไอซ์แลนด์, ไซปรัส, มอลตา

อ้างอิง[แก้]

  1. Language facts – European day of languages ("ข้อเท็จจริงเรื่องภาษา - วันภาษาแห่งยุโรป"), Council of Europe. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559
  2. See Robinson, Allan Richard and Paola Malanotte-Rizzoli, Ocean Processes in Climate Dynamics: Global and Mediterranean Examples. Springer, 1994, p. 307, ISBN 0-7923-2624-5.
  3. Europe:Physical Geography เก็บถาวร 2012-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Geographic - Education
  4. Peoples of Africa. Marshall Cavendish. 2000. ISBN 9780761471585.