กลุ่มภาษาโอคุซ
กลุ่มภาษาโอคุซ (Oghuz languages) เป็นสาขาหลักของกลุ่มภาษาเตอร์กิกมีผู้พูดมากกว่า 110 ล้านคน แพร่กระจายตั้งแต่คาบสมุทรบอลข่านถึงประเทศจีน
ลักษณะทางภาษาศาสตร์[แก้]
- ลักษณะร่วมกับกลุ่มภาษาเตอร์กิกอื่นๆ
ไม่มีเสียง h ที่ต้นคำ (พบเฉพาะในภาษาคาลาซ) ไม่มีการกเครื่องมือ (พบเฉพาะในภาษาซาคาและภาษาคาลาซ)
- ลักษณะเฉพาะ
เปลี่ยนเสียงกักเป็นเสียงก้องก่อนสระหน้า เช่นเปลี่ยน kör เป็น gör ลดเสียง q/Ɣ หลังสระ ɨ/u เช่น quruq เป็น quru และเปลี่ยนอนุภาค –gan- เป็น –an-
การจัดจำแนก[แก้]
กลุ่มภาษาโอคุซแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มตามเขตภูมิศาสตร์ คือ
- กลุ่มตะวันตก ได้แก่ กลุ่มตุรกี ประกอบด้วย ภาษาตุรกี ภาษาตุรกีออตโตมัน ภาษากากาอุซ ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน และภาษาเติร์กเมซเคเทีย กลุ่มอาเซอร์ไบจาน ประกอบด้วยสำเนียงเหนือและสำเนียงใต้ของภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษาของชาวเติร์กเมนในอิรักและอิหร่าน ภาษาควาซไควและภาษาอัฟซาร์
- กลุ่มตะวันออก หรือ กลุ่มเติร์กเมน ได้แก่ ภาษาเติร์กเมน ภาษาเติร์กโคราซานีและภาษาอุซเบกสำเนียงโอคุซ
- กลุ่มใต้ ได้แก่สำเนียงที่พบในอิหร่าน และอัฟกานิสถาน
ภาษาที่ห่างไกลจากศูนย์กลางของกลุ่มภาษานี้คือภาษาซาลาร์ มีผู้พูด 70,000 คนในจีน ภาษาตาตาร์ไครเมียและภาษาอูรุมเคยจัดให้อยู่ในกลุ่มภาษาเคียปชักแต่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาโอคุซมาก ทำให้ยากที่จะจำแนกว่าอยู่ในกลุ่มภาษาใดแน่
ภาษาที่ตายแล้วคือภาษาเปเชเนก อาจจะอยู่ในกลุ่มภาษาโอคุซแต่เนื่องจากมีเอกสารหลงเหลืออยู่น้อย จึงยากในการจัดจำแนกต่อไปในกลุ่ม
อ้างอิง[แก้]
- Johanson, Lars and Csató, Éva Ágnes (1998). The Turkic Languages. London: Routledge. ISBN 0-415-08200-5.
- Menges, Karl H. (1995). The Turkic Languages and Peoples. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 3-447-03533-1.