ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชพฤกษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MannTaratorn (คุย | ส่วนร่วม)
ลบ คำว่า ชัยพฤกษ์
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขบางส่วน
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
| binomial = ''Cassia fistula''
| binomial = ''Cassia fistula''
| binomial_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
| binomial_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
| synonyms = *''Cassia fistulosa'' <small>L. ex R.W. Long & Lakela</small>
| synonyms = *''Cassia fistulosa'' <small>L. ex R.W. Long & Lakela</small>
| synonyms_ref = <ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=25749 จาก itis.gov]</ref>
| synonyms_ref = <ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=25749 จาก itis.gov]</ref>
}}
}}
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
[[ไฟล์:Cassia fistula MHNT.BOT.2007.26.54.jpg|thumb|ผลของต้นราชพฤกษ์]]
[[ไฟล์:Cassia fistula MHNT.BOT.2007.26.54.jpg|thumb|ผลของต้นราชพฤกษ์]]


'''ราชพฤกษ์''', '''คูน''', '''ลมแล้ง''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Cassia fistula}}) เป็นไม้ดอกในตระกูล [[Fabaceae]] เป็นพืชพื้นเมืองของ[[เอเชียใต้]] ตั้งแต่ทางตอนใต้ของ[[ปากีสถาน]] ไปจนถึง[[อินเดีย]] [[ศรีลังกา]] [[พม่า]] และ[[ไทย]] นอกจากนี้ดอกราชพฤกษ์ยังเป็น[[ดอกไม้ประจำชาติ]]ไทยอีกด้วยนะ
'''ราชพฤกษ์''', '''คูน''', '''ลมแล้ง''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Cassia fistula}}) เป็นไม้ดอกในตระกูล [[Fabaceae]] เป็นพืชพื้นเมืองของ[[เอเชียใต้]] ตั้งแต่ทางตอนใต้ของ[[ปากีสถาน]] ไปจนถึง[[อินเดีย]] [[ศรีลังกา]] [[พม่า]] และ[[ไทย]] นอกจากนี้ดอกราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยอีกด้วย


== ลักษณะ ==
== ลักษณะ ==
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
== สรรพคุณ ==
== สรรพคุณ ==
ส่วนต่าง ๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
ส่วนต่าง ๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
* ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติม[[เกลือ]]เล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของ[[แมลง]] เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย

* ฝักอ่อน สามารถใช้ขับ[[เสมหะ]]ได้
- ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติม[[เกลือ]]เล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของ[[แมลง]] เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
* ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้

* ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
- ฝักอ่อน สามารถใช้ขับ[[เสมหะ]]ได้

- ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้

- ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร


นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทาง[[อัลลีโลพาที]] สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของ[[คะน้า]]ได้<ref>ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421</ref>
นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทาง[[อัลลีโลพาที]] สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของ[[คะน้า]]ได้<ref>ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:46, 16 กุมภาพันธ์ 2563

ราชพฤกษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Rosopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Caesalpinioideae
เผ่า: Cassieae
สกุล: Cassia
สปีชีส์: C.  fistula
ชื่อทวินาม
Cassia fistula
L.
ชื่อพ้อง[1]
  • Cassia fistulosa L. ex R.W. Long & Lakela
ผลของต้นราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์, คูน, ลมแล้ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย นอกจากนี้ดอกราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยอีกด้วย

ลักษณะ

ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10–20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20–40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4–7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30–62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

ลักษณะดอกของต้นราชพฤกษ์

เกี่ยวกับชื่อ

ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ

ลักษณะใบของต้นราชพฤกษ์

การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูก

ในช่วงแรก ๆ ต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1–3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4–5 ปี จึงออกดอกและเมล็ดและเจริญเติบโตต่อไป

การดูแลรักษา

  • แสง ต้นราชพฤกษ์ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
  • น้ำ ต้นราชพฤกษ์ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7–10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
  • ดิน ต้นราชพฤกษ์เจริยเติบโตได้ดีดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
  • ปุ๋ย ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในการบำรุงรักษา อัตรา 2–3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3–4 ครั้ง
  • การขยายพันธุ์ ต้นราชพฤกษ์นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
  • โรค ต้นราชพฤกษ์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
  • ศัตรู ต้นราชพฤกษ์มีศัตรูหนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
  • การป้องกัน ต้นราชพฤกษ์ควรปลูกโดยรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด
  • การกำจัด ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

สรรพคุณ

ส่วนต่าง ๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้

  • ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
  • ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
  • ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร

นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[2]

ความเชื่อ

ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ

คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น[3]

คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม[4]

อ้างอิง

  1. จาก itis.gov
  2. ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421
  3. หลักการเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะสมกับทิศ
  4. การเป็นมงคล