ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟอุตรดิตถ์"

พิกัด: 17°37′13″N 100°05′51″E / 17.6201982°N 100.0975513°E / 17.6201982; 100.0975513
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xpanderz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 114: บรรทัด 114:
[[หมวดหมู่:จังหวัดอุตรดิตถ์]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดอุตรดิตถ์]]
{{เรียงลำดับ|อุตรดิตถ์}}
{{เรียงลำดับ|อุตรดิตถ์}}

[[ja:ウッタラディット駅]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 10 มีนาคม 2556

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
อุตรดิตถ์
Uttaradit
กิโลเมตรที่ 485.17
วังกะพี้
Wang Kaphi
−8.35 กม.
ศิลาอาสน์
Sila At
+2.35 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ใน ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 485.17 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 และเป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือควบคู่ไปกับสถานีรถไฟศิลาอาสน์ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์เป็นสถานีรถไฟที่มีผู้คนขึ้นโดยสารเป็นจำนวนมากทั้งจากอำเภอภายในจังหวัดและต่างจังหวัด อาคารของสถานีรถไฟอุตรดิตถ์นั้นมีขนาด 3 ชั้น มีอาณาเขตสถานีที่กว้างขวาง สถานีรถไฟอุตรดิตถ์มีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่ตั้งของกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการเดินรถไฟทั้งหมดของสายเหนือตั้งแต่ สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี- สถานีรถไฟเชียงใหม่ และจากทางแยกสถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา-สถานีรถไฟสวรรคโลกและยังเป็นที่ตั้งของโรงรถจักรอุตรดิตถ์ที่มีหน้าที่คอยซ่อมบำรุงรถไฟที่เกิดการสึกหรอ หรือเสียหายนั่นเอง อักษรย่อของสถานีรถไฟอุตรดิตถ์คือ อด.


ประวัติสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

ครั้น พ.ศ. 2448 - 2449 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เตรียมการที่จะสร้างทางรถไฟสายเหนือ ไปเชียงใหม่ โดยจะให้ทรงผ่านเมืองอุตรดิตถ์ด้วย ได้เตรียมถางทาง โค่นต้นไม้ถมดิน ทางรถไฟตรงมาทางหลังวัดท่าถนน ผ่านป่าช้าของวัดท่าถนน (คือสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) สร้างมุ่งตรงไปถึงป่าไผ่หนาทึบ (คือที่ตั้งสถานีรถไฟท่าเสาในปัจจุบัน) ตัดผ่านหน้าวัดใหญ่ท่าเสาไปถึงหน้าวัดดอยท่าเสา และในปี พ.ศ. 2450 ก็ได้วางรถไฟไปตามเส้นทางดังกล่าว ขณะที่ทางการวางรางรถไฟก็มีรถจักรทำงานจูงรถพ่วงที่บรรทุกดิน หินกรวดไปด้วย ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ จึงได้เห็นรถไฟที่มาถึงอุตรดิตถ์ในปีนี้ และในปี พ.ศ. 2452 - 2453 ทางการจึงได้จัดการสร้างสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ขึ้นในบริเวณที่เป็นป่าช้าหลังวัดท่าถนนซึ่งเป็นสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนั่นเอง ในอนาคตการรถไฟจะใช้พื้นที่ใช้สอยในเขตของสถานีรถไฟอุตรดิตถ์พัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างซึ่งอุตรดิตถ์เป็น 1 ใน 13 สถานีรถไฟที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้

ระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ

ประแจกลสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีเสาเข้าเขตใน เสาออก ไม่มีสัญญาณเตือน ( ก.4 )

บรรยากาศสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

สถานที่สำคัญภายในบริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

  1. กองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์
  2. กองช่างกลเขต 3 โรงงานแขวงอุตรดิตถ์
  3. แขวงรถจักรอุตรดิตถ์
  4. โรงรถจักรดีเซล อุตรดิตถ์
  5. ศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง จังหวัดอุตรดิตถ์
  6. ที่ทำการแพทย์รถไฟเขตอุตรดิตถ์
  7. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย สาขา อุตรดิตถ์
  8. หอควบคุมอาณัติสัญญาณ
  9. สถานีรถไฟเก่า
  10. ศูนย์บริการด้านการท่องเที่ยวและสินค้าโอท็อปจังหวัด อุตรดิตถ์
  11. ตู้รถไฟโดยสารโบราณ (การรถไฟมอบให้กับโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ )

ตารางเวลาการเดินรถ

เที่ยวล่อง

แม่แบบ:เริ่มตารางเวลารถไฟ แม่แบบ:ท408 แม่แบบ:ท410 แม่แบบ:ร112 แม่แบบ:ดพ10 แม่แบบ:ร102 แม่แบบ:ดพ14 แม่แบบ:ร106 แม่แบบ:ร108 แม่แบบ:ด52 แม่แบบ:ดพ4 แม่แบบ:จบตารางเวลารถไฟ

เที่ยวขึ้น

แม่แบบ:เริ่มตารางเวลารถไฟ แม่แบบ:ท407 แม่แบบ:ท403 แม่แบบ:ร111 แม่แบบ:ดพ9 แม่แบบ:ร109 แม่แบบ:ดพ13 แม่แบบ:ร105 แม่แบบ:ร107 แม่แบบ:ด51 แม่แบบ:ดพ3 แม่แบบ:จบตารางเวลารถไฟ

*อ้างอิงจากกำหนดเวลาเดินรถสายเหนือ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553*

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

17°37′13″N 100°05′51″E / 17.6201982°N 100.0975513°E / 17.6201982; 100.0975513