ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออาจสามารถ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กรภัทร (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มแหล่งอ้างอิง
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
กรภัทร (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมเหตุในการเปลี่ยนนามอำเภอให้ถูกต้อง มีหลังฐานอ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษาชัดเจน
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


(ประวัติเมืองร้อยเอ็ด จากหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน​ เติม​ วิภาคย์พจนกิจ)
(ประวัติเมืองร้อยเอ็ด จากหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน​ เติม​ วิภาคย์พจนกิจ)

....................................................................

การเปลี่ยนนามอำเภอจาก"สระบุษย์" เป็น "อาจสามารถ"

"ด้วยชื่อเรียกอำเภอในมณฑลร้อยเอ็จยังเรียกตามทิศ อันผู้ที่อยู่ไกลจะเข้าใจยากอยู่หลายอำเภอ ควรจะบัญญัติชื่ออำเภอให้เรียกเข้าใจได้ง่าย อีกประการ๑ ชื่อเมืองในมณฑลนี้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อนๆได้พระราชทานไว้มีอยู่มาก แต่เมื่อมารวมท้องที่เข้าเปนอำเภอ เปนเมืองแลมณฑล ตามระเบียบจัดปกครองท้องที่ในชั้นหลัง ได้ยกเลิกเมืองเก่าเสียหลายเมือง ชื่อเมืองเหล่านั้นก็สาปสูญไปเสีย ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าควรจะเอาชื่อเมือง ที่พระราชทานไว้เดิมมาใช้เป็นชื่ออำเภอ รักษาชื่อนั้นไว้ด้วยอีกอย่างหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนนามอำเภอบางอำเภอในมณฑลร้อยเอ็จ เปนดังนี้ต่อไป"

                         จังหวัดร้อยเอ็จ

๑. อำเภอปจิมร้อยเอ็จ เปลี่ยนนามเปน อำเภอเมืองร้อยเอ็จ

๒. อำเภออุไทยร้อยเอ็จ เปลี่ยนนามเปน อำเภอแซงบาดาล

๓. อำเภอสระบุษย์ เปลี่ยนนามเปน อำเภออาจสามารถ

(จากราชกิจจานุเบกษา วันที่๑๙ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ เล่ม๓๐ น่า๑๖๑๙ ,๑๖๒๐)


==ที่ตั้งและอาณาเขต==
==ที่ตั้งและอาณาเขต==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:50, 11 มีนาคม 2564

อำเภออาจสามารถ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe At Samat
คำขวัญ: 
เจ้าพ่อมเหศักดิ์ลือเลื่อง เมืองเดิมสระบุศย์ ที่สุดพระธาตุเมืองเก่า ตำนานเล่าเจ้าแม่นางหิน ท้องถิ่นหลวงปู่เสือ มากเหลือกุ้งกราม คือนามอาจสามารถ
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภออาจสามารถ
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภออาจสามารถ
พิกัด: 15°50′37″N 103°52′44″E / 15.84361°N 103.87889°E / 15.84361; 103.87889
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่
 • ทั้งหมด454.441 ตร.กม. (175.461 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด74,151 คน
 • ความหนาแน่น163.16 คน/ตร.กม. (422.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 45160
รหัสภูมิศาสตร์4514
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออาจสามารถ ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 45160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อาจสามารถ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด) 34 กิโลเมตร

ประวัติ

เมื่อครั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างประองค์สำเร็จราชการมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือเสด็จมาตรวจราชการที่เมืองร้อยเอ็ดเมื่อร.ศ.๑๑๘(ปีเดียวกับที่เสด็จประพาสเขาพระวิหาร) ทรงทราบว่าที่บ้านสั้น เป็นที่สำนักโจรชุกชุมและอยู่กลางระหว่างเมืองสุวรรณภูมิและร้อยเอ็ด จึงโปรดให้ตั้งเป็นอำเภอขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายดังกล่าวแล้ว เรียกว่า อำเภอสระบุษย์ ให้ขุนมัณฑลานุการ(ชม) ไปเป็นนายอำเภอ เหตุที่เป็นนามมาของอำเภอนี้ได้ความว่า ใกล้ๆกับที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทางทิศตะวันตก มีหนองน้ำหนองหนึ่งชื่อ หนองสขา ในหนองมีดอกบัวหลวงขาวสะพรั่งเป็นอันมาก ข้าหลวงต่างพระองค์จึงโปรดประทานนามให้ว่า "อำเภอสระบุษย์" ครั้นต่อมาทางราชการยุบอำเภออาจสามารถ แขวงเมืองกาฬสินธุ์ลงเป็นตำบลดังกล่าวแล้วจึงเอานามอาจสามารถมาเปลี่ยนเรียกอำเภอสระบุษย์เป็น "อำเภออาจสามารถ" ขึ้นเมืองร้อยเอ็ด ครั้นภายหลังกลับไปเรียกอำเภออาจสามารถมาจนเท่าทุกวันนี้

(ประวัติเมืองร้อยเอ็ด จากหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน​ เติม​ วิภาคย์พจนกิจ)

....................................................................

การเปลี่ยนนามอำเภอจาก"สระบุษย์" เป็น "อาจสามารถ"

"ด้วยชื่อเรียกอำเภอในมณฑลร้อยเอ็จยังเรียกตามทิศ อันผู้ที่อยู่ไกลจะเข้าใจยากอยู่หลายอำเภอ ควรจะบัญญัติชื่ออำเภอให้เรียกเข้าใจได้ง่าย อีกประการ๑ ชื่อเมืองในมณฑลนี้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อนๆได้พระราชทานไว้มีอยู่มาก แต่เมื่อมารวมท้องที่เข้าเปนอำเภอ เปนเมืองแลมณฑล ตามระเบียบจัดปกครองท้องที่ในชั้นหลัง ได้ยกเลิกเมืองเก่าเสียหลายเมือง ชื่อเมืองเหล่านั้นก็สาปสูญไปเสีย ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าควรจะเอาชื่อเมือง ที่พระราชทานไว้เดิมมาใช้เป็นชื่ออำเภอ รักษาชื่อนั้นไว้ด้วยอีกอย่างหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนนามอำเภอบางอำเภอในมณฑลร้อยเอ็จ เปนดังนี้ต่อไป"

                         จังหวัดร้อยเอ็จ

๑. อำเภอปจิมร้อยเอ็จ เปลี่ยนนามเปน อำเภอเมืองร้อยเอ็จ

๒. อำเภออุไทยร้อยเอ็จ เปลี่ยนนามเปน อำเภอแซงบาดาล

๓. อำเภอสระบุษย์ เปลี่ยนนามเปน อำเภออาจสามารถ

(จากราชกิจจานุเบกษา วันที่๑๙ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ เล่ม๓๐ น่า๑๖๑๙ ,๑๖๒๐)

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภออาจสามารถตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[1]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภออาจสามารถแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 139 หมู่บ้าน ได้แก่

ตำบลของอำเภออาจสามารถ
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร [a] [2]
1 อาจสามารถ At Samat 17 10,913
2 โพนเมือง Phon Mueang 17 9,235
3 บ้านแจ้ง Ban Chaeng 9 5,537
4 หน่อม Nom 13 6,936
5 หนองหมื่นถ่าน Nong Muen Than 17 9,178
6 หนองขาม Nong Kham 19 10,308
7 โหรา Hora 14 7,682
8 หนองบัว Nong Bua 10 4,187
9 ขี้เหล็ก Khilek 12 4,671
10 บ้านดู่ Ban Du 11 5,545
รวม 139 74,192
  1. ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภออาจสามารถประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลอาจสามารถ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอาจสามารถ
  • เทศบาลตำบลโพนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนเมืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอาจสามารถ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแจ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแจ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน่อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน่อมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมื่นถ่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหมื่นถ่านทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโหรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโหราทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขี้เหล็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดู่ทั้งตำบล

ภูมิศาสตร์

อาจสามารถมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ป่าไม้เป็นป่าโปร่ง ลักษณะดินปนทราย และมีฝนตกน้อย ป่าสงวนในเขตอำเภอมีสองแห่ง ได้แก่ ป่าคำใหญ่-คำขวาง มีพื้นที่ 17,431 ไร่ และป่าดงหนองกล้า มีพื้นที่ 6,562 ไร่ เป็นป่าโปร่ง ส่วนแหล่งน้ำสำคัญของอำเภอนี้ คือ แม่น้ำชี ลำห้วยยางเฌอ และลำห้วยไส้ไก่

ประชากร

ประชากรทั้งสิ้น 75,463 คน เป็นชาย 37,667 คน และหญิง 37,796 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 15,968 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและหัตถกรรม

อ้างอิง

  1. https://sites.google.com/site/condophayathai/prawati-xaphex-xacsamarth
  2. กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th.

ประวัติเมืองร้อยเอ็ด จากหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน​ เติม​ วิภาคย์พจนกิจ