ผู้ใช้:กรภัทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขุนมัณฑลานุการ

ประวัติโดยย่อ​ ขุนมัณฑลานุการ(ชม ศุกรสดุดี)

⚜️ ราชทินนาม​ ขุนมัณฑลานุการ

นามเดิม​ "ชม"

นามสกุลพระราชทาน​ "ศุกรสดุดี"

⚜️ คู่สมรสนาม​ "แต่​ ศุกรสดุดี" ชาวเมืองนครราชสีมา

ผู้สืบสกุลคือ​ "ขุนเชี่ยวประศาสน์"

⚜️ ชาตกาล​ วันจันทร์​ แรม๒ค่ำ​ เดือน๓​ ปีเถาะ​ (๑๑​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.๒๔๑๐)

⚜️ นามบิดา​ ศุข​ นามมารดา​ หมอน​ ชาติภูมิ​ บ้านคลองวัดพิกุล​ อำเภอบางกอกน้อย​ จังหวัดธนบุรี

⚜️ พ.ศ.๒๔๒๒​ เรียนหนังสือไทยแลหนังสือขอม​ ในสำนักท่านอาจารย์ปาน​ วัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร)

⚜️ ๒๔๒๕​ บรรพชาเป็นสามเณร​ ในสำนักท่านอาจารย์ปานวัดบางหว้าใหญ่​ ๒​ พรรษา

⚜️ พ.ศ.​๒๔๒๗ เสมียนกระทรวงมหาดไทย​ (หมื่นนราอักษร)

⚜️ พ.ศ.๒๔๓๔ พนักงานรับส่งกระทรวงมหาดไทย​ (หมื่นนราอักษร)

⚜️ พ.ศ.๒๔๓๕​ รับพระราชทานประทวน​ หมื่นนราอักษร​ เป็น​ ขุนชาญรณฤทธิ์​ ข้าหลวงนครราชสีมา

(ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ.๑๑๑​ หน้า๒๕๔​ เล่มที่๙​ ตั้งตำแหน่ง​ เมืองรั้ง​ หัวพัน​ นายเวร​ ขุนหมื่น​ กระทรวงมหาดไทย)

⚜️ ๗ สิงหาคม​ พ.ศ.๒๔๓๖​ (ร.ศ.๑๑๒)​ ขุนชาญรณฤทธิ์(ชม)​ ข้าหลวงนครราชสีมา​ มารับราชการมณฑลลาวกาว

(พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน​ ประชุมพงศาวดารภาคที่๔​ เหตุสงครามระหว่างฝรั่งเศส​  หม่อมอมรวงษ์วิจิตร​ (ม.ร.ว.ปฐม​ คเนจร)​เรียบเรียง)

⚜️๒๔​ ตุลาคม​ พ.ศ.๒๔๓๖(ร.ศ.๑๑๒)​ เป็นข้าหลวงประจำเมืองกาฬสินธุ์​ และข้าหลวงประจำเมืองกมลาไสย

⚜️ พ.ศ.๒๔๓๘​ เป็นข้าหลวงประจำเมืองเสลภูมิ

⚜️ พ.ศ.๒๔๓๙​ เป็นข้าหลวงประจำเมืองจำปาศักดิ์​และเมืองมูลป่าโมก

⚜️ ๑๘ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.๒๔๔๑​ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้ขุนชาญรณฤทธิ์(ชม)​ เป็นขุนมัณฑลานุการ(ชม)​ ตำแหน่งกรมการในกองข้าหลวงเทศาภิบาล​ มณฑลลาวกาว

(ราชกิจจานุเบกษา​ ร.ศ.๑๑๗ เล่ม๑๕​ หน้า๕๐๗​ ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน)

⚜️ พ.ศ.๒๔๔๑​ เป็นผู้พิพากษาศาลมณฑลอุบล

⚜️ พ.ศ.๒๔๔๓​ ข้าหลวงประจำอำเภอสระบุษย์​ เป็นผู้จัดระเบียบการปกครอง​ (ข้อมูลจากทะเบียนฐานันดร​ กลุ่มงานฐานันดร​ สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์​ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

นายอำเภอสระบุษย์​ ท่านแรก(ร.ศ.๑๑๘/พ.ศ.๒๔๔๓)​(ข้อมูลจากทำเนียบนายอำเภออาจสามารถ หนังสือประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค​ จังหวัดร้อยเอ็จ)

(ร้อยเอ็ดสาร​ พ.ศ.๒๔๘๓​ สุนทร​ ศุภจตุรัส)

เมื่อครั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างประองค์สำเร็จราชการมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือเสด็จมาตรวจราชการที่เมืองร้อยเอ็ดเมื่อร.ศ.๑๑๘(ปีเดียวกับที่เสด็จประพาสเขาพระวิหาร) ทรงทราบว่าที่บ้านสั้น เป็นที่สำนักโจรชุกชุมและอยู่กลางระหว่างเมืองสุวรรณภูมิและร้อยเอ็ด จึงโปรดให้ตั้งเป็นอำเภอขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายดังกล่าวแล้ว เรียกว่า อำเภอสระบุษย์ ให้ขุนมัณฑลานุการ(ชม) ไปเป็นนายอำเภอ เหตุที่เป็นนามมาของอำเภอนี้ได้ความว่า ใกล้ๆกับที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทางทิศตะวันตก มีหนองน้ำหนองหนึ่งชื่อ หนองสขา ในหนองมีดอกบัวหลวงขาวสะพรั่งเป็นอันมาก ข้าหลวงต่างพระองค์จึงโปรดประทานนามให้ว่า "อำเภอสระบุษย์" ครั้นต่อมาทางราชการยุบอำเภออาจสามารถ แขวงเมืองกาฬสินธุ์ลงเป็นตำบลดังกล่าวแล้วจึงเอานามอาจสามารถมาเปลี่ยนเรียกอำเภอสระบุษย์เป็น "อำเภออาจสามารถ" ขึ้นเมืองร้อยเอ็ด ครั้นภายหลังกลับไปเรียกอำเภออาจสามารถมาจนเท่าทุกวันนี้

(ประวัติเมืองร้อยเอ็ด จากหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน​ เติม​ วิภาคย์พจนกิจ)

⚜️ พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๖ รักษาการผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิ คนที่๒

เมื่อราวปี พุทธศักราช ๒๔๔๓ ทางราชสำนักกรุงเทพฯมีโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง ตำแหน่งอุปฮาด, ราชวงศ์,ราชบุตร แล้วให้ใช้คำเรียกใหม่ ดังนี้

เจ้าเมือง เรียกว่า ผู้ว่าราชการเมือง

อุปฮาด เรียกว่า ปลัดเมือง

ราชวงษ์ เรียกว่า มหาดไทยเมือง

ราชบุตร เรียกว่า ยกกระบัตรเมือง

โดยมี พระศรีเกษตราธิไชย (ท้าวสีลา) เป็นผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิคนแรก ยุคนั้นคนทั่วไปยังเรียกเจ้าเมืองอยู่ และเรียกชื่อท่านสั้นๆว่า พระศรีเกษ(สีลา) ท่านเป็นบุตรของพระศรีเกษตราธิไชย(สังข์) เจ้าเมืองเกษตรวิสัยคนแรก

ซึ่งท้าวสังข์นั้นเป็นบุตรพระรัตนวงษา (มหาราชเลน) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนที่ ๑๐ ในปีนี้เองมีกบถผีบ้าผีบุญในพื้นที่อีสานหลายหัวเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองสุวรรณภูมิ พระศรีเกษ(สีลา)ปราบกบถผีบุญ ชื่อองค์เหล็กบ้านหนองซำไม่สำเร็จ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสานได้ย้ายพระศรีเกษ(สีลา)ไปช่วยราชการที่เมืองอุบลราชธานี และรับสั่งให้ ขุนมัณฑลานุการ(ชม) ข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุวรรณภูมิ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิ คนที่ ๒

(พระศรีเกษตราธิไชย เป็นผู้ว่าราชการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๓ - พ.ศ. ๒๔๔๔)

(หนังสือสุวรรณภูมิราชบุรินทร์. ที่ระลึกการจัดงาน ๑๒๔ ปี เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ๘-๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐. พันคำทอง สุวรรณธาดา,หน้า ๔๖)

⚜️ พ.ศ.๒๔๔๕​ เกิด​ขบวนการผีบ้าผีบุญขึ้น​ พระยาพินิจสารา(ทับทิม​ บุณยรัตพันธุ์)​ไปราชการที่กรุงเทพฯ​ พระสตาเนกประชาธรรม​ พร้อมด้วยขุนมัณฑลานุการ​ ผู้ช่วยพระยาพินิจสารา ได้เกณฑ์ประชาชน​ ๑,๐๐๐คนเศษ​ พร้อมอาวุธ​ ทั้งปืนคาบศิลาอย่างเก่า​ ปืนสนัยเดอร์​ และปืนแมลิคอร์ ที่ได้รับมาใหม่​ รักษาหัวเมืองเต็มความสามารถ​ พระสตาเนกประชาธรรมคุมไพร่พล​ ๕๐๐คน​ ไปรักษาการอยู่ที่อำเภอธวัชบุรี​ เหตุการเมืองร้อยเอ็ดเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย​ จนทำการจับกุม​ และปราบปรามผีบุญได้ราบคาบ​ ในเวลาต่อมานายบัวลา หัวหน้าผีบุญถูกจับประหารชีวิตฐานขบถต่อพระราชอาณาจักรที่ริมสระบัว(วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัจจุบัน)

(จากเอกสารประวัติบุคคลสำคัญ​ จังหวัดร้อยเอ็ด​ กระทรวงวัฒนธรรม)

⚜️ พ.ศ.๒๔๔๖​ ข้าหลวงประจำเมืองสุวรรณภูมิ

(ข้อมูลจากทะเบียนฐานันดร​ กลุ่มงานฐานันดร​ สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์​ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

⚜️ พ.ศ.๒๔๕๒​ ยกบัตรเมืองร้อยเอ็ด

(ราชกิจจานุเบกษา​ ร.ศ.๑๒๙​ เล่มที่๒๗​ หน้าที่๑๔๒๐)

⚜️ พ.ศ.๒๔๕๔​ ลาออกจากราชการ​ เป็นกรมการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ด

(ราชกิจจานุเบกษา​ เล่มที่๓๖​ หน้าที่๕๖๐ พ.ศ.๒๔๖๒)

⚜️ พ.ศ.๒๔๖๒​ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว​ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ​ พระราชทานนามสกุล​ "ศุกรสดุดี"

(Sukarasatuti)

(ฐานข้อมูลนามสกุลพระราชทาน​ พระราชวังพญาไท,

ราชกิจจานุเบกษา​ เล่มที่๓๖​ หน้าที่๕๖๐ พ.ศ.๒๔๖๒)

⚜️ พ.ศ.๒๔๗๒ ปรากฏลายมือชื่อของท่านในเอกสารสำคัญในการสมรส คุณยายจันทร์เดียว คุณตาบัว แสงสุระ หลานสาวคนโต โดยท่านเป็นเฒ่าแก่ฝ่ายหญิง

⚜️ ท่านได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายที่อำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอเมืองอุบลราชธานี

เจดีย์บรรจุอัฐิของขุนมัณฑลานุการ(ชม) คุณย่าทวดแต่ ภรรยา และขุนเชี่ยวประศาสน์ บุตรชายคนเดียวของท่าน ได้ตั้งอยู่อย่างสงบ ภายในบริเวณ วัดมณีวนาราม(วัดป่าน้อย) จังหวัดอุบลราชธานี

#ขุนมัณฑลานุการ

#ร้อยเอ็ด

#สุวรรณภูมิ #อาจสามารถ

#สระบุษย์ #สระบุศย์