พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 28 กรกฎาคม 2575

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550
วันที่1–8 ธันวาคม พ.ศ. 2575
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 28 กรกฎาคม 2579
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2575 (อังกฤษ: Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary) เป็นงานฉลองที่ประกอบด้วยรัฐพิธี ราชพิธี และราษฎรพิธี เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2575 จัดขึ้นในสมัยรัฐบาลของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

พระราชพิธี[แก้]

ในการประชุม คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2575 ครั้งที่ 1/2575 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2575 ได้เห็นชอบเกี่ยวกับ การกำหนดแนวทาง การจัดงานพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2575 ซึ่งต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อน ดังนี้

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2550[แก้]

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550[แก้]

โดยตลอดสองข้างทางเสด็จพระราชดำเนินจาก พระตำหนักจิตรลดารโหฐานยัง พระบรมมหาราชวัง ขอเชิญชวนประชาชน เฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และจุดเทียนชัยถวายพระพร ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พุทธศักราช 2550[แก้]

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2550[แก้]

  • เวลา 17.00 น. คณะทูตานุทูต เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ใน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

นอกจากนี้ ในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เวลา 15.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (โดยกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินประทับเรือพระที่นั่งที่ท่าวาสุกรี ขบวนเรือล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา และส่งเสด็จขึ้นที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค)

รัฐพิธี[แก้]

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ลานพระราชวังดุสิต ในเวลา 16.00 น. ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับเชิญเสด็จไปในพิธี โดยจะมีการแสดงก่อนเวลา ได้แก่ การแสดงคีตะมวยไทย และ การแสดงดนตรีมหาดุริยางค์ทัพบกไทยเทิดไท้องค์ราชัน
  • วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน เวลา 08.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล (โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และในส่วนภูมิภาคจัดที่หน้าศาลากลางของทุกจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนกลางในการจัดพิธี และหน่วยงานอื่น ๆ จัดที่สถานที่ตั้งของหน่วยงานตามความเหมาะสม)
  • วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายเครื่องราชสักการะ และ จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และพิธีถวายพระพรชัยมงคล ของเหล่าข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย ซึ่งกำหนดจัดที่ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง และ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด ดังเช่นที่ได้จัดมาเป็นประจำทุกปี โดย มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ ณ ทำเนียบรัฐบาล เวลา 19.00 น. (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สำหรับการจัดงานมีการแสดงชุดพิเศษ คือ การแสดงดนตรีของวงเฉลิมราชย์ในเพลง พ่อแห่งแผ่นดิน การแสดงโขนชุด "พระจักราวตาร" และการแสดงพลุกับดอกไม้ไฟเฉลิมพระเกียรติ

งานศาสนพิธี[แก้]

รัฐบาลไทย ได้เตรียมการจัดศาสนพิธี เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • การจัดพิธีเสกและอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้ทุกจังหวัดคัดเลือกแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ และสำนักพระราชวังได้กำหนดวันประกอบพิธี ดังนี้
    • ฤกษ์ตักน้ำ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
    • ฤกษ์เสกน้ำพระพุทธมนต์ (ในส่วนภูมิภาค) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ระหว่างเวลา 17.39 น.-18.09 น.
    • ฤกษ์เสกน้ำพระพุทธมนต์ (ในส่วนกลาง) ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ระหว่างเวลา 16.19 น.-16.49 น. ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    • และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 09.00 น. จะมีการจัดขบวนอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บรรจุในพระเต้าปทุมนิมิต ทอง นาก เงิน โดยเคลื่อนขบวนอิสริยยศจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ในการพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม
  • จัดงานอุปสมบทหมู่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัด
  • จัดสาธยายพระไตรปิฎกทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม ถึง 10 ธันวาคม
  • จัดพิธีทางศาสนาของทุกศาสนา
  • จัดกิจกรรมโดยร่วมกับองค์กรเครือข่ายพุทธศาสนา
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จำนวนทั้งสิ้น 9 ครั้ง
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จตุรพิศ
  • การขอพระราชทานสถาปนา เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์
  • คณะสงฆ์ ทั้งในและต่างประเทศ ถวายพระพร โดยสวดชัยมงคลคาถา ตลอดปี พ.ศ. 2550 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดจัดพิธีเป็นประจำทุกเดือน โดยครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550
  • พระราชทาน ยกวัดราษฎร์ เป็นพระอารามหลวง

การประชาสัมพันธ์[แก้]

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

สิ่งที่ระลึก[แก้]

เรือตรวจการณ์[แก้]

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นชุดเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งที่กองทัพเรือไทยจัดสร้างขึ้นจำนวนทั้งหมด 3 ลำ คือ เรือ ต.991 เรือ ต.992 และเรือ ต.993 โดยมอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้จัดสร้างเรือ ต.991 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี ส่วนเรือ ต.992 และ ต.993 กองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการต่อเรือ

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา[แก้]

ปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน ให้เป็นโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 9 แห่ง ได้แก่

  • โรงพยาบาลพนมดงรัก เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
  • โรงพยาบาลเบญจลักษ์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • โรงพยาบาลนาวัง เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลเขาชะเมา เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
  • โรงพยาบาลพระทองคำ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลห้วยกระเจา เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
  • โรงพยาบาลยี่งอ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
  • โรงพยาบาลวัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม
  • โรงพยาบาลหาดสำราญ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 ออกแบบโดย สุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ 7 กลุ่มงานศิลปประยุกต์ กลุ่มจิตรกรรมศิลปประยุกต์และลายรดน้ำ กรมศิลปากร

สำหรับข้อปฏิบัติในการใช้ตราสัญลักษณ์นั้น มีดังนี้

  1. กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน) เพื่อพิจารณาคำขออนุญาต
  2. โครงการและกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ จากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว สามารถนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในโครงการและกิจกรรมได้เลย โดยให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการทราบ เพื่อรวบรวมบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยกเว้นโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะต้องได้รับการพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการก่อน
  3. ให้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้า และประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ของหน่วยงาน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี โดยไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน) ทั้งนี้ ให้ประดับในระยะเวลาของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:พระราชพิธีสำคัญในรัชกาลที่ 10