ข้ามไปเนื้อหา

ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล

เกิดจันทร์พิมพ์ กันทะเตียน
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (40 ปี)
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นเก๋
การศึกษาโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
อาชีพ
กีฬาอาชีพ
ประเทศไทย
กีฬายกน้ำหนัก
ระดับน้ำหนัก53 กิโลกรัม
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัด กองทัพบกไทย
ชั้นยศ พันตรี
หน่วยกรมพลาธิการทหารบก

พันตรีหญิง ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล (สังกัดกรมพลาธิการทหารบก[1]) หรือที่รู้จักและนิยมเรียกกันในชื่อ น้องเก๋ (ชื่อเดิม: จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน, ชื่อเล่น: เก๋) อดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ที่ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 29 ณ กรุงปักกิ่ง[2][3] สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเข้าแข่งขันใน รุ่น 53 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ทำสถิติท่าสแนตช์ 95 กิโลกรัม ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 126 กิโลกรัม รวมน้ำหนักทำได้ 221 กิโลกรัม[4]ทำลายสถิติโอลิมปิกสำหรับท่าคลีนแอนด์เจิร์ก

ประวัติและการศึกษา

[แก้]

ประภาวดี เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรสาวของ นายจันทร์แก้ว กับ นางภาวลีย์ เจริญรัตนธารากูล โดยเป็นคนโต ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน บิดาประกอบอาชีพกรรมกรก่อสร้าง[5] ประภาวดี ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-4ที่โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่5-6ที่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ประภาวดี เริ่มเข้าสู่การแข่งขันยกน้ำหนักตั้งแต่อายุ 11 ปี ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศจีน นอกจากนั้นยังคว้าแชมป์มาอีกหลายรายการ ตั้งแต่ แชมป์เอเชีย ปี ค.ศ. 2006, แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์, คว้าเหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่เวียดนาม รวมถึง 3 เหรียญเงิน ชิงแชมป์เอเชีย ที่คาซัคสถาน และได้เหรียญเงินในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ และยังคว้าเหรียญทองโอลิมปิก ในการแข่งยกน้ำหนักหญิงรุ่น 53 กก. และทำลายสถิติโอลิมปิกท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ด้วยน้ำหนัก 126 กก.[6]

เก๋จบบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ปี 2551และย้ายไปจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาต่อ

แต่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 30 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน เพราะไม่ผ่านเกณฑ์การคัดตัวที่ทางสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ ซึ่งเจ้าตัวก็บอกว่าไม่ได้ติดใจอะไร[7]

ผลงาน

[แก้]
  • เหรียญทอง โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • 3 เหรียญทอง กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่ตุรกี 2006[8]
  • เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ ที่กาตาร์ 2006
  • 3 เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2005
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ ที่ฟิลิปปินส์ 2005
  • เหรียญทองแดง ชิงแชมป์โลก ที่แคนาดา 2003
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ ที่เวียดนาม 2003
  • เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ ที่กว่างโจว 2010
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ ที่อินโดนีเซีย 2011

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. น้องเก๋สุดปลื้มติดยศว่าที่ร้อยตรีกรมพลาฯ จากสยามสปอร์ต
  2. ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008
  3. เหรียญทองมาแล้ว “เก๋” คว้าชัยแถมทุบสถิติโอลิมปิก[ลิงก์เสีย]
  4. "เข้าแข่งขันใน รุ่น 53 กิโลกรัม". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  5. “น้องเก๋” ตื่นจากฝันร้ายมาคว้าเหรียญทอง[ลิงก์เสีย]
  6. "น้องเก๋"กระหึ่ม! ซิวทองโอลิมปิก[ลิงก์เสีย] เดลินิวส์
  7. 'น้องเก๋' ไม่ติดใจหลุดโผอดไปอลป. จากไทยรัฐ
  8. เหรียญทอง โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖๕, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๒๙, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙