ข้ามไปเนื้อหา

ทาแลส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทาแลสแห่งมีแลโตส (Θαλής ο Μιλήσιος)
เกิดc. 626/623 BC
เสียชีวิตc. 548/545 BC (อายุประมาณ 78 ปี)
ยุคปรัชญาก่อนโสกราตีส
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักปรัชญาไอโอเนียน, โรงเรียนไมเลเซียน, ธรรมชาตินิยม
ความสนใจหลัก
จริยศาสตร์, อภิปรัชญา, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์
แนวคิดเด่น
น้ำคือสสารแรกสุด, ทฤษฎีบทของทาแลส

ทาแลสแห่งมีแลโตส (กรีก: Θαλής ὁ Μιλήσιος, Thalês ho Mīlḗsios Thales of Miletus/ Tales de Mileto) ประมาณ 626/623–548/545 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นนักปรัชญาของชาวกรีกโบราณ ได้รับการยกย่องจากอริสโตเติล ว่า ทาแลสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่บันทึกความคิดไว้เป็นหลักฐาน และได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของวิชาปรัชญาตะวันตก เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์กล่าวว่า "วิชาปรัชญาเริ่มต้นจากเธลิส"[1]

ประวัติ

[แก้]

ทาแลสเป็นนักปรัชญาชาวกรีก เป็นนักวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ทาแลสเป็นชาวเมืองมีแลโตส (Μῑ́λητος) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกีในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีผลงานของทาแลสที่เป็นข้อเขียนไม่หลงเหลือเป็นหลักฐานเลย แต่จากหลักฐานที่กล่าวอ้างถึงทาแลสโดยนักคณิตศาสตร์ผู้อื่นพบว่า ทาแลสได้เขียนตำราเกี่ยวกับการหาทิศและการเดินเรือ

ช่วงอายุของเขามีพื้นฐานคร่าว ๆ จากเหตุการณ์ที่ทราบวันที่จากแหล่งที่มาแน่นอนไม่กี่เหตุการณ์และจากการประมาณ เฮโรโดตุสอ้างว่าทาแลสได้ทำนายสุริยุปราคา ซึ่งเราสามารถระบุวันที่จากวิธีสมัยใหม่ได้ว่าเป็นวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อน ค.ศ. แต่ทาแลสเองกล่าวว่าเขาได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุริยุปราคาจากนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์

ความสำคัญ

[แก้]
การคำนวณความสูงของพีระมิด

ทาแลสเป็นคนแรกที่คำนวณหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา เขาได้ทำนายว่าจะเกิดสุริยคราสล่วงหน้าซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 42 ปี รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก เป็นต้น

ทฤษฎี

[แก้]

ธรรมชาติที่เป็นหลักการแห่งการสร้างมวลสาร

[แก้]

ฉายาที่เป็นธรรมชาติที่สุดของทาแลสคือ " วัตถุนิยม " และ " นักธรรมชาตินิยม " ซึ่งมีพื้นฐานมาจากอูเซียและฟิสิกส์ สารานุกรมคาทอลิก ตั้ง ข้อสังเกตว่าอริสโตเติลเรียกเขาว่านักสรีรวิทยาโดยมีความหมายว่า "นักศึกษาแห่งธรรมชาติ" [2] ในทางกลับกัน เขาจะมีคุณสมบัติเป็นนักฟิสิกส์ ยุคแรก เช่นเดียวกับอริสโตเติล พวกเขาศึกษา corpora, "bodies" ซึ่งเป็นลูกหลานของสารในยุคกลาง

น้ำในฐานะเป็นหลักการข้อแรก

[แก้]

ความเชื่อของทาแลสที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ โลกเริ่มต้นจากน้ำ ซึ่งอริสโตเติลให้ความเชื่อเทียบเท่ากับความเชื่อของแอแนกซิมินีสที่เชื่อว่า โลกก่อกำเนิดจากอากาศ การอธิบายถึงมุมมองของทาแลสในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือผ่านทาง อภิปรัชญาของอริสโตเติล[3] จากทฤษฏี สาระและรูปแบบ ที่ว่า "รูปแบบใดที่ทุกอย่างปรากฏอยู่และรูปแบบใดที่เกิดขึ้นก่อนก็จะเข้าไปอยู่ในนั้น เป็นส่วนหนึ่งในนั้น แต่เปลี่ยนแปลงในด้านคุณสมบัติ เหมือนกับที่กล่าวกันว่า ธาตุและองค์ประกอบหลักของวัตถุใดก็เป็นอย่างนั้น" และอีกครั้งหนึ่ง "เพื่อความจำเป็นตามธรรมชาติของมัน อะไรอย่างหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง จากอะไรที่มาเป็นอย่างอื่นและอยู่ในนั้น ... ทาแลส นั่นเองที่เป็นผู้ซึ่งพบปรัชญาที่ว่า มันคือน้ำ"

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Russell, Bertrand. "The History of Western Philosophy." 1945
  2. Turner, Catholic Encyclopedia.
  3. 983 b6 8-11
  • Burnet, John (1957) [1892]. Early Greek Philosophy. The Meridian Library. (reprinted from the 4th edition, 1930; the first edition was published in 1892). An online presentation of the Third Edition เก็บถาวร 2015-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน can be found in the Online Books Library of the University of Pennsylvania.
  • Diogenes Laertius, "Thales", in The Lives And Opinions Of Eminent Philosophers เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, C. D. Yonge (translator), Kessinger Publishing, LLC (June 8, 2006) ISBN 1-4286-2585-2.
  • Herodotus; Histories, A. D. Godley (translator), Cambridge: Harvard University Press, 1920; ISBN 0-674-99133-8. Online version at the Perseus Digital Library.
  • Kirk, G.S. (1957). The Presocratic Philosophers. Cambridge: University Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) (subsequently reprinted)
  • G. E. R. Lloyd. Early Greek Science: Thales to Aristotle.
  • Nahm, Milton C. (1962) [1934]. Selections from Early Greek Philosophy. Appleton-Century-Crofts, Inc.
  • Pliny the Elder; The Natural History (eds. John Bostock, M.D., F.R.S. H.T. Riley, Esq., B.A.) London. Taylor and Francis, Red Lion Court, Fleet Street. (1855). Online version at the Perseus Digital Library.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]