อารยธรรมไมซีนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารยธรรมไมซีนี
ชื่อภาษาท้องถิ่นกรีซสมัยไมซีนี
ภูมิภาคกรีซแผ่นดินใหญ่ หมู่เกาะอีเจียน และอานาโตเลียตะวันตก
สมัยสัมฤทธิ์
ช่วงเวลาประมาณ 1,750 ปี – ประมาณ 1,050 ปีก่อน ค.ศ.
แหล่งโบราณคดีต้นแบบไมซีนี
แหล่งโบราณคดีสำคัญปีโลส, ตีรึนส์, มิเดอา, โอร์โคเมโนส, อีโอลโกส
ลักษณะเด่น
ก่อนหน้าอารยธรรมไมนอส, วัฒนธรรมโกรากู, วัฒนธรรมตีรึนส์
ถัดไปยุคมืดของกรีซ
ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

สถานีย่อยกรีซ
"ประตูสิงโต" (Lion Gate) ประตูทางเข้าหลักของป้อมปราการเมืองไมซีไน ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล

อารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) มาจากภาษากรีกโบราณ: (Μυκῆναι Mykēnai, มิเคไน หรือ Μυκήνη Mykēnē, มิเคเน่) เป็นวัฒนธรรมอีเจียนในช่วงปลายสมัยเฮลลาดิก (ยุคสำริด) เจริญอยู่ระหว่างปี 1650 จนถึงปี 1100 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนีเป็นอารยธรรมแรกที่แสดงความก้าวหน้าในระดับสูงบนแผ่นดินใหญ่ของกรีซ โดยมีจุดเด่นที่การสร้างพระราชวังที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ เริ่มมีการจัดตั้งชุมชนเมือง การสร้างงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสี และระบบการเขียน[1] ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกแผ่นดินเหนียวไลเนียร์บี อันเป็นหลักฐานทางตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีก

ชาวไมซีเนียนมีนวัตกรรมหลายอย่างทั้งในทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และทางการทหาร และมีการเดินทางค้าขายไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียน ศาสนาของไมซีนีมีเทพเจ้าหลายองค์ เช่นเดียวกับเทพเจ้าในเทวสภาโอลิมปัส สังคมของชาวกรีกในยุคไมซีนีเป็นสังคมที่นักรบชาติกำเนิดสูงมีบทบาทหลัก และประกอบไปด้วยเครือข่ายรัฐพระราชวังที่มีระบบของลำดับชั้นทางปกครอง ความสัมพันธ์ทางสังคม และทางเศรษฐกิจที่เข้มงวด ผู้ปกครองสูงสุดในสังคมเป็นกษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า อะนักซ์ (wanak)

วัฒนธรรมกรีกในยุคไมซีนีต้องพบกับจุดจบ เมื่ออารยธรรมยุคสำริดในแถบเมดิเตอเรเนียนตะวันออกล่มสลายลง และติดตามมาด้วยยุคมืดของกรีซ อันเป็นช่วงที่สังคมกรีกเปลี่ยนผ่านแบบไร้การจดบันทึก (เป็นลายลักษณ์อักษร) ไปสู่กรีซยุคอาร์เคอิก อันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีนัยสำคัญ โดยอำนาจที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่พระราชวังได้กระจายตัวออกไป และมีการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น[2] มีทฤษฎีที่อธิบายการล่มสลายของอารยธรรมไมซีนีอยู่หลายทฤษฎี บ้างก็ว่าเป็นเพราะการรุกรานของชาวดอเรียนหรือเพราะการขยายอำนาจของ "ชาวทะเล" (the Sea Peoples) ในแถบเมดิเตอเรเนียนซึ่งชาวอียิปต์โบราณได้บันทึกไว้ ทฤษฎีอื่น ๆ ที่ยอมรับกันก็เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อารยธรรมและประวัติศาสตร์ของยุคไมซีนีกลายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของวรรณกรรมกรีกโบราณ โดยเฉพาะเทพปกรณัมกรีก ซึ่งรวมถึงวัฏมหากาพย์กรุงทรอย (Trojan Epic Cycle)[3]

ตัวตนของชาวไมซีนี[แก้]

คำถามที่ว่าชาวไมซีนีเป็นใครนั้นยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน แต่หลักฐานตัวอักษรจากจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของภาษากรีกตั้งแต่ช่วงสหัสวรรษที่สองก่อนคริสตกาลลงมาถึง ศ.ที่แปดก่อน ค.ศ. นอกจากนี้หลักฐานจากจารึกที่พบยังแสดงว่าชาวไมซีนีมีความเกี่ยวข้องทางชาติพันธ์กับประชากรที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรกรีซในสมัยถัดไป ในวรรณคดีของโฮเมอร์ (คือ อีเลียด ซึ่งเล่าถึงการสู้รบเพื่อชิงเมืองทรอย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 13 - 12 ก่อน ค.ศ.) ชาวไมซีนีถูกเรียกด้วยชื่อต่าง ๆ กัน โฮเมอร์เรียกนักรบไมซีนีที่ตั้งค่ายล้อมกรุงทรอยอยู่ ด้วยชื่อที่แสดงเอกลักษณ์ทางชาติพันธ์ เช่น ชาวอะคีอัน (Achaeans) ชาวดานาอัน (Danaans) และชาวอาร์กีฟ (Argives) ซึ่งเป็นชื่อที่ดูเหมือนจะถูกส่งผ่านมาสู่ยุคของโฮเมอร์จากช่วงเวลาก่อนหน้านั้น

หลักฐานจากไลเนียร์บีที่พบที่คนอสซอส เกาะครีต และมีอายุย้อนไปถึงราว 1400 ปีก่อน ค.ศ. อ้างถึงชื่อ a-kawi-ja-de ซึ่งเชื่อว่าเป็นชื่อของเมืองในไมซีนีที่ชาวอาไคอันอาศัยอยู่ บันทึกในอียิปต์อายุราว 1479-1425 ปีก่อน ค.ศ. ก็มีอ้างถึงดินแดน Tanaju (Danaya) และดินแดนของชาวดานาอัน (กรีกโบราณ: Δαναοί) - ชื่อของราชวงศ์ปรำปราที่เคยปกครองดินแดนอาร์กอส - ก็ได้รับการอธิบายในทางภูมิศาสตร์ในจารึกสมัยรัชกาลของฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3 (ครองราชย์ 1390-1352 ปีก่อน ค.ศ.) ว่ากินบริเวณกว้างในทางใต้ของกรีซแผ่นดินใหญ่

ประวัติศาสตร์[แก้]

ยุคเริ่มต้น (ราว 1600 - 1450 ก่อน ค.ศ.)[แก้]

ยุครุ่งเรือง (ราว 1450 - 1250 ก่อน ค.ศ.)[แก้]

ระยะล่มสลาย (ราว 1250 - 1100 ก่อน ค.ศ.)[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Fields 2004, pp. 10–11.
  2. Morris 1996, "Greece: Dark Age Greece", pp. 253–256.
  3. The extent to which Homer attempted to or succeeded in recreating a "Mycenaean" setting is examined in Moses I. Finley The World of Odysseus, 1954.

บรรณานุกรม[แก้]