มุมฉาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุมฉากมีนาดเท่ากับ 90 องศา
ส่วนของเส้นตรง AB ถูกวาดขึ้นทำให้เกิดมุมฉากสองมุมบนส่วนของเส้นตรง CD

ในเรขาคณิตและตรีโกณมิติ มุมฉาก คือมุมที่เกิดจากการแบ่งครึ่งมุมบนเส้นตรง (มุมตรง) เป็นสองขนาดเท่ากัน หรืออธิบายให้เจาะจงก็คือ ถ้ากำหนดให้รังสีมีจุดเริ่มต้นบนเส้นตรงเส้นหนึ่ง และมุมประชิดสองมุมมีขนาดเท่ากัน ดังนั้นมุมดังกล่าวจะเป็นมุมฉาก [1] มุมฉากสอดคล้องกับการหมุนหนึ่งในสี่รอบของรูปวงกลม [2]

แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดคือเส้นตั้งฉาก (perpendicular lines) หมายถึงเส้นตรงหลายเส้นตัดกันทำให้เกิดมุมฉากที่จุดตัด และภาวะเชิงตั้งฉาก (orthogonality) คือสมบัติที่จะทำให้ก่อเกิดมุมฉากซึ่งใช้ในเรื่องเวกเตอร์ มุมฉากที่ปรากฏในรูปสามเหลี่ยมเป็นองค์ประกอบของการนิยามรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก [3] ซึ่งนำไปสู่พื้นฐานของตรีโกณมิติ

สัญลักษณ์[แก้]

รูปสามเหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง มุมฉากของมันแสดงด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็ก ๆ
การเขียนมุมฉากอีกแบบหนึ่งโดยใช้เส้นโค้งและจุด

ยูนิโคดมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายของมุมฉากหลายสัญลักษณ์ ได้แก่ [4]

  • U+221F มุมฉาก
  • U+22BE มุมฉาก เติมเส้นโค้ง
  • U+299C มุมฉาก เติมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • U+299D มุมฉาก เติมเส้นโค้งและจุด

การเขียนแผนภาพมักใส่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็ก ๆ ให้กับมุมฉาก เป็นการสะท้อนข้อเท็จจริงว่า มุมฉากเป็นองค์ประกอบของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (และรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก) การเขียนอีกแบบหนึ่งคือ ใช้เส้นโค้งแสดงมุมแล้วเติมจุดลงไปด้านใน

การแปลงหน่วย[แก้]

มุมฉากมุมหนึ่ง ๆ สามารถแสดงได้ในหลายหน่วยที่แตกต่างกันเช่น

อ้างอิง[แก้]

  1. Wentworth p. 8
  2. Wentworth p. 11
  3. Wentworth p. 40
  4. Unicode 5.2 Character Code Charts Mathematical Operators, Miscellaneous Mathematical Symbols-B
  • Wentworth, G.A. (1895). A Text-Book of Geometry. Ginn & Co.
  • Euclid, commentary and trans. by T. L. Heath Elements Vol. 1 (1908 Cambridge) Google Books