อัครปุระเอเธนส์
อัครปุระ เอเธนส์ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
อัครปุระเอเธนส์ มองจากเนินเขามิวส์ | |
พิกัด | 37°58′15″N 23°43′34″E / 37.97083°N 23.72611°E |
ประเทศ | กรีซ |
ภูมิภาค ** | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i), (ii), (iii), (iv), (vi) |
อ้างอิง | 404 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อัครปุระเอเธนส์ (กรีกโบราณ: ἡ Ἀκρόπολις τῶν Ἀθηνῶν, อักษรโรมัน: hē Akropolis tōn Athēnōn; กรีกสมัยใหม่: Ακρόπολη Αθηνών, อักษรโรมัน: Akrópoli Athinón) เป็นป้อมปราการโบราณที่ตั้งอยู่บนโขดหินที่โผล่ขึ้นมาเหนือเมืองเอเธนส์ และมีซากอาคารเก่าแก่หลายแห่งที่มีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ อาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือวิหารพาร์เธนอน คำว่า อัครปุระ มาจากคำภาษากรีก ἄκρον ('ยอด, จุดสูงสุด, ปลายสุด') และ πόλις ('นคร')[1] แม้ว่าคำว่าอัครปุระจะเป็นคำทั่วไปและยังมีอัครปุระอื่น ๆ อีกมากมายในกรีซ แต่อัครปุระเอเธนส์มีความสำคัญมากจนทำให้มันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "อัครปุระ" โดยไม่ต้องระบุที่ตั้ง ในสมัยโบราณสถาน ที่นี่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Cecropia ตามชื่อของเกโกรปส์ มนุษย์งูซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเอเธนส์พระองค์แรกตามตำนาน
ในขณะที่มีหลักฐานว่าเนินเขานี้มีผู้อาศัยอยู่ย้อนหลังไปถึงสหัสวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราช แต่ก็เป็นเพริคลีส (ประมาณ 495–429 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชทีประสานงานการก่อสร้างสถานที่ที่สำคัญที่สุดที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันซึ่งรวมถึงวิหารพาร์เธนอน, พรอพิลีอา, อิเร็กเทียม และวิหารอะทีนาไนกี[2][3] วิหารพาร์เธนอนและอาคารอื่น ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงที่ถูกชาวเวนิสปิดล้อมระหว่างสงครามมอรีอาในปี พ.ศ. 2032 เมื่อดินปืนที่เก็บไว้ในวิหารพาร์เธนอนถูกกระสุนปืนใหญ่ยิงและระเบิด[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ acro-. (n.d.). In Greek, Acropolis means "Highest City". The American Heritage Dictionary of the English Language, Fourth Edition. Retrieved September 29, 2009, from Dictionary.com website: เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Quote: "[From Greek akros, extreme; see ak- in Indo-European roots.]"
- ↑ Hurwit 2000, p. 87.
- ↑ "History" เก็บถาวร 2019-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Odysseus. Retrieved 2 December 2012.
- ↑ Nicholas Reeves and Dyfri Williams, "The Parthenon in Ruins" เก็บถาวร 2009-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, British Museum Magazine 57 (spring/summer 2007), pp. 36–38. Retrieved 2 December 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ Acropolis of Athens |
- "Acropolis of Athens". odysseus.culture.gr. Ministry of Culture and Sports (Greece).
- "Acropolis Restoration Project". ysma.gr. Acropolis Restoration Service.
- "Acropolis Educational Resources Repository". repository.acropolis-education.gr. Acropolis Information and Education Department.
- "The Glafka Project Journey" (PDF). repository.acropolis-education.gr. Acropolis Restoration Service.
- "Acropolis, Athens". whc.unesco.org. UNESCO.
- "Ancient Athens 3D". ancientathens3d.com. Ancient Athens 3D.
- "Attica". A Geological Companion to Greece and the Aegean. Université du Québec à Chicoutimi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2007.
- "The Acropolis of Athens". athensguide.com.
- "A Quick Tour of the Athenian Acropolis". campus.lakeforest.edu. Lake Forest College.