ข้ามไปเนื้อหา

ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1)
ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย 1
โลโก้รายการ
ออกอากาศ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ระยะเวลาการถ่ายทำ พฤษภาคม พ.ศ. 2549
มิถุนายน พ.ศ. 2549
จำนวนตอน 13
ผู้ชนะ ซาบรีน่ากับโจ เจอร์
ทวีปที่ผ่าน 2
ประเทศที่ผ่าน 8
เมืองที่ผ่าน 17
ระยะทางการแข่งขัน 39,000 กิโลเมตร
(24,234 ไมล์)
จำนวนเลก 12
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป
ถัดไป ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2

ดิ อะเมซซิง เรซ เอเชีย ปี 1 เป็นปีที่หนึ่งของรายการ The Amazing Race Asia ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับ ดิ อะเมซซิง เรซ เอเชีย ปี 1 นี้จะแข่งขันเป็นระยะทางประมาณ 36,000 กิโลเมตร ใน 21 วันทางผู้ผลิตรายการพยายามได้พยายามให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยให้มีการขับรถด้วยตัวเองมากขึ้น และพยายามลดโอกาสในการขึ้นเครื่องบินในไฟลท์เดียวกันของผู้เข้าแข่งขัน ฤดูกาลนี้เริ่มแพร่ภาพในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ถึง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การผลิต

[แก้]

การถ่ายทำและการออกอากาศ

[แก้]

ในเดือนตุลาคม 2548 มีการประกาศออกมาจากทางช่อง AXN ว่าจะมีการทำรายการนี้ในรูปแบบของเอเชียสำหรับในฤดูกาลนี้ถ่ายทำในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เป็นจำนวน 13 ตอนโดยประกอบด้วย 12 เลกและซุปเปอร์เลก 1 เลกตาแบบฉบับอเมริกาตั้งแต่ฤดูกาลที่ 6-10 ทำการออกอากาศทั่วเอเชียทางช่อง AXN asia ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 - 1 กุมภาพันธ์ 2550

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]

ผู้สมัครกว่า 1,000 ทีมได้ทำการสมัครเข้ามา โดยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียเท่านั้น (รวมถึงชาวตะวันตกที่สัญชาติเอเชียด้วย) ยกเว้นจากประเทศญี่ปุ่นที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการสมัครลงแข่งขัน จนสุดท้ายคัดเหลือ 10 ทีมที่จะทำการแข่งขันในฤดูกาลที่ 1 นี้

การตลาด

[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1 มีผู้สนับสนุนหลัก 6 บริษัท (คาลเท็กซ์, โนเกีย,แอร์เอเชีย ,การท่องเที่ยวแห่งมาเลเซีย, โซนี่และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด) ส่วนทางด้านการตลาดเป็นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะทำการฉายไปทั่วเอเชียจึงทำให้มีผู้ชมเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะนิสัยของชาวเอเชียที่จะไม่ได้จริงจังกับเรื่องการแข่งขันมากนัก ทำให้โดยรวมแล้วรูปแบบการแข่งขันนั้นไม่รุนแรงและดุเดือดเท่ากับในเวอร์ชันสหรัรฐฯ และมีผู้ให้ความเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วทีมมักไม่ได้ขับรถด้วยตนเองจึงทำให้การแข่งขันนี้ง่ายขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามทางทีมงานรับปากว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ในฤดูกาลถัดมา

ผลการแข่งขัน

[แก้]

ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ออกอากาศในโทรทัศน์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วนในภายหลัง หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)

ทีม ความสัมพันธ์ ลำดับที่ (ในแต่ละเลก) ผู้แก้อุปสรรค
1 2 3 4 5 6 7 8 97 <10> 11 12
มาเลเซีย ซาบรีน่ากับโจ เจอร์ เพื่อนร่วมงาน 3 4 52 6 3 3 6 5 4 4 3 2 1 ซาบรีน่า 6, โจ เจอร์ 6
ฮ่องกง แซนดี้กับเฟรนเชสก้า คู่เดท 10 9 2 3 5 1 4 3 5 1> 1 3 2 แซนดี้ 6, เฟรนเชสก้า 6
มาเลเซีย แอนดรูว์กับซีออน คู่เดท 51 8 82 1 2 4 2 4 2 3 2 1 3 แอนดรูว์ 6, ซีออน 6
อินโดนีเซีย มาร์ดี้กับมาร์สิโอ้ พี่-น้อง 1 2 62 4 6 5 5 3 2 4 4 มาร์ดี้ 4, มาร์สิโอ้ 6
ไทย แอนดี้กับลอร่า คู่หมั้น 7 7 72 73 1 26 1 2 1 5< แอนดี้ 5, ลอร่า 4
ศรีลังกา ฮอวาร์ดกับซาร์แรน เพื่อนสนิท 9 3 1 84 4 6 3 6 ฮอวาร์ด 4, ซาร์แรน 3
สิงคโปร์ แชรอนกับเมโลดี้ เพื่อนสนิท 6 5 3 2 7 7 แชรอน 2, เมโลดี้ 3
อินเดีย ซาฮิลกับพาร์ชาน นายแบบ 8 4 5 85 ซาฮิล 2, พาร์ชาน 2
ฟิลิปปินส์ ออลเบย์กับแจ๊คลีน นักแสดง/นางแบบ 4 6 92 ออลเบย์ 1, แจ๊คลีน 1
ฟิลิปปินส์ จีน่ากับเออนี่ คู่ชีวิต 2 10 จีน่า 0, เออนี่ 1


หมายเหตุ 1: ระหว่างทางไปยังจุดหยุดพัก ทีมจะต้องเดินตามเส้นทางที่กำหนดผ่านเขตป่าสงวน Bukit Nanas ไปยังยอดของ หอคอยกัวลาลัมเปอร์ แอนดรูว์กับซีออนเดิมมาถึงเป็นลำดับที่ 1 แต่พวกเขาไม่ได้เดินมาตามทางที่กำหนด จึงต้องลงไปทำให้ถูกต้อง ทำให้พวกเขาจุดพักมาเป็นลำดับที่ 5
หมายเหตุ 2: ซาบรีน่ากับโจ เจอร์ (มาถึงเป็นที่ 1) / มาร์ดี้กับมาร์สิโอ้ (ที่ 4) / แอนดี้กับลอร่า (ที่ 5) / แอนดรูว์กับซีออน (ที่ 6) / ออลเบย์กับแจ๊คลีน (ที่ 9) ยอมแพ้ในการทำ Roadblock จึงทำให้ถูกบวก 4 ชั่วโมง ในการเข้าจุดพัก แต่ออลเบย์กับแจ๊คลีนไม่ได้รับโทษปรับเวลาเนื่องจากพวกเขามาถึงเป็นลำดับสุดท้ายและถูกคัดออกจากการแข่งขัน
หมายเหตุ 3: ลอร่าขาเจ็บระหว่างทางไป Ocean World เกือบต้องออกจากการแข่งขัน แต่หลังจากการตรวจสอบโดยละเอียด เธอได้รับอนุญาตให้แข่งต่อได้
หมายเหตุ 4: ฮอวาร์ดกับซาร์แรน ยอมแพ้ในการทำ Roadblock จึงทำให้ถูกบวก 4 ชั่วโมง ในการเข้าจุดพัก
หมายเหตุ 5: ซาฮิลกับพาร์ชาน เดิมมาถึงเป็นลำดับที่ 5 แต่พวกเขา ทำผิดกฎโดยการนั่งรถส่วนตัวไปกับคนท้องถิ่นทำให้ถูกทำโทษ 1 ชั่วโมง ทีมที่เหลืออยู่ (แซนดี้กับเฟรนเชสก้า, มาร์ดี้กับมาร์สิโอ้ และแชรอนกับเมโลดี้) มาถึงระหว่างที่ซาฮิลกับพาร์ชานโดนโทษปรับเวลาอยู่ ส่งผลให้พวกเขาถูกคัดออกจากการแข่งขัน
หมายเหตุ 6: แอนดี้กับลอร่า ขับรถเกินตามที่กำหนด (146 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ความเร็วที่จำกัดไว้คือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โทษปรับเวลาคิดจากความเร็วที่เกินกำหนด คูณด้วย 2 พวกเขาจึงได้รับโทษปรับเวลา 92 นาทีเมื่อมาถึงจุดหยุดพัก แต่โทษปรับเวลานี้จะไปมีผล ณ เวลาที่ออกจากจุดพักในเลกที่ 7 เพื่อไปต่อในเลกที่ 8 ดังนั้นเมื่อคำนวณโทษปรับเวลาแล้ว พวกเขาจะออกจากจุดพักต่อไปเป็นลำดับที่ 6 แต่พวกเขาไม่ต้องรับโทษปรับเวลาตอนที่เข้า ณ จุดหยุดพัก ซึ่งทำให้ลำดับของพวกเขา ณ ช่วงที่เข้าจุดพักมายังอยู่ในลำดับ 2 เหมือนเดิม
หมายเหตุ 7: เลกที่ 9 เป็น Double-Length Leg ซึ่งแบ่งการออกอากาศเป็น 2 ตอน

  • สีแดง หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกคัดออก
  • สีเขียว ƒ หมายถึง ทีมนั้นๆ ทำ Fast Forward สำเร็จ ; เลขของเลกที่มีสีเขียวและ ƒ เป็นเลกที่มี Fast Forward แต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • สีน้ำเงินตัวเอน หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะถูกยึดเงินทั้งหมดที่มีและไม่ได้เงินใช้ในด่านถัดไป และจะไม่ได้รับอนุญาตให้หาเงินใช้จนกว่าการแข่งขันในเลกต่อไปจะเริ่มขึ้น
  • เครื่องหมาย +,~,^,- ที่มีสีเหมือนกัน หมายถึง มีการจับคู่กันทำงานระหว่างทีมตลอดเวลาที่ใช้กฎ Intersection
  • เครื่องหมาย > สีเหลือง หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งพักทีมอื่นแข่งขันชั่วคราว (Yield) ; < หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกพักการแข่งขันชั่วคราว ;<> หมายถึง เลกที่มีกฎการสั่งพักแต่ไม่มีทีมไหนใช้

ชื่อตอนในการแข่งขัน

[แก้]

ชื่อตอนในการแข่งขันมักมาจากคำพูดสำคัญ ๆ ของผู้เข้าแข่งขันในเลกนั้น ๆ

  1. I Don't Think I Can Do This - ชาร์โล้
  2. They're Speedy, They're Fast And They're First - ฮาร์วาร์ด
  3. Give Me The Strength, Give Me The Strength - ฮาร์วาร์ด
  4. Just Shut Up And Do It - มาร์ดี้
  5. It's Blowing Like Your Mum's Pants On A Windy Day - ฮาร์วาร์ด
  6. What Have You Been Eating! - ซาบรีน่า
  7. Don't Stand There Doing Nothing! - แอนดี้
  8. My Legs Are Shaking Like Jelly - แอนดริว
  9. This Is Totally, Totally Out Of This World! - มาร์สิโอ้
  10. War Has Begun! - แอนดี้
  11. This Is Going To Be Embarrassing! - ซาบรีน่า
  12. Oh My Goodness, I Have To Eat A Brain! - ชีออน
  13. 24 Days, 15 Cities, 39,000 Kilometres And It Comes Down To This - อลัน วู

รางวัล

[แก้]

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลพิเศษให้กับทีมที่มาถึงจุดพักเป็นทีมแรก

  • เลก 3 – กล้องถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงของโซนี่สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 7 – ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากคาร์เทคเป็นเวลา 1 ปี
  • เลก 9 – ทัวร์พักร้อนที่ประเทศมาเลเซีย โดยแอร์เอเชีย
  • เลก 11 – ทัวร์พักร้อนที่ประเทศออสเตรเลีย โดยคาร์เทค
  • เลก 12 – เงินรางวัลมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องหมายต่างๆในการแข่งขัน

[แก้]
เครื่องหมาย คำอธิบาย
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป
บัตรคำสั่ง Route Infomation
บัตรคำสั่ง Route Infomation
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น)
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง)
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ)
บัตรผ่านเร่งด่วน
บัตรผ่านเร่งด่วน
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12)
บัตรกอบกู้
บัตรกอบกู้
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save)
ป้ายสั่ง Yield
ป้ายสั่ง Yield
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ)
ป้ายสั่ง U-Turn
ป้ายสั่ง U-Turn
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา)
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้
ป้ายสั่ง Speed Bump
ป้ายสั่ง Speed Bump
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก
ป้ายสั่ง Handicap
ป้ายสั่ง Handicap
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก


สถานที่ในการแข่งขัน

[แก้]
เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน ถ่วงเวลา จุดหยุดพัก
แผนที่แสดงเส้นทางทั้งหมด
จุดสีส้ม แทนกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยนเส้นทางจากดูไบไปกูจิง เส้นสีเขียว แทนเส้นทางในเลกสุดท้าย

เลก 1 (มาเลเซีย)

[แก้]

เลก 2 (มาเลเซีย → อินโดนีเซีย)

[แก้]

เลก 3 (อินโดนีเซีย)

[แก้]

เลก 4 (อินโดนีเซีย → ออสเตรเลีย)

[แก้]
Oceanworld Manly was the site of this leg's roadblock.

เลก 5 (ออสเตรเลีย → นิวซีแลนด์)

[แก้]
พิพิธภัณฑ์ที่ระลึกสงครามออกแลนด์
เป็นจุดหยุดพักที่ 5 ในการแข่งขัน

เลก 6 (นิวซีแลนด์)

[แก้]

เลก 7 (นิวซีแลนด์ → สิงคโปร์ → ไทย)

[แก้]
Teams visited the Fountain of Wealth in leg 7.

เลก 8 (ไทย)

[แก้]

เลก 9 (ไทย → อินเดีย)

[แก้]
The Red Fort was the site of the detour of the second half of leg 9.
  • Flight: กระบี่ (ท่าอากาศยานกระบี่) ไป กัลกัตตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย อินเดีย (Netaji Subhash Chandra Bose International Airport)
  • กัลกัตตา (โบสถ์ St. Teresa แห่ง Avila) >อุปสรรค (Who's ready to shine?) < (สถานีรถไฟใต้ดิน Tollygunge)
  • กัลกัตตา (โรงแรม Peerless Inn – ภัตตาคาร Aaheli)
  • กัลกัตตา (ห้องเสื้อส่าหรีของ Kanishka) >ทางแยก (Carry or Count) <
  • กัลกัตตา (ตลาด Kolay) (จุดครึ่งทางของเลก ทีมได้รับการแจ้งว่าสถานที่นี้ไม่ใช่จุดพักและต้องเดินทางต่อไป)
  • กัลกัตตา (สถานีรถไฟ Sealdah) ไป นิวเดลี (สถานีรถไฟนิวเดลี)
  • นิวเดลี (ป้อมแดง) >ถ่วงเวลา (Sandy & Francesca Yieded Andy & Laura) < >ทางแยก (Deliver or Donkey) <
  • นิวเดลี (Tibetan Monastery Market – Garib Guashala) >อุปสรรค (Who's ready to help out at the farm?) <
  • นิวเดลี (Jain Mandir Dada Bari) >จุดหยุดพัก (เลก 9)<

เลก 10 (อินเดีย → สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

[แก้]
Ski Dubai was the site for this leg's Detour.

เลก 11 (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

[แก้]
The Wild Wadi Water Park, where team members had to take turns to ride a freefall water slide.
  • ดูไบ (พื้นที่ทะเลทรายหมายเลข 53) >ทางแยก (Ride or Seek) <
  • ดูไบ (Eye of the Emirates) >อุปสรรค (Who has the brains in the team?) <
  • ดูไบ (บ้าน Sheikh Saeed Al Maktoum)
  • ดูไบ (Jumeirah – สวนน้ำ Wild Wadi)
  • ดูไบ (Jumeirah – หาด Mina A' Salam) >จุดหยุดพัก (เลก 11)<

เลก 12 (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ → มาเลเซีย)

[แก้]
  • ดูไบ (หาด Mina A' Salam)
  • Flight: ดูไบ (ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ) ไป กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย มาเลเซีย (ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์)
  • กัวลาลัมเปอร์ (กัวลาลัมเปอร์ทาวเวอร์)
  • Flight: กัวลาลัมเปอร์ (ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์) ไป กูจิง, รัฐซาราวัก (ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง)
  • กูจิง (รูปปั้นแมว)
  • กูจิง (Old Courthouse) >ทางแยก (Brains or Brawn) <
  • กูจิง (หมู่บ้านวัฒนธรรมซาราวัก) >อุปสรรค (Who can swing like Tarzan?) < (รีสอร์ตป่าฝนเปอร์ไม)
  • กูจิง (อุทยานแห่งชาติบาโก) >จุดหยุดพัก (เส้นชัย)< (เส้นชัย)

ดูเพิ่ม

[แก้]