วิกิพีเดีย:ผลประโยชน์ทับซ้อน

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวปฏิบัติ
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
พฤติกรรม
สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ
ผลประโยชน์ทับซ้อน
มารยาท
โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่
ลายเซ็น
หน้าผู้ใช้
เนื้อหา
อัตชีวประวัติ
การอ้างอิงแหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
การใส่ภาพ
ไม่ต้องกลัวเสียอรรถรส
การแก้ไข
ขอให้กล้า
คำอธิบายอย่างย่อ
ต้องมีเนื้อหาอย่างชัดเจน
ความสำคัญของเนื้อหา
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
แนวทางการเขียน
คู่มือในการเขียน
เขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

ผลประโยชน์ทับซ้อนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างการพยายามสร้างสารานุกรมในมุมมองที่เป็นกลาง กับผู้เขียนที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ผลประโยชน์สามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบไม่ว่า การโฆษณาสินค้าหรือทางบริษัทของตน การวิพากษ์วิจารณ์คู่แข่ง ในการช่วยให้วิกิพีเดียปลอดจากเรื่องผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ถ้าคุณรู้ว่าคุณอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน คุณควรจะหลีกเลี่ยงการแก้ไขบทความที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือองค์กรที่คุณมีส่วนร่วมหรือหน่วยงานคู่แข่ง โดยถ้าคุณรู้สึกว่าจำเป็นต้องแก้ไขเนื่องจากข้อความที่มีอยู่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง คุณสามารถอภิปรายเพิ่มเติมในหน้าพูดคุยของแต่ละหน้านั้น และขอให้ผู้อ่านร่วมทำการแก้ไขข้อความให้ถูกต้องได้

รูปแบบผลประโยชน์ทับซ้อน

วิกิพีเดียมีจุดประสงค์จะเป็นสารานุกรมที่เป็นกลาง และมีการกล่าวถึงในหลายเรื่องว่าอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย ซึ่งรวมถึงการโฆษณาสินค้า โฆษณาตัวเอง การปล่อยข่าวลือ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนว่าอะไรคือผลประโยชน์ที่ทับซ้อน การพิจารณานั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง โดยดูได้จากเจตนาของตัวคุณในขณะที่เขียน ว่ากำลังพยายามสร้างสารานุกรมที่เป็นกลางอยู่หรือไม่

สิ่งตอบแทน

ถ้าคุณได้รับเงินหรือสิ่งตอบแทนในการแก้ไขเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทหรือหน่วยงานของคุณ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือการแก้ไขวิกิพีเดียส่งผลให้คุณได้รับผลตอบแทนในอนาคต ทางวิกิพีเดียไม่แนะนำให้คุณเขียนบทความเหล่านั้นเพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และเนื้อหาที่ไม่เป็นกลางได้ ข้อความที่เขียนที่จะเกิดขึ้นจะมีลักษณะที่ไม่เป็นกลางสูง

อัตชีวประวัติ

คุณไม่ควรเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณเอง บุคคลใกล้ตัว หรือเกี่ยวกับผลงานที่คุณสร้างขึ้น ซึ่งถ้าตัวคุณหรือผลงานของคุณมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากพอ คนอื่นจะมาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคุณในที่สุด

หน้าผู้ใช้

ผู้เขียนวิกิพีเดียสามารถเขียนเรื่องราวของตนเองลงได้ในวิกิพีเดียในส่วนหน้าย่อยที่เรียกว่าหน้าผู้ใช้ โดยหน้าเหล่านั้นจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "ผู้ใช้:" ซึ่งจะแบ่งแยกออกจากส่วนสารานุกรมอย่างชัดเจน โดยแต่ละคนสามารถเขียนได้อย่าง "เหมาะสม" ตามนโยบายวิกิพีเดีย อย่างไรก็ตามถ้าคุณต้องการเขียนเรื่องราวของตนเองโดยไม่สนใจที่จะร่วมเขียนอย่างอื่นในวิกิพีเดีย คุณอาจจะลองสร้างบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณเองภายนอก

ผลที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อคุณเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณ ผลงานคุณ หรือบริษัทคุณ แน่นอนว่างานเขียนนั้นคุณยินยอมเผยแพร่ผลงานบนวิกิพีเดียด้วยสัญญาอนุญาตเสรี คุณไม่อาจควบคุมการแก้ไขหรือลบบทความนั้น เพราะเมื่อบทความนั้นถูกสร้างขึ้นแล้วจะมีชาววิกิพีเดียท่านอื่นมาร่วมกันเขียนและแก้ไขให้บทความนั้นเป็นกลางและสอดคล้องกับนโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งอาจรวมถึงเนื้อหาในด้านลบและคำพิพากษ์วิจารณ์ที่คุณอาจไม่ต้องการ ซึ่งวิกิพีเดียนั้นไม่มีการลบบทความเพียงเพราะคุณไม่ชอบ ดังนั้นอย่าเพียงแต่สร้างเนื้อหาที่คุณชื่นชอบ หรือเพียงต้องการคำสรรเสริญ

ตัวอย่างเช่นในบทความ วิจิตร เกตุแก้ว ซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกด้วยข้อความ

วิจิตร เกตุแก้ว เป็นนายกสมาคมฟุตบอลไทยที่สร้างคุณูปการให้กับวงการฟุตบอลเป็นอย่างมาก เพื่อสานฝันของคนไทยทั้งชาติให้เป็นจริง

ซึ่งในปัจจุบันเนื้อหาของบทความนี้ได้ขยายขึ้นและมีการรวมถึงข้อดีข้อเสีย ผลงานและความผิดพลาด ที่เกิดขึ้น โดยมีผู้พยายามลบข้อเสียและข้อผิดพลาดออกเหลือไว้เฉพาะแต่ข้อดี แต่ก็ถูกย้อนกลับมาหลายครั้ง ดูเพิ่มเติมได้ที่ วิจิตร เกตุแก้ว

แม่แบบ

  • {{uw-coi}} (สำหรับวางไว้ในหน้าคุยของผู้ใช้เพื่อเตือนผู้ใช้ว่าพวกเขาอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน)
  • {{จ้างเขียน}} (เตือนแบบย่อ)