ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:โชกุน (นวนิยาย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: เนื้อความค่อนข้างปานกลาง แต่อยากให้แก้ในแหล่งอ้างอิงครับ มีอ้างอิงผิดพลาด Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:44, 19 มิถุนายน 2567 (+07)

โชกุน  
ผู้ประพันธ์เจมส์ คลาเวลล์
ศิลปินปกเอ็ด เวเบลล์ (ฉบับภาพประกอบเท่านั้น)
ประเทศสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา
ชุดเทพนิยาย
ประเภทอิงประวัติศาสตร์
สำนักพิมพ์Delacorte Press (สหรัฐอเมริกา)
Hodder & Stoughton (สหราชอาณาจักร)
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1975
ชนิดสื่อพิมพ์ (ปกแข็งและปกอ่อน)
หน้า1152 หน้า (พิมพ์ครั้งแรก, หนังสือปกอ่อน)
ISBN0-440-08721-X (สหรัฐ) – ISBN 0-340-20316-1 (สหราชอาณาจักร)
OCLC9326267
823/.914 19
LC ClassPS3553.L365 S5 1975
เรื่องถัดไปTai-Pan 

โชกุน เป็นนิยายอิงเหตุการณ์และบุคคลสำคัญในญี่ปุ่นช่วงปี 1600 ช่วงปลายยุคอาซูจิ–โมโมยามะ ก่อนเข้าสู่ยุคเอโดะ โชกุนเป็นนิยายลำดับที่ 3 จากทั้งหมด 6 เล่มในมหากาพย์เอเชีย ของเจมส์ คลาเวลล์ แต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ในหนังสือเล่มอื่น ๆ โชกุนตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1975 และมียอดขายมากกว่า 6 ล้านเล่มทั่วโลกภายในปี 1980 นิยายเรื่องนี้ถูกดัดแปลงเป็นมินิซีรีส์ทางโทรทัศน์ 2 ครั้ง (1980 และ 2024) ละครเวที 1 ครั้ง (โชกุน: เดอะมิวสิคัล) เกมกระดาน 1 ครั้ง และวิดีโอเกม 3 ครั้ง

คำนำ[แก้]

โชกุน เริ่มต้นขึ้นในยุคที่ญี่ปุ่นไม่มีโชกุน (ผู้ปกครองสูงสุด) มาเป็นเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ เกิดความขัดแย้งภายในราชวงศ์ และถูกแทรกแซงทั้งทางการเมืองและทางทหารโดยโปรตุเกสที่เป็นโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการค้าชาวยุโรปชาติแรกและชาติเดียวของญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 50 ปี สถานการณ์ยิ่งยุ่งเหยิงซับซ้อนมากขึ้น เมื่อเรือลำใหม่จากฮอลันดาที่เป็นโปรแตสแตนท์แล่นมาเทียบท่า มุ่งหมายแย่งชิงการค้าจากโปรตุเกส สร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่กี่เดือนก่อนยุทธการที่เซกิงาฮาระ–ฟื้นฟูระบอบรัฐบาลโชกุน–นิยายเรื่องโชกุนจบลงพร้อมกับเหตุการณ์หลังสงคราม ตัวเอกคือ จอห์น แบล็คธอร์น นักเดินเรือชาวอังกฤษ

เนื้อเรื่อง[แก้]

เรือเอราสมัสของดัตช์ถูกส่งไปญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ เพื่อเจาะตลาดการค้าเครื่องเทศและสินค้าล้ำค่าอื่น ๆ จากเอเชียตะวันออกของโปรตุเกส หลังจากลูกเรือส่วนใหญ่ รวมไปถึงกัปตันเสียชีวิต เรือก็ถูกทิ้งไว้ที่ท่าเรืออิซุ ทำให้ลูกเรือที่รอดชีวิตกลายเป็นชาวโปรแตสแตนท์กลุ่มแรกที่เดินทางถึงญี่ปุ่น

เรือเอราสมัส ถูกยึดอาวุธ เอกสาร และเหรียญกษาปณ์ ส่วนลูกเรือที่รอดชีวิตถูก ยาบุ ไดเมียว แห่งแคว้นอิซุจับกุมตัวไว้ ไดเมียวยาบุ พยายามเก็บความโชคดีของเขาไว้เป็นความลับ แต่สายลับได้แจ้งให้โทรานางะ ไดเมียวแห่งคันโตและประธานสภาผู้สำเร็จราชการทราบถึงการมาถึงของเรือ โทรานางจะมองว่าเรือเอราสมัสอาจเป็นประโยชน์ในการต่อกรกับอิชิโด คู่แข่งคนสำคัญในสภา จึงสั่งให้พา จอห์น แบล็คธอร์น คนนำทางมาพบเขาที่โอซากะ

แม้จะมีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความขัดแย้งระหว่างโปรตุเกส (ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก) กับอังกฤษในสมัยเอลิซาเบธ จนกระทั่งถึงตอนนั้น โทรานางะก็เพิ่งรู้ว่าคริสตจักรแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย

ตัวละคร[แก้]

โชกุนเป็นผลงานนิยายอิงประวัติศาสตร์สร้างจากการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างผู้สืบทอดของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิซึ่งนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลโชกุน ผู้เขียนได้สร้างตัวละครแต่ละตัวจากบุคคลในประวัติศาสตร์ แต่เปลี่ยนชื่อเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเรื่องราวมากยิ่งขึ้น[1]

ความถูกต้องทางประวัติศาสตร์[แก้]

ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง แบล็คธอร์น กับ โทรานางะ ถูกสร้างขึ้นจากบันทึกจากไดอารี่ของแอดัมส์[2] อย่างไรก็ตาม ขณะที่แอดัมส์รับราชการในกองทัพของโทกูงาวะในยุทธการที่เซกิงาฮาระ แต่เขายังไม่ได้เป็นข้ารับใช้หรือซามูไรจนกระทั่งหลังการสู้รบ

แอดัมส์ไม่เคยพบโฮโซกาวะ กราเชีย ต่างจากแบล็คธอร์นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโทดะ มาริโกะ[1]

นวนิยายเรื่องนี้มีข้อผิดพลาดหลายประการเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่นเดียวกับการแสดงภาพปราสาทญี่ปุ่นผิดพลาดโดยให้เห็นว่ามีประตูชัก ซึ่งในความเป็นจริง ญี่ปุ่นไม่มีประตูแบบนี้ นอกจากนี้ นวนิยายเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นว่าซามูไรในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ใช้ดาบปลายปืน ซึ่งในความเป็นจริง ดาบปลายปืนยังไม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในเวลานั้น[3]นอกจากนี้ พิราบสื่อสารได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยโทรานางะ ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น[4]

ธีมเรื่อง[แก้]

ธีมหลักของนิยายคือความสงบสุขของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1600 ประเทศที่ต้องเผชิญกับสงครามกลางและการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา

สังคมญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นชาติที่โดดเดี่ยวและเกลียดชาวต่างชาติ โดยชาวต่างชาติถูกเรียกว่า "คนป่าเถื่อน" และรังเกียจเพราะความเย่อหยิ่ง นิสัยการกิน ขาดความคล่องในการใช้ภาษาญี่ปุ่น และไม่สามารถเคารพประเพณีทางสังคมของญี่ปุ่นได้ เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งภายระหว่างวัฒนธรรม ตะวันออก และ ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน้าที่ เกียรติยศ เพศ ความสะอาด อาหาร ภาระผูกพัน ลำดับชั้น ความภักดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง และแก่นแท้ของ ตัวตน

การเลี้ยงนกคาเรียร์ปีกแข็ง และเปรียบเทียบนกต่างๆ ของเขากับข้าราชบริพารของเขาตรงข้ามกับค่านิยมของมนุษย์ของค่านิยมตะวันออก ซึ่งตรงข้ามกับค่านิยมของตะวันตก เป็นต้น อีกประการหนึ่งคือการให้เกียรติ และความโปรดปรานแก่ผู้ที่แสดงความภักดี รวมถึงการแลกเปลี่ยนความลับกับแม่ของเขาทำให้โยชิ โทรานางะได้เปรียบในอำนาจของเขาเพื่อเป็นโชกุน

การดัดแปลง[แก้]

ละครโทรทัศน์ 1976[แก้]

ละครโทรทัศน์ในปี 1976 คลาเวลล์ได้จ้าง โรเบิร์ต โบลต์ และเขาไดัเลือกเอริก เบอร์โควิซีซึ่งเคยเขียนเรื่องลอเรนซ์แห่งอาราเบีย และมีผู้กำกับอย่างริชาร์ด แอทเทนบอโร และฌอน คอนเนอรีแต่ก็ได้ยุติลงในเวลาต่อมาและต่อมาโครงการฮอลลีวูดทำให้โชกุนกลับพบชีวิตใหม่ในฐานะมินิซีรีส์ที่สร้างขึ้นสำหรับโทรทัศน์หลังจากที่Roots ของนักเขียนแอเล็กซ์ เฮลีย์ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมอย่างมาก เวอร์ชันนี้เขียนบทโดยเอริก เบอร์โควิชี และ เจอร์รี ลอนดอน โดยมีนักแสดงนำอย่าง ริชาร์ด เชมเบอร์เลน, โยโกะ ชิมาดะ, จอห์น รีส์-เดวีส์, โทชิโระ มิฟูเนะ และอากิระ คุโรซาวะ มินิซีรีส์เรื่องนี้มีความยาวทั้งหมด 9 ชั่วโมงเรื่องนี้ถ่ายทำทั้งหมดในญี่ปุ่นซึ่งถ่ายทำในสถานที่จริงอากาศทางช่อง เอ็นบีซี

ละครเวที[แก้]

ไม่นานหลังจากซีรีส์ทางโทรทัศน์เริ่มออกฉายตอนแรกโชกุนได้ขึ้นแสดงบนเวทีบรอดเวย์ซึ่งได้รับการดัดแปลงเป็นละครเพลงชึ่งได้ถูกผลิตโดยKennedy Centera และ Broadwayเนื้อเพลงโดยจอห์น ไดร์เวอร์ และดนตรีโดยพอล ชิฮารา เวอร์ชันแรกเปิดตัวที่ศูนย์วัฒนธรรม เคนนีดี เซ็นเตอร์ ใน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 1990 แต่ผู้ชมส่วนใหญ่พบว่ามีเนื้อหาหนาแน่นเกินไปจนกลายเป็นละครเวททีที่ฮิตเป็นอย่างมาก[5][6]

ละครโทรทัศน์ 2024[แก้]

จอห์น ลันด์กราฟ ซีอีโอของเอฟเอกซ์ ได้ประกาศการดัดแปลงในงานSummer Press Tour ของสมาคมนักวิจารณ์โทรทัศน์ในปี 2018 รายงานจากต้นฉบับระบุว่าแม้จะมีการประกาศการดัดแปลงซีรีส์นี้ แต่ เอฟเอกซ์ ก็ต้องใช้เวลา มากกว่าเจ็ดเดือน และมีความล่าช้าเพิ่มเติมในการถ่ายทำเกิดขึ้นในปี 2019 หลังจากที่ เอฟเอกซ์ รู้สึกว่าโปรเจ็กต์ที่มีอยู่นั้น ไม่อยู่ในสภาพที่ดีพอ ที่จะเดินหน้าต่อไป แม้ว่า ลันด์กราฟ จะเน้นย้ำว่าเวอร์ชันใหม่จะขยายขอบเขตของซีรีส์โดยรวมของ มุมมองของญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2020 ดาราดังอย่างฮิโรยูกิ ซานาดะ ซึ่งได้ถ่ายทำช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่า เอฟเอกซ์ จะสามารถรักษาคำมั่นสัญญาในขณะที่พวกเขากำลังจะปรับปรุงใหม่ภายใต้การแนะนำของนักเขียนและผู้อำนวยการสร้างจัสติน มาร์คส์ และเรเชล คอนโด ในที่สุดซีรีส์นี้ก็ได้ถ่ายทำในเดือนกันยายน 2021 และปิดท้ายในปลายเดือนมิถุนายน 2022[7]

เกม[แก้]

มีเกมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นจากนวนิยาย โชกุน ทั้งหมด 3 เกม โดยมีเกมแนวผจญภัยแบบข้อความสองเกมและใชักราฟิกน้อยอีกหนึ่งเกม ซึ่งผลิตในระบบปฏิบัติการ เอมิกา, พีซี และอีกหนึ่งเกมชื่อ James Clavell's Shōgun ซึ่งผลิตโดยบริษัท Infocom และบริษัทMastertronic เป็นผู้เผยแพร่และจัดจำหน่าย[8] ถูกผลิตขึ้นในระบบปฏิบัติการ Commodore 64, Amstrad CPC และ IBM PC โดย Lee & Mathias และวางจำหน่ายโดย Virgin Entertainment ในปี 1986[9]

นอกจากนี้ผู้จัดจำหน่ายเกมบนโต๊ะFASA ได้เผยแพร่เกมชื่อ James Clavell's Shogunเมื่อปี ค.ศ. 1983 ซึ่งเป็นเกมที่สามของสี่เกมบนกระดานที่มีชื่อเรื่องจากนวนิยายของเจมส์ คลาเวลล์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Nedd, Alexis (2024-02-28). "The Real History Behind FX's 'Shōgun'". IndieWire (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-11.
  2. "Why This Historian Is Looking Forward to the New 'Shogun'". TIME (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-11.
  3. Bakkalian, Nyri (2021-12-17). "Is James Clavell's Shogun Accurate History - Or Pure Fiction?". Unseen Japan (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-11.
  4. "MAKING OF A LITERARY SHOGUN". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1981-09-13. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2024-03-11.
  5. "Shogun the Musical - Chihara - The Guide to Musical Theatre". guidetomusicaltheatre.com.
  6. Granville, Kari (1991-01-27). "A Bad Translation of 'Shogun' : Why the opulent production of the hit James Clavell novel and miniseries lasted less than 100 days on Broadway". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "FX's Shōgun Is Based on an Epic, Must-Read Novel". Men's Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-02-27.
  8. "Milliways: Infocom's Unreleased Sequel to Hitchhiker's Guide to the Galaxy". 17 April 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2008.
  9. "Milliways: Infocom's Unreleased Sequel to Hitchhiker's Guide to the Galaxy". 17 April 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หมวดหมู่:โครง