ปราสาทญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทฮิเมจิ แหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งในจังหวัดเฮียวโงะ เป็นปราสาทที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

ปราสาทญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: โรมาจิshiro) เป็นป้อมสนามมักสร้างขึ้นจากไม้และหิน ปราสาทมีวิวัฒนาการจากคุกทหารสร้างด้วยไม้เมื่อศตวรรษต้น ๆ และกลายมาเป็นปราสาทที่เป็นที่รู้จักกันในศตวรรษที่ 16 ปราสาทในประเทศญี่ปุ่นสร้างขึ้นเพื่อคุ้มกันบริเวณพื้นที่สำคัญหรือพื้นที่ยุทธศาสตร์ เช่น ท่าเรือ สะพานข้ามแม่น้ำ สะพานลอย และเกือบจะคุ้มกันทั้งภูมิประเทศ

แม้ว่าปราสาทจะถูกสร้างให้คงอยู่และใช้หินในการก่อสร้างมากกว่าอาคารทั่ว ๆ ไป ปราสาทส่วนใหญ่ยังสร้างด้วยไม้ และปราสาทหลายแห่งพังทลายอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคเซ็งโงกุ (1467–1603) เนื่องจากปราสาทเพิ่งถูกสร้างใหม่ ๆ ในยุคนั้น แต่ในเวลาต่อมา ปราสาทได้รับการบูรณะใหม่ ทั้งในยุคเซ็งโงกุ ยุคเอโดะ (1603–1867) หรือในยุคปัจจุบัน โดยกลายเป็นโบราณสถานหรือพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นมีปราสาทมากกว่า 100 แห่งที่ยังคงสภาพเดิมหรือเหลือเพียงบางส่วน มีการประมาณไว้ที่ 5,000 แห่ง[1] ปราสาทบางแห่งเช่นที่มัตสึเอะ และโคจิ ทั้งสองแห่งสร้างใน ค.ศ. 1611 ยังคงสภาพเดิม ไม่ได้รับภัยคุกคามใด ๆ ปราสาทฮิโรชิมะถูกระเบิดนิวเคลียร์ทำลาย และบูรณะขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1958 และตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์[2]

ตัวอักขระที่แปลว่าปราสาท '城' ที่อ่านว่า ชิโระ (คันจิในภาษาญี่ปุ่น) เมื่อเขียนติดกับคำคำหนึ่งจะอ่านเป็น โจ (คันจิที่แผลงจากภาษาจีน) เช่นในชื่อปราสาท ตัวอย่างเช่น ปราสาทโอซากะ เรียกว่า โอซากะโจ (大阪城) ในภาษาญี่ปุ่น

สถาปัตยกรรม[แก้]

ปราสาทญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่ทุกแห่งจะสร้างตามแผนผังสถาปัตยกรรมที่นิยามไว้ดีพอสมควร ยามาจิโระ (山城) หรือ "ปราสาทภูเขา" เป็นประเภทของปราสาทที่พบมากที่สุด และป้องกันภัยธรรมชาติได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ปราสาทหลายแห่งที่สร้างบนที่ราบแบน (平城, ฮิราจิโระ) และบนเนินต่ำ (平山城, ฮิรายามาจิโระ) จะพบได้น้อย และปราสาทห่างไกลบางแห่งสร้างบนเกาะหรือทะเล ทั้งธรรมชาติและจำลอง หรือตามชายฝั่ง ความรู้เกี่ยวกับการสร้างและเสริมความแข็งแกร่งให้ปราสาทมีชื่อเรียกว่า ชิกูโจ-จุตสึ (ญี่ปุ่น: 築城術)[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Inoue, Munekazu (1959). Castles of Japan. Tokyo: Association of Japanese Castle.
  2. DK Eyewitness Travel Guide: Japan. London: DK Publishing. 2002.
  3. Durbin, W; The Fighting Arts of the Samurai, article in Black Belt Magazine, March 1990 Vol. 28, No. 3
  4. Draeger, Donn F. & Smith, Robert W.; Comprehensive Asian fighting arts Kodansha International, 1980, p84