การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบบหอสมุดรัฐสภา)

'การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (อังกฤษ: Library of Congress Classification, ย่อ: LCC) เป็นระบบการจัดหมู่ของห้องสมุดที่หอสมุดรัฐสภาพัฒนาขึ้น หอสมุดวิจัยและวิชาการส่วนมากในสหรัฐและอีกหลายประเทศใช้ระบบดังกล่าว ในประเทศเหล่านี้ ห้องสมุดสาธารณะส่วนมากและห้องสมุดวิชาการขนาดเล็กยังใช้การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ที่เก่ากว่า[1]

เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Herbert Putnum) ประดิษฐ์การจำแนกนี้ใน ค.ศ. 1897 ไม่นานก่อนเขาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์รัฐสภา ด้วยคำแนะนำจากชาลส์ แอมมี คัตเตอร์ (Charles Ammi Cutter) ได้รับอิทธิพลจากการจำแนกขยายคัตเตอร์ (Cutter Expansive Classification) ของเขา, ระบบทศนิยมดิวอี้และระบบการจัดหมู่พัทนัม (Putnam Classification System)[2][3] ระบบนี้ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อความมุ่งหมายและการเก็บรวบรวมของหอสมุดรัฐสภาเพื่อแทนระบบที่ตั้งถาวรที่ทอมัส เจฟเฟอร์สันพัฒนา เมื่อพัทนัมออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1939 ทุกหมวดใหญ่ยกเว้น K (กฎหมาย) และบางส่วนของ B (ปรัชญาและศาสนา) ได้รับพัฒนาดีแล้ว

LCC ถูกวิจารณ์ว่าขาดรากฐานทางทฤษฎีที่สมเหตุสมผล การตัดสินใจจัดหมู่หลายอย่างมาจากความต้องการทางปฏิบัติของหอสมุดมิใช่การจัดหมู่แบบญาณวิทยา แม้ระบบนี้แบ่งเรื่องเป็นประเภทใหญ่ ๆ แต่มีสภาพแท้จริงแล้วแจงนับ คือ ระบบนี้ชี้นำไปยังหนังสือที่มีอยู่ในการเก็บรวบรวมของห้องสมุดหนึ่ง ๆ มิใช่การจัดหมู่ของโลก

หมวดหมู่[แก้]

พยัญชนะ เขตเรื่อง
A งานทั่วไป
B ปรัชญา จิตวิทยา และศาสนา
C ศาสตร์สนับสนุนของประวัติศาสตร์
D ประวัติศาสตร์ทั่วไปและโลกเก่า
E ประวัติศาสตร์อเมริกา
F ประวัติศาสตร์สหรัฐและบริติช ดัตช์ ฝรั่งเศส และลาตินอเมริกา
G ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และนันทนาการ
H สังคมศาสตร์
J รัฐศาสตร์
K กฎหมาย
L การศึกษา
M ดนตรี
N ประณีตศิลป์
P ภาษาและวรรณกรรม
Q วิทยาศาสตร์
R แพทยศาสตร์
S เกษตรกรรม
T เทคโนโลยี
U วิทยาการทหาร
V นาวิกศาสตร์
Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ และทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป

หมวดหมู่ A – งานทั่วไป[แก้]

หมวดหมู่ B – ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา[แก้]

หมวดหมู่ C – ศาสตร์สนับสนุนของประวัติศาสตร์ (ทั่วไป)[แก้]

  • หมวดหมู่ย่อย CB – ประวัติศาสตร์อารยธรรม
  • หมวดหมู่ย่อย CC – โบราณคดี
  • หมวดหมู่ย่อย CD – การทูต จดหมายเหตุ ตรา
  • หมวดหมู่ย่อย CE – ลำดับเวลาเทคนิค ปฏิทิน
  • หมวดหมู่ย่อย CJ – วิชาสะสมเงิน
  • หมวดหมู่ย่อย CN – รอยจารึก การศึกษารอยจารึกโบราณ
  • หมวดหมู่ย่อย CR – มุทราศาสตร์
  • หมวดหมู่ย่อย CS – พงศาวลีวิทยา
  • หมวดหมู่ย่อย CT – ชีวประวัติ

อ้างอิง[แก้]

  1. Lavallee, Andrew (July 20, 2007). "Discord Over Dewey: A New Library in Arizona Fans a Heated Debate Over What Some Call the 'Googlization' of Libraries". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013. Some 95% of U.S. public libraries use Dewey, and nearly all of the others, the OCLC says, use a closely related Library of Congress system.
  2. Claire Kelley. "A library classification system that’s older than the Dewey Decimal and Library of Congress models".
  3. Andy Sturdevant. "Cracking the spine on Hennepin County Library's many hidden charms". MinnPost, 02/05/14.