ข้ามไปเนื้อหา

คันไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คิงกิ)
ภาคคันไซ

関西地方
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • ฮิระงะนะかんさいちほう
 • คันจิ関西地方
Map showing the Kansai region of Japan. It comprises the mid-west area of the island of Honshu.
คันไซในประเทศญี่ปุ่น
พื้นที่
 • ทั้งหมด33,124.82 ตร.กม. (12,789.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553)[1]
 • ทั้งหมด22,757,897 คน
 • ความหนาแน่น690 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์)
GDP (ในรูปตัวเงิน; พ.ศ. 2555)[2][3]
 • รวม$1 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ
 • ต่อหัวประชากร$42,000 เหรียญสหรัฐ
เขตเวลาUTC+9 (JST)

คันไซ (ญี่ปุ่น: 関西โรมาจิKansai) หรือเรียก คิงกิ (近畿) เป็นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู โดยเขตคันไซประกอบไปด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ เฮียวโงะ เกียวโต โอซากะ ชิงะ นาระ วากายามะ และมิเอะ คันไซมีขนาดประมาณ 33,124.82 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 22,757,897 คน (พ.ศ. 2553) อัตราความหนาแน่น 690 คน/ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ คันไซ ยังเป็นที่ตั้งของเขตมหานครเคฮันชิง มหานครที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่น

ประวัติ

[แก้]

คำว่า คันไซ (関西), คิงกิ (近畿), และ คิไน (畿内) มีรากฐานมาจากยุค อาสึกะ เมื่อจังหวัดเก่าของญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้น หลายจังหวัดในพื้นที่รอบเมืองหลวงเกียวโต นั้นมีชื่อเรียกรวมกันว่า คิไน และ คิงกิ ซึ่งมีความหมายคร่าวๆ ว่า "ละแวกใกล้เคียงของเมืองหลวง"

ภูมิภาคคินคิ หรือที่คนส่วนใหญ่จะเรียกกันในนามของภูมิภาคคันไซ หรือภาคกลางตอนใต้ของญี่ปุ่น ภูมิภาคคันไซแห่งนี้เป็นอีกภูมิภาคที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น นอกเหนือจากภูมิภาคคันโตซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโตเกียวเมืองหลวง ภูมิภาคคันไซนับเป็นภูมิภาคที่ความเจริญมาช้านานเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของญี่ปุ่นในยุคแรก ๆ ประวัติศาสตร์คือ เมืองนาระและเมืองเกียวโต เมืองหลวงทั้งสองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศญี่ปุ่นมานับพันปี มีพระราชวังที่ประทับองค์จักรพรรดิหรือพระราชวังหลวง ณ เมืองเกียวโต ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่กรุงโตเกียว นอกจากจะเป็นศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นแล้ว ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมหลายแห่ง ได้แก่ นครโอซากะ ศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศเป็นเมืองใหญ่อันดับสามรองจากกรุงโตเกียวและโยโกฮามะ เมืองเกียวโตและนารา เมืองหลวงเก่าที่ยังคงอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญและงดงามเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงเมืองโคเบะซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

ภาพรวม

[แก้]

ภูมิภาคคันไซ เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น มีขนาดคิดเป็นร้อยละ 11 ของพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น มีประชากรอาศัอยู่ 22,757,897 คนจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 บริเวณที่ราบคิงกิเป็นที่ตั้งของนครโอซากะและเกียวโตและเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้

ภูมิภาคคันไซมีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลเซโตะไปจนถึงฮิเมจิ และทางตะวันออกจรดกับทะเลสาบบิวะ อันเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ด้านทิศเหนือจรดกับทะเลญี่ปุ่น และด้านทิศใต้ติดกับคาบสมุทรคิอิและมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิภาคคันไซพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติอยู่ถึง 4 แห่งด้วยกัน และในภูมิภาคนี้มีอยู่ 6 จังหวัดที่ติดอันดับว่ามีทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น 7 อันดับ[4]

ภูมิภาคคันไซมักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับ ภูมิภาคคันโต อยู่บ่อยๆ โดยคันโตเป็นเขตแดนที่อยู่ทางตะวันออก ประกอบไปด้วยโตเกียวและเมืองรอบ ๆ ในขณะที่คันโตถูกจัดว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมาตรฐานทั่วญี่ปุ่น คันไซก็ถูกมองว่าเป็นภูมิภาคที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะความเป็นเมืองวัฒนธรรมอย่างเกียวโต ความเป็นเมืองพ่อค้าอย่างโอซากะ เมืองทางประวัติศาสตร์อย่างนาระ และเมืองทันสมัยอย่างโคเบะ รากเหง้าความแตกต่างนี้มีมาตั้งแต่สมัยยุคเอโดะ โดยที่โอซากะ เมืองพ่อค้า มีซามูไรประจำอยู่แค่ 1 เปอร์เซนต์ ต่างกับที่เมืองเอโดะ ขุมกำลังของตระกูลโชกุนโทกูงาวะ ที่มีกำลังพลของซามูไรอยู่มากมาย[5]

คุณลักษณะของชาวคันไซได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมความเป็นเมืองการค้าของโอซากะ นักวิชาการมองว่า "ชาวคันไซเป็นนักปฏิบัติ พ่อค้า ติดดิน และมีอารมณ์ขัน ส่วนชาวคันโตจะเป็นผู้ช่ำชองโลก อนุรักษนิยม มีระเบียบแบบแผน ธำรงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์และความเจริญก้าวหน้าของโตเกียว เมืองหลวงของแผ่นดินและมหานครที่ใหญ่ที่สุด" [5][6]

คันไซขึ้นชื่อในเรื่องของอาหาร โดยเฉพาะที่ โอซากะ จึงมีคำกล่าวที่ว่า "เกียวโตซื้อเสื้อผ้าจนหมดตัว โอซากะกินจนหมดตัว" (京の着倒れ、大阪の食い倒れ) อาหารที่มีชื่อเสียงของโอซากะก็เช่น ทาโกยากิ โอโคโนมิยากิ คิตสึเนะอูดง และคูชิคัตสึ ส่วนเกียวโตก็มีชื่อเสียงด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น นอกจากนี้ คันไซยังขึ้นชื่อในเรื่องของ เนื้อญี่ปุ่น เช่น เนื้อโคเบะ เนื้อมัตสึซากะ และเนื้อโอมิ อาหารของคันไซจะค่อนข้างหวานกว่าทางตะวันออก และไม่ค่อยนิยมบริโภคนัตโต

คันไซมีสำเนียงเป็นของตัวเองที่เรียกว่า คันไซเบง หรือ สำเนียงคันไซ (関西弁) มีความแตกต่างจากภาษาหลักทั้งการออกเสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์ เป็นสำเนียงที่พูดกันเฉพาะในพื้นที่คันไซเท่านั้น

ภูมิภาคคันไซ มีทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น ทีมเบสบอลอย่าง ฮันชิน ไทเกอร์ส ที่ใช้สนามโคชิเอ็งเป็นสนามเหย้า ทีมเบสบอลโอริกซ์ บัฟฟาโล สโมสรฟุตบอลในเจลีกอย่าง กัมบะ โอซากะ เซเรซโซ โอซากะ วิสเซล โคเบะ และเกียวโต ซังงะ

จังหวัด

[แก้]
ตรา จังหวัด ตรา เมืองหลวง ภูมิภาค เกาะ
หลัก
ประชากร¹ พื้นที่²[7] ความ
หนาแน่น³
จำนวน
อำเภอ
จำนวน
เทศบาล
ISO
รหัส
พื้นที่
 จังหวัดเกียวโต 京都府 เกียวโต 京都市 คันไซ ฮนชู 2,596,000 4,612.20 565.9 6 26 JP-26 074
 จังหวัดชิงะ 滋賀県 โอตสึ 大津市 คันไซ ฮนชู 1,406,000 4,017.38 351.8 3 19 JP-25 077
 จังหวัดนาระ 奈良県 นาระ 奈良市 คันไซ ฮนชู 1,357,000 3,690.94 369.8 7 39 JP-29 074
 จังหวัดมิเอะ 三重県 สึ 津市 คันไซ ฮนชู 1,822,000 5,774.49 314.5 7 29 JP-24 059
 จังหวัดวากายามะ 和歌山県 วากายามะ 和歌山市 คันไซ ฮนชู 957,000 4,724.65 204 6 30 JP-30 075
 จังหวัดโอซากะ 大阪府 โอซากะ 大阪市 คันไซ ฮนชู 8,826,000 1,905.32 4,639.9 5 43 JP-27 06x
 จังหวัดเฮียวโงะ 兵庫県 โคเบะ 神戸市 คันไซ ฮนชู 5,547,000 8,401.02 659.1 8 41 JP-28 073


คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ministry of Internal Affairs and Communications Statistics Bureau (26 October 2011). 平成 22 年国勢調査の概要 (PDF). สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
  2. "International comparison of GDP of Japan's Prefectures: Tokyo's GDP is bigger than Indonesia's?!". realestate.co.jp. 13 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
  3. "Yearly Average Rates". UKForex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
  4. "For Kansai visitors-Kansai Overview". tour-kansai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-22. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
  5. 5.0 5.1 Omusubi เก็บถาวร 2006-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "Japan's Regional Diversity", retrieved January 22, 2007
  6. Livingabroadin.com - "Prime Living Locations in Japan", retrieved January 22, 2007
  7. "全国都道府県市区町村別面積調 (10月1日時点) [Areas of prefectures, cities, towns and villages (October 1)]" (PDF). Geospatial Information Authority of Japan. Ministry of Land, Infrastructure, Transport, and Tourism. October 1, 2020. p. 5. สืบค้นเมื่อ 18 March 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Consulate-General of Japan in San Francisco เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "History", retrieved March 15, 2007

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]